คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมและแบ่งแยกโฉนดที่ดินกระทบภารจำยอมสาธารณูปโภค โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดสรรที่ดินโดยมีเจตนาจะจัดให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภคจึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286มาแต่ต้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ก่อนมีการรังวัดเพื่อรวมและแบ่งแยกโฉนดจึงเป็นถนนที่เป็นทางภารจำยอมตามประกาศ ของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 30 เมื่อการรวมกรรมสิทธิ์ และการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวมีผลทำให้ เนื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ส่วนที่เป็นถนนอยู่เดิมขาดหายไป เป็นการทำให้ภารจำยอมเปลี่ยนแปลงไปและเป็นการ กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรวมที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เข้ากับที่ดินแปลงอื่น และขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เฉพาะส่วนที่นำมารวมกับที่ดินแปลงย่อย 7 แปลง และกลายเป็นที่ดินแปลงใหม่โฉนดเลขที่ 106708 ได้ ในคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนจำเลยอื่นในคดีนั้นอีก 6 คน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประเด็นที่จะต้อง วินิจฉัยในคดีนั้นจึงมีว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนให้จำเลยอื่นกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ที่เป็นถนน เป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้นจึงไม่ใช่ประเด็นโดยตรง ในคดีดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่จำต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนโบราณสถาน แม้ผู้ขอประทานบัตรไม่ทราบ ก็ชอบด้วยกฎหมาย
การที่กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ได้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทให้แก่ผู้ขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2479 และปี 2480 และไม่ทราบว่าบริเวณเทือกเขาสมอคอนอันเป็นที่ตั้งของประทานบัตรของโจทก์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบร่วมกันไปตรวจหาข้อเท็จจริง และแม้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 กรมศิลปากรที่ 3 และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ 4 เคยไปตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนออกประทานบัตรแล้วแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาททราบข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทของโจทก์ซึ่งรับโอนประทานบัตรมาจากผู้ขอประทานบัตรโดยอ้างว่าประทานบัตรของโจทก์อยู่ในบริเวณที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผู้ขอประทานบัตรเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ พื้นที่คำขอประทานบัตรไม่ตรงต่อความจริงโดยรายงานว่าบริเวณที่ทำเหมืองหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณวัตถุเป็นเหตุให้มีการออกประทานบัตรโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและชอบด้วยข้อเท็จจริงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิแห่ง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 สั่งเพิกถอนประทานบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนประทานบัตรของจำเลยที่ 1และแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าบริเวณพื้นที่ที่ได้รับประทานบัตรนั้นอยู่ในบริเวณซึ่งมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณวัตถุ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่ได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510มาตรา 9 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8403/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่เนื่องจากข้อเท็จจริงสำคัญเปลี่ยนแปลง และผู้ขอประทานบัตรรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ตรงตามความเป็นจริง
การที่กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าพื้นที่ที่ได้ออกประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทให้แก่ผู้ขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง กับโบราณสถานที่กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี 2479และปี 2480 และไม่ทราบว่าบริเวณเทือกเขาสมอคอนอันเป็นที่ตั้งของประทานบัตรของโจทก์เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและโบราณวัตถุ จึงได้มีคำสั่ง ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบร่วมกันไปตรวจหาข้อเท็จจริง และแม้เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณีจำเลยที่ 2 กรมศิลปากร ที่ 3 และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ 4 เคยไปตรวจสอบ ข้อเท็จจริงก่อนออกประทานบัตรแล้วแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจำเลยที่ 1 ผู้ออกประทานบัตรเหมืองแร่ พิพาททราบข้อเท็จจริงดังกล่าว การที่กระทรวงอุตสาหกรรม จำเลยที่ 1 มีคำสั่งเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่พิพาทของโจทก์ ซึ่งรับโอนประทานบัตรมาจากผู้ขอประทานบัตรโดยอ้างว่า ประทานบัตรของโจทก์อยู่ในบริเวณที่มีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผู้ขอประทานบัตร เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ พื้นที่ คำขอประทานบัตรไม่ตรงต่อความจริงโดยรายงานว่าบริเวณที่ ทำเหมืองหรือบริเวณใกล้เคียงไม่มีสถานที่ที่มีความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและโบราณวัตถุเป็นเหตุให้มีการออกประทานบัตรโดยสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญจึงเป็นเหตุผลที่ถูกต้องและชอบด้วยข้อเท็จจริงการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 สั่งเพิกถอน ประทานบัตรดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายที่กล่าวอ้างแล้ว แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการเพิกถอนประทานบัตร ของจำเลยที่ 1 และแม้โจทก์จะไม่ทราบว่าบริเวณพื้นที่ ที่ได้รับประทานบัตรนั้นอยู่ในบริเวณซึ่งมีการประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและเป็นสถานที่ ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณวัตถุ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่ได้ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 9 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8385/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย: ผู้รับโอนที่ไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม ไม่มีอำนาจถูกเพิกถอนการโอน
การโอนทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่กรณีการโอนตามสัญญาจะขายที่ดิน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโดยเป็นเพียงผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ในฐานะผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยเท่านั้น หาได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนทำสัญญาดังกล่าวไม่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนตามมาตรา 115 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8033/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนนิติกรรมโอนสินสมรสโดยไม่ยินยอม และผลเมื่อขาดอายุความ
การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนสินสมรสโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือ10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าช่วงเวลานับแต่วันที่เจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งโอนที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์ให้แก่ฝ่ายจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวล่วงพ้นกำหนด10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสดังที่โจทก์กล่าวอ้างสภาพแห่งการเป็นสินสมรสของที่ดินพิพาทย่อมหมดสิ้นไปนับแต่เจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมโอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวที่ดินพิพาทไม่อาจกลับคืนสภาพมาเป็นสินสมรสอันเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8033/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนนิติกรรมโอนสินสมรสโดยมิได้รับความยินยอม และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์
การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมจำหน่ายจ่ายโอนสินสมรสโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งนั้นมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เวลาที่รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือ10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าช่วงเวลานับแต่วันที่เจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งโอนที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์ให้แก่ฝ่ายจำเลยจนถึงวันที่โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวล่วงพ้นกำหนด10 ปี นับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้ที่ดินพิพาทจะเป็นสินสมรสดังที่โจทก์กล่าวอ้างสภาพแห่งการเป็นสินสมรสของที่ดินพิพาทย่อมหมดสิ้นไปนับแต่เจ้ามรดกซึ่งเป็นคู่สมรสฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมโอนให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวที่ดินพิพาทไม่อาจกลับคืนสภาพมาเป็นสินสมรสอันเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7774/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า และการพิสูจน์การใช้งานเครื่องหมายการค้า
การฟ้องเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา1336 เป็นการใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ส่วนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นสิทธิในนามธรรม การใช้สิทธิฟ้องคดีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่สิทธิดังกล่าวไว้โดยเฉพาะอันได้แก่พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า CITIZEN ที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้ โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย เป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) กรณีมิใช่เป็นการฟ้องร้องบังคับเอาแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่เป็นการใช้สิทธิในทางเยียวยาให้มีการแก้ไขให้กลับสู่สถานะเดิมอันเป็นบุคคลสิทธิและเป็นสิทธิเรียกร้องประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่มีการโต้แย้งสิทธิตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว คือนับตั้งแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทเป็นต้นไป แต่โจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
เมื่อปรากฏว่าคดีโจทก์ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)ขาดอายุความแล้ว คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 41 (1) ในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยหรือไม่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยสุจริตหรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีของโจทก์ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามมาตรา 41 (1) ต้องเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แล้ว ต้องถือว่าจำเลยเป็นเจ้าของมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าว ดังนี้ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้นเลย อันเป็นมูลที่จะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แม้จะเป็นการนำสืบในเชิงปฏิเสธ ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความดังกล่าวอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7774/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า และการพิสูจน์การใช้เครื่องหมายการค้า
การฟ้องเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336เป็นการใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ส่วนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นสิทธิในนามธรรม การใช้สิทธิฟ้องคดีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ ดังกล่าวไว้โดยเฉพาะอันได้แก่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า CITIZEN ที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่า จำเลย เป็นการฟ้องคดีตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) กรณีมิใช่เป็นการฟ้องร้องบังคับเอาแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่เป็นการใช้สิทธิในทางเยียวยาให้มีการแก้ไขให้กลับสู่สถานะเดิมอันเป็นบุคคลสิทธิและเป็นสิทธิเรียกร้องประเภทหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมซึ่งมีกำหนด 10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่ม นับอายุความตั้งแต่วันที่มีการโต้แย้งสิทธิตามพระราชบัญญัติดังกล่าว คือนับตั้งแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทเป็นต้นไป แต่โจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ เมื่อปรากฏว่าคดีโจทก์ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)ขาดอายุความแล้ว คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 41(1) ในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยหรือไม่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยสุจริตหรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีของโจทก์ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามมาตรา 41(1)ต้องเปลี่ยนแปลงไป จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แล้วต้องถือว่าจำเลยเป็นเจ้าของมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าว ดังนี้เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้นเลย อันเป็นมูลที่จะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แม้จะเป็นการนำสืบในเชิงปฏิเสธ ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความดังกล่าวอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7728/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแก้ไขรูปที่ดินและเนื้อที่ถูกต้อง การเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เดิม ค.ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน ต่อมา ค.ขอแก้ไขรูปที่ดินใหม่และแก้ไขเนื้อที่เป็น2 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ให้รูปที่ดินและเนื้อที่ตรงกับที่ดินพิพาทที่ ค.มีสิทธิครอบครองอยู่ในขณะนั้นให้ถูกต้องตรงความจริง หลังจากนั้น ค.จึงโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793ดังกล่าวจะออกทับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 ที่ไม่อาจเพิกถอนได้ กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขรูปที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 449 ให้ถูกต้องตรงความเป็นจริงต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 793 จึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะคำสั่งให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวขัดต่อเหตุที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7441/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: เจตนาเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
การจำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จึงมีหน้าที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธานส่วนหนึ่ง คือหนี้เงินกู้ที่ผู้คัดค้านจ่ายให้ จำเลยรับไป ส่วนจำนองที่จำเลยทำสัญญาและจดทะเบียนให้แก่ผู้คัดค้านนั้นเป็นเพียงอุปกรณ์แห่งหนี้อันเป็นประธาน ซึ่งเป็นหนี้คนละส่วนแยกออกจากกันได้ การกู้เงินคดีนี้จำเลยได้รับเงินจากผู้คัดค้านไปแล้วในวันทำสัญญาและเพื่อเป็นหลักประกันที่จำเลยจะปฏิบัติตามสัญญาจำเลยได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทมาจำนองเป็นประกันหนี้ดังกล่าวไว้แก่ผู้คัดค้านเช่นนี้ การที่จำเลยกู้เงินผู้คัดค้านและได้รับเงินกู้จากผู้คัดค้านไปแล้ว ในทันทีทันใดนั้น การกู้เงินระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลยได้เกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นแม้จะเป็นวันเดียวกันจำเลยมาทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทกับผู้คัดค้านอีก กรณีถือได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการ ทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองรายนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 5 รายรวมเป็นเงิน 157,572,672.38 บาทแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องรวบรวมทรัพย์สินได้เพียง31,000 บาท ที่ผู้คัดค้านนำมาชำระหนี้ตามคำสั่งศาลให้เพิกถอนการชำระหนี้เท่านั้น และไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ครบถ้วน การที่จำเลยได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเพื่อเป็นประกันหนี้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยเจ้าหนี้อื่นไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพื่อชำระหนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเห็นได้ว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น แม้ผู้คัดค้านจะอ้างว่ารับจำนองโดยสุจริตไม่ทราบว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการจำนองเป็นนิติกรรมต่างตอบแทน ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจำนองรายนี้เสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115
of 104