คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจตนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,077 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์: ราคา, หมายเหตุ, และเจตนาของคู่สัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้สัญญาพิพาทที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ร่วมกันจัดทำขึ้นจะระบุว่าเป็น "สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง" ก็ตาม แต่การซื้อขายนั้นราคาของทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาพิพาทเป็นแบบพิมพ์สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงที่โจทก์พิมพ์สำเร็จไว้แล้วเพื่อนำมากรอกข้อความตามที่ตกลงกันเท่านั้น ซึ่งนอกจากไม่ได้กรอกข้อความในช่องวันเดือนปีที่ทำสัญญาแล้ว ในช่องราคาที่ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพิพาทที่ ป. ผู้จดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์เบิกความว่า ตกลงกันเป็นเงิน 200,000บาทนั้น ก็มิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ยิ่งกว่านั้นสัญญาพิพาทยังมีข้อความหมายเหตุไว้ท้ายสัญญาว่า "เพลงสุรพล สมบัติเจริญ ร้องไว้ขอให้เป็นสุรชัย สมบัติเจริญ ร้องแต่ถ้าหากว่าจะนำไปให้นักร้องอื่นร้อง ทางห้างจะมีการขอกันในกรณีพิเศษเป็นลายลักษณ์อักษร" โดยมีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ลงกำกับไว้ ซึ่งความหมายของข้อความตามหมายเหตุดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่า โจทก์ยังมิได้มีลิขสิทธิ์ในงานเพลงรวมทั้งเพลงพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามบัญชีรายชื่อเพลงแนบท้ายสัญญาพิพาทในฐานะเป็นผู้รับโอนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดเพราะหากมีการซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามสัญญาพิพาท โจทก์ก็ย่อมได้สิทธิในงานเพลงนั้นทั้งหมด ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องไปตกลงขอใช้สิทธิในลิขสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 เป็นกรณีพิเศษกันอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7203/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิในการรับมรดกจากการยักย้ายปิดบังทรัพย์สินหรือไม่ พิจารณาจากเจตนาและการกระทำที่เปิดเผย
จำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดที่ดินบ้านโดยให้ถ้อยคำยอมรับต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยที่ 1 ได้ที่บ้านโดยรับมรดกจากบิดามารดาประมาณ 15 ปี แล้วครอบครองตลอดมา การออกโฉนดดังกล่าวได้กระทำเปิดเผยตามระเบียบของทางราชการ หลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนชื่อตนเป็นเจ้าของที่ดินบ้านดังกล่าวแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของตนซึ่งได้ปลูกบ้านแยกครัวเรือนออกไปอยู่ในแปลงเดียวกันย่อมเป็นเรื่องปกติของผู้เป็นมารดา ยกทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทรุ่นถัดไปของตนตามประเพณีนิยมทั่วไปเพราะจำเลยที่ 1 เชื่อว่าเป็นสิทธิของตน ที่จะได้ทรัพย์มรดกที่ไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความมุ่งหมายที่จะยักย้ายหรือปิดบัง ทรัพย์มรดกโดย ฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น สำหรับที่นาตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยที่ 1 ได้ที่นาโดยรับมรดกการครอบครองต่อเนื่องจากเมื่อ พ.ศ. 2504 รวมเวลาการครอบครองและทำประโยชน์จนถึงวันที่สำรวจ 16 ปี ส่วนที่สวนตามโฉนด ที่ออกตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีชื่อผู้มีชื่อเป็นเจ้าของ แต่ตามโฉนดมีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยปกติของการออกโฉนดต้องมีขั้นตอนในการสอบสวนสิทธิและวิธีการต่าง ๆ ตามระเบียบของทางราชการโดยเปิดเผย เช่นนี้จำเลยที่ 1 ต้องเข้าใจว่าตนเป็นเจ้าของที่นาและที่สวนโดยชอบแล้ว การประกาศขายที่นาและที่สวนนั้นหากผู้ประกาศขายมีความเข้าใจว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินนั้น ย่อมไม่ใช่ การยักย้ายหรือ ปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่นจำเลยที่ 1 จึงไม่ถูกจำกัดมิให้ได้มรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7203/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการโอนทรัพย์สินโดยทายาท ศาลพิจารณาเจตนาในการโอนทรัพย์สินและพฤติการณ์โดยรวมเพื่อตัดสินว่าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังมรดกหรือไม่
การที่จำเลยที่ 1 ได้เคยให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอออกโฉนดที่ดินพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมรดกที่ดินมีโฉนดจากบิดามารดาประมาณ 15 ปี แล้วครอบครองตลอดมานั้นการขอออกโฉนดที่ดินดังกล่าวและการให้ถ้อยคำเช่นว่า เป็นการยอมรับต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่บ้านโดยรับมรดกจากบิดามารดา การออกโฉนดได้กระทำโดยเปิดเผยตามระเบียบของทางราชการ ส่วนที่ต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของตนที่ได้ปลูกบ้านแยกครัวเรือนออกไป ย่อมเป็นเรื่องปกติของผู้เป็นมารดายกทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทรุ่นถัดไปของตนตามประเพณีนิยมทั่วไป เพราะจำเลยที่ 1 เชื่อว่าเป็นสิทธิของตนที่จะได้ทรัพย์มรดกนี้ไม่มีพฤติการณ์ใดที่ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีความมุ่งหมายที่จะยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น จึงไม่ถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7187/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลผูกพัน: การรับชำระดอกเบี้ยต่อเนื่องหลังเช็คปฏิเสธ ย่อมแสดงเจตนาไม่ผูกพันตามเช็ค
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้งโดยโจทก์มอบหมายให้ จ. กระทำการแทนแต่ละครั้งจำเลยจะนำสัญญากู้มามอบให้ จ. และจำเลยจะนำเช็คมามอบให้เพื่อเป็นการชำระหนี้หลังจากวันทำสัญญากู้ แต่เช็คเหล่านั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน หลังจากนั้นจำเลยขอกู้เพิ่มจึงมีการทำสัญญากันใหม่โดยในการกู้ยืมแต่ละครั้งมีการชำระดอกเบี้ยมาแล้ว โดยจำเลยก็นำเงินสดมาชำระดอกเบี้ยในวันที่นำเช็คมาชำระหนี้เงินกู้เช่นเดียวกับครั้งเช็คพิพาท ซึ่งหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทแล้วจำเลยยังชำระดอกเบี้ยมาตลอด ดังนั้น การที่ จ. ไม่สนใจเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งได้ประพฤติเช่นนี้ตลอดมาหลายครั้งจนถึงเช็คพิพาทซึ่งหลังจากที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังยอมรับเงินค่าดอกเบี้ยจากจำเลยเรื่อยมา อีกทั้ง จ. ก็ทราบฐานะทางการเงินของจำเลยว่าขาดสภาพคล่อง และยังยอมรับเงินค่าดอกเบี้ยโดยไม่ดำเนินคดีกับผู้ออกเช็ค แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก่อนหน้านี้ จำเลยได้ออกเช็คพิพาทให้กับโจทก์ในลักษณะเดิมที่ปฏิบัติต่อกันมา แสดงว่าโจทก์และจำเลยไม่มีความประสงค์จะให้ผูกพันกันตามเช็คพิพาท โดยโจทก์รับเช็คพิพาทไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้เท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรม: แต่งกายเป็นพระภิกษุโดยมิชอบ และสมคบเพื่อฉ้อโกง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดหลายกรรมต่างกันโดยแต่งกายเป็นภิกษุในศาสนาพุทธโดยมิชอบเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นภิกษุในศาสนาพุทธซึ่งเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับศาสนา ตาม ป.อ. มาตรา 208 และจำเลยที่ 1 ได้สมคบกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 วางแผนการเพื่อฉ้อโกงประชาชน อันเป็นความผิดฐานเป็นซ่องโจร ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 210 การกระทำความผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าว จำเลยที่ 1 ย่อมมีเจตนาประสงค์ต่อผลแตกต่างกันได้ ที่สำคัญก็คือสามารถแยกการกระทำแต่ละความผิดได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7050/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน หากไม่มีเจตนาจัดหางานจริง
ในคดีอาญา ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วย มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่าจำเลยจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จด้วยการประกาศโฆษณาและชักชวนว่าจำเลยสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะได้เงินเดือนอัตราสูง และจำเลยจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหลายคนแล้ว แต่ผู้สมัครจะต้องจ่ายเงินค่าบริการและค่าจัดส่งให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดส่งคนหางานให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นตามที่หลอกลวงไว้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและ ผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7049/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลอกลวงเพื่อเอาทรัพย์สินต่างจากการจัดหางาน มิอาจลงโทษฐานจัดหางาน
โจทก์บรรยายฟ้องตอนแรกว่าจำเลยได้จัดหางานให้แก่ ส. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศส โดยจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ตอนหลังที่ว่าจำเลยได้หลอกลวงผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางานว่าจำเลยสามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสอันเป็นเท็จความจริงแล้วจำเลยมิได้มีความสามารถจัดส่งคนหางานใด ๆ รวมทั้งผู้เสียหายให้ไปทำงานต่างประเทศได้ เพราะจำเลยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานและโดยการหลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและจ่ายเงินให้แก่จำเลยเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายเพียงแต่อ้างการประกอบธุรกิจการจัดหางานมาเป็นข้อหลอกลวงเพื่อให้ได้เงินค่าบริการจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 82 แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
การกระทำผิดของจำเลยเป็นการหลอกลวงเอาทรัพย์สินจำนวนมากจากคนหางานหลายคน สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ประสงค์จะทำงานหารายได้มาเลี้ยงดูครอบครัวอย่างมาก อีกทั้งจำเลยจัดให้ผู้เสียหายกับพวกเดินทางไปปล่อยทิ้งที่ประเทศเช็กโกสโลวะเกียโดยมิได้ดูแลช่วยเหลือจนผู้เสียหายต้องติดต่อสถานฑูตไทยให้ช่วยเหลือเดินทางกลับประเทศไทย การกระทำของจำเลยเป็นภัยต่อประชาชนผู้ประสงค์หางานทำอย่างยิ่ง นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษให้แก่จำเลยนั้นเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7048/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงกับการจัดหางานต่างกรรมกัน การบรรยายฟ้องมีผลต่อการพิจารณาความผิดฐานจัดหางาน
ความผิดฐานฉ้อโกงกับความผิดฐานจัดหางานโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานนั้น อาจเป็นความผิดต่างกรรมได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการบรรยายฟ้องของโจทก์ ถ้าคำฟ้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางาน การกระทำตามฟ้องย่อมไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ มาตรา 8,73
โจทก์บรรยายฟ้องแยกออกเป็นสองตอน ฟ้องข้อ (ก) บรรยายว่าจำเลยกับพวกร่วมกันจัดหางานโดยประกอบธุรกิจจัดหางานให้แก่คนทั่วไปเรียกรับเงินค่าบริการเป็นค่าตอบแทนการจัดหางานจากคนหางานและผู้เสียหายโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง ส่วนข้อ (ข)โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จโฆษณาในหนังสือพิมพ์เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจหารายได้พิเศษเพื่อร่วมงานกับบริษัทถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศอันเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงแล้วจำเลยกับพวกดังกล่าวนำผู้สมัครไปรวมกลุ่มพูดคุยที่ต่างจังหวัด โดยไม่ได้คัดตัวนักแสดงแต่อย่างใด และจำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ผู้สมัครทำงานตามที่โฆษณาได้ข้อความตามข้อ (ข) ไม่มีข้อความใดเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น การที่จำเลยกับพวกไม่สามารถจัดให้ได้ทำงาน มิได้หมายความเสมอไปว่าจะต้องเกิดจากเพราะมิได้มีเจตนาจัดหางานอันจะถือว่าไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6916/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. ฆ่าโดยเจตนา: การประเมินความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย
การพิจารณาว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนาฆ่าผู้ตายกับผู้เสียหายหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาถึงการกระทำของจำเลยที่ 1กับพวกประกอบกับบาดแผลที่ผู้ตายกับผู้เสียหายได้รับ ผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากสมองถูกทำลายอย่างรุนแรง มีบาดแผลฉีกขาดที่หนังศีรษะด้านซ้ายและที่กรามซ้าย หน้าผากด้านขวาบวมช้ำมีเลือดออกจากจมูกและหูทั้งสองข้างบาดแผลฉีกขาดและถลอกที่แขนซ้ายและเท้าขวา สมองช้ำอย่างรุนแรง การที่จำเลยที่ 2ใช้ขวดเบียร์ตีกลางศีรษะผู้ตายจนผู้ตายฟุบคว่ำหน้าทันที ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้ขวดเบียร์ตีกลางศีรษะผู้ตายอย่างแรงและย่อมจะเล็งเห็นผลได้ว่าการกระทำเช่นนั้นจะทำให้สมองซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญถูกทำลายและทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายได้การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่ามีสาเหตุรุนแรงที่จะต้องฆ่าผู้ตายแม้ว่าผู้ตายมีบาดแผลฉีกขาดหลังศีรษะด้านซ้ายก็ไม่ได้ความชัดเจนว่าเป็นบาดแผลที่เกิดจากจำเลยที่ 1 ทำร้าย ซึ่งอาจเป็นบาดแผลที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 2 ก็ได้ จำเลยที่ 1มิได้มีเจตนาร่วมในการกระทำส่วนนี้ด้วย คงมีเจตนาเพียงร่วมทำร้ายร่างกายผู้ตายเมื่อการร่วมทำร้ายเป็นผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงมีความผิดฐานร่วมกันทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
ผู้เสียหายถูกจำเลยที่ 1 กับพวกใช้โซ่เหล็กฟาดหลายครั้งใช้ขวดเบียร์ตีศีรษะและใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อพิจารณาจากลักษณะของบาดแผลประกอบความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจร่างกายว่ารักษาภายใน 7 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนแสดงว่าบาดแผลของผู้เสียหายไม่ร้ายแรงจนถึงกับเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ การกระทำของจำเลยที่ 1กับพวกต่อผู้เสียหายจึงเป็นการร่วมกันทำร้ายผู้อื่นให้เกิดอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามข่มขืนกระทำชำเรา: แม้ไม่สำเร็จ แต่มีเจตนาและลงมือกระทำแล้ว ถือเป็นความผิด
แม้จะปรากฏจากพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่าจำเลยยังมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่จำเลยพาผู้เสียหายเข้าไปในโรงแรมแล้วกอดปล้ำผู้เสียหาย ถอดเสื้อผ้าเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเรา โดยมีเจตนาจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย อวัยวะเพศของจำเลยคงจะเสียดสีกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายจนทำให้เกิดรอยแดงด้านนอกของอวัยวะเพศของผู้เสียหาย และหากอวัยวะเพศของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายเยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายคงต้องมีร่องรอยฉีกขาด การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิด แต่กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นความผิดเพียงฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
of 408