คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพาะพันธุ์ปลาไม่อยู่ในบังคับ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และ คจก. ไม่มีอำนาจพิจารณา
เช่าที่ดินเพื่อดำเนินธุรกิจเพาะพันธุ์ปลาเป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นถือไม่ได้ว่าเป็นการเช่านาตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพ.ศ.2524ต้องนำมาตรา63แห่งพระราชบัญญัตินี้ที่การคุ้มครองต้องมีพระราชกฤษฎีกาออกมาใช้บังคับซึ่งขณะนี้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกรณีจึงไม่อยู่ในอำนาจของ คจก.ตำบล และ คจก.จังหวัดจะพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินค่าหุ้นค้างชำระหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียกเก็บได้
การที่จะเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกในแต่ละคราวนั้นเป็นดุลพินิจของกรรมการที่จะเรียกจากผู้ถือหุ้นเมื่อใด เป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังคงดำรงอยู่ หาใช่ว่าต้องเรียกภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนบริษัทไม่
กรรมการบริษัทจำเลยไม่เคยส่งคำบอกกล่าวเรียกเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกไปยังผู้ถือหุ้น ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 และ 119 เรียกให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยชำระเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกทั้งหมดได้ สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์บริษัทจำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระแก่จำเลยผู้ร้องก็ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งยกคำสั่งยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องโดยมิได้กำหนดให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยนั้น ยังไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119วรรคสาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ผู้ร้องชำระค่าหุ้นแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2443/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเอกสารให้พยานฝ่ายตรงข้ามดูแล้วส่งศาล ถือเป็นการสืบพยานหลักฐานนอกอำนาจจำเลยขาดนัด
เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์ไม่มีสิทธินำพยานของจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารการที่จำเลยนำเอกสารมาให้พยานโจทก์ดูประกอบการถามค้านพยานโจทก์แล้วส่งเอกสารนั้นต่อศาลโดยที่พยานโจทก์ไม่ได้เบิกความรับรองข้อความในเอกสารดังกล่าวเท่ากับจำเลยเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การประชุมแทน, และอำนาจคณะกรรมการ
พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลพ.ศ.2427มาตรา11กำหนดให้ผู้แทนชาวไร่อ้อยและผู้แทนโรงงานเท่านั้นที่จะต้องไม่เป็นข้าราชการการเมืองหรือดำรงตำแหน่งในทางการเมืองส่วนข้าราชการในกระทรวงอุตสาหกรรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งตามมาตรา9ไม่มีข้อห้ามเหมือนกับมาตรา11ฉะนั้นแม้ข้าราชการดังกล่าวจะเป็นวุฒิสมาชิกก็ไม่ขาดคุณสมบัติไม่ขัดต่อกฎหมาย กรรมการในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลบางส่วนเป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการเมื่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการดังกล่าวไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องมาประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการดังกล่าวย่อมจะมอบหมายให้ข้าราชการในกระทรวงที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนในฐานะผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ได้การประชุมที่มีผู้มาประชุมแทนดังกล่าวจึงชอบด้วยพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลพ.ศ.2527มาตรา15 คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาบทรายมีอำนาจตั้งคณะกรรมการบริหารได้ตามมาตรา20และมีอำนาจตั้งคณะกรรมการน้ำตาลทราบได้ตามมาตรา41ส่วนการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายก็เพื่อให้คณะที่ปรึกษากฎหมายให้ความเห็นประกอบการพิจารณาเท่านั้นการตั้งคณะที่ปรึกษากฎหมายจึงไม่ขัดกฎหมายใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอายัดทรัพย์สินจำกัดเฉพาะผู้มีหน้าที่เสียภาษี การฟ้องเพิกถอนอายัดไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหาย จึงไม่ตกอยู่ในอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ. มาตรา 448
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรเท่านั้น เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรของ ส. และโจทก์ยังเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามกฎหมายอยู่ แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นฟ้องโจทก์และ ส. ขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลไว้แล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจอายัดที่ดินพิพาทของโจทก์
กรมสรรพากรจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้สั่งอายัดที่ดินพิพาท จึงไม่อบที่จะให้จำเลยที่ 1 เพิกถอนคำสั่งอายัดของผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1840/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการรับอำนาจผู้จัดการมรดก ศาลพิพากษาถูกต้องตามกระบวนการ
แม้ทนายจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีไว้ก่อนสืบพยานก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีโดยสั่งในวันที่ทนายจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องนั้นเอง ซึ่งในตอนท้ายคำร้องมีข้อความระบุว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ดังนี้ จึงถือว่าทนายจำเลยทั้งสองทราบคำสั่งศาลโดยชอบแล้ว การที่ทนายจำเลยทั้งสองไม่ทราบคำสั่งศาลดังกล่าวจึงเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยทั้งสองเอง
การที่จำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์ คือ ไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วในวันที่จำเลยทั้งสองไม่มาศาล และหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้น จำเลยทั้งสองก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีก เพราะหมดเวลาที่จำเลยทั้งสองจะนำพยานเข้าสืบแล้ว ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาแล้วทำการสืบพยานโจทก์ไปในวันนั้นจนเสร็จสิ้นและมีคำพิพากษาไปในวันเดียวกันจึงชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ส่งมอบโฉนดที่ดินมรดกแก่โจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เพื่อโจทก์จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ใช่ทายาท แต่ไม่ได้ปฏิเสธว่า โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของผู้ตาย จึงเท่ากับรับว่าโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจริง ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อจะจัดการแบ่งปันมรดกแก่ทายาทตามหน้าที่ของโจทก์ต่อไป เพราะในชั้นนี้มิได้พิพาทกันว่าทรัพย์มรดกสิ่งใดเป็นของทายาทคนใดหรือผู้ใดเป็นทายาทของเจ้ามรดกหรือไม่ศาลจึงชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบโฉนดที่ดินตามฟ้องแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1710/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้เท่านั้น
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมโดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏและแจ้งจำนวนเงินที่ต้องชำระอีกไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้จะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้หาได้ไม่ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมิน อีกทั้งยังเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19, 20
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2526ทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ จึงเป็นการพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฏากร ส่วนประมวลรัษฎากร มาตรา 31วรรคสอง นั้น มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเนื่องจากทนายความไม่มีอำนาจ
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอ้างว่า จำเลยมิได้ลงชื่อแต่งตั้งให้ ว.เป็นทนายความของจำเลย แต่ ว.ได้รับสำเนาคำฟ้องโจทก์ ทำคำให้การแก้คดี และดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะทนายความของจำเลยตลอดมา เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นหลงผิดดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปจนกระทั่งมีคำพิพากษาตามยอม ให้จำเลยชดใช้เงินแก่โจทก์โดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยนั้น หากข้อเท็จจริงเป็นดังคำร้องของจำเลย กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นย่อมเป็นการไม่ชอบ เพราะเท่ากับไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเพื่อแก้คดี และหากจำเลยต้องผูกพันถูกบังคับตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว โดยไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้จำเลยย่อมได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความยุติธรรม จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427-1428/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายในการถอนอุทธรณ์: สิทธิถอนรวมอยู่ในอำนาจอุทธรณ์
ตามใบแต่งทนายความของโจทก์ทนายโจทก์มีอำนาจถอนฟ้องและสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์รวมอยู่ด้วยฉะนั้นทนายโจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1403/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้อนุบาลยื่นคำร้องจัดการมรดก และผลกระทบจากการล้มละลายของผู้จัดการมรดก
การที่คำร้องขอของผู้ร้องและชื่อคู่ความในคดีระบุว่า พ.คนไร้ความสามารถ โดย ว.ผู้อนุบาลเป็นผู้ร้อง เมื่ออ่านประกอบกับข้อความในตอนท้ายของคำร้องขอซึ่งบรรยายว่า ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถ ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกและยังเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายย่อมสามารถเข้าใจได้แจ้งชัดว่าผู้ร้องคือ ว.ยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาลของ พ.คนไร้ความสามารถโดยกระทำการแทน พ.คนไร้ความสามารถ มิใช่ พ.คนไร้ความสามารถเป็นผู้ร้องเองหรือ ว.ในฐานะส่วนตัวเป็นผู้ร้อง คำร้องขอจึงไม่เคลือบคลุม
แม้ศาลจะมีคำสั่งให้ พ.เป็นคนไร้ความสามารถโดยมี ย.และผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล แต่เมื่อต่อมาศาลมีคำพิพากษาให้ ย.เป็นบุคคลล้มละลาย ย่อมเป็นเหตุทำให้การเป็นผู้อนุบาลของ ย.สิ้นสุดลง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอในฐานะผู้อนุบาล พ.ได้โดยลำพัง
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้ง ย.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ต่อมาย.ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมขาดคุณสมบัติการเป็นผู้จัดการมรดกทำให้กองมรดกของผู้ตายไม่มีผู้จัดการมรดก แม้ขณะที่ ย.เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งปันมรดกกับทายาทบางคน ก็ไม่ปรากฏว่า ย.ได้แบ่งทรัพย์มรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความเรียบร้อยแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ทายาทอีกสองคนคือ ก.และ พ.มิได้ตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วยดังนั้น การจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงมีเหตุขัดข้องต้องตั้งผู้จัดการมรดกอีก
of 98