พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าและการรับผิดชอบเงินประกันความเสียหายของผู้รับโอน
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวให้เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้วก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 และไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเงินนี้ขึ้นใหม่ระหว่างจำเลยที่ 2 กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 วรรคสอง แต่อย่างใดเนื่องจากการคืนเงินนี้เป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่าจึงหาใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตามไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าและการโอนสิทธิเรียกร้อง: ผู้ครอบครองก่อนมีสิทธิเหนือกว่า แม้ทำสัญญาก่อน
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาท ได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่ กระทรวงการคลัง โดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจาก กระทรวงการคลัง เป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับ กระทรวงการคลัง โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1 อีกซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กรณีดังกล่าวมิใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและ กระทรวงการคลัง ให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากันทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่า/โอนสิทธิเรียกร้อง - การเข้าครอบครองก่อนมีผลเหนือการทำสัญญาก่อน
เทศบาลเมืองสมุทรปราการซึ่งมีสิทธิในที่ดินราชพัสดุที่ตั้งของอาคารพิพาท ได้ทำสัญญาให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ในที่ดินดังกล่าวโดยใช้ทุนของจำเลยที่ 1 และให้โอนกรรมสิทธิ์แก่ กระทรวงการคลัง โดยให้สิทธิจำเลยที่ 1 เช่าอาคารจาก กระทรวงการคลัง เป็นเวลา 20 ปี และยอมให้จำเลยที่ 1โอนสิทธิการเช่าอาคารได้ ทั้งนี้ เทศบาลเมืองสมุทรปราการจะเป็นผู้นำจำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าให้ไปทำสัญญาเช่ากับ กระทรวงการคลัง โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารแล้ว โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทรวม 3 คูหาจากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเช่าอาคารคูหาเดียวกันจากจำเลยที่ 1 อีกซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างมิได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพียงแต่ตามสัญญากำหนดว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้จัดให้ผู้เช่าเป็นผู้ทำสัญญาโดยตรงกับเทศบาลเมืองสมุทรปราการ กรณีดังกล่าวมิใช่การเช่าช่วงแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อเทศบาลเมืองสมุทรปราการและ กระทรวงการคลัง ให้แก่โจทก์หรือจำเลยที่ 3เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีการแจ้งการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้เทศบาลเมืองสมุทรปราการทราบ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 307 ที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์หรือจำเลยที่ 3 มีสิทธิในอาคารพิพาทดีกว่ากันทั้งไม่มีกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีโดยตรง ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้ โดยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือ มาตรา 543(3) คดีนี้แม้โจทก์จะทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก่อนจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาทแล้ว จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนการเช่าและไม่ได้เข้าครอบครองอาคารพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนโดยปริยายประมาทเลินเล่อในการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์ ผู้รับมอบหมายและผู้มอบหมายต่างมีส่วนรับผิด
โจทก์มอบหมายให้จำเลยดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์ให้เป็นชื่อของ ส. ผู้รับโอนให้เป็นที่เรียบร้อย จำเลยจึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์และจำเลยได้จัดการให้มีการย้ายเครื่องโทรศัพท์แล้ว ควรจะจัดการให้มีการโอนไปพร้อมกันแต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์เป็นชื่อ ส. ให้เป็นที่เรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์
หลังจากโจทก์ได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากจำเลยและมอบหมายให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์แล้ว โจทก์ควรติดตามดูเรื่องราวว่าได้มีการโอนสิทธิการเช่าจากชื่อโจทก์เป็นชื่อของ ส. เรียบร้อยแล้วหรือไม่ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการอย่างไร นับว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นพอ ๆ กับจำเลยศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาได้
หลังจากโจทก์ได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากจำเลยและมอบหมายให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์แล้ว โจทก์ควรติดตามดูเรื่องราวว่าได้มีการโอนสิทธิการเช่าจากชื่อโจทก์เป็นชื่อของ ส. เรียบร้อยแล้วหรือไม่ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการอย่างไร นับว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นพอ ๆ กับจำเลยศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนประมาทเลินเล่อในการโอนสิทธิการเช่า ทำให้เกิดความเสียหาย ผู้รับมอบหมายก็มีส่วนประมาท
โจทก์มอบหมายให้จำเลยดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์ให้เป็นชื่อของ ส. ผู้รับโอนให้เป็นที่เรียบร้อย จำเลยจึงเป็นตัวแทนโดยปริยายของโจทก์และจำเลยได้จัดการให้มีการย้ายเครื่องโทรศัพท์แล้ว ควรจะจัดการให้มีการโอนไปพร้อมกันแต่จำเลยไม่ได้ดำเนินการในเรื่องการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากชื่อโจทก์เป็นชื่อ ส. ให้เป็นที่เรียบร้อยตามที่ได้รับมอบหมายถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อ ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ หลังจากโจทก์ได้รับเงินค่าโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์จากจำเลยและมอบหมายให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์แล้ว โจทก์ควรติดตามดูเรื่องราวว่าได้มีการโอนสิทธิการเช่าจากชื่อโจทก์เป็นชื่อของ ส. เรียบร้อยแล้วหรือไม่ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการอย่างไร นับว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นพอ ๆ กับจำเลยศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เพียงกึ่งหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าโทรศัพท์ต่อค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แม้จะโอนสิทธิการเช่าไปแล้ว และความประมาทเลินเล่อของโจทก์
แบบคำขอบริการโทรศัพท์ที่จำเลยยื่นต่อ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อขอติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านของจำเลยในนามจำเลย ได้ระบุเงื่อนไขที่ผู้เช่าโทรศัพท์จะพึงปฏิบัติไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้เช่าโทรศัพท์จะรับผิดชอบในการที่จะชำระค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ทุกประเภทต่อ องค์การโทรศัพท์ฯตามระเบียบและข้อบังคับของ องค์การโทรศัพท์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต ข้อ 11 ว่า ค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบนั้น ให้รวมถึงค่าใช้บริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลนอกเขตโทรศัพท์นครหลวง และค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศซึ่ง องค์การโทรศัพท์ฯ จะได้เรียกเก็บตามอัตราการใช้โทรศัพท์ทางไกลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และจะได้ออกบิลเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ดังกล่าวพร้อมกับค่าเช่าโทรศัพท์ประจำเดือน จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์จึงต้องรับผิดชำระค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศที่มีผู้พูด จาก เครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าตามเงื่อนไขดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้พูดเองหรือไม่ก็ตาม
แม้ระเบียบปฏิบัติงานของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะได้กำหนดในเรื่องการโอนโทรศัพท์ว่า ผู้ขอรับโอนต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้นก่อนการโอน หากมีหนี้สินผูกพัน ผู้ขอรับโอนจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยก็ตาม เมื่อจำเลยได้โอนขายโทรศัพท์ที่ขอติดตั้งในนามจำเลยให้แก่ ท. ผู้ขอรับโอนเป็นการภายในโดยโจทก์หรือ องค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ทราบหรือได้รู้เห็นยินยอมในการโอนและไม่ได้ความว่าขณะโอน ท. ได้ยอมรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันกับโทรศัพท์หมายเลขนั้นที่เกิดขึ้นก่อนมีการโอนอยู่หนี้สินนั้นหาได้โอนไปยัง ท. ด้วยไม่
ข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บเงินค่าใช้บริการของโจทก์ที่กำหนดว่าโจทก์จะส่งใบแจ้งหนี้การใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้ผู้ใช้บริการทราบเดือนละ 1 ครั้ง โดยทางไปรษณีย์ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ระบุในใบแจ้งหนี้ ไม่ใช่หมายความว่า โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ องค์การโทรศัพท์ฯ ช่วยเรียกเก็บเงินค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ใช้บริการ โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้และหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่บ้านตั้งแต่เดือนมกราคม 2526 โดยกำหนดให้ชำระค่าบริการภายในวันที่ 18 มีนาคม 2526 หากไม่ชำระภายในกำหนดจะระงับการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้จนกว่าจะได้นำเงินมาชำระให้ครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถตรวจสอบทราบตั้งแต่เดือนเมษายน2526 แล้วว่า ผู้ใช้บริการไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ได้ปล่อยให้มีการใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศจนถึงเดือนกรกฎาคม 2526ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ตน จำเลยจึงควรต้องรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวแก่โจทก์เฉพาะในเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2526 เท่านั้น
แม้ระเบียบปฏิบัติงานของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะได้กำหนดในเรื่องการโอนโทรศัพท์ว่า ผู้ขอรับโอนต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้นก่อนการโอน หากมีหนี้สินผูกพัน ผู้ขอรับโอนจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยก็ตาม เมื่อจำเลยได้โอนขายโทรศัพท์ที่ขอติดตั้งในนามจำเลยให้แก่ ท. ผู้ขอรับโอนเป็นการภายในโดยโจทก์หรือ องค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ทราบหรือได้รู้เห็นยินยอมในการโอนและไม่ได้ความว่าขณะโอน ท. ได้ยอมรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันกับโทรศัพท์หมายเลขนั้นที่เกิดขึ้นก่อนมีการโอนอยู่หนี้สินนั้นหาได้โอนไปยัง ท. ด้วยไม่
ข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บเงินค่าใช้บริการของโจทก์ที่กำหนดว่าโจทก์จะส่งใบแจ้งหนี้การใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้ผู้ใช้บริการทราบเดือนละ 1 ครั้ง โดยทางไปรษณีย์ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ระบุในใบแจ้งหนี้ ไม่ใช่หมายความว่า โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ องค์การโทรศัพท์ฯ ช่วยเรียกเก็บเงินค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ใช้บริการ โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้และหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่บ้านตั้งแต่เดือนมกราคม 2526 โดยกำหนดให้ชำระค่าบริการภายในวันที่ 18 มีนาคม 2526 หากไม่ชำระภายในกำหนดจะระงับการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้จนกว่าจะได้นำเงินมาชำระให้ครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถตรวจสอบทราบตั้งแต่เดือนเมษายน2526 แล้วว่า ผู้ใช้บริการไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ได้ปล่อยให้มีการใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศจนถึงเดือนกรกฎาคม 2526ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ตน จำเลยจึงควรต้องรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวแก่โจทก์เฉพาะในเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2526 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เช่าโทรศัพท์ต่อค่าบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แม้มีการโอนสิทธิการเช่า
แบบคำขอบริการโทรศัพท์ที่จำเลยยื่นต่อ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เพื่อขอติดตั้งเครื่องโทรศัพท์ที่บ้านของจำเลยในนามจำเลย ได้ระบุเงื่อนไขที่ผู้เช่าโทรศัพท์จะพึงปฏิบัติไว้ในข้อ 1 ว่า ผู้เช่าโทรศัพท์จะรับผิดชอบในการที่จะชำระค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ทุกประเภทต่อ องค์การโทรศัพท์ฯตามระเบียบและข้อบังคับของ องค์การโทรศัพท์ฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต ข้อ 11 ว่า ค่าเช่าและค่าใช้บริการโทรศัพท์ที่ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบนั้น ให้รวมถึงค่าใช้บริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลนอกเขตโทรศัพท์นครหลวง และค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศซึ่ง องค์การโทรศัพท์ฯ จะได้เรียกเก็บตามอัตราการใช้โทรศัพท์ทางไกลทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และจะได้ออกบิลเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ดังกล่าวพร้อมกับค่าเช่าโทรศัพท์ประจำเดือน จำเลยผู้เช่าโทรศัพท์จึงต้องรับผิดชำระค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศที่มีผู้พูด จาก เครื่องโทรศัพท์ที่จำเลยเป็นผู้เช่าตามเงื่อนไขดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่ว่าจำเลยจะเป็นผู้พูดเองหรือไม่ก็ตาม แม้ระเบียบปฏิบัติงานของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จะได้กำหนดในเรื่องการโอนโทรศัพท์ว่า ผู้ขอรับโอนต้องชำระหนี้สินให้เสร็จสิ้นก่อนการโอน หากมีหนี้สินผูกพัน ผู้ขอรับโอนจะต้องรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยก็ตาม เมื่อจำเลยได้โอนขายโทรศัพท์ที่ขอติดตั้งในนามจำเลยให้แก่ ท. ผู้ขอรับโอนเป็นการภายในโดยโจทก์หรือ องค์การโทรศัพท์ฯ ไม่ทราบหรือได้รู้เห็นยินยอมในการโอนและไม่ได้ความว่าขณะโอน ท. ได้ยอมรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันโทรศัพท์หมายเลขดังกล่าวด้วย จำเลยจึงยังต้องรับผิดในหนี้สินที่ผูกพันกับโทรศัพท์หมายเลขนั้นที่เกิดขึ้นก่อนมีการโอนอยู่หนี้สินนั้นหาได้โอนไปยัง ท. ด้วยไม่ ข้อบังคับเกี่ยวกับการเก็บเงินค่าใช้บริการของโจทก์ที่กำหนดว่าโจทก์จะส่งใบแจ้งหนี้การใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศให้ผู้ใช้บริการทราบเดือนละ 1 ครั้ง โดยทางไปรษณีย์ซึ่งผู้ใช้บริการจะต้องนำใบแจ้งหนี้ไปชำระค่าบริการให้แก่โจทก์ภายในเวลาที่ระบุในใบแจ้งหนี้ ไม่ใช่หมายความว่า โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้ไปให้ องค์การโทรศัพท์ฯ ช่วยเรียกเก็บเงินค่าพูดโทรศัพท์ระหว่างประเทศจากผู้ใช้บริการ โจทก์ส่งใบแจ้งหนี้และหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่บ้านตั้งแต่เดือนมกราคม 2526 โดยกำหนดให้ชำระค่าบริการภายในวันที่ 18 มีนาคม 2526 หากไม่ชำระภายในกำหนดจะระงับการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศไว้จนกว่าจะได้นำเงินมาชำระให้ครบถ้วน เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถตรวจสอบทราบตั้งแต่เดือนเมษายน2526 แล้วว่า ผู้ใช้บริการไม่ชำระหนี้ การที่โจทก์ได้ปล่อยให้มีการใช้บริการพูดวิทยุโทรศัพท์ระหว่างประเทศจนถึงเดือนกรกฎาคม 2526ถือว่าโจทก์เป็นผู้ผิดในความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่ตน จำเลยจึงควรต้องรับผิดชำระหนี้ค่าใช้บริการดังกล่าวแก่โจทก์เฉพาะในเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2526 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมีเงื่อนไขห้ามโอน โจทก์ยังไม่มีสิทธิครอบครอง จึงไม่สามารถโอนสิทธิให้จำเลยได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ทางราชการออกให้แก่โจทก์ ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 58 ทวิห้ามโอนภายใน 10 ปีนั้น เป็นที่ดินที่รัฐยังไม่มอบสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.หรือตาม ป. ที่ดิน ดังนั้นโจทก์ไม่อาจโอนสิทธิครอบครองตามป.พ.พ. มาตรา 1377 หรือมาตรา 1378 ให้ผู้อื่นได้ การที่โจทก์ขายและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ภายในกำหนดเวลาห้ามโอน แล้วต่อมาบิดาโจทก์ได้นำไปขายและมอบการครอบครองให้แก่จำเลยครอบครองทำกินโดยจะไปโอนให้จำเลยหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วนั้น จำเลยหาอาจยกสิทธิครอบครองขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายแก่ทายาท
ผู้ตายขายที่ดินให้โจทก์โดยมีข้อตกลงว่าผู้ตายจะต้องทำถนนจากทางสาธารณะสู่ที่ดินที่ขายให้โจทก์ จำเลยทั้งสองเป็นบุตรอันเป็นทายาทของผู้ตายย่อมรับเอาสิทธิและหน้าที่ของผู้ตายมาด้วย จึงมีหน้าที่ต้องทำถนนและจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องในคดีขับไล่จากสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและผู้ร้องซึ่งเป็นบริวารของจำเลยออกจากตึกพิพาทเพราะจำเลยผิดสัญญาเช่าโดยนำตึกพิพาทไปให้ผู้ร้องเช่าช่วง ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า จำเลยได้โอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทให้ผู้ร้องโดยความยินยอมของโจทก์ โจทก์จึงต้องโอนสิทธิการเช่าให้ผู้ร้องและไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ คำร้อง ของ ผู้ร้องตั้งข้อพิพาทเข้ามาโต้แย้งกับโจทก์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ร้อง เป็นการแสดงเหตุแห่งการขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) แล้วจึงชอบที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดได้