พบผลลัพธ์ทั้งหมด 317 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน - การคิดดอกเบี้ย - ทวงถามหนี้ - อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
พ. ทำสัญญารับสภาพหนี้ให้ไว้ต่อโจทก์โดยมิได้ตกลงให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราเท่าใดและไม่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของ พ. โดยในสัญญาค้ำประกันมิได้ระบุกำหนดเวลาชำระหนี้เช่นกัน ดังนี้ โจทก์จะต้องทวงถามจำเลยก่อน หากจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงจะมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้และคิดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5587/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาขายลดเช็ค: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้องและขอบเขตการฟ้องร้อง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยอย่างสูงที่ธนาคารพาณิชย์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าเป็นเพียงให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ตกลงอัตราดอกเบี้ยกับลูกค้าได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดเท่านั้นส่วนจะคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าได้ในอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามข้อตกลงระหว่างธนาคารพาณิชย์กับลูกค้าธนาคารโจทก์จึงไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นโดยจำเลยที่1ไม่รู้เห็นยินยอม การรับสภาพหนี้เป็นเพียงการยอมรับสภาพความรับผิดในมูลหนี้เดิมหาได้เป็นเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปไม่ โจทก์คิดดอกเบี้ยสำหรับหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาเป็นการไม่ชอบนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายแม้จำเลยที่1จะมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การแต่เนื่องจากโจทก์บรรยายฟ้องว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีตามสัญญาข้อเท็จจริงเพิ่งปรากฎจากคำเบิกความของพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ตกลงไว้ในสัญญาในช่วงเวลาบางตอนจำเลยที่1ไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นได้เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้จำเลยที่1จึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคสอง ธนาคารโจทก์ฟ้องเรียกร้องจำนวนหนี้เบิกเงินเกินบัญชีมาโดยคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามสัญญาทั้งจำเลยที่1เบิกเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าฝากหลายครั้งมีผลให้จำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์คิดทบต้นจากยอดหนี้คงเหลือแต่ละคราวเปลี่ยนแปลงไปกรณีเช่นนี้ต่างไม่มีหน้าที่จะคำนวณยอดหนี้ที่ถูกต้องให้โจทก์ใหม่ต่างจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ส่วนนี้เสียโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีส่วนนี้มายื่นฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเพิ่มจากอัตราที่ตกลงกันในสัญญากู้ยืม ศาลไม่อนุมัติหากโจทก์ไม่แจ้งพฤติการณ์พิเศษและจำเลยไม่ยินยอม
ค่าเสียหายที่ว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์จะได้ประโยชน์จากการเอาเงินที่จำเลยชำระไปให้ลูกค้ารายอื่นของโจทก์กู้ยืมโจทก์จะได้ดอกเบี้ยตามอัตราที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราที่โจทก์เรียกเก็บได้จากจำเลยนั้นเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ และโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า ทั้งจำเลยยังไม่ได้รับทราบหรือยินยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นล่วงหน้าก่อนว่าการผิดนัดของจำเลยทำให้โจทก์เสียหายมากกว่าดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์เรียกเก็บจากจำเลยขณะผิดนัด โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากร้อยละ 15.5 ต่อปีเป็นร้อยละ 16.5 ต่อปี ร้อยละ 17 ต่อปีร้อยละ 18.5 ต่อปี หลังจากครบกำหนดชำระเงินคืนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของคู่สัญญาในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสัญญาขยายระยะเวลา สัญญาฉบับหลังมีผลบังคับใช้
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศและสัญญาขยายระยะเวลาศึกษาต่ออีก 2 ฉบับ มีข้อความอย่างเดียวกัน จะต่างกันก็แต่รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จำเลยลาไปศึกษาต่อตามที่ได้ขอขยายจากกำหนดเดิมออกไปและอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาเท่านั้น และสัญญาแต่ละฉบับไม่มีข้อความเท้าถึงกันซึ่งตามสัญญาและสัญญาขยายระยะเวลาครั้งแรกระบุดอกเบี้ยของเงินที่ต้องชำระอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญาฉบับสุดท้ายคิดดอกเบี้ยในกรณีเดียวกันอัตราร้อยละ12 ต่อปี ดังนี้ การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยขยายเวลาศึกษาต่อโดยได้ทำสัญญาขยายระยะเวลาฉบับสุดท้ายนั้น จึงมีผลทำให้จำเลยมิต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเดิมที่ทำกันไว้กับมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาจากเดิมร้อยละ 15 ต่อปี มาเป็นร้อยละ 12 ต่อปี กรณีนี้เมื่อสัญญาทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใด เป็นเรื่องที่จะต้องตีความเจตนาของคู่สัญญา โดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษร การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลดหย่อนจากอัตราเดิมที่ทำกันไว้นั้น จะว่าไม่มีผลใช้บังคับเลยนั้นไม่ได้ รูปคดีมีเหตุให้ตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้าย เมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์จะยกเอาเจตนาเดิมมาลบล้างสัญญาซึ่งโจทก์กับจำเลยทำกันโดยตกลงกันใหม่หาได้ไม่ จำเลยจึงมีความผูกพันต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ดังระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าตัวอักษร: การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาต่อเนื่อง
สัญญาที่จำเลยทำกับโจทก์ทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใดเป็นเรื่องที่จะต้องตีความเจตนาของคู่สัญญาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษรทั้งรูปคดีมีเหตุตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้ายจำเลยจึงมีความผูกพันชำระดอกเบี้ยของต้นเงินตามสัญญาฉบับสุดท้ายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการทำสัญญาขยายเวลาและเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกัน เจตนาคู่สัญญาสำคัญกว่าตัวอักษร
สัญญา ข้าราชการไป ศึกษาต่อภายในประเทศและสัญญาขยายระยะเวลาศึกษาต่ออีก2ฉบับมีข้อความอย่างเดียวกันจะต่างกันก็แต่รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาที่จำเลยลาไปศึกษาต่อตามที่ได้ขอขยายจากกำหนดเดิมออกไปและอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญาเท่านั้นและสัญญาแต่ละฉบับไม่มีข้อความเท้าถึงกันซึ่งตามสัญญาและสัญญาขยายระยะเวลาครั้งแรกระบุดอกเบี้ยของเงินที่ต้องชำระอัตราร้อยละ15ต่อปีส่วนสัญญาฉบับสุดท้ายคิดดอกเบี้ยในกรณีเดียวกันอัตราร้อยละ12ต่อปีดังนี้การที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยขยายเวลาศึกษาต่อโดยได้ทำสัญญาขยายระยะเวลาฉบับสุดท้ายนั้นจึงมีผลทำให้จำเลยมิต้องตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาเดิมที่ทำกันไว้กับมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในสัญญาจากเดิมร้อยละ15ต่อปีมาเป็นร้อยละ12ต่อปีกรณีนี้เมื่อสัญญาทั้งสามฉบับได้ทำต่อเนื่องกันมาโดยระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญาแต่ละฉบับแตกต่างกันอย่างชัดเจนซึ่งอาจตีความได้สองนัยว่าจะบังคับตามสัญญาฉบับใดเป็นเรื่องที่จะต้อง ตีความ เจตนาของคู่สัญญาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาเป็นสำคัญยิ่งกว่าตัวอักษรการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้ลดหย่อนจากอัตราเดิมที่ทำกันไว้นั้นจะว่าไม่มีผลใช้บังคับเลยนั้นไม่ได้รูปคดีมีเหตุให้ตีความได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะผ่อนผันให้แก่กันโดยมีความประสงค์จะบังคับตามสัญญาฉบับสุดท้ายเมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์จะยกเอาเจตนาเดิมมาลบล้างสัญญาซึ่งโจทก์กับจำเลยทำกันโดยตกลงกันใหม่หาได้ไม่จำเลยจึงมีความผูกพันต้องชำระดอกเบี้ยของต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ12ต่อปีดังระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงิน, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระ, การคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุในตั๋ว
โจทก์ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจเงินทุน ในระหว่างที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากลูกค้าได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 18.5 ต่อปี ตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยออกให้แก่โจทก์สองฉบับมีข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 18 และ 18.5 ต่อปีตามลำดับ และมิได้ระบุไว้ว่าให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันใด จึงต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินทั้งสองฉบับดังกล่าวนับแต่วันที่ลงในตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 911, 968, 985 เมื่อได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวและครบกำหนดใช้เงินจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัด โจทก์ผู้ทรงจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา กู้เบิกเงินเกินบัญชี ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน
โจทก์ฟ้องขอ ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ศาลชั้นต้นให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยในอัตราตามฟ้องได้หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหานี้เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเบิกเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยตามข้อตกลงที่แตกต่างกันตามประเภทการทำรายการ
ตามข้อตกลงการฝากเงินบัญชีกระแสรายวันของธนาคารโจทก์ข้อ 10 ระบุว่า ในกรณีธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนด้วยเหตุใดก็ตาม ทั้งที่เงินฝากคงเหลือในบัญชีของข้าพเจ้ามีไม่พอจ่ายตามเช็คที่มาขอขึ้นเงิน ซึ่งตามปกติธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินนั้นเสียก็ได้นั้น ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคารโดยถือเสมือนหนึ่งว่า ข้าพเจ้าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯ และข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ข้าพเจ้านำเช็คฝากเข้าบัญชีและในวันนำฝากนั้นธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายเงินส่วนหนึ่งหรือเต็มมูลค่าเช็คที่นำฝากนั้นให้ไปก่อนโดยที่ธนาคารยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บเงิน และเช็คดังกล่าวถูกคืนมาโดยมิใช่เนื่องจากความบกพร่องของธนาคารเอง ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เบิกเกินนั้นคืนให้ธนาคารโดยถือเสมือนหนึ่งว่าได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารและยินยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินส่วนที่เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคารในอัตราสูงสุดเท่าที่กฎหมายจะอนุญาต นับแต่วันที่เบิกเกินจนถึงวันชำระหนี้เงินเบิกเกินคืน ฯลฯ ซึ่งข้อความในข้อ 11 นั้นหมายถึงจำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีและโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ ไม่ใช่กรณีโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินให้จำเลยไปโดยไม่มีการนำเช็คฝากเข้าบัญชี ซึ่งต้องบังคับกันตามข้อตกลงข้อ 10 เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยนำเช็คมาฝากเข้าบัญชีโดยโจทก์จ่ายเงินตามเช็คที่มาขอเบิกให้จำเลยไปก่อน แต่แล้วโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินกู้, สัญญาค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม, อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามสัญญากู้เงินจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี อันเป็นไปตามสิทธิที่ธนาคารโจทก์จะเรียกได้ตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523ประกอบด้วยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2524ข้อ2 ฉะนั้นแม้จะถึงกำหนดชำระหนี้เงินกู้ยืมคืนและจำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระคืนแก่โจทก์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18ต่อปีได้ เพราะถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น หนังสือค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบในจำนวนเงินที่กู้ 3,220,000 บาท แทนกัน แต่สัญญาค้ำประกันทั้งสองฉบับได้ระบุจำนวนเงินกู้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ เพื่อประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในวงเงิน 3,220,000 บาทเช่นนี้เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนยอมเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสอง ซึ่งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่แบ่งส่วนความรับผิดกันไม่