พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,003 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่องหลังสัญญาซื้อขายแม้สัญญาจะโมฆะ ศาลพิพากษาให้โอนได้
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่แรกและต่อมาได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของที่ดินพิพาทระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ได้ขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องตั้งแต่ปี 2532 และในปี 2534 ได้มีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องอีกครั้งหนึ่ง โดยตกลงจะมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์และจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอน 5 ปี แม้หนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวในครั้งหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่ได้ความว่าผู้ร้องได้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาแม้เมื่อพ้นกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วและผู้ร้องได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอให้โอนที่ดินพิพาทดังกล่าว ศาลแขวงสุรินทร์ก็พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง คดีถึงที่สุดแล้วผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาด กรณีมีผู้คัดค้านการขาย
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 12 ไม่ให้ใช้ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวบังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ผู้ร้องทำสัญญาซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาดกับผู้คัดค้านก่อนวันที่ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อาจนำ พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกำหนดตามสัญญาที่ดินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้
ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นจะต้องปฏิบัติบังคับตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี และ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ซึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 388 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน
ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นจะต้องปฏิบัติบังคับตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี และ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ ซึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 388 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายที่ดินจากการขายทอดตลาดที่มีการคัดค้าน การปฏิบัติตามกฎหมายบังคับคดีและล้มละลาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 12 ไม่ให้ใช้พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวบังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ ผู้ร้องทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับผู้คัดค้าน ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวมาปรับใช้กับสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ ต้องพิจารณาไปตามบทกฎหมายอื่น
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี และ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุดังกล่าว กรณีไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 388
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับคดี และ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งกฎหมายเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาด้วยเหตุดังกล่าว กรณีไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 388
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7571/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผิดสัญญาซื้อขายเนื่องจากผู้ผลิตไม่ได้รับอนุญาตส่งออกสินค้า เหตุสุดวิสัยไม่สำเร็จ
โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องส่งวิทยุแฝงในแบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่จากจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่จัดหาสินค้าดังกล่าวตามสัญญาส่งมอบให้แก่โจทก์ การที่บริษัท ด. ผู้ผลิตสินค้าไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ส่งออกสินค้า จึงเป็นความผิดของจำเลย หาใช่เหตุสุดวิสัยไม่ ทั้งมิใช่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ และซึ่งจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบ และทำให้จำเลยเป็นอันหลุดพ้นจากการชำระหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7022/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากจำเลยมิได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ และการพิพากษาให้ชำระเงินตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเลขที่ 905 บี กับจำเลยที่ 1 โดยให้ถือเอาเงินจองที่โจทก์ได้ชำระแล้ว เป็นส่วนหนึ่งของราคาห้องชุด และได้ชำระเงินในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายบางส่วนกับตกลงชำระส่วนที่เหลือเป็นงวดรายเดือน รวม 30 งวด เริ่มตั้งแต่งวดเดือนพฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป ส่วนราคาห้องชุดส่วนที่เหลือ โจทก์ตกลงชำระในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ข้อเท็จจริงคดีนี้ จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดและบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดแก่โจทก์โดยมิชอบ กรณีจึงไม่มีผลตามกฎหมายและไม่อาจถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ขายห้องชุดพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน/บ้าน: กำหนดเวลาสร้างและโอนกรรมสิทธิ์เป็นสาระสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญาเมื่อไม่สามารถสร้างตามกำหนด
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกับจำเลย ย่อมแสดงว่าโจทก์ผู้จะซื้อเชื่อถือข้อสัญญาที่ทำกับจำเลยและมุ่งหมายจะได้รับประโยชน์จากการใช้สอย โดยมั่นใจว่าโครงการของจำเลยจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จพร้อมที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามที่ระบุในสัญญา กำหนดระยะเวลาก่อสร้างและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของสัญญา หาเป็นเพียงการประมาณเวลาที่จะแล้วเสร็จมิใช่กำหนดเวลาตายตัวแต่อย่างใดจำเลยเป็นเจ้าของโครงการขนาดใหญ่ มีประสบการณ์ในการจัดสรรที่ดินมาแล้วหลายโครงการย่อมทราบถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการขอใบอนุญาตจัดสรรเป็นอย่างดีจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องขวนขวายเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตจัดสรรที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสัญญา จำเลยจะอ้างเหตุเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินล่าช้าเพื่อขยายระยะเวลาก่อสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ออกไปหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงปรากกฎว่าหลังจากโจทก์ชำระเงินดาวน์ให้แก่จำเลยเสร็จสิ้น 29 งวดแล้ว โจทก์ได้รับการติดต่อจากจำเลยว่าหากจะผ่อนค่าบ้านต่อไปก็ผ่อนได้ โดยจำเลยจะนำเงินดังกล่าวไปเป็นทุนสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ โจทก์จึงชำระเงินให้แก่จำเลยอีก 5 งวด เป็นเงิน 75,000 บาท การที่โจทก์ขวนขวายหาเงินมาผ่อนชำระให้จำเลยอีก 5 งวด ทั้ง ๆ ที่ผ่อนเงินดาวน์มาครบแล้ว ย่อมแสดงว่าขณะนั้นโจทก์ต้องการจะรับโอนกรรมสิทธิ์และเข้าอยู่อาศัยแต่จำเลยก็มิได้ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จ ทำให้โจทก์ต้องหยุดผ่อนชำระ จนกระทั่งปี 2543 หลังจากครบกำหนดตามสัญญาแล้วถึง 3 ปีเศษ และเป็นเวลาหลังจากที่โจทก์หยุดผ่อนชำระไปแล้วกว่า 2 ปี จำเลยเพิ่งมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ การที่โจทก์ยังชำระเงินให้แก่จำเลยต่ออีก 5 งวด หลังจากชำระเงินดาวน์เสร็จสิ้นแล้วจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ผู้จะซื้อมิได้ถือเอาระยะเวลาเป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยไม่สามารถก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ภายใน 2 ปี นับแต่วันทำสัญญาตามข้อตกลง จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5819/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะสัญญาซื้อขายที่ดิน: ความสำคัญผิดในสาระสำคัญ, การโอนที่ดิน, และการคืนเงินมัดจำ
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 แล้ว คำพิพากษาของศาลชั้นต้นย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของจำเลยที่ 2 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการไม่ชอบและถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้แก่โจทก์รวม 6 แปลง โดยที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินจำนวน 2 แปลง คือที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 749 และ 750 ส่วนที่ดินอีก 4 แปลง เป็นที่ดินภายในเขตการนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยองที่ยังไม่มีโฉนดที่ดิน เมื่อพิจารณาตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 2 มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า "และผู้จะซื้อจะโอนในนามผู้หนึ่งผู้ใด ผู้จะขายไม่ขัดข้อง" แสดงกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาว่า ในระหว่างที่สัญญาจะซื้อจะขายมีผลบังคับ โจทก์อาจไปติดต่อหาผู้มาซื้อที่ดินโดยจะโอนที่ดินผ่านจากจำเลยที่ 1 ไปยังผู้ที่จะซื้อที่ดินต่อจากโจทก์ทันทีโดยไม่ผ่านโจทก์ โจทก์จึงต้องการที่ดินที่สามารถจะโอนไปยังผู้อื่นได้โดยไม่ติดเงื่อนไขข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา 5 ปี เมื่อพิจารณาข้อสัญญาดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานของโจทก์แล้วเชื่อว่าขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์เองทราบเพียงว่าที่ดินบางส่วนเป็นที่ดินของการนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยองซึ่งสามารถขอออกโฉนดที่ดินได้ การที่โจทก์มาทราบภายหลังว่าที่ดินแปลงที่จะซื้อจะขายจำนวน 4 แปลง มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ผู้จะซื้อแต่อย่างใด และนับเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ และตามพฤติการณ์ไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้การซื้อขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 749 และ 750 ซึ่งสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้สมบูรณ์แยกต่างหากออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเช่นกัน จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินให้แก่โจทก์รวม 6 แปลง โดยที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินจำนวน 2 แปลง คือที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 749 และ 750 ส่วนที่ดินอีก 4 แปลง เป็นที่ดินภายในเขตการนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยองที่ยังไม่มีโฉนดที่ดิน เมื่อพิจารณาตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 2 มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า "และผู้จะซื้อจะโอนในนามผู้หนึ่งผู้ใด ผู้จะขายไม่ขัดข้อง" แสดงกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาว่า ในระหว่างที่สัญญาจะซื้อจะขายมีผลบังคับ โจทก์อาจไปติดต่อหาผู้มาซื้อที่ดินโดยจะโอนที่ดินผ่านจากจำเลยที่ 1 ไปยังผู้ที่จะซื้อที่ดินต่อจากโจทก์ทันทีโดยไม่ผ่านโจทก์ โจทก์จึงต้องการที่ดินที่สามารถจะโอนไปยังผู้อื่นได้โดยไม่ติดเงื่อนไขข้อกำหนดห้ามโอนเป็นเวลา 5 ปี เมื่อพิจารณาข้อสัญญาดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานของโจทก์แล้วเชื่อว่าขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โจทก์เองทราบเพียงว่าที่ดินบางส่วนเป็นที่ดินของการนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยองซึ่งสามารถขอออกโฉนดที่ดินได้ การที่โจทก์มาทราบภายหลังว่าที่ดินแปลงที่จะซื้อจะขายจำนวน 4 แปลง มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ผู้จะซื้อแต่อย่างใด และนับเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสี่แปลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ และตามพฤติการณ์ไม่สามารถสันนิษฐานได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ประสงค์จะให้การซื้อขายที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ 749 และ 750 ซึ่งสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้สมบูรณ์แยกต่างหากออกจากส่วนที่ไม่สมบูรณ์ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเช่นกัน จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด-ตัวการ: ความรับผิดในสัญญาซื้อขายเมื่อปรากฏพฤติการณ์บ่งชี้การยินยอมให้แสดงเจตนา
แม้จำเลยไม่ได้มอบหมายหรือแต่งตั้งจำเลยร่วมเป็นตัวแทนซื้อปุ๋ยรายพิพาทกับโจทก์ และการซื้อปุ๋ยของจำเลยร่วมไม่ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของจำเลยข้อ 56 แต่พฤติการณ์ที่จำเลยปล่อยให้จำเลยร่วมแสดงออกเป็นตัวแทนของจำเลยในการซื้อขายปุ๋ยกับโจทก์ในระหว่างปี 2537 ถึงปี 2538 ก่อนการซื้อขายรายพิพาทถึง 5 ครั้ง มีการออกใบกำกับสินค้าและใบเสร็จรับเงินรับเงินให้กันในนามของโจทก์และจำเลยโดยจำเลยไม่ได้ทักท้วง ประกอบกับ ส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกก็เคยซื้อปุ๋ยจากจำเลยมาก่อน 7 ถึง 8 ครั้ง โดยติดต่อกับจำเลยร่วม ได้ชำระราคาครบถ้วนและยืนยันว่าซื้อปุ๋ยรายพิพาทจำนวน 1,000 กระสอบ จากจำเลยโดยติดต่อผ่านจำเลยร่วม เมื่อครบกำหนดชำระเงินงวดแรกก็ได้ชำระค่าสินค้าให้แก่พนักงานเก็บเงินของจำเลย ทั้งจำเลยออกหลักฐานการชำระเงินค่าสินค้าลงชื่อพนักงานของจำเลยพร้อมประทับตราของจำเลยตามใบเสร็จรับเงิน ซึ่ง ว. พนักงานของจำเลยมาเบิกความเป็นพยานโจทก์ยอมรับในข้อนี้และยังเบิกความด้วยว่า จำเลยร่วมมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการของจำเลยมีอำนาจสูงสุดในการจัดการแทนจำเลย แสดงว่าจำเลยร่วมเป็นพนักงานที่มีตำแหน่งสูงสุดของจำเลย ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยรู้แล้วยอมให้จำเลยร่วมเชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยว่ามีอำนาจสั่งซื้อขายสินค้ากับบุคคลภายนอกแทนจำเลยได้ จำเลยซึ่งเป็นตัวการจึงต้องรับผิดชำระค่าปุ๋ยที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ที่เป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยร่วมเป็นตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ส่วนจำเลยร่วมเป็นเพียงตัวแทนเชิดของจำเลยและได้กระทำไปภายในขอบอำนาจไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายแยกส่วนได้, เหตุสุดวิสัยเฉพาะสัญญาบางส่วน, หนี้ร่วมสามีภริยา
คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงร่วมกันต่อศาลชั้นต้นว่า ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ติดใจสืบพยาน โดยขอให้ศาลวินิจฉัยตามคำฟ้องและคำให้การในประเด็นข้อแรกว่าจำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ ข้อสอง จำเลยทั้งสองผิดสัญญาและจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์หรือไม่ และข้อสาม โจทก์จะต้องคืนเงินประกันแก่จำเลยที่ 1 หรือไม่และคู่ความยังแถลงรับกันว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อขายลูกไก่และรับซื้อคืนไก่กระทงกับโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาในฐานะสามีผู้ให้ความยินยอม ต่อมาจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำไก่มาขายคืนให้แก่โจทก์เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกและทางราชการได้สั่งทำลายฆ่าไก่ที่จำเลยที่ 1 เลี้ยงไว้ทั้งหมด 40,137 ตัว โดยทางราชการจ่ายค่าชดเชยให้ตัวละ 45 บาท รวมเป็นเงิน 1,806,165 บาท เหตุดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยที่จะทำได้ จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้โจทก์ตามฟ้องหรือไม่ โดยที่คู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องตามที่ให้การต่อสู้ไว้ จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองได้สละประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไปแล้วจำเลยทั้งสองจะมายกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นต่อสู้อีกในชั้นฎีกาไม่ได้ อีกทั้งเหตุที่จำเลยทั้งสองอ้างในชั้นฎีกาขึ้นใหม่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
สัญญาซื้อขายลูกไก่และรับซื้อคืนไก่กระทงมีสาระสำคัญว่า โจทก์ตกลงขายลูกไก่และขายอาหารไก่ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเลือกชำระค่าลูกไก่และค่าอาหารไก่ให้โจทก์โดยจ่ายเป็นเช็ค โจทก์ให้สินเชื่อจำเลยที่ 1 สามารถสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้า 60 วัน แต่หากจำเลยที่ 1 จ่ายเป็นเงินสดหรือดร๊าฟหรือแคชเชียร์เช็คโจทก์ก็จะลดราคาลูกไก่ให้ตัวละ 25 สตางค์ ของราคาลูกไก่แต่ละชนิด หรือมิฉะนั้นจำเลยที่ 1 จะนำลูกไก่และอาหารไก่ที่ซื้อไปจากโจทก์ไปเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่โจทก์กำหนดแล้วนำมาขายคืนให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์กำหนด แล้วหักชำระค่าลูกไก่และอาหารไก่ภายหลังก็ได้ ล้วนเป็นวิธีการที่จำเลยที่ 1 สามารถเลือกชำระค่าลูกไก่อาหารไก่ที่ทำสัญญาซื้อไปจากโจทก์ได้ เห็นได้ว่าสัญญาดังกล่าวมีสัญญาสองส่วนรวมอยู่ด้วยกัน คือสัญญาซื้อขายลูกไก่และอาหารไก่ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นสัญญาที่โจทก์สัญญาว่าจะรับซื้อไก่ที่จำเลยที่ 1 ซื้อไปเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่โจทก์กำหนดแล้วนำมาขายคืนโจทก์ในราคาที่โจทก์กำหนด โดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 หักชำระค่าลูกไก่และอาหารไก่จากราคาไก่ที่โจทก์รับซื้อคืนได้ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นสัญญาต่างตอนแทนที่แยกจากกันไม่ได้ การชำระหนี้ตามสัญญาจึงสามารถแยกออกจากกันได้
ดังนั้น การที่ไก่ของจำเลยที่ 1 ที่ซื้อจากโจทก์ไปเลี้ยงถูกทางราชการสั่งให้ฆ่าทำลายไปทั้งหมด เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกทำให้ไม่สามารถนำไก่ไปขายคืนให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำไก่ที่เลี้ยงโตแล้วไปขายคืนโจทก์นั้น จึงเป็นการชำระหนี้ที่พ้นวิสัยเฉพาะในส่วนสัญญาที่โจทก์สัญญาว่าจะรับซื้อไก่คืนโดยยอมให้จำเลยที่ 1 หักชำระหนี้ค่าลูกไก่และค่าอาหารไก่ที่จำเลยที่ 1 ซื้อไปจากโจทก์เท่านั้น หากทำให้การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายลูกไก่และอาหารไก่ที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าชดเชยจากโจทก์ตกเป็นพ้นวิสัยไปด้วยไม่สำหรับจำเลยที่ 2 นั้น เป็นสามีของจำเลยที่ 1 รู้เห็นและให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อลูกไก่และอาหารไก่จากโจทก์ไปใช้เพื่อการประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ ถือเป็นหนี้ร่วมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานที่สามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงนามในสัญญาในฐานะคู่สัญญากับโจทก์ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิหักเงินค้ำประกันสัญญา เพื่อชำระหนี้ได้ด้วย
สัญญาซื้อขายลูกไก่และรับซื้อคืนไก่กระทงมีสาระสำคัญว่า โจทก์ตกลงขายลูกไก่และขายอาหารไก่ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะเลือกชำระค่าลูกไก่และค่าอาหารไก่ให้โจทก์โดยจ่ายเป็นเช็ค โจทก์ให้สินเชื่อจำเลยที่ 1 สามารถสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้า 60 วัน แต่หากจำเลยที่ 1 จ่ายเป็นเงินสดหรือดร๊าฟหรือแคชเชียร์เช็คโจทก์ก็จะลดราคาลูกไก่ให้ตัวละ 25 สตางค์ ของราคาลูกไก่แต่ละชนิด หรือมิฉะนั้นจำเลยที่ 1 จะนำลูกไก่และอาหารไก่ที่ซื้อไปจากโจทก์ไปเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่โจทก์กำหนดแล้วนำมาขายคืนให้แก่โจทก์ตามราคาที่โจทก์กำหนด แล้วหักชำระค่าลูกไก่และอาหารไก่ภายหลังก็ได้ ล้วนเป็นวิธีการที่จำเลยที่ 1 สามารถเลือกชำระค่าลูกไก่อาหารไก่ที่ทำสัญญาซื้อไปจากโจทก์ได้ เห็นได้ว่าสัญญาดังกล่าวมีสัญญาสองส่วนรวมอยู่ด้วยกัน คือสัญญาซื้อขายลูกไก่และอาหารไก่ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นสัญญาที่โจทก์สัญญาว่าจะรับซื้อไก่ที่จำเลยที่ 1 ซื้อไปเลี้ยงจนโตได้ขนาดตามที่โจทก์กำหนดแล้วนำมาขายคืนโจทก์ในราคาที่โจทก์กำหนด โดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 หักชำระค่าลูกไก่และอาหารไก่จากราคาไก่ที่โจทก์รับซื้อคืนได้ สัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นสัญญาต่างตอนแทนที่แยกจากกันไม่ได้ การชำระหนี้ตามสัญญาจึงสามารถแยกออกจากกันได้
ดังนั้น การที่ไก่ของจำเลยที่ 1 ที่ซื้อจากโจทก์ไปเลี้ยงถูกทางราชการสั่งให้ฆ่าทำลายไปทั้งหมด เนื่องจากเกิดโรคระบาดไข้หวัดนกทำให้ไม่สามารถนำไก่ไปขายคืนให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ เป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำไก่ที่เลี้ยงโตแล้วไปขายคืนโจทก์นั้น จึงเป็นการชำระหนี้ที่พ้นวิสัยเฉพาะในส่วนสัญญาที่โจทก์สัญญาว่าจะรับซื้อไก่คืนโดยยอมให้จำเลยที่ 1 หักชำระหนี้ค่าลูกไก่และค่าอาหารไก่ที่จำเลยที่ 1 ซื้อไปจากโจทก์เท่านั้น หากทำให้การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายลูกไก่และอาหารไก่ที่จำเลยที่ 1 ได้รับเงินค่าชดเชยจากโจทก์ตกเป็นพ้นวิสัยไปด้วยไม่สำหรับจำเลยที่ 2 นั้น เป็นสามีของจำเลยที่ 1 รู้เห็นและให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาซื้อลูกไก่และอาหารไก่จากโจทก์ไปใช้เพื่อการประกอบอาชีพเลี้ยงไก่ ถือเป็นหนี้ร่วมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานที่สามีภริยาทำด้วยกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (3) แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงนามในสัญญาในฐานะคู่สัญญากับโจทก์ก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิหักเงินค้ำประกันสัญญา เพื่อชำระหนี้ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4570/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับชำระหนี้ระหว่างเจ้าหนี้บุริมสิทธิจากการซื้อขายกับเจ้าหนี้จำนอง: กรณีจำเลยผิดสัญญาไม่โอนกรรมสิทธิ์
ป.พ.พ. มาตรา 276 บัญญัติว่า "บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาราคาอสังหาริมทรัพย์และดอกเบี้ยในราคานั้น และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น" หนี้ที่ตกอยู่ภายใต้บุริมสิทธินี้จึงได้แก่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระและดอกเบี้ยในราคาที่ค้างชำระนั้น ซึ่งเป็นหนี้ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระแก่ผู้ขาย แต่โจทก์เป็นผู้ซื้อห้องชุดพิพาทมิใช่ผู้ขาย และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดพิพาทก็เพื่อออกขายทอดตลาดชำระหนี้ที่จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ เนื่องจากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้โจทก์ได้ตามคำพิพากษา เงินดังกล่าวหาใช่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ค้างชำระและดอกเบี้ยในราคาที่ค้างชำระนั้นไม่ โจทก์จึงไม่มีบุริมสิทธิ