พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8417/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องให้ความหมายว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกง ไม่ชื่อตรง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการสอบสวนนั้นโจทก์แจ้งว่า โจทก์ได้รับกล้องที่เป็นของสมนาคุณมาจริงแล้วนำไปไว้ในที่เก็บสินค้าของจำเลยยังมิได้นำออกใช้ แต่เมื่อตรวจดูหน่วยความจำที่บันทึกภาพถ่ายในกล้องปรากฏว่ามีภาพอยู่จำนวน 26 ภาพ เป็นภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัวโจทก์จึงยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้จริง การที่โจทก์ยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้แล้วจึงเป็นเพราะโจทก์จำนนต่อหลักฐานนั่นเอง ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการนำไปใช้โดยถือวิสาสะ เพราะหากโจทก์คิดว่าโจทก์มีสิทธิจะนำไปใช้ได้ โจทก์ก็น่าจะยอมรับว่าเอาไปใช้แล้วจริงตั้งแต่ต้น ไม่น่าจะต้องให้ตรวจดูหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้เสียก่อน เมื่อปรากฏว่ามีภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัว โจทก์จึงเพิ่งจะยอมรับว่ากล้องดังกล่าวเป็นของสมนาคุณที่จำเลยได้มาและมีไว้เพื่อให้พนักงานของจำเลยจับรางวัลในงานวันขึ้นปีใหม่ การที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้กล้องดังกล่าวมา ทั้งยังนำไปใช้โดยพลการ เมื่อมีการสอบสวนก็ยังไม่ยอมรับว่าเอาไปใช้แล้วจนต้องมีการตรวจสอบหาความจริงจากหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้ด้วยเช่นนี้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติไม่ซื่อตรงอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (1) ทั้งยังเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ทั้งการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในกรณีนี้เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างได้ จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7400/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างด้วยเหตุเกษียณอายุและการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ การฟ้องร้องโดยไม่สุจริต
จำเลยมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกำหนดลูกจ้างหญิงเกษียณอายุเมื่อครบ 55 ปี เมื่อโจทก์อายุครบ 55 ปี จำเลยให้โจทก์ทำงานต่อไป เมื่อโจทก์อายุ 55 ปีเศษ โจทก์ไปพูดกับผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยว่าน่าจะให้โจทก์เกษียณอายุการทำงานได้แล้ว และโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความระบุว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าชดเชยเป็นการเลิกจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายกล่าวคือ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมและเป็นการกระทำที่เป็นธรรมแก่โจทก์แล้วโจทก์สัญญาว่าจะไม่ติดใจเรียกร้อง ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเงินใด ๆ จากจำเลยอีก จึงเป็นกรณีที่โจทก์ร้องขอให้จำเลยเลิกจ้างและได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7398-7399/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนแปลงหลังแปรรูป ผลต่อสิทธิแรงงานและการเลิกจ้าง
ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ได้นิยามคำว่า "รัฐวิสาหกิจ" ไว้โดยเฉพาะแล้วว่าหมายถึง (1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ (2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรมหรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่าหรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) ที่มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ เมื่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้แปรรูปเป็นบริษัท ป. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 บริษัทดังกล่าวจึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 6 (2) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ย่อมทำให้บริษัทจำเลยมีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นกระทรวง ทบวง กรมหรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่าหรือรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 6 (1) ไม่เกินร้อยละห้าสิบ ดังนั้นบริษัทจำเลยจึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจและไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ อีกต่อไป แต่จะตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานทั่วไป อีกทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัท บ. ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ ย่อมสิ้นสภาพเป็นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจลงในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ด้วย โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว นอกจากนี้แล้วสหภาพแรงงานดังกล่าวมิได้มีการยกเลิกด้วยเหตุนายทะเบียนมีคำสั่งให้ยกเลิกตามมาตรา 66
เมื่อเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนธันวาคม 2545 โจทก์ไม่ไปถึงสถานที่ทำงานในเวลา 8.00 นาฬิกา อันเป็นเวลาทำงานตามปกติรวมทั้งสิ้น 35 ครั้ง จำเลยออกหนังสือเตือนลงวันที่ 21 มกราคม 2546 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2546 โจทก์แสดงกิริยาดูหมิ่นเหยียดหยามและพูดจาไม่สุภาพหยาบคายต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง จำเลยออกหนังสือเตือนฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 เอกสารทั้งสองฉบับลงลายมือชื่อ ว. ผู้จัดการส่วนการพนักงาน หนังสือทั้งสองฉบับนี้ระบุว่าเป็นเรื่องเตือนให้ปรับปรุงความประพฤติ และยังระบุเรื่องการกระทำผิดของโจทก์ด้วย อีกทั้งมีข้อความเหมือนกันว่า "ดังนั้นเพื่อให้ท่านแก้ไขและปรับปรุงความประพฤติของท่านให้เป็นพนักงานที่ดีและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมตามกฎข้อบังคับและมาตรฐานการทำงานที่ดี บริษัทฯ จึงลงโทษท่าน โดยการออกหนังสือเตือนให้ปรับปรุงความประพฤติครั้งที่ 1 ขอตักเตือนว่าหากท่านฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของบริษัทโดยการกระทำผิดเช่นนั้นอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษสถานหนักต่อไป" หลังจากนั้นปรากฏว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ถึงมีนาคม 2546 โจทก์ยังคงทำผิดซ้ำคำเตือนโดยไปไม่ถึงอาคารสถานที่ทำงานและไม่ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 8.00 นาฬิกา รวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 ลงนามโดย ว. เช่นกัน แต่ระบุเรื่องว่าหนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือน เมื่อมีข้อความระบุการกระทำความผิดของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวแล้วยังระบุว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ทั้งระบุว่าบริษัทจะพิจารณาลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไป มิได้มีข้อความเรื่องลงโทษโจทก์ด้วยการออกหนังสือตักเตือนหลังจากออกหนังสือฉบับนี้ได้ 9 วัน จำเลยออกหนังสือปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงาน ดังนั้น หนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือน จึงมิใช่หนังสือเตือนแต่เป็นหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือน โดยโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) การกระทำของโจทก์เป็นการละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายเป็นอาจิณ จำเลยเป็นนายจ้างสามารถไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 พฤติการณ์เกี่ยวกับการทำงาน รวมทั้งการฝ่าฝืนคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของจำเลยย่อมมีเหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
เมื่อเดือนมกราคม 2545 ถึงเดือนธันวาคม 2545 โจทก์ไม่ไปถึงสถานที่ทำงานในเวลา 8.00 นาฬิกา อันเป็นเวลาทำงานตามปกติรวมทั้งสิ้น 35 ครั้ง จำเลยออกหนังสือเตือนลงวันที่ 21 มกราคม 2546 ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2546 โจทก์แสดงกิริยาดูหมิ่นเหยียดหยามและพูดจาไม่สุภาพหยาบคายต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง จำเลยออกหนังสือเตือนฉบับลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 เอกสารทั้งสองฉบับลงลายมือชื่อ ว. ผู้จัดการส่วนการพนักงาน หนังสือทั้งสองฉบับนี้ระบุว่าเป็นเรื่องเตือนให้ปรับปรุงความประพฤติ และยังระบุเรื่องการกระทำผิดของโจทก์ด้วย อีกทั้งมีข้อความเหมือนกันว่า "ดังนั้นเพื่อให้ท่านแก้ไขและปรับปรุงความประพฤติของท่านให้เป็นพนักงานที่ดีและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมตามกฎข้อบังคับและมาตรฐานการทำงานที่ดี บริษัทฯ จึงลงโทษท่าน โดยการออกหนังสือเตือนให้ปรับปรุงความประพฤติครั้งที่ 1 ขอตักเตือนว่าหากท่านฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของบริษัทโดยการกระทำผิดเช่นนั้นอีก บริษัทจะพิจารณาลงโทษสถานหนักต่อไป" หลังจากนั้นปรากฏว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ถึงมีนาคม 2546 โจทก์ยังคงทำผิดซ้ำคำเตือนโดยไปไม่ถึงอาคารสถานที่ทำงานและไม่ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 8.00 นาฬิกา รวมทั้งสิ้น 13 ครั้ง จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 ลงนามโดย ว. เช่นกัน แต่ระบุเรื่องว่าหนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือน เมื่อมีข้อความระบุการกระทำความผิดของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวแล้วยังระบุว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ทั้งระบุว่าบริษัทจะพิจารณาลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไป มิได้มีข้อความเรื่องลงโทษโจทก์ด้วยการออกหนังสือตักเตือนหลังจากออกหนังสือฉบับนี้ได้ 9 วัน จำเลยออกหนังสือปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงาน ดังนั้น หนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือน จึงมิใช่หนังสือเตือนแต่เป็นหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือน โดยโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) การกระทำของโจทก์เป็นการละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายเป็นอาจิณ จำเลยเป็นนายจ้างสามารถไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 พฤติการณ์เกี่ยวกับการทำงาน รวมทั้งการฝ่าฝืนคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของจำเลยย่อมมีเหตุผลอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7398-7399/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหาย
ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2544 บริษัทจำเลยมีกระทรวงการคลังถือหุ้นร้อยละ 47.87 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยถือหุ้นร้อยละ 24.29 ธนาคาร ก. ถือหุ้นร้อยละ 7.86 และประชาชนทั่วไปถือหุ้นที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 20 ของหุ้นทั้งหมด เมื่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยแปรรูปเป็นบริษัท ป. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 บริษัท ป. จึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 6 (2) ทำให้บริษัทจำเลยมีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่าหรือรัฐวิสาหกิจตาม มาตรา 6 (1) ไม่เกินร้อยละ 50 บริษัทจำเลยจึงไม่เป็นรัฐวิสาหกิจและไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 อีกต่อไป แต่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแรงงานทั่วไป อีกทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจบริษัทจำเลยซึ่งเป็นสหภาพที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ย่อมสิ้นสภาพการเป็นสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจลงในวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ด้วย โจทก์จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 24
เมื่อเดือนมกราคม 2545 ถึงธันวาคม 2545 โจทก์ไม่ไปถึงสถานที่ทำงานในเวลา 8 นาฬิกา อันเป็นเวลาทำงานตามปกติรวม 35 ครั้ง จำเลยออกหนังสือเตือนลงวันที่ 11 มกราคม 2546 ต่อมาวันที่ 9 มกราคม 2546 โจทก์แสดงกิริยาดูหมิ่นเหยียดหยามและพูดจาไม่สุภาพหยาบคายต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง จำเลยออกหนังสือเตือนลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 โดยหนังสือเตือนทั้งสองฉบับระบุว่า เป็นเรื่องเตือนให้ปรับปรุงความประพฤติ และระบุเรื่องการกระทำผิดวินัยของโจทก์ด้วย โดยมีข้อความเรื่องลงโทษโจทก์ด้วยการออกหนังสือตักเตือน หลังจากนั้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ถึงมีนาคม 2546 โจทก์ยังคงทำผิดซ้ำคำเตือนโดยไม่ไปถึงอาคารสถานที่ทำงานและไม่ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา รวม 13 ครั้ง จำเลยจึงมีหนังสือลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 ตามเอกสารหมาย ล.12 ระบุว่า หนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือน มีข้อความระบุความผิดของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวแล้วยังระบุว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ทั้งระบุว่าบริษัทจะพิจารณาลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไปโดยมิได้มีข้อความเรื่องลงโทษโจทก์ด้วยการออกหนังสือตักเตือน หลังจากออกหนังสือฉบับนี้ได้ 9 วัน จำเลยออกหนังสือปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงาน ดังนี้ หนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือนตามเอกสารหมาย ล.12 ดังกล่าว จึงมิใช่หนังสือเตือน แต่เป็นหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อเดือนมกราคม 2545 ถึงธันวาคม 2545 โจทก์ไม่ไปถึงสถานที่ทำงานในเวลา 8 นาฬิกา อันเป็นเวลาทำงานตามปกติรวม 35 ครั้ง จำเลยออกหนังสือเตือนลงวันที่ 11 มกราคม 2546 ต่อมาวันที่ 9 มกราคม 2546 โจทก์แสดงกิริยาดูหมิ่นเหยียดหยามและพูดจาไม่สุภาพหยาบคายต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง จำเลยออกหนังสือเตือนลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 โดยหนังสือเตือนทั้งสองฉบับระบุว่า เป็นเรื่องเตือนให้ปรับปรุงความประพฤติ และระบุเรื่องการกระทำผิดวินัยของโจทก์ด้วย โดยมีข้อความเรื่องลงโทษโจทก์ด้วยการออกหนังสือตักเตือน หลังจากนั้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ถึงมีนาคม 2546 โจทก์ยังคงทำผิดซ้ำคำเตือนโดยไม่ไปถึงอาคารสถานที่ทำงานและไม่ปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา รวม 13 ครั้ง จำเลยจึงมีหนังสือลงวันที่ 24 มีนาคม 2546 ตามเอกสารหมาย ล.12 ระบุว่า หนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือน มีข้อความระบุความผิดของโจทก์ในเรื่องดังกล่าวแล้วยังระบุว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน ทั้งระบุว่าบริษัทจะพิจารณาลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อไปโดยมิได้มีข้อความเรื่องลงโทษโจทก์ด้วยการออกหนังสือตักเตือน หลังจากออกหนังสือฉบับนี้ได้ 9 วัน จำเลยออกหนังสือปลดโจทก์ออกจากการเป็นพนักงาน ดังนี้ หนังสือแจ้งการกระทำผิดซ้ำคำเตือนตามเอกสารหมาย ล.12 ดังกล่าว จึงมิใช่หนังสือเตือน แต่เป็นหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเนื่องจากคำนวณค่าเสียหายจากการเลิกจ้างผิดพลาดจากบัญชีรวมพิจารณาคดี
ตามคำฟ้องของโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จำนวน 170,512 บาท แต่เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งให้นำคดีนี้รวมพิจารณาคดีเดียวกับคดีอื่นแล้ว ศาลแรงงานกลางได้จัดทำบัญชีสำหรับรวมพิจารณาโดยนำรายละเอียดต่างๆ ในคำฟ้องแต่ละสำนวนมาลงไว้ ซึ่งในช่องคำขอท้ายฟ้องในบัญชีดังกล่าวลงรายการว่าโจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังกล่าวเพียงจำนวน 17,052 บาท โดยจำนวนเงินดังกล่าวไม่ปรากฏในคำฟ้องหรือคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาด เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเงินค่าเสียหายที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้โจทก์คนอื่นในคดีรวมพิจารณา ปรากฏว่ากำหนดค่าเสียหายจากการนำอัตราค่าจ้างสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานโดยประมาณ ยกเว้นโจทก์บางคนในคดีรวมพิจารณามีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายต่ำกว่าจำนวนที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็จะกำหนดให้ไม่เกินตามคำขอท้ายฟ้อง แต่กรณีของโจทก์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพียงคนเดียว โดยหากคำนวณตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้วจะได้จำนวนที่สูงกว่า 17,052 บาท ตามที่ลงไว้ในบัญชีสำหรับรวมพิจารณาเป็นจำนวนมาก แต่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับจำนวนเงินที่ลงไว้ในบัญชีดังกล่าวโดยไม่ปรากฏว่าเป็นเพราะเหตุใด แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นการนำข้อผิดพลาดในบัญชีดังกล่าวมากำหนดเป็นค่าเสียหาย จึงให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้โจทก์ใหม่โดยคำนึงถึงจำนวนเงินที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6098/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลพิจารณาเหตุผลที่แท้จริงของการเลิกจ้าง นอกเหนือจากเหตุตามที่นายจ้างอ้าง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า โจทก์ในฐานะผู้จัดการแผนกรับรถได้รับเรื่องการสั่งซ่อมรถยนต์คันพิพาทจากแผนกควบคุมแล้ว โจทก์มีหน้าที่ส่งเรื่องพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังหน่วยงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเพื่อเคลมค่าอะไหล่กับบริษัทผู้รับประกันภายในเวลาอันสมควร แต่โจทก์ไม่กระทำ ถือว่าโจทก์บกพร่องต่อหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 อันเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว
ส่วนการพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างอันแท้จริงของนายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างอาจจะไม่ใช่เหตุตามคำให้การของจำเลยหรือที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ก็ได้ และเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาการเลิกจ้างนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุใดและเป็นธรรมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอาประกาศเรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.3 และหนังสือแจ้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.4 มาวินิจฉัยประกอบทางนำสืบของโจทก์ว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นผลมาจากจำเลยไม่พอใจที่จำเลยขอเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานปกติของโจทก์แล้ว แต่โจทก์โต้แย้งคัดค้านและยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานของโจทก์ได้ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อตามที่จำเลยให้การต่อสู้ได้ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนการพิจารณาว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างอันแท้จริงของนายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือไม่ ซึ่งเหตุแห่งการเลิกจ้างอาจจะไม่ใช่เหตุตามคำให้การของจำเลยหรือที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ก็ได้ และเป็นคนละกรณีกับการพิจารณาการเลิกจ้างนั้นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุใดและเป็นธรรมหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางหยิบยกเอาประกาศเรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.3 และหนังสือแจ้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงเวลาปฏิบัติงานของแผนกแจ้งซ่อมเอกสารหมาย จ.4 มาวินิจฉัยประกอบทางนำสืบของโจทก์ว่า เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นผลมาจากจำเลยไม่พอใจที่จำเลยขอเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานปกติของโจทก์แล้ว แต่โจทก์โต้แย้งคัดค้านและยื่นคำร้องทุกข์ต่อพนักงานตรวจแรงงานจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานของโจทก์ได้ ไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุโจทก์ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อตามที่จำเลยให้การต่อสู้ได้ คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4712/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกค่าดำเนินการจากผู้รับเหมาช่วงโดยลูกจ้างบริษัท เป็นเหตุเลิกจ้างได้ และจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 เรียกค่าดำเนินการสำหรับการจะเข้ามารับงานก่อสร้างสถานีเครือข่ายโทรคมนาคมของจำเลยที่ 1 จากนาย ณ. พนักงานบริษัท ท. ให้แก่บริษัท ค. ซึ่งจะเข้ามาประมูลงานก่อสร้างจากจำเลยที่ 1 และได้จัดส่งราคากลางแล้วยืนยันแนวโน้มจะได้รับงานจากจำเลยที่ 1 เป็นการอาศัยตำแหน่งความเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แอบอ้างเรียกเอาผลประโยชน์จากบุคคลภายนอกให้แก่บริษัท ค. การกระทำดังกล่าวแม้ว่าจะเพื่อให้มีบุคคลภายนอกเข้ามาประมูลงานหรือร่วมงานกับจำเลยที่ 1 แต่ก็ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจได้ว่าการจะเข้ามาร่วมงานกับจำเลยที่ 1 จะต้องมีการวิ่งเต้นเสียเงินตอบแทนทำให้จำเลยที่ 1 เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และอาจทำให้บุคคลภายนอกที่เข้าใจว่าจะต้องเสียเงินเป็นค่าดำเนินการและไม่เข้ามาร่วมงานกับจำเลยที่ 1 ได้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจของบริษัท ค. อันอาจมีผลกระทบเสียหายถึงผลประโยชน์ของจำเลยที่ 1 เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4), 67
สำหรับค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น แม้ว่าโจทก์จะฟ้องเรียกอ้างว่าเป็นค่าเสียหายแต่ก็เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบซึ่งตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 บัญญัติให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนแล้วให้เป็นนิติบุคคล และตามมาตรา 23 บัญญัติให้เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ดำเนินการให้แก่จำเลยที่ 1 คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ดังนั้น ผู้จัดการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวจึงมีหน้าที่จ่ายเงินให้ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเอง
สำหรับค่าเสียหายจากการที่โจทก์ไม่ได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น แม้ว่าโจทก์จะฟ้องเรียกอ้างว่าเป็นค่าเสียหายแต่ก็เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบซึ่งตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 บัญญัติให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนแล้วให้เป็นนิติบุคคล และตามมาตรา 23 บัญญัติให้เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ลูกจ้าง กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ดำเนินการให้แก่จำเลยที่ 1 คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก. ซึ่งจดทะเบียนแล้ว ดังนั้น ผู้จัดการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวจึงมีหน้าที่จ่ายเงินให้ลูกจ้าง จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวได้ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4204/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ต้องพิสูจน์เจตนาหรือสำนึกถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
กรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) นั้น ต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างกระทำโดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างหรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างต้องกระทำโดยรู้สำนึกของการกระทำว่าจะเกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การที่นาง ศ. เพียงแต่ไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างนาง ศ. กับนางสาว ก. ที่นางสาว ก. เป็นบุตรสะใภ้ของนาง ศ. และบุตรชายของนาง ศ. ซึ่งเป็นสามีของนางสาว ก. ทำงานอยู่ในโรงงานอื่นที่โจทก์เห็นว่าเป็นคู่แข่งทางการค้าโดยไม่ปรากฏว่าได้นำความลับของโจทก์ไปเปิดเผยแก่บุคคลภายนอกหรือมีข้อเท็จจริงอื่นใดว่านาง ศ. ได้กระทำการใดที่แสดงถึงความตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้จัดทำข้อห้ามที่ว่าผู้สมัครเข้าทำงานกับโจทก์จะต้องไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับโรงงานที่เป็นคู่แข่งทางการค้าของโจทก์เป็นลายลักษณ์อักษรปิดประกาศไว้และโจทก์อ้างว่ารับสมัครคนงานใหม่ที่เป็นญาติของคนงานที่ทำในปัจจุบันเพื่อให้คนงานเก่าอธิบายและแจ้งให้คนงานใหม่ทราบถึงกฎข้อบังคับโดยโจทก์ไม่ต้องอธิบายหรือประกาศให้คนงานใหม่ทราบ ก็แสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้ใส่ใจเคร่งครัดใช้กฎข้อบังคับที่อ้างว่ามีอยู่ และตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ก็ไม่ได้ระบุให้การไม่แจ้งความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานให้โจทก์ทราบเป็นความผิดแต่อย่างใด การที่นาง ศ. ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวจึงมิได้เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4203/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานทำลายทรัพย์สินของผู้อื่นในบริษัท ถือเป็นความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับบริษัท
โจทก์ใช้ของแหลมมีคมขีดรถของนาย ส. ซึ่งจอดอยู่ในที่จอดรถพนักงานในบริษัทได้รับความเสียหาย การกระทำของโจทก์จึงเป็นการทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่นในบริษัทจำเลย ซึ่งตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยถือเป็นความผิดร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้ ทั้งเมื่อพิจารณาจากข้อบังคับดังกล่าวเห็นได้ชัดว่านอกจากจำเลยประสงค์จะมิให้มีการทำลายทรัพย์สินที่เป็นของจำเลยแล้วยังต้องการให้ทรัพย์สินของบุคคลอื่นในบริษัทจำเลยได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับทรัพย์สินของจำเลยด้วย หากมีการกลั่นแกล้งทำลายทรัพย์สินกันในบริษัทจำเลย ลูกจ้างอื่นของจำเลยก็ย่อมทำงานอย่างไม่ปกติสุข โดยเฉพาะในที่จอดรถซึ่งเป็นสถานที่ที่ลูกจ้างของจำเลยต้องจอดรถของตนไว้ ไม่อาจดูแลได้ตลอดเวลาที่ทำงานให้จำเลย จึงสมควรได้รับการดูแลจากจำเลยเป็นพิเศษดังจะเห็นได้ว่าจำเลยติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้เพื่อตรวจสอบหาพยานหลักฐานหากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาถึงทรัพย์สินที่ถูกกระทำเป็นรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ที่มีราคาและลูกจ้างจำต้องใช้ในการเดินทางมาทำงานสถานที่ที่ถูกกระทำเป็นบริเวณที่จอดรถของบริษัทจำเลย และการใช้ของแหลมมีคมขีดรถของบุคคลอื่นเป็นการกระทำที่ไม่สนใจไยดีในความเดือดร้อนของบุคคลอื่น ไม่สมควรที่จะกระทำอย่างยิ่ง พฤติการณ์แห่งการกระทำของโจทก์ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำความผิดที่ร้ายแรงอยู่ในตัว จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) ทั้งมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ยอมรับว่ากระทำความผิดจริงและใช้ค่าเสียหายให้แก่นาย ส. จนนาย ส. ไม่ติดใจเอาความกับโจทก์แล้ว และโจทก์มีคุณความดีมาก่อน ควรที่จะนำมาเป็นเหตุบรรเทาโทษเพื่อให้โอกาสแก่โจทก์นั้น เห็นว่า การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการปฏิบัติไปโดยถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจในการลงโทษของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198-3279/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายสถานประกอบการ การเลิกจ้าง และสิทธิลูกจ้างเมื่อสัญญาจ้างระบุเงื่อนไขการย้ายงานได้
การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ทั้งแปดสิบสอง ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรีไปทำงานที่โรงพยาบาลเปาโล จังหวัดสมุทรปราการ มาจากเหตุที่จำเลยที่ 1 หมดสัญญาอนุญาตให้บริการขายอาหารระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้เสนอให้โจทก์ทั้งแปดสิบสองเลือกไปทำงานในสาขาอื่นของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร โดยจะให้เงินช่วยเหลือเป็นค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,000 บาท เมื่อโจทก์ทั้งแปดสิบสองไม่เลือกและไม่แสดงความจำนงให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 จึงมีความจำเป็นต้องสั่งให้โจทก์ทั้งแปดสิบสองไปทำงานที่โรงพยาบาลเปาโล จังหวัดสมุทรปราการ ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าเดิม เมื่อโจทก์ทั้งแปดสิบสองมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ว่าไม่ประสงค์จะไปปฏิบัติงานหน่วยงานแห่งอื่นของจำเลยที่ 1 และไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กำหนด จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (5) และเป็นการละทิ้งการงานไปซึ่งจำเลยที่ 1 จะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทอดแทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และการเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดสิบสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม