พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1345/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับลดหนี้เจ้าหนี้ในแผนฟื้นฟูกิจการต้องมีเหตุผลสมควรและเป็นธรรม เพื่อประโยชน์ต่อการฟื้นฟู
กฎหมายไม่ได้ให้สิทธิหรือคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ภาษีอากรในมูลหนี้ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเป็นพิเศษ ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/58 (2) ประกอบด้วยมาตรา 130 (6) สิทธิของผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ภาษีอากรจึงมีฐานะเช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ข้อเสนอขอแก้ไขแผนจึงกำหนดให้ลดจำนวนหนี้ของผู้คัดค้านลงโดยให้งดการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหนี้ภาษีอากรซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ อย่างไรก็ตาม หนี้ภาษีอากรมีสถานะแตกต่างจากหนี้ระหว่างเอกชนด้วยกัน เพราะภาษีอากรเป็นรายได้ที่รัฐจัดเก็บรวบรวมไปใช้ในการบริหารประเทศเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั้งหลาย การปรับลดหนี้ส่วนนี้จึงต้องมีเหตุผลอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ได้กำหนดกระบวนการหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนไว้ว่า แผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทควบคุมดูแลการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และให้ศาลใช้ดุลพินิจตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนหรือไม่ คดีนี้ข้อเสนอขอแก้ไขแผนได้กำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ถึงที่ 9 งดเว้นการเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากลูกหนี้ เฉพาะเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 หนี้ส่วนที่งดเว้นการเรียกเก็บมีจำนวนมากกว่าหนี้ที่ลูกหนี้ชำระให้แก่เจ้าหนี้รายนี้ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 9 ข้อเสนอขอแก้ไขแผนได้กำหนดให้ผู้คัดค้านงดเว้นการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งจำนวน คิดเป็นร้อยละ 49.55 ของหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระผู้คัดค้าน แม้ตามกฎหมายแผนสามารถจัดให้เจ้าหนี้ที่อยู่ต่างกลุ่มกันได้รับการชำระหนี้แตกต่างกันได้ แต่ก็ต้องจัดทำแผนโดยมีเหตุผลอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ทำแผนได้จัดทำแผนโดยปรับโครงสร้างหนี้ลดจำนวนหนี้และขยายเวลาชำระหนี้มาครั้งหนึ่ง ซึ่งศาลได้ให้ความเห็นชอบและลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 4 ครบถ้วนตามแผน คงเหลือหนี้ค้างชำระในส่วนของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 9 ผู้บริหารแผนได้จัดทำข้อเสนอข้อแก้ไขแผนขึ้นมาในครั้งนี้ซึ่งมีการปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้บางกลุ่มลงเป็นจำนวนมากโดยเจ้าหนี้ที่ถูกปรับลดหนี้ไม่ได้ให้ความยินยอม และผู้บริหารแผนก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างใดที่ต้องแก้ไขแผนเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการสำเร็จลุล่วงไปได้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 ข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้บางราย ทำให้แผนไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอแก้ไขแผน
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ได้กำหนดกระบวนการหลังจากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนไว้ว่า แผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่งตามบทบัญญัติในส่วนที่ 8 ว่าด้วยการพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ศาลเข้ามามีบทบาทควบคุมดูแลการฟื้นฟูกิจการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และให้ศาลใช้ดุลพินิจตรวจสอบว่าสมควรให้ความเห็นชอบด้วยแผนหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผนหรือไม่ คดีนี้ข้อเสนอขอแก้ไขแผนได้กำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ 3 และที่ 6 ถึงที่ 9 งดเว้นการเรียกเก็บดอกเบี้ย เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากลูกหนี้ เฉพาะเจ้าหนี้กลุ่มที่ 3 หนี้ส่วนที่งดเว้นการเรียกเก็บมีจำนวนมากกว่าหนี้ที่ลูกหนี้ชำระให้แก่เจ้าหนี้รายนี้ สำหรับผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้กลุ่มที่ 9 ข้อเสนอขอแก้ไขแผนได้กำหนดให้ผู้คัดค้านงดเว้นการเรียกเก็บเบี้ยปรับและเงินเพิ่มทั้งจำนวน คิดเป็นร้อยละ 49.55 ของหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระผู้คัดค้าน แม้ตามกฎหมายแผนสามารถจัดให้เจ้าหนี้ที่อยู่ต่างกลุ่มกันได้รับการชำระหนี้แตกต่างกันได้ แต่ก็ต้องจัดทำแผนโดยมีเหตุผลอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ทำแผนได้จัดทำแผนโดยปรับโครงสร้างหนี้ลดจำนวนหนี้และขยายเวลาชำระหนี้มาครั้งหนึ่ง ซึ่งศาลได้ให้ความเห็นชอบและลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 4 ครบถ้วนตามแผน คงเหลือหนี้ค้างชำระในส่วนของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 9 ผู้บริหารแผนได้จัดทำข้อเสนอข้อแก้ไขแผนขึ้นมาในครั้งนี้ซึ่งมีการปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้บางกลุ่มลงเป็นจำนวนมากโดยเจ้าหนี้ที่ถูกปรับลดหนี้ไม่ได้ให้ความยินยอม และผู้บริหารแผนก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างใดที่ต้องแก้ไขแผนเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการสำเร็จลุล่วงไปได้ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 ข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผนเป็นการจัดทำขึ้นเพื่อปรับลดหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่มีเหตุผลและไม่เท่าเทียมกันมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหนี้บางราย ทำให้แผนไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งปวง ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยข้อเสนอแก้ไขแผน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิความเป็นบิดา, เหตุผลสมควร, และประโยชน์สูงสุดของเด็ก
เจตนารมณ์ของ ป.พ.พ. มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ซึ่งจะต้องไปแสดงความยินยอมต่อนายทะเบียนและเป็นเรื่องเฉพาะตัว ผู้อื่นจะให้ความยินยอมแทนไม่ได้ ทั้งนี้เด็กและมารดาเด็กต้องอยู่ในฐานะที่จะให้ความยินยอมได้ เมื่อโจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และให้จำเลยทั้งสองไปให้ความยินยอมต่อนายทะเบียน คดีดังกล่าวจำเลยทั้งสองคัดค้าน ดังนั้น การที่โจทก์จะไปยื่นคำร้องจดทะเบียนเป็นหนังสืออีกเพื่อให้นายทะเบียนมีหนังสือถึงจำเลยทั้งสอง ตามมาตรา 1548 วรรคสอง ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพราะเป็นที่เห็นได้ชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยที่ 1 ปฏิเสธ ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ พฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องป.พ.พ. มาตรา 1548 วรรคสาม บัญญัติถึงการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาลใน 3 กรณี คือ กรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ คดีจึงต้องพิจารณาเพียงว่าการไม่ให้ความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นมารดามีเหตุสมควรหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นได้นัดพร้อมเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่ให้ความยินยอม เพียงพอแก่การพิจารณาวินิจฉัยคดีตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ว การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานจึงหาใช่ไม่ให้โอกาสจำเลยทั้งสองต่อสู้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุผลสมควรเลิกจ้าง: การกระทำบิดเบือนข้อเท็จจริงสร้างความเสียหายต่อธุรกิจ
ในการพิจารณาอนุญาตตามคำขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องคำนึงว่ากรณีมีเหตุผลสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างนั้นหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ผู้คัดค้านลงข้อความและรูปภาพในเฟสบุ๊คว่า "นี้หรือรถที่ใช้ขนเงินเป็นล้าน...กูละเชื่อ" ข้อความและรูปภาพดังกล่าวมีลักษณะทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าผู้ร้องใช้รถที่มีสภาพไม่เหมาะสม ไม่มีความปลอดภัยในการขนส่งทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าเป็นปกติประจำทั่วไป ซึ่งผู้คัดค้านเคยแถลงรับข้อเท็จจริงว่ารถคันที่ผู้คัดค้านใช้ในวันเกิดเหตุผู้คัดค้านไม่ได้ใช้ประจำ เพียงแต่หากวันไหนไม่มีรถคันอื่นให้ใช้จึงจะนำรถยนต์คันดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นว่าขณะที่ผู้คัดค้านลงข้อความและรูปภาพ ผู้คัดค้านทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ร้องไม่ได้ให้ผู้คัดค้านใช้รถคันดังกล่าวขนส่งทรัพย์สินให้แก่ลูกค้าเป็นปกติประจำทั่วไป เพียงแต่ให้ผู้คัดค้านใช้เป็นรถสำรองเท่านั้น การกระทำของผู้คัดค้านเป็นการลงข้อความและรูปภาพในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริง ชี้ให้เห็นถึงเจตนาไม่สุจริตของผู้คัดค้าน ย่อมทำให้ผู้ร้องซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทรัพย์สินที่ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือและไว้วางใจเป็นสำคัญขาดความน่าเชื่อถือและไว้วางใจอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องได้และถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้ร้อง กรณีมีเหตุผลสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง: พิจารณาเหตุผลสมควรควบคู่กับการกระทำทุจริต แม้ไม่ถึงขั้นร้ายแรง
ในการพิจารณาตามคำขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องคำนึงว่ากรณีมีเหตุผลสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างนั้นหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการพิจารณาว่าการเลิกจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ การกระทำของผู้คัดค้านที่เอาเศษเหล็กจำนวนมากของผู้ร้องออกไปนอกโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นการผิดระเบียบปฏิบัติและถูกกักของที่ประตูทางออกและต้องนำกลับไปเก็บไว้ที่เดิม แม้จะไม่ถือว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยร้ายแรงที่จะต้องถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชย แต่ก็มีลักษณะทำให้ผู้ร้องขาดความเชื่อใจ ไม่อาจไว้วางใจให้ผู้คัดค้านทำงานต่อไปได้ กรณีมีเหตุผลสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4630/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลความสมควรและเพียงพอของนายจ้าง รวมถึงโอกาสในการปรับปรุงแก้ไขของลูกจ้าง
การเลิกจ้างที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่
โจทก์ทำงานบกพร่องและล่าช้า จำเลยจึงออกหนังสือเตือน โจทก์ยอมรับว่า เป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยอดเงินขาดทุนของจำเลย ซึ่งแปลความได้ว่า โจทก์ยังคงทำงานบกพร่องและล่าช้ามิใช่เพียงจำเลยทวงถามงาน
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงินมีผู้ใต้บังคับบัญชาหลายคนและได้รับค่าจ้างในอัตราสูง จึงต้องมีความรู้ความสามารถและความรับผิดชอบมากกว่าพนักงานทั่วไป จำเลยย่อมคาดหวังว่าโจทก์จะสามารถควบคุมดูแลงานในความรับผิดชอบของจำเลยให้ดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็ว งานฝ่ายบัญชีและการเงินนับว่าเป็นส่วนสำคัญแก่การประกอบธุรกิจของจำเลย หากงานยังบกพร่องย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ภายหลังมีหนังสือเตือนโจทก์ประมาณ 2 เดือน นับว่าให้โอกาสโจทก์ในการแก้ไขปรับปรุงการทำงานเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว แต่โจทก์ยังคงทำงานบกพร่องและล่าช้าจำเลยย่อมไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่า การเลิกจ้างเป็นไปโดยมีเจตนากลั่นแกล้ง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว ถือว่าจำเลยมีเหตุอันสมควรและเพียงพอ ที่จะเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
โจทก์ทำงานบกพร่องและล่าช้า จำเลยจึงออกหนังสือเตือน โจทก์ยอมรับว่า เป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยอดเงินขาดทุนของจำเลย ซึ่งแปลความได้ว่า โจทก์ยังคงทำงานบกพร่องและล่าช้ามิใช่เพียงจำเลยทวงถามงาน
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงินมีผู้ใต้บังคับบัญชาหลายคนและได้รับค่าจ้างในอัตราสูง จึงต้องมีความรู้ความสามารถและความรับผิดชอบมากกว่าพนักงานทั่วไป จำเลยย่อมคาดหวังว่าโจทก์จะสามารถควบคุมดูแลงานในความรับผิดชอบของจำเลยให้ดำเนินงานไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเรียบร้อยและรวดเร็ว งานฝ่ายบัญชีและการเงินนับว่าเป็นส่วนสำคัญแก่การประกอบธุรกิจของจำเลย หากงานยังบกพร่องย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหายได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ภายหลังมีหนังสือเตือนโจทก์ประมาณ 2 เดือน นับว่าให้โอกาสโจทก์ในการแก้ไขปรับปรุงการทำงานเป็นระยะเวลาพอสมควรแล้ว แต่โจทก์ยังคงทำงานบกพร่องและล่าช้าจำเลยย่อมไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป เมื่อไม่ปรากฏว่า การเลิกจ้างเป็นไปโดยมีเจตนากลั่นแกล้ง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว ถือว่าจำเลยมีเหตุอันสมควรและเพียงพอ ที่จะเลิกจ้างแล้ว จึงไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3069/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีข่มขืน แม้โจทก์ไม่สามารถนำตัวพยานมาเบิกความได้ ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุผลสมควรตามกฎหมาย
แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้ตัวผู้เสียหายที่ 1 ก. พ. และ ด. มาเบิกความเป็นพยาน คงมีเพียงบันทึกคำให้การของบุคคลดังกล่าว โดยผู้เสียหายที่ 1 ยืนยันถึงตัวคนร้ายและจำเลยที่ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งในการวินิจฉัยพยานบอกเล่าที่จำเลยไม่มีโอกาสถามค้าน ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ไม่สามารถนำตัวพยานดังกล่าวมาเบิกความในชั้นพิจารณาเนื่องจากไม่ทราบที่อยู่ของพยาน โดยโจทก์ใช้เวลาติดตามพยานเป็นเวลาถึง 5 เดือนเศษ นับว่ามีเหตุจำเป็นที่โจทก์ไม่สามารถนำพยานซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็นและได้ยินเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนี้ด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และเมื่อจำเลยหลบหนีไปนานจนติดตามพยานได้ยาก กรณีเช่นนี้ย่อมมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) และถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับฟังบันทึกคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 ที่เบิกความไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2726/2559 ของศาลชั้นต้น ประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ หากมีเหตุผลอันสมควรและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งปรากฏในคำพิพากษาตามยอมและสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลแพ่งกรุงเทพใต้แล้ว การที่ผู้ร้องมิได้ระบุโฉนดที่ดินเลขที่ 18874 เป็นหลักฐานประกอบไว้ในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินและทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ก็จะฟังว่า ผู้ร้องไม่ประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันเสียทีเดียวหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอและ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 97 มิได้กำหนดระยะเวลาในการขอแก้ไขข้อความในรายการคำขอรับชำระหนี้ไว้ ผู้ร้องจึงชอบที่จะขออนุญาตแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้จากการขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นการขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันได้