พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการเบิกเงินเกินบัญชีและการเลิกสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัด
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้เสร็จสิ้นเมื่อใด สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องจึงเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856, 859 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้ายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 และหลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาต่อกัน สัญญาบัญชีเดินสะพัดก็ยังไม่สิ้นสุด เมื่อจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 สัญญาบัญชีเดินสะพัดต้องเลิกกันไปโดยปริยาย สิทธิเรียกร้องของผู้ร้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์2535 ขอให้บังคับทรัพย์จำนองจึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานไม่ขาดอายุความ ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัญชีเดินสะพัด: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อหักทอนบัญชี/เลิกสัญญา, ไม่ขาดอายุความหากยื่นบังคับทรัพย์ภายใน 10 ปี
การชำระหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกระทำได้เมื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่คงเหลือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดของจำเลยที่1ไม่มีกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ของผู้ร้องเกิดขึ้นเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้คงเหลืออันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา856,859แม้จำเลยที่1มิได้เดินสะพัดทางบัญชีอีกนับแต่ครั้งสุดท้ายเป็นเวลากว่า10ปีแต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาสัญญาก็ยังไม่สิ้นสุดลงผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามสัญญาได้จนถึงวันที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอันถือว่าสัญญาเลิกกันโดยปริยายนับแต่วันนั้นและสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องเกิดขึ้นนับแต่นั้นเมื่อยื่นคำร้องขอให้บังคับทรัพย์ที่จำนองเป็นประกันหนี้ตามสัญญาดังกล่าวยังไม่พ้น10ปีหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเลิกสัญญาและการคืนเงินมัดจำ
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสอง ทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 617/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาเลิกสัญญาก่อนงานเสร็จ: สิทธิเรียกร้องค่าจ้างงานที่ยังไม่แล้วเสร็จ
สัญญาจ้างเหมามีข้อความว่า เมื่อผู้ว่าจ้างหรือจำเลยบอกเลิกสัญญา บรรดางานที่ผู้รับจ้างหรือที่โจทก์ได้ทำขึ้นหรือก่อสร้างไว้เพื่องานจ้างทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นงานที่ก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ก็ตาม ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยสิ้นเชิงและโจทก์จะเรียกร้องค่าตอบแทนหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยไม่ได้ เมื่อโจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 8 และที่ 9 ยังไม่เสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาในที่สุดโจทก์ได้คืนงานส่วนที่ยังสร้างไม่เสร็จแก่จำเลย และจำเลยได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์จะเรียกเอาค่าจ้างสำหรับงานงวดที่ 8 และที่ 9 ซึ่งยังก่อสร้างไม่เสร็จจากจำเลยไม่ได้
ส่วนสัญญาจ้างเหมาอีกข้อหนึ่งระบุว่า "หากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่หักไว้จ่ายเป็นค่าปรับและค่าเสียหายแล้วยังเหลืออยู่อีกเท่าใด ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างทั้งหมด" นั้น สำหรับข้อความที่กล่าวถึงเรื่องหากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่ผู้ว่าจ้างหรือจำเลยหักไว้เป็นค่าปรับและค่าเสียหายเหลืออยู่หลังจากจ้างบุคคลอื่นเข้าไปทำงานที่โจทก์ก่อสร้างค้างไว้จนเสร็จ จำเลยจะจ่ายเงินที่เหลืออยู่นั้นคืนให้แก่โจทก์ทั้งหมด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดที่โจทก์ได้ก่อสร้างเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ซี่งโจทก์มีสิทธิจะรับไปจากจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้หักหรือกันไว้เป็นค่าปรับหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของโจทก์ก่อนเท่านั้นเงินดังกล่าวมิได้หมายรวมไปถึงว่าเมื่อจำเลยเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว แม้โจทก์ทำงานงวดใดยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ จำเลยก็จะต้องจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับงวดงานที่สร้างไม่แล้วเสร็จโดยจ่ายเท่าผลงานที่โจทก์ก่อสร้างไปแล้วด้วยหาได้ไม่
ส่วนสัญญาจ้างเหมาอีกข้อหนึ่งระบุว่า "หากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่หักไว้จ่ายเป็นค่าปรับและค่าเสียหายแล้วยังเหลืออยู่อีกเท่าใด ผู้ว่าจ้างจะคืนให้แก่ผู้รับจ้างทั้งหมด" นั้น สำหรับข้อความที่กล่าวถึงเรื่องหากมีเงินค่าจ้างตามสัญญาที่ผู้ว่าจ้างหรือจำเลยหักไว้เป็นค่าปรับและค่าเสียหายเหลืออยู่หลังจากจ้างบุคคลอื่นเข้าไปทำงานที่โจทก์ก่อสร้างค้างไว้จนเสร็จ จำเลยจะจ่ายเงินที่เหลืออยู่นั้นคืนให้แก่โจทก์ทั้งหมด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดที่โจทก์ได้ก่อสร้างเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญา ซี่งโจทก์มีสิทธิจะรับไปจากจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้หักหรือกันไว้เป็นค่าปรับหรือค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของโจทก์ก่อนเท่านั้นเงินดังกล่าวมิได้หมายรวมไปถึงว่าเมื่อจำเลยเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว แม้โจทก์ทำงานงวดใดยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ จำเลยก็จะต้องจ่ายเงินค่าจ้างสำหรับงวดงานที่สร้างไม่แล้วเสร็จโดยจ่ายเท่าผลงานที่โจทก์ก่อสร้างไปแล้วด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ สัญญาเช่าซื้อ การเลิกสัญญา และอายุความค่าขาดประโยชน์
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่า โจทก์โดยกรรมการผู้มีอำนาจสองคน ขอมอบอำนาจให้ ส.มีอำนาจทำการลงนามในสัญญาเช่าซื้อรถยนต์แทนโจทก์ และมีกรรมการผู้มีอำนาจสองคนตามที่ระบุชื่อไว้ข้างต้นลงลายมือชื่อท้ายหนังสือในฐานะผู้มอบอำนาจ แม้จะมิได้มีตราบริษัทโจทก์ซึ่งตามข้อบังคับที่จดทะเบียนไว้จะต้องประทับตราด้วยก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าตามสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องมีข้อความกล่าวชัดในตอนต้นว่า สัญญานี้ทำขึ้นระหว่างบริษัท ส.(โจทก์) ผู้ให้เช่าซื้อ กับ ร.(จำเลย) ผู้เช่าซื้อ และท้ายสัญญา ส.ก็ได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและทั้งโจทก์และจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อตลอดมา เช่นนี้ แสดงว่า ส.ทำสัญญาเช่าซื้อในนามของโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจข้างต้น ถือได้ว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ ส.ทำสัญญาเช่าซื้อแทนและโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจึงใช้บังคับได้และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
แม้จำเลยจะชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาโจทก์ก็ผ่อนผันให้และรับชำระเรื่อยมาโดยมิได้ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 10 ตามกำหนดในสัญญาจึงจะถือว่าจำเลยผิดนัดทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีตามข้อกำหนดในสัญญาข้อ 8 หาได้ไม่ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา387 ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม2534 และไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งการยึดนั้น เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดเฉพาะค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ของโจทก์ระหว่างวันที่ 28พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2534 ส่วนค่าเสียหายอื่นไม่มีเพราะมิได้เป็นการเลิกสัญญาต่อกันโดยเหตุที่จำเลยผิดสัญญา
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเช่นนี้เนื่องจากการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/30
แม้จำเลยจะชำระค่าเช่าซื้อไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่ระบุในสัญญาโจทก์ก็ผ่อนผันให้และรับชำระเรื่อยมาโดยมิได้ทักท้วง พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อในงวดที่ 10 ตามกำหนดในสัญญาจึงจะถือว่าจำเลยผิดนัดทำให้สัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีตามข้อกำหนดในสัญญาข้อ 8 หาได้ไม่ หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา387 ก่อน แต่อย่างไรก็ตาม การที่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม2534 และไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งการยึดนั้น เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์ยึดรถคืน ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดเฉพาะค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ของโจทก์ระหว่างวันที่ 28พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2534 ส่วนค่าเสียหายอื่นไม่มีเพราะมิได้เป็นการเลิกสัญญาต่อกันโดยเหตุที่จำเลยผิดสัญญา
กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเช่นนี้เนื่องจากการเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา: ค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, ค่าเสื่อมสภาพ, และดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กัน ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือ ให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่า การที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ถึงงวดที่ 12 วันที่ 4 กันยายน 2534 ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน 652,584 บาท ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาด-ประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วย ดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบ ไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระทั้งหมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหาย และหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัท...ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย" ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญา แต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบ ไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระทั้งหมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหาย และหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัท...ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย" ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญา แต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์และค่าเสื่อมสภาพรถยนต์ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิด
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมแต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391และมาตรา392บัญญัติว่าการชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369กล่าวคือให้นำมาตรา369ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่าการที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่4ตุลาคม2533ถึงงวดที่12วันที่4กันยายน2534ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน652,584บาทถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วยดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้หมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่นๆที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วยจำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า"ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหายและหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัทผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย"ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เท่านั้นส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญาแต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6069/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน กรณีผู้รับเหมาทิ้งงาน
เมื่อถึงงานงวดที่ 4 จำเลยหยุดทำการก่อสร้าง โจทก์เตือนให้จำเลยก่อสร้างต่อไป จำเลยก็ไม่ยอมและในที่สุดทิ้งงานไป ดังนี้ย่อมเห็นได้โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่จำเลยได้แสดงออก จึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะต้องให้โจทก์บอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยทำการก่อสร้างต่อไปอีก เพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ทิ้งงานหรือไม่ชำระหนี้อยู่ดี ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้โดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6069/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน กรณีจำเลยทิ้งงานโดยชัดเจน
เมื่อถึงงานงวดที่ 4 จำเลยหยุดทำการก่อสร้าง โจทก์เตือนให้จำเลยก่อสร้างต่อไป จำเลยก็ไม่ยอมและในที่สุดทิ้งงานไปดังนี้ย่อมเห็นได้โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่จำเลยได้แสดงออกจึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะต้องให้โจทก์บอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยทำการก่อสร้างต่อไปอีก เพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ทิ้งงานหรือไม่ชำระหนี้อยู่ดี ดังนั้น โจทก์จึงชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้โดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6069/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาก่อสร้าง: ไม่ต้องบอกกล่าวก่อนหากจำเลยทิ้งงานชัดเจน
เมื่อถึงงานงวดที่4จำเลยหยุดทำการก่อสร้างโจทก์เตือนให้จำเลยก่อสร้างต่อไปจำเลยก็ไม่ยอมและในที่สุดทิ้งงานไปดังนี้ย่อมเห็นได้โดยสภาพหรือโดยเจตนาที่จำเลยได้แสดงออกจึงไม่มีเหตุผลอย่างใดที่จะต้องให้โจทก์บอกกล่าวกำหนดเวลาให้จำเลยทำการก่อสร้างต่อไปอีกเพราะถึงอย่างไรจำเลยก็ทิ้งงานหรือไม่ชำระหนี้อยู่ดีดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้โดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน