คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แก้ไขคำฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีพิพาทกรรมสิทธิ์ที่ดินมีทุนทรัพย์ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา แม้มีการแก้ไขคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แต่จำเลยที่ 1 อ้างว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณะ และกล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่สาธารณะ ให้โจทก์ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และรั้วกำแพงคอนกรีตออกจากที่ดินดังกล่าว หากไม่รื้อถอนจำเลยที่ 1 จะดำเนินคดีกับโจทก์ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และมีคำขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ไม่ใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับประชาชนใช่ร่วมกันและเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ให้การว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์แต่เป็นที่ดินสาธารณะ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง คือที่ดินจำนวน 1 ไร่ 11 ตารางวา ราคา 267,150 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐม แม้โจทก์จะมีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และให้จำเลยที่ 4 รื้อถอนเสาไม้ชั่วคราวที่ปักอยู่ในที่ดินของโจทก์ด้วย ก็เป็นคำขอต่อเนื่อง เมื่อศาลแขวงนครปฐมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอหลักว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่แล้ว ก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคำขอต่อเนื่องดังกล่าวด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ว่า อ่านคำร้องของโจทก์แล้วไม่เข้าใจว่าโจทก์ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องในส่วนใดของคำฟ้องเดิม จึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำคำร้องฉบับใหม่โดยบรรยายให้ชัดว่าต้องการแก้ไขคำฟ้องเดิมในส่วนใดหรือต้องการเพิ่มเติมคำร้องลงไปในตรงส่วนใดของคำฟ้องเดิมโดยให้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้อง โจทก์มิได้ทำคำร้องฉบับใหม่มายื่นภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง จึงไม่มีประเด็นว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา แต่ถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 11 ตารางวา เท่านั้น จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงนครปฐมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมและอายุความค่าจ้างทำของ: ศาลอนุญาตแก้ไขฟ้องเพิ่มเติมได้หากเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ทำให้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ค่าจ้างทำของแก่โจทก์ในมูลหนี้ฐานผิดสัญญาจ้างทำของภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) อายุความย่อมสะดุดหยุดลงอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จไปโดยประการอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) แม้โจทก์จะยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าจ้างค้างชำระอีกส่วนหนึ่งเกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องบังคับได้เป็นต้นไป โดยอ้างว่าเป็นเงินค่าจ้างค้างชำระในการทำป้ายโฆษณาโครงการฮอทไอซ์ของจำเลยซึ่งยังมิได้ระบุเรียกร้องไว้ในคำฟ้องเดิม ทั้งเป็นฟ้องเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเข้าด้วยกันได้ซึ่งโจทก์มีสิทธิเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 ก็ไม่ทำให้คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์ส่วนนี้ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ซึ่งมาตรา 180 บัญญัติว่า "การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน..." ดังนั้น การที่ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ คู่ความมาศาล ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยแล้วยังตกลงกันไม่ได้จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วนัดสืบพยานโจทก์ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานดังกล่าวของศาลแรงงานกลางเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อไม่มีการชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเป็นการแก้ไขในรายละเอียดและเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ซึ่งเป็นข้อที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน: การนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม และข้อยกเว้นการชี้สองสถาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 39 บัญญัติถึงการนัดพิจารณาไว้โดยเฉพาะแล้ว ไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ คดีแรงงานจึงไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อไม่มีการชี้สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน จึงมีสิทธิที่จะยื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016-5017/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติม: สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นภายหลังฟ้องเดิม ไม่เกี่ยวข้องกัน จึงไม่อนุญาตแก้ไข
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้คู่ความเสนอคำฟ้องเพิ่มเติมภายหลังที่ได้ยื่นคำฟ้องเดิมต่อศาลแล้ว เว้นแต่คำฟ้องเดิมและคำฟ้องภายหลังนี้จะเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ทั้งสอง เป็นการกล่าวอ้างมูลคดีที่เกิดขึ้นภายหลังโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้แล้ว แม้มูลคดีตามคำฟ้องเดิมกับคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมจะมีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่มูลคดีเกิดขึ้นคนละคราวไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งหากจะฟังว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมก็เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นภายหลังจากโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้แล้ว ถือไม่ได้ว่าคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมของโจทก์ทั้งสองเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016-5017/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องเพิ่มเติมหลังฟ้องคดีแล้ว ต้องไม่เป็นมูลคดีที่เกิดขึ้นคนละคราวกับฟ้องเดิมจึงจะทำได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ระบุว่า ภายหลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวแก่โจทก์ในเหตุฉุกเฉินอันมีผลทำให้โจทก์สามารถกลับมาประกอบการค้าข้าวตามใบอนุญาตส่งข้าวออกไปนอกราชอาณาจักรได้ตามปกติอีกครั้งหนึ่งเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณา โจทก์ได้ทำสัญญาขายข้าวแก่ผู้ซื้อในต่างประเทศอีกหลายราย แต่ต่อมาศาลชั้นต้นกลับยกเลิกคำสั่งคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในเหตุฉุกเฉิน ทำให้โจทก์ไม่อาจส่งมอบข้าวให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศที่ทำสัญญาไว้ เป็นการกล่าวอ้างมูลคดีที่เกิดขึ้นภายหลังโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ดังนี้ แม้มูลคดีตามคำฟ้องเดิมกับคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมจะมีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่มูลคดีเกิดขึ้นคนละคราวไม่เกี่ยวข้องกัน จึงถือไม่ได้ว่าคำฟ้องแก้ไขเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องลดทุนทรัพย์ ทำให้คดีต้องโอนไปยังศาลแขวงตามอำนาจศาล
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งที่สองโดยรับข้อเท็จจริงบางส่วนตามคำให้การของจำเลยทั้งสี่ เป็นการขอลดทุนทรัพย์ฟ้องเดิมภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และคดีนี้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจึงยังอยู่ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยทั้งสี่จะแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยทั้งสี่เพื่อหักล้างข้ออ้างของโจทก์ได้ การแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่ทำให้จำเลยทั้งสี่เสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้แต่ประการใด
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฯ มาตรา 16 วรรคสี่ ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลจังหวัด และคดีนั้นเกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ให้ศาลจังหวัดนั้นมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจ" นั้น แม้จะใช้ถ้อยคำว่าศาลจังหวัดก็ตาม แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่บัญญัติความในวรรคสี่ไว้เนื่องจากไม่ประสงค์ให้ศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงตั้งอยู่ในเขตศาลนั้นรับพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวง เมื่อศาลแพ่งธนบุรีเป็นศาลชั้นต้นที่มีศาลแขวงธนบุรีและศาลแขวงตลิ่งชันตั้งอยู่ในเขตจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติดังกล่าวด้วย คดีนี้โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยลดจำนวนทุนทรัพย์ลงเป็นเหตุให้คดีของโจทก์เป็นคดีที่เกิดในเขตของศาลแขวงและอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแขวง ศาลแพ่งธนบุรีจึงต้องมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงธนบุรีซึ่งเป็นศาลแขวงที่มีเขตอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของอัยการสูงสุด, การแก้ไขคำฟ้อง, และการริบทรัพย์สินในคดีทุจริต - หลักเกณฑ์และขอบเขต
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/6 ถึงมาตรา 123/8 ไม่ได้บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะริบทรัพย์สินได้โดยโจทก์ไม่ต้องมีคำขอเช่นเดียวกับที่ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 บัญญัติเป็นมาตรการไว้ในมาตรา 31 และ 32 เมื่อการริบทรัพย์สินเป็นโทษตาม ป.อ. ซึ่งใช้บังคับในขณะที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิด หากโจทก์ประสงค์จะให้ศาลริบทรัพย์สินใดของจำเลยทั้งสองก็ต้องบรรยายไว้ในคำฟ้อง และมีคำขอท้ายฟ้องให้ริบด้วย ถึงแม้โจทก์จะนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนโดยชอบด้วยกฎหมาย และศาลรับฟังได้ว่าเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 เป็นทรัพย์สินที่จำเลยทั้งสองได้มาโดยได้กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 33 (2) ก็ตาม แต่การนำพยานหลักฐานเข้าไต่สวนดังกล่าวไม่ได้เป็นข้อยกเว้นให้โจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับเงินของจำเลยทั้งสองว่ายึดหรืออายัดไว้เป็นของกลางหรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด และไม่ต้องมีคำขอท้ายฟ้องให้ริบเงินใด ๆ ดังนั้นเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่ามีการยึดหรืออายัดเงินใด ๆ ที่จำเลยทั้งสองได้มาโดยได้กระทำความผิด และคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ได้มีคำขอให้ศาลสั่งริบเงินของจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจริบเงินของจำเลยทั้งสองในบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 ได้ อีกทั้งไม่อาจนำมาตรการริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาปรับใช้แก่คดีนี้ได้ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบเงิน 1,822,494 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งกำหนดมูลค่าของสิ่งที่ริบเป็นเงิน 62,724,776 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนี้ ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: คำวินิจฉัยคณะกรรมการชี้ขาดอำนาจศาลเป็นที่สุด โจทก์ไม่อาจคัดค้านหรือแก้ไขคำฟ้องหลังมีคำวินิจฉัย
แม้โจทก์ทั้งสิบฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นรับฟ้องของโจทก์ทั้งสิบไว้พิจารณา แต่เมื่อต่อมามีคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา หรือกฎที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด กรณีนี้ตามมาตรา 10 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 บัญญัติความว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลให้เป็นที่สุด และตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติความว่า ถ้าคณะกรรมการได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีอยู่ในอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้ศาลที่รับฟ้องสั่งโอนคดีหรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ ดังนี้ เมื่อมีคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลดังกล่าวแล้ว คดีนี้จึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในศาลชั้นต้นได้เฉพาะการโอนคดีหรือการจำหน่ายคดีตามมาตรา 11 ดังกล่าวเท่านั้น โจทก์ทั้งสิบจึงไม่อาจยื่นคำแถลงคัดค้านคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ 44/2560 และไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อศาลชั้นต้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องทั้งสองฉบับอันเป็นการไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย จึงชอบแล้ว และกรณีเช่นนี้ โจทก์ทั้งสิบไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของโจทก์ทั้งสิบ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบจึงไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องพิพากษายกอุทธรณ์เสีย และโจทก์ที่ 6 ถึงที่ 10 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาอีกด้วย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3588/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการดำเนินคดีของบุคคลที่ไม่ได้เป็นทนายความ การแก้ไขคำฟ้องอุทธรณ์ และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามกฎหมาย
มูลเหตุที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกอุทธรณ์ของจำเลย เนื่องจาก ส. ขณะทำคำแก้อุทธรณ์และอุทธรณ์ไม่ปรากฏว่าเป็นทนายความ จึงต้องห้ามมิให้เป็นผู้เรียงคำแก้อุทธรณ์และอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 มาตรา 33 คำแก้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคำคู่ความและคำฟ้องอุทธรณ์ตามลำดับที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ในส่วนคำแก้อุทธรณ์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขคำแก้อุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ในส่วนอุทธรณ์เมื่อจำเลยอุทธรณ์โดย ส. ผู้รับมอบอำนาจจำเลยลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ ผู้เรียง และผู้พิมพ์ เช่นเดียวกันกับคำแก้อุทธรณ์ของจำเลย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับไปแล้ว คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ประกอบมาตรา 215 ถือเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ให้อำนาจแก่ศาลที่จะสั่งให้จำเลยแก้ฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องได้ แต่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะเพิกถอนการรับฟ้องอุทธรณ์ของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาใหม่ หรือศาลอุทธรณ์ภาค 9 ดำเนินการเสียเองให้จำเลยแก้ไขให้ถูกต้องก่อนก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยกฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียว จึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา แต่ข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นฎีกาว่า จำเลยโดย ส. ผู้รับมอบอำนาจได้ยื่นใบแต่งทนายความแต่งตั้ง ส. ให้ใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้แล้ว อันไม่จำต้องดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีก
of 19