พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเงินภาษีอากรคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: คำนวณจากวันชำระอากร ไม่ใช่วันฟ้อง
พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 112 จัตวา วรรคสี่ แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่ามุ่งประสงค์จะให้ผู้มีสิทธิรับเงินอากรคืนเพราะเหตุที่ได้ชำระไว้เกินจำนวนอันพึงต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ได้รับดอกเบี้ยของเงินที่จะได้รับคืนในอัตราร้อยละ 0.625 ต่อเดือน หรือร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินที่จะได้รับคืนนับตั้งแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรนั้น หาใช่นับตั้งแต่วันฟ้องไม่กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากรโดยเฉพาะ จึงจะนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ว่าด้วยผิดนัดมาใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีนำเข้า กรณีผู้ประกอบการค้าที่ไม่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายศุลกากร และการประเมินภาษี
โจทก์ขอคืนภาษี จำเลยไม่คืนให้ ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224
บรรยายฟ้องเรียกภาษีคืนโดยใช้คำว่า เบสสต๊อค ซึ่งไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย ต้องเรียกทับศัพท์ เป็นคำที่รู้ความหมายกันในหมู่พ่อค้าน้ำมัน ไม่เคลือบคลุม
จำเลยยกอายุความลาภมิควรได้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลไม่ได้จดประเด็นข้อนี้ในการชี้สองสถาน จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลต้องชี้ขาดตามประเด็นตาม มาตรา 183 การวินิจฉัยเรื่องอายุความจึงนอกประเด็น
โจทก์สั่งเบสสต๊อคเข้ามาผสมกับสารเคมีทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นขาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าในบัญชีภาษีการค้า มาตรา 77 ซึ่งตาม มาตรา 78 วรรคสอง กับประกาศอธิบดี มาตรา 78 ทวิ(1) ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า จำเลยต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระเมื่อนำเข้าแก่โจทก์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากรและชำระภาษีการค้าในวันนำเข้าเอง ไม่ใช่ชำระภาษีการค้าตามการประเมินของเจ้าพนักงาน ไม่ถือว่ามีการประเมินในขณะโจทก์ยอมเสียภาษี ซึ่งจะทำได้ตาม มาตรา 47 หรือ 18 ทวิ จึงนำ มาตรา 30 มาบังคับไม่ได้
บรรยายฟ้องเรียกภาษีคืนโดยใช้คำว่า เบสสต๊อค ซึ่งไม่มีชื่อเป็นภาษาไทย ต้องเรียกทับศัพท์ เป็นคำที่รู้ความหมายกันในหมู่พ่อค้าน้ำมัน ไม่เคลือบคลุม
จำเลยยกอายุความลาภมิควรได้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ศาลไม่ได้จดประเด็นข้อนี้ในการชี้สองสถาน จำเลยไม่ได้คัดค้าน ศาลต้องชี้ขาดตามประเด็นตาม มาตรา 183 การวินิจฉัยเรื่องอายุความจึงนอกประเด็น
โจทก์สั่งเบสสต๊อคเข้ามาผสมกับสารเคมีทำเป็นน้ำมันหล่อลื่นขาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าในบัญชีภาษีการค้า มาตรา 77 ซึ่งตาม มาตรา 78 วรรคสอง กับประกาศอธิบดี มาตรา 78 ทวิ(1) ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้า จำเลยต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระเมื่อนำเข้าแก่โจทก์
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าพร้อมกับใบขนสินค้าตามกฎหมายศุลกากรและชำระภาษีการค้าในวันนำเข้าเอง ไม่ใช่ชำระภาษีการค้าตามการประเมินของเจ้าพนักงาน ไม่ถือว่ามีการประเมินในขณะโจทก์ยอมเสียภาษี ซึ่งจะทำได้ตาม มาตรา 47 หรือ 18 ทวิ จึงนำ มาตรา 30 มาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้าแยกส่วนและการเสียภาษี ศาลฎีกาเห็นว่าการเสียภาษีตามสภาพสินค้า ณ เวลาที่นำเข้าเป็นไปตามกฎหมาย และไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
จำเลยสั่งรถจี๊บ (ไม่มีตัวถัง) 34 คันและเครื่องอุปกรณ์จากญี่ปุ่น เสียภาษีศุลกากรสำหรับรถจี๊บร้อยละ 20 สำหรับเครื่องอุปกรณ์ร้อยละ 25 ของราคา แล้วนำมาประกอบกันเป็นรถนั่งสมบูรณ์จดทะเบียนจำหน่ายไป ซึ่งพระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2478 มาตรา 4 และบัญชีต่อท้ายระบุถึงรถไม่มีตัวถังอัตราอากรตามราคาร้อยละ 26 รถมีตัวถังหรือสมบูรณ์แล้วร้อยละ 50 ดังนี้ เมื่อจำเลยได้เสียภาษีอย่างรถไม่มีตัวถังเป็นการเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรแล้ว พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้เรียกเก็บอากรแก่สิ่งที่นำเข้ามาตามสภาพแห่งของนั้น ณ เวลาที่นำเข้า แต่ที่บัญญัติต่อไปว่า "แต่สิ่งที่สมบูรณ์แล้วหากนำเข้ามาเป็นส่วน ๆ นั้น ....... จะเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้สำหรับสิ่งนั้นเสมือนหนึ่งว่าได้นำเข้ามาโดยประกอบส่วนต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์แล้วก็ได้" นั้น มีความหมายว่า จะเรียกเก็บก็ได้ หรือจะไม่เรียกเก็บก็ได้ ฉะนั้น จำเลยจะต้องเสียอากรเสมือนสิ่งสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อถูกเรียกเก็บ เมื่อยังไม่ถูกเรียกเก็บจำเลยก็ยังไม่ต้องรับผิดชอบเสียอากรเสมือนสิ่งที่สมบูรณ์ เมื่อจำเลยยังไม่ต้องรับผิดเสียอากร ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยหลีกเลี่ยงไม่เสียภาษี
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่เป็นอำนาจของศาล
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2509)
พระราชบัญญัติพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2479 มาตรา 6 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรอีกชั้นหนึ่ง ที่จะพิจารณาเรียกเก็บภาษี แต่มิใช่เป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีฯ เป็นผู้พิจารณาและชี้ขาดว่าการนำสิ่งของเข้ามาเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเป็นความผิดพระราชบัญญัติศุลกากรหรือไม่ การพิจารณาและชี้ขาดว่าผู้ใดทำผิดและถูกลงโทษหรือไม่เป็นอำนาจของศาล
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 29/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนของกลางตามคำพิพากษาศาล และการพิสูจน์ตัวตนเจ้าของสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร
ในคดีกระทำผิดพระราชบัญญัติศุลกากร เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนสินค้าของกลางแก่ผู้ร้องแล้ว ถ้ากรมศุลกากรไม่มีเหตุโต้แย้งก็จะต้องคืนให้ตามคำพิพากษา แต่กรมศุลกากรโต้แย้งอยู่ว่า ผู้ร้องมิใช่นายเบ๊หรือจือเฮ้าตัวจริง เพราะตัวจริงตายไปนานแล้วตามมรณบัตร และโต้แย้งด้วยว่า ตั้งแต่กรมศุลกากรจับยึดสินค้ารายนี้แล้ว ไม่มีผู้ใดมาขอคืนในกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขฉบับที่ 12 พ.ศ.2497 มาตรา 3 ผู้ร้องจึงชอบที่จะว่ากล่าวเอาเองเป็นคดีแพ่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคสอง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อค่าภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้มีกฎหมายยกเว้นเจตนาในการกระทำ
ตามความในบทบัญญัติของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 นั้น หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดที่จะต้องกระทำ "โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี" ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 นั้น ให้สิ้นไปไม่ เพราะในมาตรา 16 หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้น ยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 27 นั้นอยู่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2503)
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้ตรวจรายละเอียดในแบบพิมพ์เพราะถือว่าเป็นของส่วนตัว แต่ไม่ได้ความว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล จำเลยยังไม่มีความผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2503)
จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้ตรวจรายละเอียดในแบบพิมพ์เพราะถือว่าเป็นของส่วนตัว แต่ไม่ได้ความว่าจำเลยมีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล จำเลยยังไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าเงินตราต่างประเทศเกินกำหนดและผลทางกฎหมายการริบของกลาง
เงินตราต่างประเทศ ที่เกินกว่า 1000 บาท ซึ่งจำเลยพยายามนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร 2469และตามมาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่ 9)2482 ด้วย จึงเป็นของต้องริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่9) พ.ศ.2482 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกน้ำมันพืชโดยไม่แสดงรายการและการยึดของกลาง ศาลฎีกาพิพากษายึดของกลางไว้จนกว่าจะถูกต้องตามกฎหมาย
การส่งของชนิดที่ไม่ต้องห้ามและไม่ต้องเสียภาษีออกนอกราชอาณาจักร โดยไม่ได้แสดงรายการของที่ส่งและไม่หยุดให้เจ้าพนักงานตรวจ เป็นผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร 2480 มาตรา 8 และ มาตรา 11 แต่ไม่เป็นผิด พระราชบัญญัติศุลกากร2469 มาตรา 27 ของเช่นนี้ศาลให้ยึดไว้จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามกฎหมาย จะริบไม่ได้
เดิมมีพระราชกฤษฎีกาห้ามส่งน้ำมันพืชออกนอกราชอาณาจักรต่อมามีฉบับใหม่ยกเลิกฉบับเก่าและไม่มีข้อห้ามส่งน้ำมันพืช ดังนี้ ถือว่ามีกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
เมื่อความผิดที่ศาลลงโทษไม่มีการริบทรัพย์แล้ว ก็จ่ายเงินสินบนหรือรางวัลตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้คืนของกลางให้ผู้ร้อง โจทก์ฎีกาขอให้ริบ แต่ไม่ได้บรรยายข้อที่ควรริบมาในฎีกาเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เดิมมีพระราชกฤษฎีกาห้ามส่งน้ำมันพืชออกนอกราชอาณาจักรต่อมามีฉบับใหม่ยกเลิกฉบับเก่าและไม่มีข้อห้ามส่งน้ำมันพืช ดังนี้ ถือว่ามีกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า จึงลงโทษจำเลยไม่ได้
เมื่อความผิดที่ศาลลงโทษไม่มีการริบทรัพย์แล้ว ก็จ่ายเงินสินบนหรือรางวัลตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดไม่ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้คืนของกลางให้ผู้ร้อง โจทก์ฎีกาขอให้ริบ แต่ไม่ได้บรรยายข้อที่ควรริบมาในฎีกาเลยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเลื่อยโซ่ยนต์โดยไม่ได้รับอนุญาตในช่วง 90 วันแรกของ พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางอาญาและไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายศุลกากร
พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 4 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมี ผลิต หรือนำเข้าเลื่อยโซ่ยนต์ เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์" ส่วนมาตรา 14 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ผู้ใดมีเลื่อยโซ่ยนต์อยู่ในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ถ้ามาขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับผู้นั้นไม่มีความผิดตามมาตรา 4 และให้นายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ออกใบอนุญาตให้มีเลื่อยโซ่ยนต์แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตนั้น เว้นแต่จะขาดคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ. นี้" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ให้ผู้ซึ่งปฏิบัติตามวรรคหนึ่งไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า" โดย พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2545 มีเจตนารมณ์ให้ผู้ที่มีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย นำมาขอรับใบอนุญาต เพื่อควบคุมการมีไว้ในครอบครองและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการเพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า และในขณะเดียวกันไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพที่ต้องใช้เลื่อยโซ่ยนต์โดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 จำเลยที่ 1 มีเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ยังอยู่ในระยะเวลา 90 วัน นับแต่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากนายทะเบียนเลื่อยโซ่ยนต์ได้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับประโยชน์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง และไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ตามมาตรา 14 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5097/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าภายใต้ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 และ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560
จำเลยมีหน้าที่ต้องรับผิดในส่วนเงินเพิ่มตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น เมื่อคดีนี้จำเลยนำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2553 ความรับผิดชำระอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าฉบับดังกล่าว จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มีผลใช้บังคับอยู่ โดย พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มาตรา 112 จัตวา มิได้บัญญัติว่าเงินเพิ่มอากรขาเข้าจะต้องไม่เกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ดังนี้ เมื่อจำเลยชำระอากรขาเข้าไม่ครบถ้วน โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าได้โดยไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องไม่เกินอากรขาเข้าที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น แม้ต่อมาวันที่ 13 พ.ย. 2560 จะได้มี พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ใช้บังคับและให้ยกเลิก พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 โดย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 22 บัญญัติว่า "...โดยเงินเพิ่มที่เรียกเก็บนี้ต้องไม่เกินอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม..." เป็นผลให้โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเฉพาะส่วนที่เกินอากรขาเข้านับแต่วันที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับแล้วได้อีกต่อไปก็ตาม แต่ก็มิได้เป็นการลบล้างความรับผิดชำระเงินเพิ่มที่เกิดขึ้นแล้วตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ดังนั้น โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มแม้จะเกินอากรขาเข้าได้จนถึงวันที่ 12 พ.ย. 2560 ส่วนนับแต่วันที่ 13 พ.ย. 2560 หากเงินเพิ่มยังไม่เท่าอากรขาเข้าตามการประเมิน โจทก์ที่ 1 ยังคงมีสิทธิคำนวณเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจำนวนเงินเพิ่มจะเท่าจำนวนอากรขาเข้าตามการประเมินดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 ดังกล่าว เมื่อพิจารณาแบบแจ้งการประเมิน/เรียกเก็บอากรขาเข้า/ขาออก ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ๆ (กรณีอื่น ๆ) เงินเพิ่มอากรขาเข้าคำนวณถึงวันที่ 12 พ.ย. 2560 ซึ่งเป็นวันก่อนวันที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับ ยังไม่เกินกว่าจำนวนอากรที่ต้องเสียเพิ่ม โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจำนวนเงินเพิ่มจะเท่ากับอากรขาเข้าตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มอากรขาเข้าเกินกว่าอากรขาเข้าหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4728/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้า ไนโตรเซลลูโลส และการคำนวณเงินเพิ่มอากรตามกฎหมายศุลกากร
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง และ พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ประเภทที่ 13 ยุทธภัณฑ์ที่จะได้รับการยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภทที่ 13 ต้องเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการเป็นสำคัญ ดังนั้น การจะพิจารณาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามใบขนสินค้าพิพาทเป็นยุทธภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 13 หรือไม่ นั้น จะต้องพิจารณาในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จว่าโจทก์นำเข้าสินค้าในลักษณะที่เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการหรือไม่ เมื่อสินค้าพิพาทเป็นส่วนประกอบที่จะต้องนำไปผลิตอาวุธ (กระสุนปืน) เสียก่อนแล้วจึงนำมาขายหรือจำหน่ายให้กับส่วนราชการเพื่อนำไปใช้อีกทอดหนึ่ง โดยในขณะเกิดความรับผิดทางภาษี (Tax Point) หรือขณะยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 นั้น ของที่นำเข้ายังไม่เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการซึ่งส่วนราชการเป็นผู้มีสิทธิใช้ยุทธภัณฑ์นั้นแต่อย่างใด ดังนั้น สินค้าพิพาทจึงไม่ได้รับยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภทที่ 13
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทมีการเติมสาร Diphenylamine ที่เป็น Stabilizer และ Diethyl Ether ซึ่งทำให้เกิดการระเบิดได้ ทำให้มีคุณสมบัติของดินขับในประเภทพิกัด 36.01 ซึ่งเป็นประเภทพิกัดที่เฉพาะเจาะจงกว่า สินค้าพิพาทจึงไม่ใช่ไนโตรเซลลูโลสกึ่งสำเร็จรูปที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบตามประเภทพิกัด 39.12 ประเภทย่อย 3912.20.11 ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ข้อ 1 และข้อ 6
โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดในส่วนเงินเพิ่มตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น เมื่อคดีนี้โจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาททั้งสองฉบับเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553 และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 และโจทก์นำของออกไปจากอารักขาของศุลกากร ความรับผิดอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าทั้งสองฉบับดังกล่าว จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิคำนวณเรียกเงินเพิ่มส่วนที่เกินอากรขาเข้าได้จนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ส่วนนับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 หากเงินเพิ่มยังไม่เท่าอากรขาเข้าตามการประเมิน จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิคำนวณเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจำนวนเงินเพิ่มจะเท่าจำนวนอากรขาเข้าตามการประเมินดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 22 คดีนี้ ปรากฏว่าเงินเพิ่มที่โจทก์ต้องชำระนับถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ยังไม่เกินอากรที่ต้องเสียเพิ่ม โจทก์จึงต้องรับผิดชำระจนกว่าจะเท่าจำนวนอากรที่ต้องเสียเพิ่ม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้าพิพาทมีการเติมสาร Diphenylamine ที่เป็น Stabilizer และ Diethyl Ether ซึ่งทำให้เกิดการระเบิดได้ ทำให้มีคุณสมบัติของดินขับในประเภทพิกัด 36.01 ซึ่งเป็นประเภทพิกัดที่เฉพาะเจาะจงกว่า สินค้าพิพาทจึงไม่ใช่ไนโตรเซลลูโลสกึ่งสำเร็จรูปที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบตามประเภทพิกัด 39.12 ประเภทย่อย 3912.20.11 ตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้าย พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ข้อ 1 และข้อ 6
โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดในส่วนเงินเพิ่มตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้น เมื่อคดีนี้โจทก์นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพิพาททั้งสองฉบับเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553 และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2555 และโจทก์นำของออกไปจากอารักขาของศุลกากร ความรับผิดอากรขาเข้าตามใบขนสินค้าขาเข้าทั้งสองฉบับดังกล่าว จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิคำนวณเรียกเงินเพิ่มส่วนที่เกินอากรขาเข้าได้จนถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ส่วนนับแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 หากเงินเพิ่มยังไม่เท่าอากรขาเข้าตามการประเมิน จำเลยที่ 1 คงมีสิทธิคำนวณเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจำนวนเงินเพิ่มจะเท่าจำนวนอากรขาเข้าตามการประเมินดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 22 คดีนี้ ปรากฏว่าเงินเพิ่มที่โจทก์ต้องชำระนับถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ยังไม่เกินอากรที่ต้องเสียเพิ่ม โจทก์จึงต้องรับผิดชำระจนกว่าจะเท่าจำนวนอากรที่ต้องเสียเพิ่ม