พบผลลัพธ์ทั้งหมด 931 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยเป็นเจ้าของอาคารที่ได้ปลูกสร้างมาก่อนข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ออกใช้บังคับโดยมีแนวอาคารและระยะขัดกับข้อบัญญัติดังกล่าว ต่อมาจำเลยได้ขออนุญาตต่อโจทก์เมื่อวันที่ 18มีนาคม 2530 เพื่อทำการซ่อมแซมอาคารดังกล่าวโจทก์อนุญาต หลังจากนั้นจำเลยได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารนอกเหนือไปจากแบบแปลนที่ได้ขออนุญาตไว้ โดยต่อเติมด้านหลังอาคารซึ่งเดิมเป็นชั้นเดียวให้เป็นสองชั้น และมีชั้นดาดฟ้าด้วยการสร้างฐานราก เสาตอหม้อ คานคอดิน คานชั้นสอง คานรับดาดฟ้า หลังคา ขยายพื้นชั้นสองขนาดประมาณ 24.86 ตารางเมตร ต่อเติมพื้นชั้นดาดฟ้าขนาดประมาณ 18.48ตารางเมตร เพิ่มหลังคามุมห้องบันได สร้างผนังอิฐกั้นห้องชั้นสอง ซึ่งการดัดแปลงต่อเติมดังกล่าวได้สร้างปิดทางเดินด้านหลังอาคาร สภาพและลักษณะของการต่อเติมและขยายอาคารของจำเลยดังกล่าว ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมหรือดัดแปลงเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม แต่เป็นการดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 เดิม,31 เดิม และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522ข้อ 30, 76, 83 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อ-บัญญัติได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะเกินกำหนด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โจทก์ที่ 1มรณะ หลังจากโจทก์ที่ 1 มรณะเกินกว่า 1 ปี จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1 ต่อมาบ.จึงยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่ 1 แต่การเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความผู้มรณะนั้น แม้จะร้องขอเข้ามาเมื่อเกินกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะก็ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ประกอบด้วยมาตรา 132(3) ก็ให้อยู่ในอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ก็ได้แล้วแต่จะพิจารณาเห็นสมควรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งอนุญาตให้ บ.เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ที่ 1 ผู้มรณะ โดยไม่จำหน่ายคดีโจทก์ที่ 1จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องมีเหตุผลแสดงปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงอนุญาตให้โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ โดยผู้พิพากษาที่พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าอุทธรณ์โจทก์ทั้งสองมีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ จึงรับรองให้อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวไม่ปรากฏว่ามีข้อใดที่ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็นว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอบเขตการรวมโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
เครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมตามความในมาตรา 4 และ 6 แห่งพระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 นั้น หมายถึงเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่มีสภาพสามารถใช้งานได้หรือชิ้นส่วนของเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่อาจนำมาประกอบเข้ากันแล้วสามารถใช้งานได้ จึงจะมีสภาพเป็นวิทยุคมนาคม และมีความผิดได้ หากเครื่องวิทยุคมนาคมนั้นตามสภาพแล้วชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ตลอดไปก็ไม่มีสภาพเป็นวิทยุคมนาคมและไม่มีความผิด สำหรับเครื่องรับส่งวิทยุของกลางไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากมีการถอดอุปกรณ์ชิ้นส่วนในเครื่องออกเป็นเหตุขัดข้องชั่วคราว เมื่อประกอบอุปกรณ์ครบถ้วนก็สามารถใช้งานได้ จึงเป็นเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคม ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 4 โทษจำคุกเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัตินั้น ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกันและศาลพิจารณาพิพากษาเป็นคดีเดียวกัน หรือมีการรวมพิจารณาพิพากษาหลายคดีเข้าด้วยกันหรือมีการนับโทษต่อในกรณีที่จำเลยยังไม่พ้นโทษ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนแล้วจึงถูกฟ้องคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะกรรมการลูกจ้างเริ่มเมื่อใด การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล
สถานประกอบกิจการของจำเลยมีคณะกรรมการลูกจ้างได้ 11 คนลูกจ้างของจำเลยเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน อ.สหภาพแรงงานอ. ได้แต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง6 คน โดยโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้างด้วย ดังนี้โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งแม้จะยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างอีก 5 คนก็ตาม จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4035/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต และการทับเส้นทางเดินรถประจำทาง ความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์
จำเลยนำรถยนต์รับจ้างที่บรรทุกผู้โดยสารไม่เกิน 7 คนมาประกอบการขนส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งรถยนต์ดังกล่าวพระราชบัญญัติ การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 5(2) ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 23 วรรคหนึ่งและมาตรา 126 แต่ที่จำเลยนำรถยนต์ดังกล่าวรับส่งคนโดยสารระหว่างตลาดนาโยงกับอำเภอเมืองตรัง ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของเส้นทางเดินรถประจำทางของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งประจำทางในเส้นทางสายตรัง-เขาช่อง โดยเก็บค่าโดยสารคนละ 5 บาท จึงเป็นกรณีที่ใช้รถยนต์อื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจำทางรับจ้างคนโดยสารซึ่งเสียค่าโดยสารเป็นรายตัวตามรายทางในทางที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 22 วรรคหนึ่งหาจำต้องเป็นการรับส่งเฉพาะคนโดยสารตามรายทางระหว่างที่จำเลยขับรถส่งคนโดยสารไม่ เพราะการรับส่งคนโดยสารของจำเลยอยู่ในเขตรายทางเส้นทางเดินรถของผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ชั่วคราวเพื่อใช้ส่วนตัว จำเป็นต้องขออนุญาตตามกฎหมายหรือไม่
จำเลยที่ 1 ติดตั้งเครื่องจักรทำการแปรรูปไม้ในสวนของกลางที่ยึดได้มีไม้สัก 88 แผ่น ไม้รัง 14 แผ่นและยังไม่มีไม้สักยังไม่ได้แปรรูป 12 ท่อน ถือได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นโรงงานแปรรูปไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 4(13) แล้ว แม้จำเลยที่ 1 ตั้งโรงงานเพื่อแปรรูปไม้เป็นการชั่วคราวเพื่อใช้ปลูกบ้านของตนเองก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 48
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และการพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตในพื้นที่ห่างไกล
จำเลย คว้า เอา อาวุธ ปืนแก๊ป ยาว ที่ ผู้ตาย พิง ไว้ ที่ ต้น ไม้ มา ยิง ผู้ตาย ใน ทันที ทันใด โดย ไม่มี เหตุ ป้องกัน ตน การกระทำ ของ จำเลย จึง เป็น ความผิด ฐาน ฆ่า ผู้อื่น โดย เจตนา ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ที่เกิดเหตุ อยู่ ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ หลัง เกิดเหตุ จำเลย พา อาวุธปืน เดิน ไป ตาม ป่า ใน เขต ป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ปรากฏ ว่า เป็น ทาง ที่ ประชาชน ใช้ ใน การจราจร ไม่มี หมู่บ้าน เพราะ เดิน อ้อม ภูเขา จึง ไม่อาจ ถือได้ว่า จำเลย พา อาวุธปืน ไป ใน หมู่บ้าน หรือ ทางสาธารณะ โดย ไม่ได้ รับ อนุญาต การกระทำ ของ จำเลย ไม่เป็น ความผิด ตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาข้อยกเว้น แม้คดีห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง หากผู้พิพากษาเห็นว่าเป็นปัญหาสำคัญ
แม้คดีจะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุด และอนุญาตให้ฎีกา ก็ต้องรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, ปริมาณน้อย, รอการลงโทษ, ปรับ
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันทำไม้และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 45 แผ่น และปริมาตรเพียง 0.675 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนักสภาพแห่งความผิดของจำเลยที่ 3 มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้ได้แต่เพื่อให้หลาบจำจึงให้ปรับจำเลยที่ 3 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีกสถานหนึ่งเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี จึงให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4ซึ่งมิได้ฎีกา ได้รับผลแห่งการลงโทษโดยรอการลงโทษ และปรับเช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 ที่ฎีกาด้วย