พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3498/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริต และการแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงของผู้อื่น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยมีจำเลยที่1 เป็นผู้ถือหุ้น และเป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำกิจการแทนจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว คำบรรยายฟ้องของโจทก์และคำขอบังคับเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสอง ร่วมกันเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสองทั้งข้อเท็จจริงจำเลยทั้งสองก็แถลงรับว่าจำเลยเริ่มผลิตสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนฟ้องโดยโฆษณาว่าจำเลยเป็น ผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทยการกระทำของจำเลยทั้งสอง อาจเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อ โจทก์ดังข้ออ้างตามคำฟ้องโจทก์จึง มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่าWOOLWORTH (วูลเวิร์ธ)และWOOLCO(วูลโก)และใช้แพร่หลายในทวีปอเมริกาและยุโรป หลายประเทศมาหลายสิบปีก่อนที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าคำว่าWOOLWORTH(วูลเวิร์ธ)เมื่อจำเลยที่1และที่ 2 ทราบดีว่าเครื่องหมายการค้า ดังกล่าวเป็นของโจทก์และโจทก์ได้ใช้แพร่หลาย ในต่างประเทศมาก่อนและจำเลยได้นำเอาคำว่าWOOLWORTH(วูลเวิร์ธ) มาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 และนำมาใช้กับ ผลิตภัณฑ์กางเกงยีนส์ของจำเลยและโฆษณาว่าจำเลยที่ 2 เป็น ตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียว ในประเทศไทย จึงเป็นการแสดงเจตนา ให้เห็นว่าจำเลยแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยแอบอิงเครื่องหมายการค้า ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลยโดยเจตนาไม่สุจริตการ ที่ จำเลยที่1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH(วูลเวิร์ธ)เป็นของตนจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า WOOLWORTH ดีกว่าจำเลยที่ 1 เครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWA,WOOLWO และ WOOLWARDที่จำเลยที่1ขอจดทะเบียนนอกจากมีคำหน้าว่า WOOLตรงกับคำหน้า ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งเป็นตัวยืนและจุดเด่นของ เครื่องหมายการค้าแล้ว คำท้ายของแต่ละคำก็อ่านออกเสียงใกล้เคียงกับ คำท้ายของเครื่องหมายการค้าWOOLWORTH และ WOOLCO ของโจทก์ด้วย แสดงให้เห็นถึงเจตนาเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์ โดยไม่ชอบจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า WOOLWAWOOLWO และWOOLWARD เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้า คำว่า WOOLWORTH(วูลเวิร์ธ) ของโจทก์มาใช้กับผลิตภัณฑ์ของจำเลย โดยไม่สุจริตแล้วการกระทำของจำเลยดังกล่าวย่อมอาจทำให้สาธารณชน เกิดความสับสนและหลงผิดได้ว่าสินค้าที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าของโจทก์ หรือโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยการกระทำของจำเลย เป็นการแสวงหาประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413-3415/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต ทำให้ขาดอำนาจฟ้องคดีอาญา
การที่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจาก ส. ทั้งที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกัน โดยยอมให้ ส.ยืมมือโจทก์นำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีอาญาแก่จำเลย เป็นการรับโอน เช็คพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413-3415/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต ทำให้ขาดอำนาจฟ้องคดีอาญา
การที่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจากส.ทั้งที่ไม่มีมูลหนี้ต่อกันโดยยอมให้ ส.ยืมมือโจทก์นำเช็คพิพาทมาฟ้อง คดีอาญาแก่จำเลยเป็นการรับโอน เช็คพิพาทโดยไม่สุจริตโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดิน สินสมรส การซื้อทอดตลาดโดยไม่สุจริต และผลกระทบต่อการจดทะเบียน
การขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 นั้น เมื่อเจ้าหน้าที่รับอายัดไว้แล้ว ผู้ขออายัดต้องไปดำเนินการ ทางศาลภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ ถ้าไม่ดำเนินการทางศาล การอายัดก็สิ้นผลเมื่อพ้นเวลา ดังกล่าว แต่ถ้าผู้ขออายัดดำเนินการทางศาล ภายในเวลาดังกล่าว การอายัดก็ยังคงมีผลอยู่ต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษา
โจทก์ซื้อที่ดินตามฟ้องในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โดย รู้อยู่ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสระหว่าง ต. กับจำเลยที่ 2 และคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้อง ต. ขอหย่าและขอ แบ่งที่ดินนั้น กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และโจทก์ยังซื้อโดยคบคิดกับ ต. และพวก เพื่อหลีกเลี่ยงการ แบ่งที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2 ฟ้องขอแบ่งไว้ ดังนั้นจะถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินนั้น โดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลไม่ได้ โจทก์จึง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ซื้อที่ดินตามฟ้องในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล โดย รู้อยู่ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสระหว่าง ต. กับจำเลยที่ 2 และคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้อง ต. ขอหย่าและขอ แบ่งที่ดินนั้น กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล และโจทก์ยังซื้อโดยคบคิดกับ ต. และพวก เพื่อหลีกเลี่ยงการ แบ่งที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2 ฟ้องขอแบ่งไว้ ดังนั้นจะถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินนั้น โดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลไม่ได้ โจทก์จึง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดที่ดิน สินสมรส การซื้อที่ดินในการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
การขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 นั้น เมื่อเจ้าหน้าที่รับอายัดไว้แล้วผู้ขออายัดต้องไปดำเนินการ ทางศาลภายในเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ถ้าไม่ดำเนินการทางศาล การอายัดก็สิ้นผลเมื่อพ้นเวลาดังกล่าวแต่ถ้าผู้ขออายัดดำเนินการทางศาล ภายในเวลาดังกล่าวการอายัดก็ยังคงมีผลอยู่ต่อไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษา
โจทก์ซื้อที่ดินตามฟ้องในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดย รู้อยู่ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสระหว่าง ต. กับจำเลยที่2 และคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้อง ต. ขอหย่าและขอแบ่งที่ดินนั้น กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลและโจทก์ยังซื้อโดยคบคิดกับ ต. และพวก เพื่อหลีกเลี่ยงการแบ่งที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2ฟ้องขอแบ่งไว้ดังนั้นจะถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินนั้น โดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลไม่ได้โจทก์จึง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ซื้อที่ดินตามฟ้องในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดย รู้อยู่ว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสระหว่าง ต. กับจำเลยที่2 และคดีที่จำเลยที่ 2 ฟ้อง ต. ขอหย่าและขอแบ่งที่ดินนั้น กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลและโจทก์ยังซื้อโดยคบคิดกับ ต. และพวก เพื่อหลีกเลี่ยงการแบ่งที่ดินนั้นให้แก่จำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2ฟ้องขอแบ่งไว้ดังนั้นจะถือว่าโจทก์ซื้อที่ดินนั้น โดยสุจริตในการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลไม่ได้โจทก์จึง ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 1330 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ลูกจ้างปฏิบัติงานบกพร่อง แต่ไม่ถือเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต
ความผิดครั้งก่อนเป็นเรื่องโจทก์ปล่อยนมทิ้งที่พื้นโรงงาน ส่วนความผิดครั้งหลังเป็นเรื่องโจทก์หลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนม จึงเป็นความผิดคนละเหตุ แม้ ความผิดครั้งก่อนจำเลยจะมีหนังสือเตือนโจทก์แล้วก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ในความผิดครั้งหลังได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยหลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนมนั้น หาเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
กรณีที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องโดยหลงลืมใส่ ไขมันมะพร้าวในการผสมนมนั้น หาเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ จึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1221/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการซื้อขายสินสมรสและสินส่วนตัวที่ทำไปโดยไม่สุจริต และการให้โดยเสน่หาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.จดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่1ขณะที่ พ. มีโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 อยู่แล้ว เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสและเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ 1496 โจทก์คงเป็นภริยาของ พ. แต่ผู้เดียวเดิมที่พิพาทมีชื่อพ. ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาก่อนสมรสกับโจทก์จึงเป็นสินเดิมของ พ. กึ่งหนึ่ง ซึ่งตกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ อีกกึ่งหนึ่ง พ. ได้รับมรดกของบิดาหลังสมรส จึงตกเป็นสินสมรสของโจทก์และ พ. สามีเมื่อที่พิพาทเป็นสินสมรสและสินส่วนตัวจึงเป็นสินบริคณห์ตาม มาตรา1462 เดิม สิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบ พ. ทำหนังสือมอบอำนาจให้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยทั้งห้า ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมให้ขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองและการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากโอนโดยไม่สุจริต
ก.ยกที่ดินโฉนดตราจองให้โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่ง แต่ทำสัญญาจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งโฉนดต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรณีพิพาทแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รู้เห็น แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังทำสัญญาซื้อขายรับโอนโฉนดตราจองดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตเมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองและยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายได้ตามมาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต
ก.ยกที่ดินโฉนดตราจองให้โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งแต่ทำสัญญาจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินทั้งโฉนด ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรณีพิพาทแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รู้เห็น แต่จำเลยที่ 2 ก็ยังทำสัญญาซื้อขายรับโอนโฉนดตราจองดังกล่าวจากจำเลยที่ 1ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากว่า 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองและยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยทั้งสองได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายได้ตามมาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 324/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองและการซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้ซื้อสืบจากผู้ครอบครองเดิม
พ. และ ม. ตกลงแบ่งที่ดินในโฉนดที่ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันออกเป็นสัดส่วน ต่างไม่รุกล้ำกัน ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตอนกลางที่พ.ครอบครองมาแต่เดิม เมื่อพ.ตายโจทก์บุตรพ. ได้ครอบครองต่อมาเกิน 10 ปี โดย ม. กับบุตรมิได้เข้าเกี่ยวข้อง ม. ยกที่ดินส่วนของตนให้นาย ม. ซึ่งเป็นบุตรจำเลยซึ่งเป็นบุตรสะใภ้ ม. และบ้านอยู่ห่างที่พิพาท 4 เส้นเศษเชื่อว่ารู้ถึงการครอบครองที่พิพาทของโจทก์ จำเลยซื้อที่ดินจากนาย ม.จึงถือไม่ได้ว่าซื้อโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต การได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์โดยทางครอบครอง แม้ยังมิได้จดทะเบียนก็ใช้ยันจำเลยได้จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. ม.1299 วรรคสอง