คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 บัญญัติเรื่องการปิดหมายไว้ว่า ให้ปิดคำคู่ความไว้ในที่แลเห็นได้ง่ายณ สำนักทำการงานของคู่ความนั้น การที่โจทก์ระบุที่อยู่ของจำเลยอย่างกว้าง ๆ ทั้งที่สำนักทำการงานของจำเลยมีหน่วยงานในสังกัดหลายหน่วยงานกับมีพนักงานจำนวนมากจนพนักงานเดินหมายไม่สามารถ สืบหาได้ว่าจำเลยทำงาน ณ หน่วยงานใดของการไฟฟ้านครหลวง เขตคลองเตย ทำให้จำเลยไม่มีโอกาสรู้ว่าถูกโจทก์ฟ้องและไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรู้ได้ การส่งหมายเรียกและสำเนา คำฟ้องให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเช่นนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 ทำให้ กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหา เรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยไม่ชอบนั้น เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำสั่ง ศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งใหม่ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดี การสืบพยาน และการวินิจฉัยข้อพิพาทเรื่องลายมือชื่อปลอม ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในวันชี้สองสถาน คู่ความแถลงสละข้อต่อสู้อื่น ๆ คงเหลือประเด็นว่าสัญญากู้ตามฟ้องปลอมหรือไม่ แม้จะจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้ด้วยว่าคู่ความตกลงท้ากันว่าหากศาลวินิจฉัยฟังว่าลายมือชื่อผู้กู้ปลอมโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่ปลอม จำเลยเป็นฝ่ายแพ้ ก็ไม่ใช่การท้ากันให้ศาลตัดสินคดีไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยคดีไปตามพยานหลักฐาน ฉะนั้น แม้ก่อนสืบพยานทั้งโจทก์และจำเลยต่างขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารที่มีลายมือชื่อของผู้กู้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของผู้กู้ในสัญญากู้นั้นปลอมหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้ตกลงท้ากันโดยหากผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้นดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์เสร็จแล้วส่งรายงานการ ตรวจพิสูจน์กลับคืนมาศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปให้เสร็จสิ้นกระบวนความ แล้วจึงพิพากษาคดีนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วและให้นัดฟังคำพิพากษาหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์เอกสารและส่งรายงานการตรวจพิสูจน์โดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สืบพยานโจทก์จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นเช่นนั้นแล้ว แม้โจทก์มิได้คัดค้านคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) และ(2) ศาลอุทธรณ์ไม่อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4718/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องเรื่องสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ ไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์นำรถยนต์พิพาทไปว่าจ้างจำเลยที่ 1ซ่อมแต่จำเลยที่ 1 มิได้ซ่อมแซม เมื่อโจทก์ขอรับรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ขัดขวางไม่ยอมให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่ารถยนต์พิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากโจทก์ จึงมีสิทธิป้องปัดขัดขวางไม่ให้โจทก์เอารถยนต์พิพาทไปจากอู่ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้ว่า โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทหรือได้ขายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปแล้ว เมื่อคดีไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์พิพาท การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มีสิทธิยึดรถยนต์พิพาทไว้เป็นหลักประกันเงินกู้ที่โจทก์กู้ยืมจำเลยที่ 2 ไป จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การและไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2345/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนหุ้นโดยฉ้อฉลกระทบสิทธิบุคคลภายนอก ต้องห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนการโอนหุ้นระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3และให้ดำเนินการโอนหุ้นกลับให้จำเลยที่1เป็นเจ้าของหุ้นตามเดิมแม้จำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3คบคิดกันโอนหุ้นตามคำฟ้องโดยฉ้อฉลอันทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ก็ตามแต่การให้เพิกถอนการโอนหุ้นรายนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งได้รับโอนหุ้นต่อไปเป็นทอดๆอันเป็นการบังคับคดีต่อบุคคลภายนอกซึ่งมิได้ถูกฟ้องเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ดังกล่าวข้างต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1445/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความและการคืนค่าฤชาธรรมเนียมศาล ศาลมีอำนาจพิจารณาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองนั้นเป็นคำสั่งที่อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132(2)ด้วยแม้มาตราดังกล่าววรรคแรกจะบัญญัติให้ศาลที่มีคำสั่งจำหน่ายคดีกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควรแต่ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าสมควรจะสั่งกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมหรือไม่หากศาลจะมีคำสั่งดังกล่าวคำสั่งนั้นก็ต้องไม่ขัดแย้งกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา151วรรคหนึ่งและวรรคสองซึ่งบัญญัติถึงเงื่อนไขในการคืนค่าธรรมเนียมศาลไว้โดยเฉพาะดังนี้เมื่อมาตรา151ไม่ได้กำหนดให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองประกอบด้วยมาตรา132(2)จึงไม่จำต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดภารจำยอมจากอายุความ 10 ปี ต้องบรรยายฟ้องชัดเจนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ระยะเวลา10ปีที่เจ้าของสามยทรัพย์มิได้ใช้ทางภารจำยอมจนทำให้ทางภารจำยอมส่วนพิพาทสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1399เป็นสาระสำคัญของสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์ต้องบรรยายไว้ในฟ้องโดยแจ้งชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองเมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า พ. และจำเลยมิได้ใช้ทางภารจำยอมส่วนพิพาท10ปีจนทำให้ทางภารจำยอมส่วนพิพาทสิ้นไปแม้ได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นเรื่องนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำประเด็นครอบครองปรปักษ์ แม้มีประเด็นอื่นเพิ่มเติม ศาลฎีกาพิจารณาแล้วว่าฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในคดีนี้กับพวกต่อศาลชั้นต้นขอให้แสดงกรรมสิทธิ์และเรียกทรัพย์คืนโดยอ้างว่าวันที่ 5 เมษายน 2484 บ.ด้วยความยินยอมของ จ. เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์ โดย บ.ยอมรับเอาที่ดินโฉนดเลขที่1841 กับที่ดินโฉนดเลขที่ 1842 ของโจทก์และบ. ด้วยความรู้เห็นยินยอมของ จ. ยอมให้โจทก์เข้าถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 419 พร้อมสิ่งปลูกสร้างหลังจากนั้นต่างฝ่ายต่างเข้าครอบครองโดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ใน พ.ศ. 2499 โจทก์ได้ปลูกสร้างตึกเลขที่234 สูง 5 ชั้น ชั้นล่างของตึกนี้ซึ่งปลูกอยู่ในโฉนดเลขที่419 ด้านติดถนนมหาจักรกั้นเป็นห้องเลขที่ 214/4 และได้เปลี่ยนแปลงห้องแถวไม้แต่เดิมโดยรื้อของเก่าออกแล้วปลูกเป็นตึกอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น รวม 7 คูหา โจทก์จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองและเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างที่โจทก์สร้างขึ้น ขอให้พิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่419 พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของพิพากษายกฟ้อง โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าโจทก์ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 419 เฉพาะส่วนปลูกตึก5 ชั้น และเรือนไม้เลขที่ 234 และตึกแถวเลขที่ 214/4ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 419 พร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์และขอให้เพิกถอนการโอน แม้ในคดีก่อนมีประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนที่ดินกันหรือไม่แต่ก็มีประเด็นเรื่องครอบครองปรปักษ์หรือไม่ด้วยซึ่งเป็นประเด็นเรื่องเดียวกันส่วนประเด็นเรื่องขอให้เพิกถอนนิติกรรมเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกันประเด็นครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีดังกล่าวมาฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งใหม่กับการอุทธรณ์คดีที่ดิน และลักษณะคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 2 ว่า ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 ดังนั้นจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่27 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป การยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นตั้งแต่วันที่ 27ตุลาคม 2534 เป็นต้นไปจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ด้วยแม้การยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นจะได้ยื่นก่อนที่กฎหมายใหม่จะมีผลบังคับก็หาใช่สาระสำคัญไม่ ทั้งการนำกฎหมายวิธีพิจารณาความมาใช้บังคับไม่ใช่กรณีลงโทษทางอาญา จึงไม่ต้องนำหลักกฎหมายไม่มีผลบังคับย้อนหลังมาใช้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยที่ 2 โอนที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยที่ 1 หรือโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกเอาที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ด้วยนั่นเอง ซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้ที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ทั้งกรณีตามคำฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวแต่อย่างใดคดีโจทก์จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย: พยานหลักฐานและข้อยกเว้นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880มิใช่เป็นการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัยจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา867วรรคหนึ่งและไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94เพราะมิใช่กรณีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานเอกสารคู่ฉบับหนึ่งหนังสือกรมธรรม์ประกอบพยานอื่นๆในข้อรับช่วงสิทธิเพื่อแสดงว่าโจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุได้แม้ว่าคู่ฉบับหนังสือกรมธรรม์ประกันภัยจะปิดอากรแสตมป์ไม่ครบบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา118ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิในสัญญาประกันภัย: การนำสืบพยานหลักฐานและข้อยกเว้นตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยฟัองจำเลยโดยอาศัยอำนายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880มิใช่เป็นการฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาประกันจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา867วรรคหนึ่งและไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94เพราะมิใช่กรณีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงดังนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานเอกสารคู่ฉบับหนังสือกรมธรรม์ประกอบพยานอื่นๆในข้อรับช่วงสิทธิเพื่อแสดงว่าโจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุได้แม้ว่าคู่ฉบับหนังสือกรมธรรม์ประกันภัยจะปิดอากรแสตมป์ไม่ครบบริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา118ก็ตาม
of 6