คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุบัติเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประเมินค่าเสียหายทางกายและทรัพย์สิน
โจทก์ที่ 1 ได้รับบาดเจ็บสะบ้า หัวเข่าขวาแตก ได้รับอันตรายสาหัสนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลถึง15 วัน และเมื่อออกจากโรงพยาบาลแล้วยังต้องไปรักษาตัวต่อที่บ้านอีกหลายเดือนจึงค่อย เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้นแต่ก็ยังไม่ปกติ สมควรกำหนดค่าป่วยเจ็บที่ต้องทนทุกข์ทรมาน 10,000 บาท.
หลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 1 ไม่สามารถใช้เข่าขวาได้ดีเหมือนเดิม นั่งพับเพียบไม่ได้ นั่งยอง ๆ ไม่ได้ ขาไม่มีกำลัง ไม่สามารถวิ่งและออกกำลังกาย ได้ เห็นได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้เสื่อมเสียบุคลิกภาพไป สมควรกำหนดค่าเสียหายให้10,000 บาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379-2380/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาที่ถูกต้อง และขอบเขตความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
จำเลยที่ 4 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน การส่งหมายแจ้งวันนัดอ่านคำพิพากษาจึงต้อง แจ้งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยที่ 4 การที่ศาลชั้นต้นให้ปิดประกาศแจ้งวันนัดที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยที่ 4 ไม่ทราบวันนัดศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ให้ถือ ว่าจำเลยที่ 4 ได้ ทราบคำพิพากษานั้นเสียได้ โดย ให้ถือ ว่าจำเลยที่ 4 ยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาและให้ถือ ว่าได้ ฟังคำพิพากษาในวันนัดพร้อมเพื่อพิจารณาคำร้องขอให้แจ้งวันนัดและพิพากษาใหม่ของจำเลยที่ 4 ได้
ผู้ตายโดยสารมาในรถยนต์ ของจำเลยที่ 3 ซึ่ง เดิน ด้วย กำลังเครื่องจักรกลเช่นเดียวกับรถยนต์ ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายมิได้เกิดจากยานพาหนะที่เดิน ด้วยกำลังเครื่องจักรกลของจำเลยที่ 3 แต่ ฝ่ายเดียว จึงนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 อันว่าด้วยหน้าที่นำสืบมาใช้ บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงทำให้เกิดอุบัติเหตุและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดงเข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึงกลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วจากถนนรัชดาภิเษก ด้านถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าไปตามถนนรัชดาภิเษก เข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรในถนนรัชดาภิเษก ด้านที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถทำให้เกิดอุบัติเหตุและมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตามถนนพหลโยธินจากสามแยกเกษตร มุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึงสี่แยกพหลโยธินตัดกับถนนรัชดาภิเษกสัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดงเข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึงกลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่งแล่นมาด้วยความเร็วจากถนนรัชดาภิเษกด้านถนนวิภาวดีรังสิตมุ่งหน้าไปตามถนนรัชดาภิเษกเข้าไปในสี่แยกรถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักกลบเฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรในถนนรัชดาภิเษกด้านที่มาจากลาดพร้าวและชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยวชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 300,390 และมีความผิดตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21,22,43,152,157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถฝ่าไฟแดงทำให้เกิดอุบัติเหตุและผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
จำเลยที่ 2 ขับรถมาตาม ถนนพหลโยธิน จากสามแยกเกษตรมุ่งหน้าไปทางลาดพร้าว เมื่อถึง สี่แยกพหลโยธินตัด กับ ถนนรัชดาภิเษก สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง จำเลยที่ 2 ได้ ขับรถเคลื่อนอย่างช้า ๆ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรสีแดง เข้าไปในสี่แยกจนเลยเส้นสีขาวที่กำหนดให้รถหยุดประมาณ 10 เมตรเกือบถึง กลางสี่แยก รถจำเลยที่ 2 จึงขวางทางรถจำเลยที่ 1 ซึ่ง แล่นมาด้วยความเร็วจาก ถนนรัชดาภิเษก ด้าน ถนนวิภาวดีรังสิต มุ่งหน้าไปตาม ถนนรัชดาภิเษก เข้าไปในสี่แยก รถจำเลยที่ 1 ห้ามล้อและหักหลบเฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 แล้วเสียหลักไปทางขวาไปชนรถที่จอดรอสัญญาณไฟจราจรใน ถนนรัชดาภิเษก ด้าน ที่มาจากลาดพร้าว และชนผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 2ขับรถด้วย ความประมาทเป็นเหตุโดยตรงทำให้รถจำเลยที่ 1 เฉี่ยว ชนรถจำเลยที่ 2 และชนผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2137/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การประมาทของผู้ตาย และเหตุรอการลงโทษ
การที่ ส. ถึงแก่ความตายในที่เกิดเหตุ ส่วนโจทก์ร่วมและร. ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส สาเหตุเนื่องจากบาดแผลซึ่งเกิดจากรถชนกันไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยหลบหนีโดยไม่ทำการช่วยเหลือหรือไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันทีตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหรือผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคสอง คงเป็นความผิดตามมาตรา 160 วรรคแรก แม้จำเลยจะขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนกับรถที่ ส.ขับทำให้ ส. ถึงแก่ความตาย โจทก์ร่วมกับพวกได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กาย แต่ปรากฏตามฟ้องว่าผู้ตายเป็นฝ่ายขับรถโดยความประมาทด้วย และสาเหตุที่รถชนกันนั้นเป็นเพราะผู้ตายกลับรถกลางถนนในเขตชุมนุมชน ผู้ตายจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำผิดอยู่มากกรณีมีเหตุอันควรปรานี รอการลงโทษให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับขนส่งต้องรับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุแม้จะเกิดจากความประมาทของบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้รับขนส่งข้าวสารจากองค์การคลังสินค้าไปลงเรือที่อ่าวไทยเพราะเรือที่จำเลยที่ 1 ใช้บรรทุกข้าวสารชนกับเรือของจำเลยที่ 2 จนจมลงและข้าวสารเสียหาย โดยโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่องค์การคลังสินค้าผู้เอาประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้เพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งข้าวสารก็ได้ว่าจ้างจำเลยร่วมทำการขนส่งช่วง และข้าวสารสูญหายเพราะเรือชนกันเป็นความประมาทของเรือของจำเลยที่ 2 ประเด็นพิพาทจึงมีเพียงว่า เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1กับจำเลยร่วมต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ดังนั้นแม้จะฟังว่าข้าวสารเสียหายเพราะความประมาทของผู้ควบคุมเรือของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ขนส่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และ 618.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยค้ำจุน: ความรับผิดของผู้เช่าซื้อและผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากลูกจ้าง
ขณะรถยนต์คันที่เอาประกันภัยค้ำจุนชนรถยนต์ของโจทก์ รถยนต์คันที่เอาประกันภัยค้ำจุนอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อ มิได้อยู่ในความครอบครองของบริษัท ส. ผู้เอาประกันภัยค้ำจุนซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อ และเหตุละเมิดก็กระทำโดย ว.ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 บริษัท ส. ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดในผลละเมิดจึงไม่มีค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 2ผู้รับประกันภัยจะต้องชดใช้แทนบริษัท ส. ผู้เอาประกันภัยดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรุงเทพมหานครต่ออุบัติเหตุจากงานก่อสร้างถนน แม้จะมอบหมายงานให้เอกชน
กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ รวมทั้งการวิศวกรรมจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 มาตรา 66(2) และ (12) ย่อมมีหน้าที่ควบคุมและจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ประชาชนผู้ใช้ถนนได้เห็นชัดเจนเพื่อป้องกันอุบัติ เหตุ ถึงแม้จำเลยที่ 4 จะได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาเป็นผู้ดูแลพื้นที่ในถนนที่ทำการซ่อมปรับปรุง จำเลยที่ 4 ก็ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 2 ติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ถูกต้อง การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีความประมาทมิได้ติดตั้งสัญญาณไฟไว้ในบริเวณหลุมที่ขุดในถนนเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ขับรถยนต์มาตกหลุมดังกล่าวทำให้ผู้ที่โดยสารมาถึงแก่ความตายโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ และทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ที่ 3 สูญหายถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ละเว้นหน้าที่โดยประมาทเลิ่นเล่อในการไม่ควบคุมให้มีการติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ถูกต้องเป็นเหตุให้ความเสียหายดังกล่าวต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรุงเทพมหานครฐานละเว้นการดูแลความปลอดภัยบนถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ รวมทั้งวิศวกรรมจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 66(2)และ (12) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 ย่อมมีหน้าที่ควบคุมและจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ประชาชนผู้ใช้ถนนได้เห็นชัดเจนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 4 ถึงแม้จะได้กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลพื้นที่ที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 4 ก็ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 2 ติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟขึ้นให้ถูกต้อง เมื่อปรากฏว่าคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีความประมาทมิได้ติดตั้งสัญญาณไฟไว้ในบริเวณหลุมที่เกิดเหตุ ว.และส. ซึ่งจำเลยที่ 4 ส่งไปให้ควบคุมการซ่อมปรับปรุงถนนที่เกิดเหตุ ก็มิได้คอยดูว่ามีการติดตั้งสัญญารถไฟบริเวณหลุมดังกล่าวในคืนเกิดเหตุหรือไม่เช่นนี้ ตามพฤติการณ์ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 4 ละเว้นหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อในการไม่ควบคุมให้มีการติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ถูกต้องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรือป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ถนน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
of 47