พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อาจฎีกาได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่ แม้ฟ้องยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2533 หลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 ใช้ บังคับแล้ว โจทก์จึงฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13 เพราะการพิจารณาว่าโจทก์ฎีกาได้ หรือไม่ต้อง พิจารณาตาม กฎหมายที่ใช้ อยู่ในขณะยื่น ฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลยต้องระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่กล่าวแต่เพียงว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนในข้อใด เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำแถลงการณ์ประกอบฎีกาที่จำเลยยื่นต่อศาลฎีกา มิใช่ส่วนหนึ่งของฎีกา
คำแถลงการณ์ประกอบฎีกาที่จำเลยยื่นต่อศาลฎีกา มิใช่ส่วนหนึ่งของฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดเจน ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลยต้องระบุข้อผิดพลาดของศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยมิได้ระบุให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนในข้อใดแม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำแถลงการณ์ต่อศาลฎีกาก็ตาม คำแถลงการณ์ก็มิได้เป็นส่วนหนึ่งของฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองประกอบมาตรา 225.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิป้องกันตนเองเกินสมควรแก่เหตุ แม้เจ้าพนักงานกระทำผิดกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
แม้ พันตำรวจตรีช. กับพวกจะเป็นเจ้าพนักงานและออกมาปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อจับกุมและตรวจค้นบ้านจำเลยด้วยเหตุอันสมควรและมีหมายค้น แต่ได้ไปล้อมบ้านจำเลยและขอตรวจค้นในเวลากลางคืน ซึ่งทำไม่ได้เพราะขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองและมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย พันตำรวจตรี ช. กับพวกเข้าล้อมบ้านจำเลยในเวลากลางคืน จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะคิดว่าเป็นพวกคนร้าย และกระทำการใดๆ เพื่อป้องกันสิทธิของตนได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 แต่การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงก่อนโดยไม่ดูให้ดีเสียก่อนว่าพวกที่มาล้อมบ้านเป็นคนร้ายจริงหรือไม่ เป็นการใช้สิทธิป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ตามมาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีศาลแขวงต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงเดิมจึงไม่รับฟัง
ศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าจำเลยขาดเจตนาทุจริตโจทก์ อุทธรณ์ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา22 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2503 มาตรา 10 การที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมี เจตนาทุจริต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีของโจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว โจทก์จึงยกข้อเท็จจริงขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์โดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7 ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฎีกาโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานอื่นนอกเหนือจากที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการเพิ่มเติมโทษที่มิชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลยเมาสุราขนาดหนัก ต้องการแสดงอิทธิพลด้วยสันดานอันธพาล ไม่รู้ว่าผู้เสียหายกับพวกเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยยิงปืนใส่ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงมีเจตนาเพียงพยายามฆ่าผู้เสียหายในฐานบุคคลธรรมดา ไม่ใช่เจ้าพนักงาน
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่เพียงกระทงเดียว โจทก์มิได้อุทธรณ์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไม่รับอนุญาตและฐานเสพสุราจนเป็นเหตุให้ตนเมา ประพฤติวุ่นวาย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไม่รับอนุญาต จำคุก 6 เดือนและฐานเสพสุราจนเป็นเหตุให้ตนเมาประพฤติวุ่นวาย ปรับ 100 บาท อีก 2 กระทงด้วย ย่อมไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยโดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิตในความผิดฐานพยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่เพียงกระทงเดียว โจทก์มิได้อุทธรณ์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไม่รับอนุญาตและฐานเสพสุราจนเป็นเหตุให้ตนเมา ประพฤติวุ่นวาย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไม่รับอนุญาต จำคุก 6 เดือนและฐานเสพสุราจนเป็นเหตุให้ตนเมาประพฤติวุ่นวาย ปรับ 100 บาท อีก 2 กระทงด้วย ย่อมไม่ได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยโดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเด็กในคดีอาญา: การพิจารณาข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซึ่งมีอายุ 12 ปี มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางมีกำหนด 6 ปี แต่อย่าให้เกินกว่าจำเลยมีอายุครบ 18 ปี จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(2) โดยบิดาจำเลยขอรับตัวไปและจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล ดังนี้ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาดังกล่าวไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ทวิ(1) ถึง (4) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) ศาลฎีกายกฟ้อง
ฟ้องโจทก์ที่มิได้ลงชื่อ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(7) เป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์: ความสำคัญตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
กระบวนการไต่สวนมูลฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (12), 162, 165, 167 นั้น เป็นเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นส่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้าน จะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้อง และพิจารณาพิพากษาต่อไป
คดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นส่งรับประทับฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนนั้น ไม่ใช่การกระทำของโจทก์ จึงปราศจากข้ออ้างที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ และการที่จำเลยไม่ให้การรับสารภาพ ไม่ค้าน จะเท่ากับรับว่า คดีโจทก์มีมูลก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนมูลฟ้อง และพิจารณาพิพากษาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องมีลายมือชื่อโจทก์เอง แม้มีมอบอำนาจทนายก็ไม่สมบูรณ์
ทนายความซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นทนายโจทก์ และให้มีอำนาจ 'ดำเนินกระบวนพิจารณา ประนีประนอมยอมความ ถอนฟ้องสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา' ได้ลงลายมือชื่อในฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับคดีอาญาแทนโจทก์ เช่นนี้คำฟ้องคดีส่วนอาญาจึงเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) โจทก์ชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 163,164 จะถือว่าการที่โจทก์ได้สาบานตัวเบิกความต่อศาลยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยและในชั้นอุทธรณ์โจทก์ลงชื่อในท้ายอุทธรณ์นั้น เป็นการให้สัตยาบันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ทนายความฟ้องคดีส่วนอาญาแล้วไม่ได้