พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายค่าจ้างงานโดยมิได้มีลูกจ้างจริง แต่ได้ผลงานและไม่มีความเสียหาย จึงไม่เป็นความผิด
จำเลยเป็นผู้กำกับแขวงการทาง ได้จ้างเหมาบุคคลภายนอกขนลูกรังมากองตามถนนสายที่กำลังก่อสร้าง แล้วทำบัญชีเป็นว่ามีคนงานของแขวงการทางนั้นทำการขนลูกรังเองแล้วเบิกจ่ายเงินค่าจ้างรายวันพร้อมทั้งเงินเพิ่มพิเศษประจำเดือนชั่วคราวและเงินยังชีพให้แก่คนงานเหล่านั้น โดยกรอกชื่อบุคคลต่างๆ ลงในบัญชีกับให้ลงลายมือชื่อว่าได้รับเงินค่าจ้างในฐานเป็นคนงานของแขวงการทางนั้นจากจำเลยแล้ว ซึ่งความจริงบุคคลที่ลงชื่อในบัญชีดังกล่าวมิได้เป็นคนงานของแขวงการทางเลยหากจำเลยได้เอาเงินที่เบิกมาได้นั้นจ่ายให้แก่ผู้รับเหมาไป ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าวิธีที่จำเลยให้บุคคลภายนอกรับงานไปทำนั้น ได้ผลงานดีกว่าที่จะให้คนงานรายวันของกรมทางทำเอง ค่าจ้างที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้รับเหมาก็ย่อมเยาและจำเลยได้จ่ายเงินค่าแรงงานให้ผู้รับเหมารับไปจริงๆไม่มีการเบียดบังเอาไว้เลยจึงไม่มีการเสียหาย จำเลยย่อมไม่ผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา133, 230 ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 736,737/2478,1189/2480
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายโบนัสและหักเงินเดือนลูกจ้าง: นายจ้างต้องจ่ายโบนัสเมื่อเลิกจ้างโดยมิได้มีบกพร่อง และห้ามหักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้บุคคลอื่นเว้นแต่ลูกจ้างยินยอม
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความบกพร่องในหน้าที่การงานที่นายจ้างจ้างทำ อันจะเป็นเหตุให้นายจ้างงดจ่ายโบนัสตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว นายจ้างก็จะต้องจ่ายเงินโบนัสให้ลูกจ้าง
นายจ้างไม่มีสิทธิหักเงินเดือนของลูกจ้างไว้เพื่อใช้หนี้ที่ลูกจ้างเป็นลูกหนี้คนอื่นอยู่ เว้นแต่ลูกจ้างจะตกลงยินยอมให้หักเงินเดือนตนไว้
นายจ้างไม่มีสิทธิหักเงินเดือนของลูกจ้างไว้เพื่อใช้หนี้ที่ลูกจ้างเป็นลูกหนี้คนอื่นอยู่ เว้นแต่ลูกจ้างจะตกลงยินยอมให้หักเงินเดือนตนไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11-12/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดของลูกจ้างในทางการจ้าง เมื่อใช้ให้ลูกจ้างขับรถไปทำหน้าที่
นายจ้างใช้ให้ลูกจ้างนำรถยนต์ของนายจ้างไปรับใช้งานของข้าหลวงประจำจังหวัด ลูกจ้างขับรถยนต์ไประหว่างทางด้วยความประมาท รถยนต์จึงชนคนตาย ดังนี้ ถือว่าลูกจ้างได้ทำละเมิดในทางการที่จ้าง นายจ้างต้องรับผิดตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 425
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11-12/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างระหว่างปฏิบัติงาน
นายจ้างใช้ให้ลูกจ้างนำรถยนต์ของนายจ้างไปรับใช้งานของข้าหลวงประจำจังหวัด ลูกจ้างขับรถยนต์ไประหว่างทางด้วยความประมาท รถยนต์จึงชนคนตายดังนี้ ถือว่าลูกจ้างได้ทำละเมิดในทางการที่จ้าง นายจ้างต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628-1630/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จ้างต่อลูกจ้างช่วง: การจ้างช่วงและการรับผิดในละเมิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างผู้มีชื่อมาเป็นผู้ขับรถยนต์และจัดการเดินรถยนต์ของจำเลยที่ 1 โดยผู้รับจ้างจะต้องปฏิบัติงานในความควบคุมหรือตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ส่วนค่าใช้จ่าย ก็ดีกำไรขาดทุนก็ดีเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างเป็นแต่รับค่าจ้างเป็นก้อนไปเท่านั้น ดังนี้ย่อมถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ฉะนั้นการที่ผู้รับจ้างไปจ้างจำเลยที่ 2 มาเป็นคนประจำรถด้วยความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างแล้ว ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย ดุจเดียวกับผู้มีชื่อนั้นเอง จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับผู้มีชื่อในผลแห่งละเมิดที่กระทำไปในทางการที่จ้างฉันใด จำเลยที่1 ก็ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 2 กระทำไปในทางการที่จ้างฉันนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเพื่อเก็บสินค้าและให้ลูกจ้างพักอาศัย ไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า สัญญาเช่าระยะเวลาไม่แน่นอนมีผลผูกพัน
เช่าตึกแถวในย่านการค้าไว้สำหรับเก็บสินค้าและให้ลูกจ้างมาอยู่อาศัยเพื่อเฝ้าดูแลสินค้า ส่วนตัวผู้เช่าและครอบครัวตั้งร้านค้าขายอยู่อีกแห่งหนึ่งต่างหาก ดังนี้ แม้ผู้ให้เช่าจะได้รู้เห็นยินยอมด้วยแต่แรก ในการที่ลูกจ้างของจำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในห้องเช่า ผู้เช่าก็มิได้รับความคุ้มครอง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ
สัญญาเช่าซึ่งตกลงเก็บค่าเช่ากันเป็น 2 ระยะ คือในชั้นแรกคิดค่าเช่ากันเป็นรายเดือนเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ามิได้ตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่ยังคงใช้ห้องเช่าต่อไปก็ให้ถือว่าเช่ากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาโดยยอมให้ค่าเช่าวันละ 5 บาททุกวันไปจนกว่าจะมอบห้องคืน ดังนี้ เมื่อคู่สัญญาทำกันด้วยความสมัครใจก็ย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย
สัญญาเช่าซึ่งตกลงเก็บค่าเช่ากันเป็น 2 ระยะ คือในชั้นแรกคิดค่าเช่ากันเป็นรายเดือนเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ามิได้ตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่ยังคงใช้ห้องเช่าต่อไปก็ให้ถือว่าเช่ากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาโดยยอมให้ค่าเช่าวันละ 5 บาททุกวันไปจนกว่าจะมอบห้องคืน ดังนี้ เมื่อคู่สัญญาทำกันด้วยความสมัครใจก็ย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเพื่อเก็บสินค้าและอยู่อาศัยของลูกจ้าง ไม่คุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า สัญญาเช่าระยะยาวผูกพันตามกฎหมาย
เช่าตึกแถวในย่านการค้าไว้สำหรับเก็บสินค้าและให้ลูกจ้างมาอยู่อาศัยเพื่อเฝ้าดูแลสินค้า ส่วนตัวผู้เช่าและครอบครัวตั้งร้านค้าขายอยู่อีกแห่งหนึ่งต่างหาก ดังนี้ แม้ผู้ให้เช่าจะได้รู้เห็นยินยอมด้วยแต่แรก ในการที่ลูกจ้างของจำเลยเข้าไปอยู่อาศัยในห้องเช่า ผู้เช่าก็มิได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯลฯ
สัญญาเช่าซึ่งตกลงเก็บค่าเช่ากันเป็น 2 ระยะ คือในชั้นแรกคิดค่าเช่ากันเป็นรายเดือนเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ามิได้ตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่ยังคงใช้ห้องเช่าต่อไปก็ให้ถือว่าเช่ากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาโดยยอมให้ค่าเช่าวันละ 5 บาททุกวันไปจนกว่าจะมอบห้องคืน ดังนี้ เมื่อคู่สัญญาทำกันด้วยความสมัครใจก็ย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย
สัญญาเช่าซึ่งตกลงเก็บค่าเช่ากันเป็น 2 ระยะ คือในชั้นแรกคิดค่าเช่ากันเป็นรายเดือนเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ามิได้ตกลงทำสัญญาเช่ากันใหม่ แต่ยังคงใช้ห้องเช่าต่อไปก็ให้ถือว่าเช่ากันต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาโดยยอมให้ค่าเช่าวันละ 5 บาททุกวันไปจนกว่าจะมอบห้องคืน ดังนี้ เมื่อคู่สัญญาทำกันด้วยความสมัครใจก็ย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีผิดสัญญาของหัวหน้าพนักงานขายแทนบริษัท: ไม่มีอำนาจฟ้องในนามตนเอง
หัวหน้าพนักงานผู้จัดการขายจักรของสาขาบริษัทจักรเย็บผ้า (ซิงเกอร์ปัตตานี) ขายจักรของบริษัทไปแทนบริษัทแม้ผู้ซื้อจะผิดสัญญา ก็ไม่มีสิทธิจฟ้องร้องผู้ซื้อฐานผิดสัญญาอันเป็นเรื่องของบริษัทในนามของตนเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030-1033/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกระทรวงพาณิชย์: กรณีหนี้จากลูกจ้าง vs. สัญญาการค้ากับบุคคลภายนอก
อำนาจหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาฎีกาที่ 950/2491 ว่า เป็นหน่วยอยู่ในราชการบริหาร ไม่มีกรมหรือส่วนราชการใดจัดไว้สำหรับทำการค้า หรือหากำไร ฉะนั้นจึงมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้สิน ที่อยู่ในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯ อันเป็นธุรกิจของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลย เมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสีย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้า หรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ฟ้องเรียกหนี้จากจำเลยโดยอ้างว่าสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นองค์การค้าส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์ จำเลยเป็นลูกจ้างของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดตำแหน่งหัวหน้ากองการค้าได้รับเงินไปจากสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดเป็นเงินทดรองค่าใช้จ่ายในการขนน้ำตาลจากต่างจังหวัดมากรุงเทพฯ อันเป็นธุรกิจของสำนักงานกลางบริษัทจังหวัดและอยู่ในหน้าที่ของจำเลย เมื่อมีเงินเหลือจำเลยต้องส่งคืน จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งเงินที่ขาดอยู่อีกเป็นเงินจำนวนหนึ่งแต่เพิกเฉยเสีย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้เงินนั้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่ได้จ่ายทดรองแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างคืนมิใช่เป็นเรื่องของการค้าหรือหากำไรกับบุคคลภายนอก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ส่วนเรื่องฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาการค้า หรือหากำไรแล้วก็ไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของลูกจ้างต่อนายจ้าง การตีความความผิดตามมาตรา 319(1) ก.ม.ลักษณะอาญา
ฟ้องโจทก์กล่าวชัดว่า จำเลยเป็นลูกจ้างยักยอกเงินของนายจ้าง ดังนี้ นายจ้างก็เป็นนายของลูกจ้าง ลูกจ้างก็เป็นคนใช้นายจ้าง ศาลต้องลงโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญา มาตรา 319(1)
(อ้างฎีกา 165/2489)
(อ้างฎีกา 165/2489)