พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ราคาซื้อขายต้องเป็นไปตามราคาตลาด
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา9(1)เพียงแต่กำหนดว่าในการพิจารณาเรื่องอันเกี่ยวกับการเช่าในเขตหมู่บ้านใดให้ผู้ใหญ่บ้านแห่งหมู่บ้านนั้นเป็นกรรมการด้วยเท่านั้นฉะนั้นหากการประชุมมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดตามมาตรา18วรรคหนึ่งการประชุมก็ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่ให้โจทก์ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่ล.ขายให้ส.ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งเพราะโจทก์มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่จำเลยซื้อไว้จากส.หรือตามราคาตลาดในขณะที่มีการซื้อขายกัน แม้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2525จะบัญญัติในมาตรา56วรรคสองว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามมาตรา56วรรคหนึ่งให้เป็นที่สุดและในมาตรา58วรรคหนึ่งว่าในกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลในการพิจารณาของศาลให้ถือว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยดังกล่าวในกรณีนี้โดยอนุโลมซึ่งการพิจารณาพิพากษาดังกล่าวนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการคือพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530โดยมีบทบัญญัติในมาตรา24วรรคหนึ่งว่า"ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับข้อพิพาทนั้นหรือเป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือคำขอของคู่กรณีให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้น"และในมาตรา24วรรคสองว่า"ในกรณีที่คำชี้ขาดมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เช่นการคำนวณตัวเลขหรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลหรือทรัพย์สิ่งใดผิดพลาดไปศาลอาจแก้ไขให้ถูกต้องและมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดที่ได้แก้ไขแล้วนั้นได้"แต่ก็เห็นได้ว่าการนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลจะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของคชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้แม้การพิพากษาดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลซึ่งมิใช่เป็นการแก้ไขตามมาตรา24วรรคสองของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายที่ดิน และสิทธิในการเรียกร้องความเสียหายจากโมฆะกรรม
การที่โจทก์ตกลงยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยจำเลยชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอกแทนโจทก์มีผลเท่ากับโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา31แล้วข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113(มาตรา150ที่แก้ไขใหม่)และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิยกเอาความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172วรรคแรกที่แก้ไขใหม่การที่โจทก์มาฟ้องคดีจึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีหลังพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลตามพ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
หากโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดแต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันคชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา57วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินหกสิบวันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัยคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดจึงเป็นที่สุดตามมาตรา56วรรคสองแม้โจทก์จะฟ้องต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณะประโยชน์: การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ออกในที่ดินสาธารณะชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจังหวัดที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้การเพิกถอนคำสั่งมีผลทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินนั้นและที่ดินดังกล่าวมีราคาไม่เกิน200,000บาทต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเป็นคำขอหลักส่วนที่โจทก์จะได้สิทธิครอบครองในที่ดินเป็นผลที่ได้ตามมาจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ดินแปลงใดเป็นที่สาธารณะหรือไม่ต้องพิจารณาตามสภาพของที่ดินและการใช้ว่าเข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304หรือไม่หากโดยสภาพของที่ดินเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์แม้ทางราชการมิได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นที่หวงห้ามและมิได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่สาธารณประโยชน์ไว้ก็หาทำให้กลับไม่เป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ไปได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9199/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าอสังหาริมทรัพย์: การจดทะเบียนการเช่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลของการโอนสิทธิสัญญาเช่า
หนังสือสัญญาเช่าหนังสือการจดทะเบียนการเช่ามีข้อความว่าผู้ให้เช่าตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงเช่าตึกแถวสองชั้น(ชั้นล่างและชั้นสอง)จำนวน8คูหาพร้อมหน้าบ้านด้านหนึ่งกว้างประมาณ4เมตรอีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ6เมตรความยาวประมาณ30เมตรและตามหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าก็มีข้อความระบุไว้ในทำนองเดียวกันทั้งยังมีข้อความเพิ่มเติมว่าปลูกอยู่ในที่ดินของศ. และล. โฉนดที่1593ตามข้อความในสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนดังกล่าวเห็นได้ชัดแจ้งว่าคู่สัญญาไม่ได้ให้เช่าและเช่าที่ดินซึ่งตึกแถวปลูกอยู่จึงไม่ใช่เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในที่ดินรวมกับที่ดินดังที่บัญญัติไว้ในประมวลที่ดินมาตรา71(1)แม้ตามสัญญาเช่าระบุว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็ตามแต่บริเวณหน้าตึกแถวแม้จะไม่กล่าวถึงไว้ในสัญญาเช่าผู้เช่าก็ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ได้อยู่แล้วการที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็หาทำให้การเช่าดังกล่าวกลายเป็นการเช่าตึกแถวในที่ดินรวมกับที่ดินไม่การที่คู่สัญญาไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานเขตย่อมชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา71(2)การจดทะเบียนการเช่าจึงชอบด้วยกฎหมาย ล.เบิกความไว้ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นยอมรับว่าได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ย.เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินอื่นของตนได้และยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นอีกว่าโจทก์ยอมรับว่าได้มีการทำหนังสือมอบอำนาจโดยศ. และล.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ย.จริงเช่นนี้ก็ย่อมฟังได้ว่าศ.และล.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่ย.จริงซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ย.มีอำนาจทำกิจการเฉพาะอย่างได้หลายประการเช่นขายจำนองจำนำฯลฯรวมทั้งให้เช่าด้วยย.จึงมีอำนาจให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทได้ ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่าย.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารที่แท้จริงเท่านั้นเมื่อฟังได้ว่าย. ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารคือศ. และล.แล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นๆอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ศ. และล. ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่าย.ไม่มีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาททั้งเมื่อศ. และล.กับย.มีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่1593และตึกแถวพิพาทจนต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลในที่สุดได้มีการนำที่ดินและตึกแถวพิพาทออกขายทอดตลาดซึ่งตามประกาศการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าตึกแถวพิพาทมีการจดทะเบียนและนิติกรรมการเช่าตั้งแต่ปี2522มีกำหนด30ปีล.เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดจึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากล. ก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของล.ซึ่งมีต่อจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองซึ่งโจทก์น่าจะรู้ดีอยู่แล้วการที่โจทก์พยายามอ้างเหตุต่างๆมาฟ้องขับไล่จำเลยน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลและความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม-มรดก: สิทธิฟ้องขับไล่จำกัด, การแบ่งทรัพย์สินต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ดิน
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับจ.บิดาโจทก์โจทก์อยู่ในฐานะถือกรรมสิทธิ์แทนจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท การแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมของจ.เจ้ามรดกตลอดจนวิธีการแบ่งเป็นปัญหาในการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมายแต่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นๆมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้สำหรับคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวในส่วนที่ให้แบ่งทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86ผลต่อไปต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการอายัดที่ดินตาม ป.ก.ท. มาตรา 83: การโอนที่ดินระหว่างอายัดและผลผูกพันกับผู้ซื้อสุจริต
การอายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 มิได้บัญญัติถึงผลของการอายัดโดยชัดแจ้งว่า หากมีการโอนที่ดินไปยังบุคคลภายนอกในระหว่างอายัดแล้ว นิติกรรมการโอนไม่มีผลบังคับดังเช่นผลการอายัดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นนิติกรรมการโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ขณะที่มีคำขออายัดตามประมวลกฎหมายที่ดินยังถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมการโอนที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และทำให้นิติกรรมการโอนเสียไปและไม่มีผลผูกพัน เพราะถ้าผู้รับโอนได้รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบแล้วนิติกรรมการโอนดังกล่าวย่อมสมบูรณ์มีผลผูกพันกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6670/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า (ส.ค.1) โดยการสละการยึดถือครอบครอง สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าที่มีเพียงแบบแจ้งการครอบครองที่ดินหรือ ส.ค.1 การให้ซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงมิอาจจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการให้ในลักษณะนี้สมบูรณ์โดยการส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ จึงมิได้ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 การโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ของ ห. ตามนิติกรรมการให้ในบันทึกถ้อยคำเอกสารหมาย ล.2 เป็นเรื่องที่ ห.ผู้ให้แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทที่ ห.ยึดถือครอบครองอยู่เดิมให้แก่จำเลยที่ 1 การครอบครองของ ห.ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 วรรคแรกจำเลยที่ 1 จึงได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามบันทึกถ้อยคำดังกล่าวกรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง หรือมาตรา 9 แต่อย่างใด การสละการยึดถือครอบครองในลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย การให้ที่ดินพิพาทของห. แก่จำเลยที่ 1 จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยคนต่างด้าวผ่านคนไทยเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดตามกฎหมายที่ดินเป็นโมฆะ ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิในที่ดิน
ซ. สามีของจำเลยเป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากอ.แต่ให้ส. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน นิติกรรมการซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง ซ.กับอ.และนิติกรรมการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทของ ส.แทนซ.จึงมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 86 และมาตรา 113 ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6132/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอนตามกฎหมายเป็นโมฆะ แม้พ้นกำหนดห้ามโอน สัญญาไม่มีผลบังคับ
ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 31จำเลยจึงไม่อาจสละหรือโอนการครอบครองที่ดินตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครองให้แก่กันภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) แม้พ้นกำหนดห้ามโอนสิบปีแล้วสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็ไม่มีผลบังคับ โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย