พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,003 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15551/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่ดินมือเปล่า สิทธิครอบครองเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับรังวัด
ที่ดินพิพาทที่ซื้อขายกันเป็นที่ดินมือเปล่า (ภ.บ.ท.5) เจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง เมื่อตามสัญญาระบุว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ชำระราคาแก่จำเลยทั้งสองแล้วในวันทำสัญญา โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่ใดๆ ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาอีก ดังนั้น การที่โจทก์จะเข้าทำการรังวัดแนวเขตที่ดินเพื่อครอบครองทำประโยชน์ จึงไม่ใช่ข้อผูกพันอันเกี่ยวเนื่องจากสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาท การที่จำเลยทั้งสองคัดค้านและขัดขวางไม่ยอมให้โจทก์ทำการรังวัด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองไปทำการวัดแนวเขตที่ดินพิพาท หรือให้คืนเงินค่าซื้อที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15238/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นเมื่อมีใบสั่งซื้อตอบรับใบเสนอราคา แม้จะยังไม่ได้ส่งมอบสินค้า ผู้ซื้อต้องรับสินค้าและชำระราคา
การซื้อขายสินค้าประเภทอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางจะเกิดขึ้นเมื่อคำบอกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์มีใบเสนอราคา แสดงว่าได้ทำคำเสนอไปยังจำเลยแล้วการที่จำเลยมีใบสั่งซื้อกลับไปยังโจทก์ โดยมีสาระสำคัญตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นชนิด รุ่น หรือราคาสินค้าที่โจทก์เสนอมา คงมีแต่รายละเอียดที่จำเลยกำหนดไว้ในใบสั่งซื้อว่าวางบิลได้ในเวลาใด ติดต่อพนักงานของจำเลยผู้ใดและที่อาคารชั้นไหนเท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญอันจะถือว่าเป็นคำเสนอขึ้นมาใหม่ ถือว่าเป็นคำสนองถูกต้องตรงกับคำเสนอของโจทก์ ก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยและมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ตั้งแต่ใบสั่งซื้อของจำเลยส่งไปถึงโจทก์แล้ว ส่วนที่ต่อมามีพนักงานของโจทก์ติดต่อไปยังจำเลยขอให้ยืนยันการสั่งซื้อ ก็เป็นเพียงกลวิธีในการทำธุรกิจที่จะลดความเสี่ยงและเป็นการให้บริการแก่ลูกค้า โดยให้โอกาสแก่จำเลยว่าจะยังคงยืนยันการซื้อขายหรือไม่ หาใช่สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับสินค้าจากโจทก์และไม่ยอมชำระราคา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ฉะนั้น โจทก์จะรับชำระค่าสินค้าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะเป็นสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามคำขอท้ายฟ้องให้แก่โจทก์เท่านั้น โดยไม่ได้พิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือจะต้องพิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์และชำระราคา ส่วนการจะบังคับคดีอย่างไรนั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247
ตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลย ฉะนั้น โจทก์จะรับชำระค่าสินค้าเพียงอย่างเดียวโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยไม่ได้ เพราะเป็นสัญญาต่างตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามคำขอท้ายฟ้องให้แก่โจทก์เท่านั้น โดยไม่ได้พิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์ด้วยจึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือจะต้องพิพากษาให้จำเลยรับมอบสินค้าจากโจทก์และชำระราคา ส่วนการจะบังคับคดีอย่างไรนั้นเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การได้มาจากการส่งมอบและการสละเจตนาครอบครอง แม้สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะ
จ. ได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ทั้งสองและมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองครอบครองแล้วในวันเดียวกัน เมื่อการซื้อขายมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่เป็นที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ จ. จึงมีแต่สิทธิครอบครอง เมื่อ จ.ได้ส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสองเป็นการสละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไป โจทก์ทั้งสองย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองตามมาตรา 1377, 1378 แล้ว จึงเป็นการได้มาด้วยการครอบครองฟ้องบังคับให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) และจดทะเบียนคัดชื่อจำเลยออกแล้วใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองแทนชื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกอันเป็นการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาซื้อขายหาได้ไม่ และเมื่อโจทก์ทั้งสองไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวแก่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. เจ้ามรดกแล้ว ก็ไม่มีปัญหาว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสาม หรือไม่ แต่โจทก์ทั้งสองได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้วจึงชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สิทธิครอบครองที่ดินหลังสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และสิทธิในการห้ามรบกวนการครอบครอง
เมื่อ จ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับโจทก์ทั้งสองในวันที่ 12 ตุลาคม 2539 และได้มอบที่ดินให้โจทก์ทั้งสองครอบครองแล้วในวันเดียวกัน ซึ่งนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว เมื่อการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์ทั้งสองกับ จ. มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่เนื่องจากที่ดินเป็นที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ จ. จึงมีแต่สิทธิครอบครอง การซื้อขายเมื่อได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ทั้งสองไปแล้วก็ฟังได้ว่า จ. สละการครอบครองไม่ยึดถือที่ดินอีกต่อไป โจทก์ทั้งสองย่อมได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 แล้ว การได้สิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการได้มาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขายซึ่งตกเป็นโมฆะดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลย ซึ่งเป็นผู้จัดการมรกดของ จ. ส่งมอบหนังสือรับรองทำประโยชน์ (น.ส. 3) และจดทะเบียนคัดชื่อจำเลยออกแล้วใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ แทนชื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก อันเป็นการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาซื้อขายหาได้ไม่ และเมื่อฟังว่าโจทก์ทั้งสองไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวแก่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. เจ้ามรดกแล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม หรือไม่อีกต่อไป แต่เนื่องจากโจทก์ทั้งสองได้สิทธิครอบครองที่ดินแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าเสียหายจากสินค้าชำรุดที่มีการรับประกันพิเศษ: ไม่ผูกติดกับอายุความทั่วไป
การซื้อขายสีมีการรับรองคุณภาพของสีไว้เป็นพิเศษ โดยมีอายุการประกัน 1 ปี อันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการซื้อขาย เมื่อการซื้อขายดังกล่าวมีการรับรองคุณภาพสินค้าไว้เป็นพิเศษจึงมิใช่การซื้อขายธรรมดา ทั้งโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายที่เป็นค่าสีเสื่อมคุณภาพและค่าส่วนต่างที่โจทก์ต้องซื้อสีมาใช้ทดแทนสีที่เสื่อมคุณภาพตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินธรรมดาซึ่งจะทำให้คดีโจทก์มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 อีกทั้งไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดแต่ประการใดแต่เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12473/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะจากข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดิน การครอบครองร่วมของสามีภริยาทำให้ได้สิทธิครอบครอง
การที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้แก่ ป. และมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โดยมิได้กลับเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับที่ดินอีก แสดงว่าจำเลยที่ 1 สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทอีกต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377 วรรคหนึ่ง แล้ว แม้ ป. จะได้ซื้อที่ดินและยึดถือทำประโยชน์เพื่อตนในระยะเวลาห้ามโอน ป. ไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากถูกจำกัดสิทธิโดยบทบัญญัติแห่ง ป. ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ แต่เมื่อ ป. และโจทก์ซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยาได้ร่วมกันครอบครองที่ดินตลอดมาจนเลยเวลาห้ามโอนแล้ว ก็ยังครอบครองที่ดินอยู่ จึงถือได้ว่า ป. และโจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 นับแต่วันพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและไม่อาจนำที่ดินพิพาทไปแบ่งแยกโอนให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ได้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 จึงไม่มีสิทธิเข้าไปในที่ดินของโจทก์และจำเลยที่ 9 ไม่อาจนำที่ดินพิพาทบางส่วนไปจดทะเบียนจำนอง
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามกฎหมายที่มิให้โอนที่ดินพิพาท การที่ ป. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นการได้ตามผลของกฎหมายจึงหาอาจเรียกให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. ได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2553)
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามกฎหมายที่มิให้โอนที่ดินพิพาท การที่ ป. ได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นการได้ตามผลของกฎหมายจึงหาอาจเรียกให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ป. ได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2553)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1144-1146/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิสูจน์การทำสัญญาซื้อขาย และการชำระราคาสินค้า
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยรวม 9 แปลง ชำระราคาครบถ้วนแล้วแต่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์ จำเลยให้การในตอนแรกว่า โจทก์จำเลยไม่เคยตกลงซื้อขายที่ดินกัน สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม แต่กลับให้การในอีกตอนหนึ่งว่า โจทก์จำเลยทำหนังสือสัญญาตกลงกันเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2527 ว่า หนังสือสัญญาที่ทำไว้ก่อนหรือหลังสัญญาฉบับนี้ให้ถือว่าเป็นโมฆะ ฉะนั้นหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องทั้งสามฉบับซึ่งทำขึ้นภายหลังหนังสือสัญญาดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจทำสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวมาฟ้องบังคับจำเลยได้จึงเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม แต่คำให้การจำเลยเข้าใจได้ว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง และเป็นเพียงข้อเถียงข้อกล่าวหาของโจทก์ว่าจำเลยมิได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ตามคำฟ้องเท่านั้น จะแปลว่าเป็นคำให้การที่ต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินท้ายฟ้องทั้งสามฉบับภายหลังทำหนังสือสัญญาฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2527 ไม่ได้ เพราะจำเลยให้การว่าโจทก์จำเลยไม่เคยตกลงซื้อขายที่ดินกัน
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสามฉบับในคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายทั้งสามฉบับดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาดังกล่าว และโจทก์จำเลยในคดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237-5238/2539 การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญาดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่ฉบับ (ซึ่งรวมถึงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11, จ.22 และ จ.25 ด้วย) เป็นเอกสารปลอม เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาว่าปลอมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสามฉบับในคดีนี้ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายทั้งสามฉบับดังกล่าว คดีนี้จึงเป็นคดีที่มีมูลคดีเกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาดังกล่าว และโจทก์จำเลยในคดีแพ่งกับคดีอาญาเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อข้อเท็จจริงซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาทั้งสองเรื่องดังกล่าวถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237-5238/2539 การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญาดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังไม่พอฟังว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่ฉบับ (ซึ่งรวมถึงสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเอกสารหมาย จ.11, จ.22 และ จ.25 ด้วย) เป็นเอกสารปลอม เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11035/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีผลสมบูรณ์ แม้มีการผ่อนชำระและข้อตกลงพิเศษ ไม่มีผลต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
ข้อความในสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลยทั้งสองระบุว่า จำเลยทั้งสองจะผ่อนชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดือนละ 4,000 บาท กรณีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายแต่การชำระเงินยังไม่ครบถ้วนเสร็จสิ้น เจ้ามรดกยอมตกลงว่าจำนวนเงินที่เจ้ามรดกได้รับไปแล้วไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าใดให้ถือว่าเจ้ามรดกได้รับครบถ้วนตามสัญญา ข้อความตามข้อสัญญาดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะทำให้ข้อสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10864/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงราคาสินค้าชำรุด: ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงราคาจนกว่าผู้ขายจะแก้ไขความชำรุดบกพร่อง
จำเลยสั่งซื้อและว่าจ้างโจทก์ติดตั้งระบบสัญญาป้องกันภัยที่สำนักงานของจำเลย เมื่อสัญญาซื้อขายมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญาจึงมีหน้าที่ต้องระมัดระวังในการปฏิบัติการชำระหนี้ของตนในคราวเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 461 และ 486 เมื่อระบบสัญญาณป้องกันภัยที่โจทก์ติดตั้งยังมีความชำรุดบกพร่องบางส่วนอันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติ นอกจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 แล้ว ตามมาตรา 488 ยังบัญญัติรับรองสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อชอบที่จะยึดหน่วงราคาที่ยังไม่ได้ชำระด้วยเช่นเดียวกับมาตรา 599 ที่กำหนดให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ราคาที่ยังไม่ได้ชำระแก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นให้สิ้นไป หรือหาประกันที่สมควรให้แก่จำเลยได้ตามมาตรา 488 หรือจะให้ประกันแก่จำเลยผู้ว่าจ้างตามสมควรตามมาตรา 599 เสียก่อน แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์จำนวน 380,000 บาท แต่จำเลยยังอุทธรณ์อ้างสิทธิยึดหน่วงราคาโดยมีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย และศาลอุทธรณ์ก็พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่มีหนี้ที่โจทก์อาจขอหักกลบจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10720/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: การลดเบี้ยปรับต้องพิจารณาความเสียหายจริง และความล่าช้าในการบอกเลิกสัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง วางหลักเกณฑ์ในการพิจารณาลดเบี้ยปรับของศาลว่าให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน กล่าวคือ จากการที่โจทก์และจำเลยทำการซื้อขายสินค้ากันตามสัญญาซื้อขายนั้นและจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ซึ่งส่งผลให้โจทก์เกิดความเสียหายจากการส่งมอบสินค้าของจำเลย ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือโจทก์และจำเลยทำการซื้อขายสินค้ากัน แต่สินค้าไม่ตรงตามสัญญา จำเลยจึงมารับคืนสินค้าไปจากโจทก์ ความเสียหายที่โจทก์อ้างว่าจำเลยส่งมอบสินค้าไม่ได้ ทำให้มหาวิทยาลัยขาดอุปกรณ์ในการเรียนการสอนทำให้นักศึกษาที่จบมาด้วยคุณภาพนั้นเป็นความเสียหายที่ไกลเกินความเป็นจริง และการที่โจทก์ทำการบอกเลิกสัญญากับจำเลยเมื่อเวลาได้ล่วงเลยมานานปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปเกือบสองปี แล้วเรียกค่าปรับจำนวน 336,801 บาทนั้น เห็นได้ชัดว่าจำนวนเงินดังกล่าวสูงกว่าราคาสินค้าตามสัญญาที่มีราคาเพียง 257,500 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง สมควรที่ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้