คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13581/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบของนายจ้าง แม้ไม่มีข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ประกอบกิจการขนส่งทางบก ไม่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดให้การดื่มสุราในขณะลูกจ้างรอเวลาขับรถบรรทุกไปส่งสินค้าให้ลูกค้าเป็นความผิด แต่มีระเบียบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรว่าเมื่อพนักงานขับรถบรรทุกไปรับสินค้าจากลูกค้าแล้วนำรถมาจอดไว้ในบริเวณที่ทำการของโจทก์จังหวัดชลบุรี ห้ามพนักงานขับรถดังกล่าวดื่มสุรา เป็นการออกระเบียบเพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานขับรถบรรทุกที่รอเวลาขับรถบรรทุกสินค้าไปส่งสินค้าให้ลูกค้ามีอาการเมาสุราจากการดื่มสุราและอาจยังมีอาการเมาต่อเนื่องไปจนถึงเวลาต้องปฏิบัติหน้าที่ขับรถไปส่งสินค้าให้ลูกค้า การขับรถในขณะเมาสุราเป็นความผิดต่อกฎหมายซึ่งมีโทษทางอาญา อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอันจะทำให้โจทก์เสียหาย และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกด้วยระเบียบของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม
ว. เป็นลูกจ้างของโจทก์ตำแหน่งพนักงานขับรถบรรทุกพ่วง 18 ล้อ ว. เมาสุราในเวลาประมาณ 20 นาฬิกา ขณะที่รอให้ถึงเวลา 2 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นเพื่อขับรถบรรทุกสินค้าจากที่ทำการโจทก์จังหวัดชลบุรีไปส่งให้ลูกค้าที่จังหวัดปทุมธานี แม้ ว. สามารถไปส่งสินค้าให้ลูกค้าและขับรถมาจอดที่สำนักงานโจทก์จังหวัดชลบุรีโดยปลอดภัย ก็ต้องถือว่า ว. ฝ่าฝืนระเบียบอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง โจทก์เลิกจ้าง ว. ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13580/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีเข้าร่วมการนัดหยุดงานที่ผิดกฎหมาย และจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย
การนัดหยุดงานเป็นการที่ลูกจ้างแต่ละคนที่ร่วมนัดหยุดงานต่างละทิ้งการงานที่ตามปกติตนมีหน้าที่ปฏิบัติ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง
ผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้ร้อง เป็นกรรมการลูกจ้าง และเป็นผู้แทนเจรจาของสหภาพแรงงาน ล. เข้าร่วมในการนัดหยุดงานที่ไม่มีการแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและผู้ร้องผู้เป็นนายจ้างทราบล่วงหน้า นอกจากเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 34 วรรคสอง ซึ่งมีโทษตามมาตรา 139 แล้ว การที่ผู้คัดค้านเข้าร่วมในการนัดหยุดงานยังมีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของผู้ร้องไม่ให้ดำเนินไปได้ตามปกติ ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย เป็นกรณีผู้คัดค้านจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ประกอบกับผู้คัดค้านเข้าร่วมการนัดหยุดงานตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2549 จนถึงวันฟ้อง (วันที่ 8 ตุลาคม 2551) ก็ยังไม่กลับเข้าทำงาน จึงมีเหตุสมควรที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11096/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแข่งขันกับนายจ้างและละทิ้งหน้าที่ โดยมิชอบที่จะเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป มีหน้าที่ดูแลด้านการตลาด การขาย และลูกค้าสัมพันธ์ ในเวลาเดียวกันโจทก์ไปดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท อ. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันและมีลักษณะเป็นการประกอบกิจการแข่งขันกับจำเลยที่ 1 บริษัท อ. ย่อมต้องดำเนินกิจการให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ย่อมมีผลกระทบต่อรายได้ของจำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 เสียหาย โจทก์กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อทางการค้าของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้าง และจงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ส่งเสริมการค้าขายของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) โจทก์กระทำการไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยทั้งสองเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยที่ 2 ให้การว่า กรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 (ค่าผ่อนบ้านและที่ดินกับค่าเช่าซื้อรถ) ไม่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้คัดค้าน จึงไม่มีปัญหาว่าคดีในส่วนนี้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางหรือไม่ การที่โจทก์ยกปัญหานี้ขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10325/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องเงินกองทุนสะสมนายจ้าง-ลูกจ้าง: เริ่มนับจากวันเลิกจ้าง คดีขาดอายุความหากฟ้องเกิน 10 ปี
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินกองทุนเงินสะสมกำหนดว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้างกับลูกจ้างนำเงินในส่วนของตนเข้าสมทบในกองทุนเงินสะสม ลูกจ้างจะได้รับเงินจากกองทุนเงินสะสมก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบการเบิกจ่ายเงินกองทุนเงินสะสม การที่จำเลยจัดตั้งกองทุนสะสมจึงเป็นการก่อตั้งสิทธิและหน้าที่ระหว่างจำเลยกับลูกจ้าง โจทก์ฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินสะสมโดยอาศัยสิทธิที่โจทก์เป็นสมาชิกกองทุนเงินสะสมไม่ใช่การใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องเงินกองทุนเงินสะสมจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10045/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเป็นนายจ้างเมื่อกิจการหยุดชั่วคราว มิใช่การเลิกจ้าง ลูกจ้างยังคงทำงานและได้รับค่าจ้าง
หลังจากโจทก์ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จ. ลูกจ้างของโจทก์ยังคงปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงานขับรถและได้รับค่าจ้างอัตราเดิมต่อเนื่องตลอดมาโดยเป็นลูกจ้างของ อ. ซึ่งเคยเป็นกรรมการของโจทก์ กรณีเป็นการโอนสิทธิการเป็นนายจ้างจากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมาเป็น อ. ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 577 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่โจทก์เลิกจ้าง จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9832-9836/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล การลงชื่อรับเงินไม่ถือเป็นการยินยอมเลิกจ้าง
การที่โจทก์ทั้งห้าลงชื่อรับเงินสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานในหนังสือยกเลิกสัญญาจ้างที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่มีข้อความใดว่าโจทก์ทั้งห้าขอลาออกจากการเป็นลูกจ้าง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งห้าลาออกด้วยความสมัครใจ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 จำเลยต้องรับโจทก์ทั้งห้ากลับเข้าทำงาน แต่เมื่อระหว่างเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าไม่ได้ทำงานให้จำเลย จึงนำเอาระยะเวลาดังกล่าวรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงนับอายุงานใหม่ต่อจากอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างเท่านั้น
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่ชอบ เป็นการตั้งประเด็นโดยตรงว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อการเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าจึงเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างที่ถูกเลิกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6142-6144/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างที่ไม่กำหนดระยะเวลาแน่นอน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การพิจารณาว่ามีเหตุยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง วรรคสามและวรรคสี่หรือไม่ ต้องพิจารณาเสียก่อนว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนหรือไม่ หากเป็นกรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนดเวลานั้น ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่าเป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างหรือไม่ และงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลย และสัญญาจ้างระหว่างโจทก์ที่ 3 กับจำเลย ข้อ 7 ระบุอย่างเดียวกันว่า "ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความประสงค์จะเลิกสัญญานี้จะต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15/30 วัน เว้นแต่การเลิกสัญญาตามความในข้อ 6 แสดงว่าแม้สัญญาจ้างจะกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แล้ว ก็ยังให้สิทธิจำเลยเลิกสัญญาโดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ที่ 2 หรือโจทก์ที่ 3 ทราบล่วงหน้าได้ สัญญาจ้างที่ให้สิทธิจำเลยผู้เป็นนายจ้างบอกเลิกสัญญาได้ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่นนี้ ระยะเวลาการจ้างจึงไม่แน่นอน และเมื่อไม่เป็นกรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าเป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6135-6137/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างและการเลิกจ้าง: การลดค่าจ้างโดยไม่ยินยอม
จำเลยยุบแผนก ย้ายโจทก์ทั้งสามไปทำงานอีกแผนกหนึ่งแล้วแจ้งการลดค่าจ้างโจทก์ทั้งสามและลดค่าจ้างโจทก์ที่ 2 และที่ 3 โดยโจทก์ทั้งสามไม่ยินยอม เป็นเรื่องเกี่ยวกับค่าจ้าง เงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน จึงเป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 จำเลยจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงในลักษณะไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างไม่ได้แม้จะเป็นคำสั่งทางบริหารก็ตาม จะกระทำได้ต่อเมื่อลูกจ้างตกลงยินยอมด้วย
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่ยินยอมเป็นคนละกรณีกับการที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปอันเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง
การที่จำเลยแจ้งลดค่าจ้างโจทก์ทั้งสามและลดค่าจ้างโจทก์ที่ 2 ที่ 3 มิใช่การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้อันเป็นการเลิกจ้าง ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การแจ้งลดค่าจ้าง หรือการลดค่าจ้างเป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5471-5473/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการเรียกร้องค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ยืนยันการยอมรับการเลิกจ้างของลูกจ้าง
ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสี่ (เดิม) ต่อเมื่อลูกจ้างถูกนายจ้างให้ออกจากงานแล้ว
การที่โจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี เรียกค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยอ้างว่านายจ้างจ่ายให้ไม่ครบ แสดงให้เห็นอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสามยอมรับการเลิกจ้างของนายจ้าง ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามไม่ประสงค์ที่จะทำงานกับนายจ้างต่อไป การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กำหนดค่าเสียหายกรณีการกระทำอันไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ทั้งสามจึงชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 41 (4) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2967/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากผลงานไม่ดีและรายงานเท็จ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างระบุจ่ายค่าจ้าง และสวัสดิการ ค่าเช่าบ้าน ค่าเดินทาง เมื่อผ่านการทดลองงาน จำเลยจะบรรจุให้เป็นพนักงานประจำ โดยมีสวัสดิการเบี้ยขยันให้ตามหลักเกณฑ์ บ้านพักที่จำเลยจัดให้พนักงานมี 80 ห้อง พนักงานที่ไม่มีบ้านพักจะได้ค่าเช่า ในกรณีของโจทก์ไม่ต้องการบ้านพักก็จะช่วยเหลือเป็นค่าเช่า การตกลงจ่ายเงินดังกล่าวกันตามสัญญาจ้างของโจทก์กับจำเลยมีเจตนามาตั้งแต่แรกที่จะให้เป็นสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือพนักงานนอกเหนือจากค่าจ้างที่กำหนดไว้เป็นเงินเดือน แม้ค่าเช่าบ้านและค่าพาหนะจำเลยจะจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือน โดยไม่มีเงื่อนไขว่าต้องนำเอกสารหรือหลักฐานมาเบิกจ่าย ก็เป็นเพียงวิธีการจ่ายเงินในลักษณะเหมาจ่ายเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติ และมิได้แสดงว่าคู่สัญญาจะเปลี่ยนเจตนาให้สวัสดิการนั้นกลายเป็นค่าจ้าง
จำเลยใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างเนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบได้ หรืออาจกล่าวว่าโจทก์ขาดสมรรถภาพที่จะทำงานและรับผิดชอบในตำแหน่งที่ได้รับการว่าจ้าง มิใช่เป็นเรื่องการลงโทษเพราะโจทก์กระทำผิดทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน จำเลยมิได้กลั่นแกล้งโจทก์ กรณีจึงมีเหตุผลเพียงพอและสมควรที่จำเลยจะเลิกสัญญาจ้างโจทก์ได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานเนื่องจากลาป่วยและลากิจ แต่โจทก์กลับทำบันทึกรายงานการตรวจงาน โรงอาหาร ร้านค้า พร้อมกับแสดงข้อสังเกต แสดงว่าโจทก์รายงานเท็จ เมื่อได้ความว่ามีการกระทำเช่นนั้นในงานหลักซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของโจทก์ ย่อมถือได้ว่า โจทก์มีการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ทำให้จำเลยนายจ้างมีสิทธิที่จะให้โจทก์ลูกจ้างออกจากงานได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
of 205