พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8717/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการต้องอยู่ภายในสัญญา การปฏิบัติตามสัญญาและการปรับลดค่าปรับ
คำร้องของผู้ร้องแสดงเหตุอย่างชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการไม่อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาหรือเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการอย่างไร และขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าว เป็นคำร้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องนำสืบแต่เพียงลอยๆ ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อธรรมเนียมการก่อสร้าง จึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 34 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยไม่นำสืบว่าธรรมเนียมการก่อสร้างนั้น
ปฏิบัติกันอย่างไร ข้ออ้างของผู้ร้องตามคำแก้อุทธรณ์จึงฟังไม่ขึ้น
สัญญาว่าจ้างข้อที่ 3 ข้อที่ 18 และข้อที่ 20 มีข้อตกลงกล่าวโดยสรุปว่า การขอขยายระยะเวลาทำงานหรือระยะเวลาก่อสร้าง ผู้ร้องจะต้องแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นที่อนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า แม้งานบางส่วนมีอุปสรรคเกี่ยวกับการรอแบบและวัสดุที่แก้ไข แต่มีงานหลายอย่างที่ไม่มีปัญหาแต่ผู้ร้องกลับทำไม่แล้วเสร็จ และผู้ร้องไม่ทำหนังสือขอขยายเวลาทำการตามสัญญาข้อที่ 20 ถือว่าผู้ร้องสละสิทธิการขอขยายเวลาและถือว่าผู้ร้องผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงชอบนั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักและเงื่อนไขตามสัญญาว่าจ้างงานภูมิสถาปัตย์แล้ว จึงอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ
การที่ผู้ร้องอ้างเหตุทำนองว่าความล่าช้าของงานเกิดจากความผิดของผู้คัดค้านที่มีส่วนร่วมด้วยหรือผู้คัดค้านทราบเหตุแห่งการล่าช้าทุกครั้งเมื่อไม่มีการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรโดยไม่มีเหตุผล ผู้ร้องมีสิทธิขอขยายระยะเวลาทำงานออกไปได้นั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกันย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ
การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าผู้ร้องปฏิบัติผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ ผู้ร้องจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามสัญญาข้อที่ 21 แต่เห็นว่าค่าปรับที่ตกลงเป็นค่าเสียหายกรณีปฏิบัติผิดสัญญามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วนจึงปรับลดให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ไม่ใช่การวินิจฉัยนอกเหนือสัญญาและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงไม่ใช่คำชี้ขาดข้อพิพาทซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และไม่เป็นกรณีที่ว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง (1) (ง), (2) (ข) อันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้
ผู้ร้องนำสืบแต่เพียงลอยๆ ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อธรรมเนียมการก่อสร้าง จึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 34 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยไม่นำสืบว่าธรรมเนียมการก่อสร้างนั้น
ปฏิบัติกันอย่างไร ข้ออ้างของผู้ร้องตามคำแก้อุทธรณ์จึงฟังไม่ขึ้น
สัญญาว่าจ้างข้อที่ 3 ข้อที่ 18 และข้อที่ 20 มีข้อตกลงกล่าวโดยสรุปว่า การขอขยายระยะเวลาทำงานหรือระยะเวลาก่อสร้าง ผู้ร้องจะต้องแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นที่อนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า แม้งานบางส่วนมีอุปสรรคเกี่ยวกับการรอแบบและวัสดุที่แก้ไข แต่มีงานหลายอย่างที่ไม่มีปัญหาแต่ผู้ร้องกลับทำไม่แล้วเสร็จ และผู้ร้องไม่ทำหนังสือขอขยายเวลาทำการตามสัญญาข้อที่ 20 ถือว่าผู้ร้องสละสิทธิการขอขยายเวลาและถือว่าผู้ร้องผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงชอบนั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักและเงื่อนไขตามสัญญาว่าจ้างงานภูมิสถาปัตย์แล้ว จึงอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ
การที่ผู้ร้องอ้างเหตุทำนองว่าความล่าช้าของงานเกิดจากความผิดของผู้คัดค้านที่มีส่วนร่วมด้วยหรือผู้คัดค้านทราบเหตุแห่งการล่าช้าทุกครั้งเมื่อไม่มีการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรโดยไม่มีเหตุผล ผู้ร้องมีสิทธิขอขยายระยะเวลาทำงานออกไปได้นั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกันย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ
การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าผู้ร้องปฏิบัติผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ ผู้ร้องจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามสัญญาข้อที่ 21 แต่เห็นว่าค่าปรับที่ตกลงเป็นค่าเสียหายกรณีปฏิบัติผิดสัญญามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วนจึงปรับลดให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ไม่ใช่การวินิจฉัยนอกเหนือสัญญาและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงไม่ใช่คำชี้ขาดข้อพิพาทซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และไม่เป็นกรณีที่ว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง (1) (ง), (2) (ข) อันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3263/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง การริบหลักประกันต้องรอผลอนุญาโตตุลาการ
สัญญาจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ผู้รับจ้างคือ ผู้ร้องและบริษัท ฟ. คู่สัญญาร่วมนำหลักประกันเป็นจำนวนเงิน 16,850,000 บาท มามอบให้ผู้ว่าจ้าง คือ ผู้คัดค้าน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา หลักประกันเป็นเงินสดหรือหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร ผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมได้ดำเนินการตามข้อกำหนดข้อนี้ของสัญญาเรียบร้อยแล้ว สัญญาค้ำประกันจึงเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของสัญญาจ้าง ซึ่งเป็นสัญญาหลักหรือสัญญาประธาน ต้องถือว่าสัญญาค้ำประกันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง หาใช่เป็นสัญญาที่แยกจากสัญญาจ้าง
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดเจนว่า ธนาคารผู้ค้ำประกันจะต้องชำระเงินที่ค้ำประกันไว้ตามสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ หรือต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใดๆ หรือผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้าง มีความหมายว่า สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่จะเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามที่ค้ำประกันไว้แก่ผู้คัดค้านจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหาย หรือต้องชำระค่าปรับ หรือค่าใช้จ่าย หรือมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญา การที่ผู้คัดค้านบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมไม่สามารถสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าได้ทันภายในกำหนดเวลาในสัญญาจ้างได้ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมผิดสัญญาจ้างและขอริบหลักประกัน แต่เมื่อผู้ร้องได้ขอบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาจ้างเช่นกัน จึงเป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญา อันจะต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาและชี้ขาดตามสัญญาจ้าง ข้อ 20
ผู้ค้ดค้านจะริบหลักประกันตามสัญญาจ้างได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่ว่าอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาและชี้ขาดเสียก่อนว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้ผู้คัดค้านทวงถามหรือขอรับเงินอันเป็นหลักประกัน การที่ศาลมีหนังสือห้ามมิให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินที่ค้ำประกันแก่ผู้คัดค้าน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันคือ ห้ามผู้คัดค้านได้รับเงินอันเป็นหลักประกันไว้ชั่วคราวจนกว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาชี้ขาดข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทแล้ว จึงมิใช่เป็นการห้ามเกินคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือสั่งเกินคำขอของผู้ร้อง
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดเจนว่า ธนาคารผู้ค้ำประกันจะต้องชำระเงินที่ค้ำประกันไว้ตามสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านในกรณีที่ผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ หรือต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใดๆ หรือผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้าง มีความหมายว่า สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่จะเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินตามที่ค้ำประกันไว้แก่ผู้คัดค้านจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ร้องหรือบริษัทคู่สัญญาร่วมก่อให้เกิดความเสียหาย หรือต้องชำระค่าปรับ หรือค่าใช้จ่าย หรือมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใดๆ ที่กำหนดในสัญญา การที่ผู้คัดค้านบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมไม่สามารถสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าได้ทันภายในกำหนดเวลาในสัญญาจ้างได้ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องและบริษัทคู่สัญญาร่วมผิดสัญญาจ้างและขอริบหลักประกัน แต่เมื่อผู้ร้องได้ขอบอกเลิกสัญญาจ้างโดยอ้างว่าผู้คัดค้านผิดสัญญาจ้างเช่นกัน จึงเป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญา อันจะต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาและชี้ขาดตามสัญญาจ้าง ข้อ 20
ผู้ค้ดค้านจะริบหลักประกันตามสัญญาจ้างได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่ว่าอนุญาโตตุลาการได้พิจารณาและชี้ขาดเสียก่อนว่าผู้ร้องหรือผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้ผู้คัดค้านทวงถามหรือขอรับเงินอันเป็นหลักประกัน การที่ศาลมีหนังสือห้ามมิให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินที่ค้ำประกันแก่ผู้คัดค้าน ย่อมมีความหมายอย่างเดียวกันคือ ห้ามผู้คัดค้านได้รับเงินอันเป็นหลักประกันไว้ชั่วคราวจนกว่าอนุญาโตตุลาการจะพิจารณาชี้ขาดข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทแล้ว จึงมิใช่เป็นการห้ามเกินคำสั่งของศาลชั้นต้นหรือสั่งเกินคำขอของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260-3261/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน - สิทธิเรียกร้องก่อนมีคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ - การคุ้มครองประโยชน์ก่อนเสียหาย
เมื่อการวินิจฉัยชี้ขาดว่าสัญญาเป็นโมฆะเพราะผู้คัดค้านเข้าทำสัญญาโดยสำคัญผิดในตัวบุคคลที่อยู่ในกิจการร่วมค้ากับผู้ร้องหรือไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งในชั้นอนุญาโตตุลาการ ข้อเท็จจริงที่ว่าสัญญาเป็นโมฆะหรือไม่ จึงยังไม่ยุติ ผู้ร้องชอบที่จะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามเงื่อนไขในสัญญาได้ทั้งการฟ้องคดีอาญาฐานฉ้อโกงต่อผู้ร้อง อันเกี่ยวเนื่องจากผู้คัดค้านสำคัญผิดในตัวบุคคลของคู่สัญญา ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาลงโทษผู้ใด ข้อเท็จจริงเรื่องความสำคัญผิดในตัวบุคคลเกี่ยวพันกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงจึงยังไม่ยุติอันจะพึงถือว่าสัญญาเป็นโมฆะผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าผู้คัดค้านเรียกร้องให้กลุ่มธนาคารทั้งห้าชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันให้ผู้คัดค้านแล้ว ซึ่งเป็นการกระทำต่อไปในทำนองว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลมีคำสั่งจัดให้มีวิธีคุ้มครองป้องกันการกระทบสิทธิของผู้ร้องก่อนเกิดความเสียหายโดยห้ามชั่วคราวไม่ให้ผู้คัดค้านเรียกร้องเงินตามหนังสือค้ำประกันจากธนาคารไว้จนกว่าอนุญาโตตุลาการจะมีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (2) ได้โดยไม่จำต้องเป็นกรณีที่ผู้คัดค้านกระทำการใดๆ อันเป็นการก่อความเสียหายแก่ผู้ร้องโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเป็นที่สุด ผลบังคับใช้ แม้มีการชี้ขาดซ้ำโดยอนุญาโตตุลาการชุดใหม่
คณะอนุญาโตตุลาการชุดก่อนได้มีคำชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกันผู้คัดค้านว่า การที่ผู้คัดค้านในฐานะผู้ได้รับสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 เรียกเก็บค่าผ่านทางเพิ่มเติมตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนั้น เป็นการไม่สอดคล้องกับสัญญาสัมปทาน ต่อมาผู้ร้องได้เสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการขอให้ผู้คัดค้านคืนเงินค่าผ่านทางเพิ่มเติมพร้อมดอกเบี้ยที่ได้รับจากประชาชนผู้ใช้ทางให้แก่ผู้ร้องซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับเงินค่าผ่านทางระหว่างการปรับเพิ่มอัตราค่าผ่านทาง เพราะชอบด้วยสัญญาและกฎหมาย และให้ผู้ร้องใช้ค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลัง แต่ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยในคดีที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ร้องยื่นฟ้องผู้ร้องเป็นผู้คัดค้านโดยมูลคดีเดียวกับคดีนี้ขอให้พิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งวินิจฉัยว่า ผู้ร้องในคดีนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินส่วนแบ่งค่าผ่านทางอัตราที่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่มีการปรับอัตราค่าผ่านทางเพิ่มพร้อมดอกเบี้ยจากผู้คัดค้านในคดีนี้ และให้ผู้ร้องในคดีนี้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้านในคดีนี้ตามคำเรียกร้องแย้ง โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดก่อนย่อมเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 21 วรรคสี่ ไม่อาจนำข้อโต้แย้งขึ้นสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการได้อีก การที่ผู้คัดค้านนำข้อพิพาทเรื่องเดียวกันมายื่นเรียกร้องแย้งต่อคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลัง เพื่อให้ชี้ขาดซ้ำอีก ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะทำลายหลักการสำคัญของมาตรา 23 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้คำชี้ขาดเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีโดยสิ้นเชิงไร้ประสิทธิผลโดยปริยาย การที่คณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังมีคำชี้ขาดข้อพิพาทเดียวกันใหม่จึงไม่ชอบตามบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งใช้บังคับอยู่ขณะชี้ขาดและศาลฎีกาในคดีดังกล่าวพิพากษาให้ยกคำร้องของผู้คัดค้านในคดีนี้ และเมื่อคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดก่อนย่อมเป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณีตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 22 วรรคหนึ่งและคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 23 วรรคหนึ่ง กรณีหาจำต้องมีคำสั่งศาลฎีกาเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังอีกไม่ ทั้ง ป.วิ.พ. มาตรา 144 มีบทบัญญัติห้ามมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกรณีจึงไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการชุดหลังตามคำขอของผู้ร้องอีกการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องเป็นการชอบแล้ว คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องนำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือไม่อีกต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลคำวินิจฉัยทั้งมวลในคดีนี้เปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1384/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: รวมคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเป็นคดีเดียวได้ หากมูลหนี้เกี่ยวข้องกันและเกิน 300,000 บาท
ผู้ร้องและผู้คัดค้านในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกัน และมูลคดีล้วนเนื่องมาจากการขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และผู้คัดค้านโต้แย้งว่าผู้คัดค้านถอนตัวจากความผูกพันตามสัญญาระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยแล้ว อนุญาโตตุลาการจึงไม่มีอำนาจรับเรื่องไว้พิจารณาและชี้ขาด ดังนั้น ประเด็นสำคัญแห่งคดีตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยทั้ง 23 คำชี้ขาด จึงเป็นเรื่องเดียวกัน มูลหนี้ที่ผู้ร้องนำมาร้องขอบังคับในคดีนี้จึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมพิจารณาเข้าด้วยกันได้ เมื่อมูลหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการสมาคมประกันวินาศภัยทั้ง 23 คำชี้ขาด รวมกันเป็นเงินเกินกว่า 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ที่จะพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ต่ออำนาจศาลในการพิจารณาคดีอุทธรณ์ และการบังคับตามคำชี้ขาด
แม้ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาจะปรากฏว่า พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มีผลใช้บังคับแล้ว และมิได้มีบทเฉพาะกาลให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปก็ตาม แต่เมื่อขณะที่จำเลยยื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้นั้น คดียังอยู่ในระหว่างใช้บังคับตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 อยู่ คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะต้องรับไว้พิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10878/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: การใช้ดุลพินิจของศาลเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการครั้งแรกต่อศาลแพ่งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง และเป็นการยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดได้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แล้ว ศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดี ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดอีกครั้งต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งยังไม่ล่วงเลยระยะเวลา 3 ปี ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แต่ล่วงเลยระยะเวลา 90 วัน ตามมาตรา 40 วรรคสอง ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขออีกครั้งเพราะเหตุที่การยื่นครั้งแรกมีข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจศาลถือว่าข้อบกพร่องในการยื่นคำร้องขอแต่แรกต่อศาลหนึ่งแต่ในที่สุดศาลนั้นไม่รับคำร้องขอ เพราะคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลนั้นจนต้องยื่นคำร้องขออีกครั้งหนึ่งต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้ร้องขอต้องเสื่อมเสียสิทธิ นอกจากนี้กำหนดระยะเวลาเช่นนี้ก็เป็นกำหนดระยะเวลาที่ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ขยายได้ตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 23 หรือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 37 ด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ภายหลังศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอฉบับแรกเพียง 60 วัน แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องยังประสงค์จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาตามคำร้องขอของผู้ร้องอยู่ และจำเป็นต้องทำคำร้องขอยื่นใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาภายในเวลาพอสมควร อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามความจำเป็นโดยสุจริต จึงมีเหตุสมควรอย่างยิ่งที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จะใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 37 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 23 สั่งให้ขยายกำหนดระยะเวลาการยื่นคำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6831/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: การส่งสำเนาคำชี้ขาดเป็นเงื่อนไขสำคัญ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะพิพาท มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า เมื่อทำคำชี้ขาดแล้วอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดจะต้องจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกคน และมาตรา 23 บัญญัติให้คู่กรณีฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีตามมาตรา 21 วรรคสี่แล้ว แสดงว่าผู้ร้องจะเกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ก็ต่อเมื่อมีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว แม้อนุญาโตตุลาการจะมีหน้าที่จัดส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านดังที่ผู้ร้องอุทธรณ์ แต่ผู้ร้องก็ยังมีหน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้ร้องที่นำสืบมายังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่ามีการส่งสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถึงผู้คัดค้านซึ่งจะต้องถูกบังคับตามคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องจึงยังไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ศาลชั้นต้นบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231-2233/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการเป็นหลักประกันความยุติธรรม การไม่เปิดเผยข้อมูลการถือหุ้นถือเป็นเหตุแห่งความไม่เป็นอิสระ
ความเป็นกลางและเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้แก่คู่พิพาท หากอนุญาโตตุลาการปราศจากเสียซึ่งความเป็นกลางและเป็นอิสระแล้ว คู่พิพาทก็จะไม่ได้รับความเป็นธรรมและกระบวนการอนุญาโตตุลาการก็จะไม่ได้รับการยอมรับ บทบัญญัตินี้จึงเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางและเป็นอิสระของผู้คัดค้านที่ 1 ในการปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 ดังนั้น การที่ผู้ร้องทั้งสามสำนวนอุทธรณ์คัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งได้รับเลือกเป็นประธานอนุญาโตตุลาการขาดความเป็นกลางและเป็นอิสระ จึงเป็นการกล่าวอ้างคัดค้านว่าคำสั่งศาลชั้นต้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 45 (2) แห่งพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อโอนหุ้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมต้องรู้อยู่ก่อนแล้วว่าหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 ออกในนามของตนเอง แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะเห็นว่าตนไม่มีส่วนได้เสียในการซื้อหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 แต่ผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งอาจเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของตนให้คู่พิพาททราบ การที่ผู้คัดค้านไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการขัดต่อหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการรวมทั้งเป็นประธานอนุญาโตตุลาการได้
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อโอนหุ้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมต้องรู้อยู่ก่อนแล้วว่าหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 ออกในนามของตนเอง แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะเห็นว่าตนไม่มีส่วนได้เสียในการซื้อหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 แต่ผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งอาจเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของตนให้คู่พิพาททราบ การที่ผู้คัดค้านไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการขัดต่อหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการรวมทั้งเป็นประธานอนุญาโตตุลาการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการปล่อยทรัพย์สิน: การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามลำดับชั้นของศาลและต้องเข้าข่ายตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ต่อศาลฎีกากระทำได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) - (5) เท่านั้น คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินต่าง ๆ ที่อ้างว่าเป็นของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 มิใช่กรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว การอุทธรณ์หรือฎีกาต้องเป็นไปตามลำดับชั้นของศาล ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนมายังศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้อง แต่เนื่องจากคู่ความได้สืบพยานมาเสร็จสิ้น พยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่