พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9815/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 (บริษัท) เกิดจากกรรมการ (จำเลยที่ 1) ปฏิเสธการคืนโฉนดที่ดินแทนบริษัท
ตามคำฟ้องในตอนต้น ได้ระบุชื่อจำเลยที่ 2 ไว้ว่า บริษัท ส. โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 2 การกระทำใดๆ ของจำเลยที่ 2 จึงต้องแสดงออกโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจ ดังนั้น เมื่อคำฟ้องได้ระบุว่า เมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 คืนโฉนดที่ดิน แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมคืนกลับอ้างว่าโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 เองเป็นกรรมการของจำเลยที่ 2 อยู่ด้วย เท่ากับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 ผู้แทนปฏิเสธไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์นั่นเอง จึงถือว่าโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 โต้แย้งสิทธิและมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19287/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ถือเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
จำเลยเป็นเพียงผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ การที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองของโจทก์มิได้สูญหาย แต่กลับไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโฉนดที่ดินพิพาทสูญหาย แล้วนำบันทึกคำแจ้งความไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วโอนขายที่ดินพิพาทให้บุคคลภายนอก เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และโจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายเป็นพิเศษในการกระทำความผิดดังกล่าว มีอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18311/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโฉนดที่ดินที่คลาดเคลื่อน ต้องฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ใช่จำเลยที่ดินติดกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์นำสำรวจแบ่งแยกที่ดิน แต่เจ้าพนักงานที่ดินคำนวณเนื้อที่ผิดพลาดเป็นเหตุให้เนื้อที่ที่ดินขาดหายไปเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำเลย กับมีคำขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนแก้ไขทำเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ที่ทับซ้อนที่ดินของโจทก์ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าโฉนดที่ดินของโจทก์ออกโดยคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง ซึ่งหากโจทก์เห็นว่าการออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ของเจ้าพนักงานที่ดินทำไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยประการใดจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ต้องดำเนินการฟ้องร้องเจ้าพนักงานที่ดินผู้ออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์โดยตรง แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยกระทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโฉนดที่ดินของโจทก์ อันเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานที่ดินที่จะดำเนินการโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดิน ทั้งโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขโฉนดที่ดินของจำเลยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14225/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองโฉนดที่ดินไม่ใช่การครอบครองทรัพย์มรดก สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกขาดอายุความ
โฉนดที่ดินเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน มิใช่ตัวที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก ดังนั้นการที่ ก. ครอบครองโฉนดที่ดินจึงไม่ใช่เป็นการครอบครองทรัพย์มรดก ตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่จะอ้างว่า ก. ครอบครองทรัพย์มรดกจึงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกแม้ว่าจะพ้นสิบปีนับแต่ ล. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ไม่ได้ เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ ล. กรณีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่จัดการมรดกถูกต้องหรือไม่ เพราะแม้จำเลยจะปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
ที่โจทก์ทั้งสี่อ้างในฎีกาอีกว่าอายุความสิบปีสะดุดหยุดลงเพราะจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฆ. แล้ว โจทก์ทั้งสี่ก็มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างให้ชัดแจ้งว่าข้อฎีกาดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมายใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์ทั้งสี่อ้างในฎีกาอีกว่าอายุความสิบปีสะดุดหยุดลงเพราะจำเลยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ฆ. แล้ว โจทก์ทั้งสี่ก็มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างให้ชัดแจ้งว่าข้อฎีกาดังกล่าวเป็นไปตามหลักกฎหมายใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินแม้มีข้อพิพาท: การรบกวนการครอบครองที่ดินที่มีโฉนด แม้มีการเพิกถอนโฉนดยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นความเสียหายฟ้องร้องได้
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แม้สำนักงานธนารักษ์ตรวจสอบแล้วปรากฎว่าโฉนดออกในที่ราชพัสดุและมีการขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าว แต่ขั้นตอนในการเพิกถอนโฉนดยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ และผลในการเพิกถอนยังไม่ปรากฏว่าจะเพิกถอนได้หรือไม่ เมื่อมีบุคคลมารบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ร่วมดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่กระทบต่อสิทธิในการครอบครองที่ดินของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยครอบครองปรปักษ์ ต้องครอบครองสงบเปิดเผย ต่อเนื่อง 10 ปี นับจากโฉนดออก
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 จะต้องเป็นการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์และครอบครองโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี ผู้ร้องจะนับระยะเวลาการครอบครองในระหว่างเป็นที่ดินมือเปล่าก่อนที่ดินพิพาทออกโฉนดรวมเข้ากับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ภายหลังที่ดินมีโฉนดแล้วหาได้ไม่ ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินในที่ดินพิพาทปี 2529 ผู้ร้องไม่ได้คัดค้านอย่างใด ต่อมาปี 2533 ผู้ร้องเข้าไปตักดินในที่ดินพิพาท ผู้คัดค้านห้ามแล้วไม่หยุด ผู้คัดค้านจึงนำโฉนดที่ดินไปแจ้งความที่สถานีตำรวจว่าผู้ร้องบุกรุก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินพิพาทและแสดงออกว่ามีเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี 2533 เมื่อนับระยะเวลาจนถึงผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ยังไม่ครบ 10 ปี ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10368/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากสัญญาซื้อขาย น.ส.3ก. แม้มีโฉนดในชื่อผู้ขาย สิทธิยังเป็นของผู้ซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์แบ่งซื้อที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จาก ช. โดย ช. ได้รับชำระค่าที่ดินจากโจทก์และได้มอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายจนถึงปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้แบ่งแยกโอนให้แก่โจทก์ ต่อมาที่ดินดังกล่าวได้ออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินในนามของ ช. หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามคำฟ้อง ย่อมแสดงว่าขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ช. ที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ซึ่งผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 และการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 ซึ่งโจทก์ได้กล่าวไว้ในคำฟ้องแล้วว่า ช. ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขายตลอดมา แสดงว่า ช. ไม่ใช่ผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอีกต่อไป แม้ต่อมาจะได้ความว่า ช. นำที่ดินพิพาทไปออกเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน ช. ก็ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เป็นเพียงผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามโฉนดที่ดินแทนโจทก์เท่านั้น แม้ต่อมา ช. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ช. ที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. จะมีสิทธิจัดการได้ แต่ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. เพื่อขอให้ศาลสั่งแสดงสิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทได้ การที่ศาลชั้นต้นกลับไปวินิจฉัยเรื่องอายุความว่าโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายที่ดินเกินกว่า 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 และฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกเกินกว่า 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม คดีจึงขาดอายุความ โดยไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทว่า ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องโจทก์ดังที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวต่อไป จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: การออกโฉนดที่ดินใหม่ไม่กระทบสิทธิเดิมหากไม่มีการรุกล้ำหรือโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. ฟ้องว่า ที่ดินยของ อ. อยู่ติดกันโดยที่ดินของ ป. ทางด้านทิศตะวันตกติดที่ดินของ อ. ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่ ป. และระบุรูปแผนที่ดินของ ป. ว่าทางด้านทิศติวันตกติดบ่อน้ำสาธารณประโยชน์ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. และมีส่วนได้เสียในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินได้ แต่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์ยังไม่เคยไปยื่นคำขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ต่อเจ้าพนักงานที่ดินทั้งการขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินของ ป. ก็เป็นเรื่องการแบ่งแยกโฉนดที่ดินในที่ดินของ ป. เองโดยเฉพาะ แม้การระบุอาณาเขตที่ดินในโฉนดที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจะคลาดเคลื่อนไป ก็ไม่มีผลโดยตรงต่อที่ดินของ อ. กล่าวคือ มิได้ออกโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่ดินของ อ. หรือกระทำการอันมีลักษณะเป็นการรบกวนครอบครองหรือแย่งสิทธิครอบครองที่ดินของ อ. สิทธิครอบครองที่ดินของ อ. จะมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิม และเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปพิสูจน์สิทธิครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอออกโฉนดที่ดินของ อ. หากโจทก์ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ก็ต้องไปว่ากล่าวกับเจ้าพนักงานที่ดิน การออกโฉนดที่ดินไป ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้อง ยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องกรมที่ดินจำเลยขอให้บังคับจำเลยแก้ตำแหน่งที่ดินทางทิศตะวันตกเป็นว่าจดที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีการออกโฉนดที่ดินใหม่คลาดเคลื่อน ไม่กระทบสิทธิครอบครองเดิม โจทก์ต้องพิสูจน์สิทธิเอง
ที่ดินของ ป. กับที่ดินของ อ. อยู่ติดกันโดยที่ดินของ ป. ทางด้านทิศตะวันตกติดที่ดินของ อ. ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดินให้แก่ ป. และระบุรูปแผนที่ที่ดินของ ป. ว่าทางด้านทิศตะวันตกติดบ่อน้ำสาธารณประโยชน์ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. และมีส่วนได้เสียในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินได้ แต่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า โจทก์ไปขอตรวจสอบตำแหน่งที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ต่อสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดเพชรบุรี และโจทก์ก็เบิกความตอบทนายโจทก์รับว่า โจทก์ยังไม่เคยไปยื่นคำขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินในที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 94 ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ทั้งการขอแบ่งแยกโฉนดที่ดินของนางสาวปทุมก็เป็นเรื่องการแบ่งแยกโฉนดที่ดินในที่ดินของ ป. เองโดยเฉพาะ แม้การระบุอาณาเขตที่ดินในโฉนดที่ดินที่แบ่งแยกออกมาจะคลาดเคลื่อนไป ก็ไม่มีผลโดยตรงต่อที่ดินของ อ. กล่าวคือมิได้ออกโฉนดที่ดินรุกล้ำทับที่ดินของ อ. หรือกระทำการอันมีลักษณะเป็นการรบกวนการครอบครองหรือแย่งสิทธิครอบครองที่ดินของ อ. สิทธิครอบครองที่ดินของ อ. (หากมี) จะมีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่เช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปพิสูจน์สิทธิครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการขอออกโฉนดที่ดินของ อ. หากโจทก์ไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกับเจ้าพนักงานที่ดิน การออกโฉนดที่ดินให้ ป. ตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องยังไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6862/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองที่ดินหลังแบ่งแยก - จำนองยังคงครอบคลุมถึงส่วนแบ่งแยกแม้จะมีการแบ่งแยกโฉนด
ภายหลังจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทแล้วมีการแบ่งแยกโฉนดที่ดินที่พิพาทออกเป็นแปลงย่อยอีก 3 แปลง ซึ่งที่ดินที่แบ่งแยกนี้ต้องติดจำนองทุกแปลง บุคคลใดรับโอนไปผู้รับจำนองติดตามไปบังคับจำนองได้ เพราะเป็นทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่เดิมแม้จะแบ่งออกเป็นหลายส่วน จำนองก็ยังคงครอบไปถึงส่วนเหล่านั้นหมดทุกส่วนด้วยกันอยู่นั่นเอง เมื่อคำขอท้ายฟ้องได้ขอให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิบังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 717 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บังคับจำนองเฉพาะที่ดินแปลงย่อยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้บังคับจำนองที่ดินโฉนดที่ดินพิพาทด้วย