คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และการวินิจฉัยชี้ขาดในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อน
ศาลชั้นต้นได้สอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความเมื่อเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ได้แล้ว ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีและให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงไว้ชัดเจนแล้ว แม้จะได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงและไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่งและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ที่รับโอนสิทธิไม่ต้องยื่นคำร้องสวมสิทธิก่อน
ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น... ก็เพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องมาสามารถบังคับคดีในคดีแพ่งในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้เท่านั้น ส่วนการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย เมื่อโจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิต่างๆ ที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ได้ หาจำต้องยื่นคำร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5574/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาซื้อขาย: ผลผูกพันต่อลูกหนี้เดิม แม้เจ้าหนี้เดิมชำระหนี้แล้ว
แม้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่าง ส. กับจำเลยจะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีฐานะเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้และลูกหนี้ กล่าวคือจำเลยมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจาก ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลย ในขณะเดียวกันจำเลยก็มีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ส. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้ค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลย แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ส. ได้ชำระหนี้ในส่วนของตนให้แก่จำเลยเป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนที่ ส. จะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ส. กับโจทก์จึงเป็นการโอนเฉพาะสิทธิเรียกร้องในฐานะเป็นเจ้าหนี้เพียงอย่างเดียว การโอนในลักษณะดังกล่าวนี้เมื่อได้ทำเป็นหนังสือและได้บอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว ก็ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคแรก จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และผลกระทบจากการโอนสิทธิเรียกร้อง
การถอนคำฟ้องภายหลังจำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การแล้ว ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง (1) บัญญัติให้โจทก์เป็นผู้ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนี้ แม้โจทก์ได้โอนสิทธิเรียกร้องทั้งหมดที่มีต่อจำเลยทั้งสามในคดีนี้ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ไปแล้วในระหว่างดำเนินคดีนี้ดังที่จำเลยที่ 3 อ้างก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ โจทก์ยังคงมีสถานะเป็นคู่ความในคดีเช่นเดิมและมีอำนาจดำเนินคดีเพื่อขอให้รับรอง คุ้มครอง บังคับตามสิทธิของตน โจทก์จึงมีอำนาจถอนฟ้องคดีนี้ได้
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งนอกจากพิจารณาถึงความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์แล้วยังต้องคำนึงถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันในเชิงคดีด้วย การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะโจทก์ได้โอนหนี้สินในคดีนี้ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. แล้ว ย่อมมีเหตุผลและเป็นสิทธิของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตเพื่อมุ่งเอาเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่างประเทศในคดีล้มละลาย: สิทธิในการรับชำระหนี้หลังการโอน
มาตรา 178 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้..." ย่อมหมายถึงเฉพาะเจ้าหนี้ต่างประเทศผู้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้นที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 โดยต้องพิสูจน์ว่า เจ้าหนี้ในประเทศไทยก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามกฎหมายและในศาลแห่งประเทศของเจ้าหนี้ต่างประเทศผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ในทำนองเดียวกัน และเจ้าหนี้ต่างประเทศดังกล่าวได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นนอกราชอาณาจักรเป็นจำนวนเท่าใดหรือไม่ และถ้ามี ตนยอมส่งทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวมารวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในราชอาณาจักร
บริษัท อ. เจ้าหนี้เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อเจ้าหนี้เดิมได้โอนสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมแล้ว ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ร้องไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อจะขาย และการบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้โอนสิทธิไม่ชำระหนี้
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายโครงการ ก. ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยในข้อ 7.2 มีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ตกลงและยอมรับโอนไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกค้าเฉพาะรายที่ได้จองหรือซื้อที่ดินและ/หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการแต่ยังมิได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวนั้นจากจำเลยที่ 1 เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าที่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 แต่ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ได้ทราบถึงการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งยังมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 อีกด้วย จึงต้องถือว่าโจทก์ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือและยอมให้จำเลยที่ 2 ผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแทนจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับโอนไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีต่อโจทก์แทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 2 ได้ การที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่ยอมเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยที่ 2 เป็นการใช้สิทธิที่มีอยู่ตามปกติหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่เวลาที่รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแทนจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อโจทก์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการรับรองหนี้: ความรับผิดของผู้โอนและผู้รับโอน
การที่จำเลยที่ 1 นำสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 มาโอนให้แก่โจทก์ และโจทก์ตกลงชำระค่าตอบแทนจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และ 306 โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ในนามของโจทก์เมื่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แก่โจทก์ และแม้โจทก์จะสามารถดำเนินการบังคับให้ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ได้ก็ตาม แต่เมื่อตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีข้อตกลงในข้อ 6 ที่จำเลยที่ 1 รับรองลูกค้าที่โอนหนี้เป็นลูกค้าชั้นดี หากลูกค้าปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือลูกค้าไม่ต้องชำระหนี้ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องเป็นเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ลูกค้าไม่ชำระหนี้ตามมูลหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าโจทก์จะได้ชำระหนี้คืนครบถ้วนดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังต้องรับผิดชำระหนี้ในสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ไปแล้วตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ ฟ้องโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี กรณีหาใช่การฟ้องเรียกลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้ในมูลหนี้อันเกิดจากสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับลูกหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2408/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: ผู้รับโอนมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้โอนหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้
จำเลยที่ 1 โอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ และโจทก์ตกลงชำระค่าตอบแทนจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 และ 306 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ได้ในนามของโจทก์ แต่เมื่อตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์มีข้อตกลงในข้อ 6 ว่า "หากลูกค้าปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้หรือไม่สามารถชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือลูกค้าไม่ต้องชำระหนี้ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ ให้แก่ผู้รับโอน ผู้โอนตกลงยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนเป็นเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ลูกค้าไม่ชำระหนี้ตามมูลหนี้พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าผู้รับโอนจะได้ชำระหนี้คืนครบถ้วน และผู้รับโอนจะมีสิทธินำเงินที่หักไว้ตามสัญญาข้อ 4 หรือค่าตอบแทนที่ผู้โอนจะได้รับจากการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นมาหักชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้โอนทราบ..." ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงยังต้องรับผิดชำระหนี้ในสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ไปแล้วตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อลูกหนี้ที่จำเลยที่ 1 นำมาโอนให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญา จึงเป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาโอนสิทธเรียกร้องซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนจากจำเลยที่ 1 เรียกให้ลูกหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ในมูลหนี้อันเกิดจากสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับลูกหนี้อันมีอายุความ 2 ปี ฟ้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6676/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากผู้ล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิเป็นเจ้าหนี้และดำเนินบังคับคดีได้
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 123 ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลที่ดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว ผู้ร้องซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาทำให้โจทก์ขาดอำนาจฟ้องคดีล้มละลาย
โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่มีต่อจำเลยให้แก่บริษัท บ. สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมิใช่สิทธิเรียกร้องของโจทก์อีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายหลังจากที่โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
of 21