คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช่าที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าที่ดินระงับเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด ผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิในที่ดิน แม้ได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
เมื่อศาลพิพากษาว่าสัญญาเช่าที่ดินระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้เช่าระงับไปแล้ว เมื่อผู้เช่าสามารถรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไปได้เมื่อใด ก็ให้จัดการรื้อไป ย่อมแสดงว่า ผู้เช่าไม่มีสิทธิที่จะใช้ที่ดินของโจทก์เป็นที่สำหรับปลูกสร้างต่อไปแล้ว ส่วนการที่ผู้เช่าจะรื้อถอนไปเมื่อใดนั้น เป็นเรื่องของการบังคับคดี
เมื่อผู้เช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดิน แล้วมาปลูกบ้านให้คนเช่าหมดสิทธิในที่ดินแล้ว ผู้เช่าที่ดินก็ย่อมไม่มีสิทธิจะให้ผู้ใดเข้าไปเกี่ยวข้องในที่ดินที่เช่านั้นต่อไป
จำเลยเป็นผู้เช่าเรือนโรงไปจากผู้เช่าที่ดินของโจทก์นั้นไม่ใช่เป็นผู้เช่า หรือผู้เช่าช่วงที่ดินจากโจทก์ ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองจาก พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายและเช่าที่ดิน: หลักฐานเป็นหนังสือและความรับผิดทางสัญญา
จำเลยให้คำมั่นจะขายแลจะให้เช่าที่ดิน แต่มิได้มีหนังสือเป็นหลักฐานต่อกันไว้ โจทก์ยอมรับซื้อแลเช่าภายหลังจำเลยไม่ยอมโจทก์จะฟ้องขอให้บังคับการซื้อขายและการเช่าไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จำเลยตกลงกันว่า ถ้าโจทก์ขายที่ดินให้จำเลย ๆจะยอมให้โจทก์ซื้อที่คืนได้ภายหลัง โดยจำเลยมิได้ตั้งใจหลอกลวงโจทก์ในขณะนั้นโจทก์จึงขายที่ให้จำเลยแล้วจำเลยกลับไม่ยอมให้โจทก์ซื้อคืนดังนี้ เป็นเรื่องผิดสัญญาหาเป็นกลฉ้อฉลอันจะให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะไม่
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.148 ศาลพิพากษาให้โจทก์โอนขายที่ดินให้จำเลยแล้วภายหลังโจทก์มาฟ้องอ้างว่ามีข้อตกลงให้โจทก์ซื้อที่ดินคืนได้ จึงขอให้จำเลยโอนที่ดินคืนดังนี้ ฟ้องได้ไม่ต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่า และการบังคับใช้สัญญาเช่าไม่มีกำหนดเวลา
สัญญาเช่าที่ดินที่ไม่ได้กำหนดเวลาเช่ากันไว้ให้เช่าฟ้องเรียกค่าเช่าเกินกว่า 3 ปีได้ วิธีพิจารณาแพ่งอำนาจ พรบระเบียบราชการบริหาร พ.ศ.2476 ม.20 ข้าหลวงประจำจังหวัดเมืองมีอำนาจฟ้องความ+กรมพระคลังข้า
ที่ใน+เกี่ยวแก่การเช่าตามมอบอำนาจซึ่งอธิบดีกรม+คลังข้างที่ทำมอบไว้แก่+เทศภิบาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินและการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของผู้เช่าและการสับเปลี่ยนการครอบครอง
ที่ดิน เช่า ปกครองปรปักษ์ต่างแลกที่นาที่เช่าเขา ทำจะเถียงว่าปกครองปรปักษ์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการเช่าที่ดิน: ผู้รับมรดกไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่หากเช่าที่ดินจากผู้รับมรดกอื่น
ผู้รับมฤดกตกลงแบ่งปันที่ดินกันแล้วผู้รับมฤดกคนหนึ่งขอเช่าที่ส่วนของผู้รับมฤดกอีกคนหนึ่งทำนา ดังนี้ไม่เรียกว่าผู้ให้เช่าขาดปกครองมฤดก วิธีพิจารณาแพ่ง ฟ้องขับไล่ ได้ความเป็นมฤดก ศาลไม่แบ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1564/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินต่อเนื่องและการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น: ผลกระทบต่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ป. พี่ชายผู้ร้องซื้อสิทธิการเช่าที่ดินที่จำเลยเช่ามาจาก ซ. แล้วได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับร้อยตำรวจเอก ย. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2528 มีระยะเวลาเช่า 15 ปี โดยทำสัญญาเช่ากัน 5 ฉบับ ฉบับละ 3 ปี มีกำหนดเวลาเช่าติดต่อต่อเนื่องกันไป พฤติการณ์ของคู่สัญญาที่ปฏิบัติเช่นนี้ จึงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 ที่กำหนดให้การเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียงสามปี โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเช่าเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2530 ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของร้อยตำรวจเอก ย. ผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่าเพราะสัญญาเช่าที่ดินนั้นย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 569 และเมื่อครบกำหนดเวลาเช่าสามปี ป. ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินอยู่ โจทก์รู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ต้องถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 แม้ต่อมาวันที่ 1 กันยายน 2546 ผู้ร้องได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับร้อยตำรวจเอก ย. จำนวน 5 ฉบับ แต่ละฉบับมีกำหนด เวลาเช่า 3 ปี รวม 15 ปี ต่อจาก ป. พี่ผู้ร้องในเวลาภายหลังที่โจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเช่ามาแล้ว โดยโจทก์นำสืบปฏิเสธว่ามิได้รู้เห็นยินยอม และคดีที่ร้อยตำรวจเอก ย. ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 745/2551 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า ที่ดินเป็นของโจทก์ ร้อยตำรวจเอก ย. ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน หนังสือสัญญาเช่าที่ดิน จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ ทั้งถือว่าผู้ร้องอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิของร้อยตำรวจเอก ย. ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินที่จะให้เช่าที่จะนำไปให้ผู้ร้องเช่าได้ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวจากโจทก์และยังคงใช้เป็นที่ตั้งบริษัท บ. อันเป็นกิจการระหว่างพี่น้องของผู้ร้องต่อเนื่องเรื่อยมาโดยผู้ร้องและบุตรผู้ร้องกับจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท เช่นนี้ จึงฟังได้ว่า ผู้ร้องอยู่ในที่ดินซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ในฐานะอาศัยสิทธิของจำเลย ผู้ร้องหามีอำนาจพิเศษอย่างใดที่จะอยู่บนที่ดินไม่ ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย บ้านเลขที่ 77/22 ของผู้ร้อง ย่อมต้องถูกรื้อถอนออกไปจากที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7225/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช่าที่ดินทำนา: สัญญาไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ, ไม่แจ้งเลิกสัญญา, และต้องผ่าน คชก.ก่อนฟ้อง
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ที่ 2 เพื่อทำนาโดยชำระค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก จำเลยไม่ชำระค่าเช่า โจทก์ทั้งสองบอกเลิกสัญญาเช่าพร้อมขับไล่จำเลยและเรียกค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก ดังนี้ โจทก์ที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาเช่าที่ดินกับจำเลย แม้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมก็ฟ้องขับไล่จำเลยตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเช่าที่ดินไม่ได้
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การเช่านาให้มีการกำหนดคราวละไม่น้อยกว่าหกปี การเช่านารายใดที่ทำไว้โดยไม่มีกำหนดเวลาหรือมีต่ำกว่าหกปี ให้ถือว่าการเช่านารายนั้นมีกำหนดเวลาหกปี" และมาตรา 40 วรรคสอง บัญญัติว่า "ค่าเช่านาให้คิดเป็นรายปี ในอัตราไม่เกินอัตราขั้นสูงที่ คชก. ตำบลกำหนด..." ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 โจทก์ที่ 2 ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินเพื่อปลูกข้าวทำนามีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2552 ครบกำหนดเวลาวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 ข้อตกลงที่สถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานว่า ผู้ให้เช่าเรียกเก็บข้าวเปลือกจากผู้เช่าไร่ละ 9 กระสอบ หากผู้เช่ายังไม่ได้ทำสัญญาเช่า ห้ามผู้เช่าทำนาอีกต่อไปในที่นาของผู้ให้เช่า เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และมาตรา 151 โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีก่อนครบกำหนดในวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 หาได้ไม่ ส่วนข้อพิพาทเกี่ยวกับการเก็บค่าเช่าและการชำระค่าเช่านั้น โจทก์ยังมิได้ขอให้ คชก. ตำบล พิจารณาวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 13 (2) โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12115/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมโอนสิทธิเช่าที่ดินราชพัสดุของผู้เยาว์ ฝ่าฝืนมาตรา 1574 (11) และ 1575
การทำนิติกรรมโอนสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุทำขณะที่โจทก์ทั้งสองยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ได้กระทำลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1574 (11) นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะทันที และยังเป็นกิจการที่ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล กิจการนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1575 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมโอนสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุเกิดขึ้นเลย สิทธิการเช่าดังกล่าวยังคงเป็นของโจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยรับโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวไว้ แม้จะอ้างว่า รับโอนโดยสุจริตก็หามีผลทำให้จำเลยกลับมีสิทธิตามนิติกรรมโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวไม่ และเป็นกรณีมิใช่โมฆียกรรม ไม่อาจให้สัตยาบันหรือบอกล้างนิติกรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ไม่เข้าข่ายการเช่านาตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ สิทธิเช่าจึงไม่ได้รับการคุ้มครอง
หญ้าไม่ใช่พืชไร่ตามความหมายของคำนิยามศัพท์ของมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ การเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ของโจทก์จึงมิใช่การเช่านาอันจะต้องมีการควบคุมตามมาตรา 22 ทั้งจะขยายความให้มีความหมายถึงการประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น นอกจากการเช่านาตามคำนิยามศัพท์ของคำว่าเกษตรกรรม มาตรา 5 หาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อการเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา แต่ขณะนี้ยังไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.ควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นการเช่าที่ดินของโจทก์จึงไม่อยู่ในความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ โจทก์จะอ้างว่ามีสิทธิเช่าที่ดินพิพาทต่อไปจนครบ 6 ปี หาได้ไม่ เพราะกำหนดระยะเวลาการเช่า 6 ปี ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 26 ใช้เฉพาะการเช่านาอย่างเดียว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 บอกเลิกการเช่าจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินโมฆะ/โมฆียะ: คำให้การขัดแย้ง, การครอบครอง, และผลของการเช่า
จำเลยให้การว่า โจทก์มีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน โจทก์ได้ร่วมกันทำนิติกรรมฉ้อฉลโดยนำเอาเอกสารที่ยังไม่ได้กรอกข้อความใดๆ มาหลอกลวงให้จำเลยลงลายมือชื่อโจทก์แจ้งข้อความเท็จว่า จะนำเอกสารดังกล่าวไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินที่มารังวัดทำแผนที่พิพาทและนำไปเป็นพยานหลักฐานต่อสู้คดี จำเลยหาได้มีเจตนาทำด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ เท่ากับจำเลยให้การว่า จำเลยแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 159 วรรคหนึ่ง และในขณะเดียวกันคำให้การจำเลยหมายความว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าที่ดินโดยทราบว่าเป็นสัญญาเช่าที่ดินแต่ต้องการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีคือโจทก์ โดยโจทก์จะนำสัญญาเช่าที่ดินไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินที่มารังวัดทำแผนที่พิพาทและนำไปเป็นพยานหลักฐานต่อสู้คดี อันเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง และจำเลยให้การ รวมไปด้วยว่า จำเลยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมสัญญาเช่าที่ดิน เพราะจำเลยไม่ได้ทำด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยไม่เป็นนิติกรรมสัญญาเช่าที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ จำเลยหาได้ยึดถือที่ดินที่เช่าโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนไม่ จำเลยไม่ได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 แม้ว่าก่อนทำสัญญาเช่าที่ดิน จำเลยอาจจะยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนมาก่อนก็ตามโดยผลของสัญญาเช่าที่ดินต้องถือว่าจำเลยสละเจตนาครอบครองที่ดินเพื่อตนต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377
of 20