คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนทายาท, อายุความมิอาจอ้างตัดสิทธิการแบ่งมรดก
ผู้จัดการมรดก มิใช่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ 1720 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ทำตามคำสั่งแห่งพินัยกรรมจัดการมรดกทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทอีกด้วย ผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง ทายาทไม่จำต้องครอบครองมรดก เพราะผู้จัดการมรดกครอบครองแทนอยู่แล้ว ผู้จัดการมรดกจะอ้างอายุความใด ๆ มาตัดฟ้องมิให้ทายาทฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนครอบครองแทนไว้หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกหน้าที่แบ่งมรดก & ทายาทฟ้องร้องได้ แม้ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์แทน
ผู้จัดการมรดก มิใช่จัดการทรัพย์มรดกเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และ1720 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ทำตามคำสั่งแห่งพินัยกรรมจัดการมรดกทั่วไปและแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทอีกด้วย ผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง ทายาทไม่จำต้องครอบครองมรดกเพราะผู้จัดการมรดกครอบครองแทนอยู่แล้วผู้จัดการมรดกจะอ้างอายุความใดๆ มาตัดฟ้องมิให้ทายาทฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งตนครอบครองแทนไว้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกเฉพาะทายาทที่ฟ้อง: ศาลแบ่งตามสิทธิที่โจทก์ควรได้ ไม่ใช่การกันส่วนไว้
ทายาทมี 3 คน แต่ทายาทที่มาฟ้องขอแบ่งมรดกมี 2 คนเท่านั้น ดังนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 3 เท่านั้น เพราะเป็นการแบ่งให้ตามสิทธิที่โจทก์แต่ละคนคนควรจะได้ หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1749 ไม่ อ้างฎีกาที่ 821/2491.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกเฉพาะทายาทที่ฟ้องร้อง: สิทธิส่วนแบ่งตามจำนวนทายาทที่เข้าร่วม
ทายาทมี 3 คน แต่ทายาทที่มาฟ้องขอแบ่งมรดกมี 2 คนเท่านั้นดังนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้ส่วนแบ่งเพียงคนละ 1 ใน 3 เท่านั้นเพราะเป็นการแบ่งให้ตามสิทธิที่โจทก์แต่ละคนควรจะได้ หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 ไม่ อ้างฎีกาที่ 821/2491

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัด ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ หากไม่เกินคำขอเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามคำขอของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่พิพาทอันดับ 1, 2 ไม่ใช่มรดกของ ส. แต่เป็นของจำเลยก่นสร้างครอบครองมา และแม้จะฟังว่าเป็นมรดกของ ส. ก็ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกับจำเลย คดีโจทก์ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมาว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอันดับ 1, 2 อันเป็นมรดกของ ส. ร่วมกับจำเลยหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นควรฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยได้แบ่งกันครอบครองที่พิพาทอันเป็นมรดกของ ส.คนละแปลง เป็นส่วนสัดมาช้านาน ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิได้ครอบครองที่พิพาททั้งสองแปลงร่วมกันดังที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งครึ่งที่ดินมรดกของ ส. รวม 3 แปลง เฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 3 ได้ความว่าจำเลยขายไปก่อน โจทก์จึงไม่ติดใจว่ากล่าว คงพิพาทกันเฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 1 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 วา อันดับ 2 เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 84 วา ซึ่งมีราคาแปลงละ 4,000 บาทเท่ากัน ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จำเลยได้รับที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาเท่ากันคนละแปลงตามที่ได้แบ่งกันครอบครองเป็นส่วนสัดจึงเท่ากับโจทก์ได้รับมรดกเพียงครึ่งหนึ่ง ไม่เป็นการนอกประเด็นและเกินคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088-1089/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมแบ่งมรดก: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเรื่องทรัพย์สินและการครอบครองเพื่อวินิจฉัยความรับผิดของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมกับโจทก์ จะแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ ไม่ได้ฟ้องนางทรัพย์จำเลยให้การต่อสู้ว่า ทรัพย์มรดกที่พิพาท จำเลยไม่ได้เกี่ยวข้องอยู่ในความครอบครองของนางทรัพย์และ ส. ซึ่งเป็นโจทก์คนหนึ่งได้รับส่วนแบ่งไปจากนางทรัพย์แล้ว ซึ่งถ้าสมข้อต่อสู้ของจำเลย จำเลยก็ไม่ต้องรับผิด ดังนี้ เป็นข้อเท็จจริงที่ศาลจะต้องฟังจากพยานหลักฐานต่อไป
คดีก่อนเป็นเรื่องฟ้องแบ่งมรดก คดีหลังเป็นเรื่องฟ้องเรียกทรัพย์ตามสัญญาแบ่งมรดก ดังนี้ หาใช่เรื่องเดียวกันไม่ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำเกี่ยวกับการแบ่งมรดก: แม้เปลี่ยนรูปคดี ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้ำหากประเด็นข้อพิพาทเหมือนเดิม
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ขอแบ่งมรดกผู้ตาย ศาลพิพากษาให้แบ่ง คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลงขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดก็ตามแต่จำเลยก็ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายซึ่งจำเลยมีสิทธิรับมรดำด้วย และทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ที่พิพาทครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อพิจารณาคำฟ้อง คำให้การและข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารราเกี่ยวกับการแบ่งมรดกนั่นเอง ถือได้ว่ามีประเด็นอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีมรดกซึ่งเป็นเรื่องพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์โดยตรง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เมื่อคดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ก็ไม่มีทางจะขอแบ่งมรดกจากจำเลยที่ 1 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำเกี่ยวกับการแบ่งมรดก: แม้ฟ้องจำเลยเพิ่ม สิทธิเดิมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ขอแบ่งมรดกผู้ตาย ศาลพิพากษาให้แบ่ง คดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลง ขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งหมดก็ตามแต่จำเลยก็ต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายซึ่งจำเลยมีสิทธิรับมรดกด้วยและทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ที่พิพาทครึ่งหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตาย เมื่อพิจารณาคำฟ้อง คำให้การและข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแบ่งมรดกนั่นเอง ถือได้ว่ามีประเด็นอย่างเดียวกับคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คดีมรดกซึ่งเป็นเรื่องพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์โดยตรง ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 สามีของจำเลยที่ 2 เมื่อคดีระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ก็ไม่มีทางจะขอแบ่งมรดกจากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันไม่ทำให้เกิดอายุความ ย่อมฟ้องแบ่งได้แม้ครอบครองคนเดียว
เจ้ามรดกตาย ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกได้ครอบครองมรดกร่วมกัน แม้เพียง 1 เดือนก็ถือได้ว่าได้ร่วมกันรับมรดกดังกล่าวและเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกร่วมกันแล้ว เมื่อทายาทฝ่ายหนึ่งมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวนั้น จึงเป็นการฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ซึ่งทายาทฝ่ายนั้นเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วยจะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
โจทก์จำเลยครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันต่อมาโจทก์โกรธจำเลยจึงแยกไปอยู่เสียที่อื่นจำเลยจึงครอบครองทรัพย์มรดกนั้นแต่ผู้เดียวต้องถือว่าครอบครองในฐานะเจ้าของร่วมกันและแทนกันมิใช่เป็นการเข้าแย่งการครอบครองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีหลังแบ่งมรดก: เจ้าหนี้บังคับคดีได้เฉพาะส่วนของผู้ถูกฟ้องคดี
ในกรณีที่ได้แบ่งมรดกแล้ว เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องให้ทายาทคนใดชำระหนี้ เจ้าหนี้นั้นก็มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้ได้เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นรับไป หาได้ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกจากทายาทคนอื่นที่มิได้ถูกฟ้องด้วยไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2506)
of 35