พบผลลัพธ์ทั้งหมด 473 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5493/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาในการแก้ไขโทษที่สูงเกินไป และขยายผลถึงจำเลยที่ไม่ฎีกา
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลล่างกำหนดมานั้นสูงเกินไปศาลฎีกามีอำนาจกำหนดโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี และให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3387/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกหลังคดีถึงที่สุดขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดโทษโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ แต่จำเลยหาได้ใช้สิทธิดังกล่าวไม่ จนคดีถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้ จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้กำหนดโทษใหม่ให้น้อยลงโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) อีกไม่ได้ เพราะจะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 190
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต และข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรม วางโทษประหารชีวิตทั้งสองกระทง คำรับของจำเลยชั้นจับกุมและสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุกตลอดชีวิตทั้งสองกระทง แต่เมื่อลงโทษกระทงแรกจำคุกตลอดชีวิตแล้ว ไม่อาจรวมโทษจำคุกตลอดชีวิตกระทงหลังเข้าด้วยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 คงลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเพียงกระทงเดียวดังนี้ ศาลอุทธรณ์เพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง ฎีกาขอให้ลงโทษประหารชีวิตจำเลย เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ อันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญา, การรับสารภาพ, และการแก้ไขโทษบทอาวุธปืน
พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่า จำเลยเอาเงินของผู้ตายไปจำนวน 9,100 บาท แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพในคดีส่วนอาญาเท่านั้น หาใช่มีผลเป็นการยอมรับว่าจำเลยได้เอาเงินจำนวน9,100 บาท ของผู้ตายไปอันเป็นข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งด้วยไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 จำเลยจะต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องพิจารณาตามกฎหมายในทางแพ่งและตามความเสียหายที่จำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นจริง เมื่อปรากฏตามบันทึกคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวน และบันทึกการชี้ ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพได้ความว่าจำเลยกับพวกค้นเอาเงินจำนวน 200 บาท ของผู้ตายจากกระจาด เก็บเงินไป เช่นนี้ จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหาย ความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถือว่าเป็นบทที่มีโทษหนักกว่ามาตรา 72 วรรคสาม ที่มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยการไม่รอการลงโทษถือเป็นการเพิ่มเติมโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน ปรับ 1,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 2 เดือน ไม่รอการลงโทษจำคุก และไม่ปรับ ดังนี้ ถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินกำหนด และการแก้ไขราคาของที่ถูกปล้น
ข้อหาพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดจำคุกคนละ 4 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ปรับคนละ 60 บาท จึงเป็นการแก้ไขมาก แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานั้น อีกทั้งมิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยด้วย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219จึงต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5012/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดกรรมเดียวจากการขับรถประมาทเลี้ยวตัดหน้าทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลแก้ไขโทษให้ลงโทษกรรมเดียว
จำเลยขับรถยนต์จะเลี้ยวซ้ายแต่ไม่นำรถเข้าชิดขอบทางเดินรถด้านซ้ายกลับเลี้ยวรถตัดหน้ารถที่โจทก์ร่วมขับในระยะกระชั้นชิดในลักษณะเป็นการกีดขวางการจราจร และเป็นการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถทั้งสองคันชนกัน ทำให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสและรถที่โจทก์ร่วมขับได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดในครั้งคราวเดียวที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน อันเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4700/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การแก้ไขโทษเล็กน้อยในคดีอาญา ไม่รับพิจารณาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานทำร้ายร่างกาย จำคุกจำเลยที่ 1 ะที่ 3 ที่ 6 และที่ 7 คนละ 1 ปี ฐานลักทรัพย์จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 6 และที่ 7 คนละ 3 ปี ส่วนจำเลยที่ 3 เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93(13) กึ่งหนึ่ง จำคุก 4 ปี 6 เดือน ฐานทำให้เสียทรัพย์จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 6 และที่ 7 คนละ 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำเลยที่ 3 ให้เพิ่มโทษฐานทำร้ายร่างกายหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็น จำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 1 ปี 4 เดือน และเพิ่มโทษฐานทำให้เสียทรัพย์กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93(13) เป็นจำคุกจำเลยที่ 3 มีกำหนด 9 เดือน มีผลเท่ากับว่าเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่ 6 และที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 3 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเกี่ยวกับโทษ เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 6 และที่ 7 แต่ละฐานไม่เกิน 5 ปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า ข้อเท็จจริงในคดีหากฟังตามฎีกาจำเลย การกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายกับทำให้เสียทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งจำเลยไม่เห็นด้วยกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์และไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 โดยอ้างพฤติการณ์แห่งคดี เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 6 และที่ 7 ฎีกาว่า ข้อเท็จจริงในคดีหากฟังตามฎีกาจำเลย การกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายกับทำให้เสียทรัพย์เป็นการกระทำกรรมเดียวกัน ทั้งจำเลยไม่เห็นด้วยกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์และไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 โดยอ้างพฤติการณ์แห่งคดี เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น ต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเพียงเล็กน้อยและจำคุกเกินห้าปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิตจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นว่าให้จำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้จำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิตจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นว่าให้จำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อย และให้จำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคสอง.