คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แปลงหนี้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
แม้ พ. จะเป็นภรรยาเจ้าหนี้ แต่หนี้ที่ลูกหนี้มีต่อ พ. กับหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้เป็นหนี้ต่างรายกัน และเป็นเจ้าหนี้คนละคน ฉะนั้น การนำเอาหนี้ที่มีต่อ พ. มาแถลงเป็นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ซึ่งต้องบังคับตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา349 วรรคท้ายแต่คู่กรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวฉะนั้น การแปลงหนี้ตามเช็คในส่วนของพ. มาเป็นหนี้เงินกู้ของเจ้าหนี้ จึงไม่สมบูรณ์ เจ้าหนี้จะนำเอาหนี้จำนวนนี้มารวมกับหนี้ของเจ้าหนี้เพื่อขอรับชำระหนี้ด้วยไม่ได้
หนี้ตามเช็คที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ แม้ว่าเช็คจะไม่ได้ลงวันที่ แต่ลูกหนี้ก็เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงเมื่อมีหนี้ต่อกันแล้วคู่กรณีก็อาจแปลงหนี้ให้เป็นหนี้เงินกู้ได้ หนี้ตามสัญญากู้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้จึงมีผลสมบูรณ์
คดีพิพาทกันด้วยเรื่องคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งมีบัญญัติไว้เป็นกฎหมายพิเศษอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 มาตรา 11 ฉะนั้นค่าขึ้นศาลชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจึงต้องเสียอัตราครั้งละสองร้อยบาท จะเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และศาลฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไม่ได้และจะเรียกเพียง 50 บาทอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ก็ไม่ได้ เพราะกรณีไม่ใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
แม้ พ. จะเป็นภรรยาเจ้าหนี้. แต่หนี้ที่ลูกหนี้มีต่อ พ. กับหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้เป็นหนี้ต่างรายกัน และเป็นเจ้าหนี้คนละคน. ฉะนั้น การนำเอาหนี้ที่มีต่อ พ.มาแถลงเป็นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้.ซึ่งต้องบังคับตามบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา349 วรรคท้าย. แต่คู่กรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว. ฉะนั้น การแปลงหนี้ตามเช็คในส่วนของพ. มาเป็นหนี้เงินกู้ของเจ้าหนี้ จึงไม่สมบูรณ์. เจ้าหนี้จะนำเอาหนี้จำนวนนี้มารวมกับหนี้ของเจ้าหนี้เพื่อขอรับชำระหนี้ด้วยไม่ได้.
หนี้ตามเช็คที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ แม้ว่าเช็คจะไม่ได้ลงวันที่ แต่ลูกหนี้ก็เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริง. เมื่อมีหนี้ต่อกันแล้วคู่กรณีก็อาจแปลงหนี้ให้เป็นหนี้เงินกู้ได้ หนี้ตามสัญญากู้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้จึงมีผลสมบูรณ์.
คดีพิพาทกันด้วยเรื่องคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งมีบัญญัติไว้เป็นกฎหมายพิเศษอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 มาตรา 11. ฉะนั้นค่าขึ้นศาลชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจึงต้องเสียอัตราครั้งละสองร้อยบาท. จะเรียกค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และศาลฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไม่ได้.และจะเรียกเพียง 50 บาทอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ก็ไม่ได้. เพราะกรณีไม่ใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้เดิมเป็นสัญญากู้ยืมใหม่ ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ระบุรายละเอียดหนี้เดิม
ฟ้องโจทก์กล่าวถึงมูลหนี้เดิมซึ่งมีหนี้เงินยืม หนี้ค่าซื้อของเชื่อ และหนี้สินอย่างอื่น และเมื่อคิดบัญชีกันแล้ว จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อยู่จึงได้ตกลงแปลงหนี้กันใหม่ เป็นสัญญากู้ยืมจำนวน 56,000 บาท ฟ้องของโจทก์ ดังนี้ ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว โจทก์หาจำเป็นต้องแยกรายละเอียดหนี้เดิมว่าเป็นหนี้อะไรเท่าไร และเกิดขึ้นเมื่อใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 758/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากหนี้เดิมเป็นสัญญากู้ยืมใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดหนี้เดิม
ฟ้องโจทก์กล่าวถึงมูลหนี้เดิมซึ่งมีหนี้เงินยืมหนี้ค่าซื้อของเชื่อ และหนี้สินอย่างอื่น และเมื่อคิดบัญชีกันแล้ว จำเลยยังเป็นหนี้โจทก์อยู่จึงได้ตกลงแปลงหนี้กันใหม่ เป็นสัญญากู้ยืมจำนวน 56,000 บาท ฟ้องของโจทก์ ดังนี้ ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว โจทก์หาจำเป็นต้องแยกรายละเอียดหนี้เดิมว่าเป็นหนี้อะไรเท่าไรและเกิดขึ้นเมื่อใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1451/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ถือเป็นการแปลงหนี้ใหม่ อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
หนังสือสัญญารับใช้เงิน มีข้อความแสดงอยู่ชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าโจทก์อยู่จริง และรับว่าคงค้างชำระอยู่ 2 จำนวน คือ 19,436.61 บาท และ 8,043 บาท ขอผัดชำระไป 6 เดือน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงให้เห็นว่าจะให้มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในหนี้เดิมอย่างใด จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่แปลงหนี้ใหม่
องค์การ อ.จ.ส. โจทก์จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดซื้อและจำหน่ายสินค้า พ.ศ. 2497 ซึ่งบัญญัติให้ดำเนินการค้าได้ เมื่อองค์การโจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในฐานะเป็นพ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามฟ้องกล่าวว่า จำเลยชำระหนี้ครั้งสุดท้าย เมื่อเดือนสิงหาคม 2501 แม้นับอายุความใหม่ตั้งแต่วันชำระหนี้ครั้งสุดท้าย อันเป็นวันถือว่าจำเลยรับสภาพหนี้ตามมาตรา 172 จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2507 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ฟ้องก็เกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคำสนอง การทวงหนี้หลังแปลงหนี้แล้วถือเป็นคำเสนอใหม่ และสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญา
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ เพียงแต่บุคคลภายนอกยื่นหนังสือรับรองชำระหนี้แทนจำเลยต่อโจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยมิได้สั่งการอย่างไร เงียบหายไป สัญญาแปลงหนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ต่อมาอีกเกือบ 4 ปีโจทก์จะได้ทวงหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเอากับบุคคลภายนอกนั้น ก็ไม่ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับเอาบุคคลภายนอกนั้นเข้าเป็นลูกหนี้แทนจำเลย เพราะคำเสนอของบุคคลภายนอกต่อโจทก์สิ้นความผูกพันเพราะล่วงเลยเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 หนังสือทวงหนี้ของโจทก์เป็นแต่คำเสนอใหม่เท่านั้น เมื่อหนี้ใหม่ไม่เกิด หนี้เดิมของจำเลยก็ไม่ระงับไปตามมาตรา 351
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จะบังคับให้ส่งให้มิได้ เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะริบในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคำสนองจากเจ้าหนี้ หากไม่มี สัญญาเดิมยังคงมีผล และการเรียกเงินมัดจำเมื่อเลิกสัญญา
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ เพียงแต่บุคคลภายนอกยื่นหนังสือรับรองชำระหนี้แทนจำเลยต่อโจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยมิได้สั่งการอย่างไร เงียบหายไป สัญญาแปลงหนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ต่อมาอีกเกือบ 4 ปีโจทก์จะได้ทวงหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเอากับบุคคลภายนอกนั้น ก็ไม่ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับเอาบุคคลภายนอกนั้นเข้าเป็นลูกหนี้แทนจำเลย เพราะคำเสนอของบุคคลภายนอกต่อโจทก์สิ้นความผูกพันเพราะล่วงเลยเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355หนังสือทวงหนี้ของโจทก์เป็นแต่คำเสนอใหม่เท่านั้น เมื่อหนี้ใหม่ไม่เกิด หนี้เดิมของจำเลยก็ไม่ระงับไปตามมาตรา 351
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วจะบังคับให้ส่งให้มิได้เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะรับในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ค่าจ้างเป็นหนี้เงินกู้ และข้อจำกัดการนำสืบการชำระหนี้
เมื่อมีหนี้ต่อกันแล้วคู่กรณีก็อาจแปลงหนี้อย่างหนึ่งเป็นหนี้อีกอย่างหนึ่งได้ในภายหลัง โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้หนี้เงินค่าจ้างระหว่างโจทก์จำเลยผูกพันกันในรูปเป็นหนี้เงินกู้ โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในหนี้เงินกู้ ในการกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือเมื่อจะนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วจะนำพยานบุคคลมาสืบถึงการใช้เงินนั้นไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ซ้ำ หากเป็นหนี้เดิมรายเดียวกัน
การแปลงหนี้เงินกู้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตามมาตรา350 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น สัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการนำสืบพยาน: โจทก์มีสิทธิหักล้างข้ออ้างจำเลย แม้มิได้แถลงรับประเด็น
(1) ในกรณีที่คู่ความทำสัญญาซื้อขายของ และฝ่ายหนึ่งต่อสู้ว่าได้แปลงหนี้แต่นำสืบได้เพียงว่า อีกฝ่ายหนึ่งได้พูดว่าให้หาเงินมาให้เร็ว ถ้าช้าจะคิดดอกเบี้ยบ้างนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรค 2 ยังไม่เป็นหลักฐานมั่นคงถึงกับจะฟังว่าได้มีการแปลงหนี้กันใหม่
(2) จำเลยเท่านั้นมีหน้าที่รับหรือปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 3 ฉะนั้น ในการที่จำเลยต่อสู้คดีมีข้ออ้างบางประการขึ้นนั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องแถลงรับหรือปฏิเสธ
(3) โดยเหตุผลในข้อ (2) ข้างบนนี้และเมื่อจำเลยมีสิทธินำสืบตามข้ออ้างของจำเลย โจทก์ก็ย่อมนำสืบหักล้างได้ เพราะถ้าพยานหลักฐานใดเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่ฝ่ายใดจะต้องนำสืบ พยานหลักฐานนั้นก็ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 87 (1) คือ มิใช่ว่าจะมีสิทธินำสืบแต่เฉพาะข้อที่ตนอ้างและมีหน้าที่ตามมาตรา 84, 85 เท่านั้น ข้อความที่ฝ่ายหนึ่งอ้างขึ้นฝ่ายเดียว อีกฝ่ายหนึ่งแม้จะไม่ได้อ้างข้อความนั้นก็สืบหักล้างได้ จะเป็นการสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนหรือหักล้างข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่ง ก็คงเป็นพยานในประเด็นเดียวกัน ซึ่งต่างนำสืบโต้เถียงกันนั่นเอง
(4) การนำสืบของโจทก์ว่าจำเลยชำระหนี้รายอื่นเช่นนี้จะถือว่าโจทก์รับตามข้ออ้างของจำเลยแล้ว และโจทก์อ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่หาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่ได้รับว่าได้แปลงหนี้ใหม่ตามที่จำเลยอ้าง
(5) เมื่อศาลสอบถามโจทก์ตามข้ออ้างของจำเลยแล้ว โจทก์มิได้แถลงให้เป็นประเด็นไว้ตามมาตรา 183 โจทก์ย่อมไม่มีประเด็นนำสืบ ตามฎีกาที่ 972/2492 แต่ถ้าศาลไม่ได้สอบถาม โจทก์มีสิทธินำสืบหักล้างได้ และเมื่อโจทก์ได้ถามค้านไว้ตามมาตรา 89 แล้ว ศาลย่อมรับฟังข้อนำสืบของโจทก์ได้ว่าเงินที่จำเลยชำระนั้นเป็นการชำระหนี้รายอื่น
(ข้อ (2), (3), (4), (5) ประชุมใหญ่ครั้งที่ 44/2505)
of 28