คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายควบคุมอาคาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อถอนอาคารดัดแปลงไม่ได้รับอนุญาต ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย แต่เป็นสิทธิบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคาร
การฟ้องขอให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมโดย มิได้รับอนุญาตตามกฎหมาย มิใช่การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิด แต่มูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 หากแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่ง ฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งรื้อถอน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลย ฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่าง ไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอนกรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดี ต่อ ศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอน อาคาร ที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือ แล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับ คำสั่ง ให้ ระงับ การก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลย ต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรั้วกีดขวางทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ร่นแนวรั้วตามกฎหมาย จำเลยต้องรื้อถอน
จำเลยก่อสร้างรั้วริมซอย อันเป็นทางสาธารณะที่มีความกว้าง ไม่ถึง 6 เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่ร่นแนวรั้วให้ห่างจาก ศูนย์กลางซอย อย่างน้อย 3 เมตร จึงเป็นการ ฝ่าฝืนข้อบังคับกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 72 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21และเป็นการฝ่าฝืนที่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 42 จำเลยจึงต้องรื้อถอนรั้วดังกล่าว ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ความผิดฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. หากแต่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครอง ประโยชน์และ ความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามกฎหมายควบคุมอาคาร ไม่ใช่ละเมิด โจทก์มีสิทธิฟ้องรื้อถอนได้เสมอ
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ ความผิด ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากแต่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารสูงเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการดัดแปลงโครงสร้างอาคารที่ผิดกฎหมาย
จำเลยขออนุญาตก่อสร้างอาคารสูงสี่ชั้น แต่ทำการก่อสร้างเป็นอาคารสูงห้าชั้นเป็นการก่อสร้างเพิ่มทั้งจำนวนชั้นและความสูงของอาคาร เมื่อความสูงของอาคารเป็นส่วนที่จะต้องนำมาใช้คำนวณโครงสร้างของอาคารตามที่กฎหมายกำหนดไว้ การก่อสร้างอาคารของจำเลย จึงเป็นการเพิ่มเติมส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคารเป็นการต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งรื้อถอนอาคารและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น แม้คำสั่งไม่เป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดก็ยังถือว่ามีความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2529นายกเทศมนตรีตำบลนาสาร ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคาร ทั้งหมด แล้วให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยได้บังอาจฝ่าฝืน" ซึ่งหมายความว่า วันที่ 2 กันยายน 2529 เป็นวันที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ ดัดแปลงต่อเติมนั้น และเป็นวันที่จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้ว อีกด้วย จึงมิใช่ฟ้องที่ไม่ได้แสดงว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งในวันใดดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องของโจทก์ จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) บทบัญญัติมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดว่า คำสั่งให้รื้อถอนอาคารนั้นจะต้องเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เมื่อคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีใจความว่า จำเลยได้ต่อเติมอาคาร ด้านหลังโดยไม่มีใบอนุญาต อันเป็นการกระทำความผิดที่มีโทษ ตามกฎหมาย และให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มีลักษณะเป็นคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ถึงแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้ใช้แบบตามที่กำหนดไว้ ท้ายกฎกระทรวงก็ไม่เหตุให้ผู้ฝ่าฝืนไม่มีความผิด แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้กำหนดระยะเวลาให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงต่อเติมน้อยกว่า 30 วัน ตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 42 วรรคแรก บัญญัติไว้ก็ตาม ก็เป็นเพียงเหตุให้ไม่ต้องรื้อถอนอาคารก่อนครบกำหนด 30 วันเท่านั้น ดังนั้นการที่จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่รื้อถอน และระยะเวลาที่กฎหมาย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดไว้ล่วงพ้นไปแล้ว จำเลยยังเพิกเฉยเสีย จึงเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง จำเลย ย่อมมีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ แม้ไม่มีกำหนดอายุความ
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้
โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารขัดกฎหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้ ไม่มีกำหนดอายุความฟ้อง
จำเลยดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวพิพาทขึ้นใหม่ปกคลุมทางเดินด้านหลังอาคาร ทำให้ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า 2.00 เมตรเป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(4) ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกใบอนุญาตให้ได้ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทส่วนที่ดัดแปลงต่อเติม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่มีข้อความในมาตราใดบัญญัติว่าให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี เมื่อเจ้าพนักงานได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนตราบใดที่ยังคงฝ่าฝืนอยู่ โจทก์ฟ้องบังคับขอให้รื้อถอนได้ โจทก์ยื่นแก้อุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรื้อถอนอาคารที่ผิดกฎหมาย
การที่ ฮ. บิดาจำเลยได้ยกโครงหลังคาอาคารด้านหลังตึกแถวจากเดิม สูง 4 เมตรเป็น 6 เมตร เปลี่ยนเสากลางจากสูง 6 เมตรเป็นสูง 7 เมตร และเปลี่ยนหลังคาสังกะสีซึ่งคลุมพื้นที่ว่างด้านหลังตึกแถวเป็นหลังคากระเบื้องโดยใช้กำแพงรั้วอิฐบล็อก เดิม และก่อสร้างรั้วอิฐบล็อก โปร่ง เสริมจากรั้วอิฐบล็อก เดิม สูงขึ้นอีก 1 เมตร และใช้สังกะสีกั้นเป็นผนังต่อจากกำแพงรั้วขึ้นไปจนถึงขอบหลังคา เป็นการขยายรูปทรงและสัดส่วนของโครงสร้างอาคารและต่อเติมส่วนต่าง ๆ ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม ถือว่าเป็นการดัด แปลงอาคารตามบทบัญญัติดังกล่าวและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 76(4) เมื่อจำเลยให้ ฮ.ดัด แปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและอาคารดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทด้านหลังตึกแถวออกไปทั้งหมดได้ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 42.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารเกินร้อยละที่กฎหมายกำหนด และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
อาคารของจำเลยมีพื้นที่ทั้งหมดของห้องที่มีชั้นลอย 48ตารางเมตรมีชั้นลอยพื้นที่ 16 ตารางเมตรอยู่แล้ว จำเลยก่อสร้างเพิ่มเติมชั้นลอยอีกเท่าหนึ่งรวมเป็นเนื้อที่ 32 ตารางเมตรจึงเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ35 แล้ว
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่.
of 3