คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายอิสลาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยสถานะทรัพย์สิน (มรดก) ต้องใช้กฎหมายทั่วไป ไม่ใช่กฎหมายอิสลาม
คดีมรดกของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกบังคับแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น เมื่อเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกหรือไม่ ในการวินิจฉัยเช่นนี้จะนำกฎหมายตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้บังคับหาได้ไม่
( อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1203/2494 )
----------------------------------------
โจทก์ฟ้องใจความว่า โจทก์จำเลยต่างเป็นทายาทของเจ้ามรดกและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกอันมีที่ดินและบ้านตามกฎหมายอิสลาม นางแวบูงอมารดาจำเลยกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญายอมแบ่งปันมรดกดังกล่าวออกเป็นส่วนสัดตามสิทธิของทายาทแต่ละคนและตามลัทธิศาสนาอิสลามแล้ว ต่อมามารดาจำเลยตาย โจทก์เรียกร้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์ตามที่มารดาจำเลยได้ทำสัญญาไว้ จำเลยไม่ยอมแบ่งให้ โจทก์จำเลยเป็นชาวไทยนับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดปัตตานี และเจ้ามรดกก็นับถือศาสนาอิสลาม ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งมีราคา 104,000 บาท ตามสัญญายอมให้แก่โจทก์คิดเป็นเงิน 72,000 บาท นอกนั้นตกเป็นของจำเลย ถ้าแบ่งไม่ได้ให้ประมูลระหว่างทายาท หากประมูลไม่ได้ให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งตามส่วน
จำเลยทั้งสี่ให้การใจความว่า นางแวบูงอมารดาจำเลยและจำเลยทุกคนไม่เคยยินยอมแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ดังฟ้อง ไม่เคยลงลายมือชื่อในหนังสือแบ่งทรัพย์ หากจะฟังว่านางแวบูงอได้ทำสัญญาตามฟ้องไว้จริงก็เป็นเรื่องถูกบังคับให้ลงชื่อในขณะที่ป่วยสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ หนังสือสัญญานั้นใช้ไม่ได้ตามกฎหมายขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และขัดต่อความสงบเรียบร้อย จำเลยไม่เคยตกลงจะแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ตามฟ้อง จำเลยทั้งสี่ครอบครองทรัพย์ดังกล่าวร่วมกันมา โจทก์ทั้งหลายไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกทั้งหมด คดีนี้ไม่ใช่คดีมรดก และคดีโจทก์ขาดอายุความ
ในวันชี้สองสถานคู่ความรับกันว่า ทรัพย์มรดกที่พิพาทมีที่ดิน 6 แปลง เป็นที่มีโฉนด 3 แปลง และมี ส.ค.1 3 แปลง ล้วนเป็นชื่อนางแวบูงอทั้งหมด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า
1. ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่
2. ทรัพย์ที่พิพาทเป็นมรดกร่วมกันระหว่างพวกโจทก์และนางแวบูงอกับจำเลย ซึ่งจะต้องแบ่งให้โจทก์และแบ่งตามสัญญายอมหรือไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงยังไม่ขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และเชื่อว่าทายาทของนางซีตีฮาวอได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 2510 และ 2511 ตามเอกสารหมาย จ.1 จริง กรณีไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ดังจำเลยต่อสู้ ข้อพิพาทสำหรับที่ดินอีก 4 แปลงคือที่ดินโฉนดเลขที่ 2512 และที่มี ส.ค.1 นั้น ข้อนี้ดะโต๊ะยุติธรรมชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายอิสลามว่าเป็นเรื่องการฟ้องขอแบ่งมรดก แต่ละฝ่ายจะต้องมีพยานนอกจากตัวความมาสืบอย่างน้อยเป็นผู้ชาย 2 คน หรือผู้หญิง 4 คน หรือผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 2 คน จึงจะรับฟังได้ ฝ่ายจำเลยมีพยานมาสืบไม่ครบจึงรับฟังไม่ได้ตามกฎหมายอิสลาม ต้องฟังตามพยานโจทก์ว่า มีมรดกที่จะต้องแบ่งให้โจทก์อีก 4 แปลงตามส่วนสัดที่บัญญัติไว้ในกฎหมายอิสลาม แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเห็นว่า การที่จะรับฟังพยานได้หรือไม่นั้นเป็นเรื่องกฎหมายลักษณะพยาน ไม่ใช่เรื่องครอบครัวและมรดก จะยกเอากฎหมายอิสลามมาบังคับในการรับฟังพยานไม่ได้ ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาร ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 3 และ 4 ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงว่าที่พิพาท 4 แปลงนอกเหนือจากสัญญายอมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของนางแวบูงอ พิพากษาให้แบ่งที่ดินมรดก 2 แปลงให้แก่โจทก์ ถ้าไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความหรือแบ่งกันเองไม่ได้ ก็ให้ประมูลราคาระหว่างกันเองหรือขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งกัน ข้อเรียกร้องของโจทก์นอกจากนี้ให้ยกเสีย
โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ โจทก์อุทธรณ์ว่าที่พิพาท 4 แปลง เป็นมรดกซึ่งทายาทครอบครองร่วมกันมา จำเลยอุทธรณ์ว่าหนังสือแบ่งทรัพย์ตามเอกสาร จ.1 ทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และคดีโจทก์ขาดอายุความ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์และจำเลยฎีกา
ศาลฎีกาฟังว่าสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกใช้บังคับได้ และที่ดินพิพาท 4 แปลงนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวไม่ใช่มรดกของเจ้ามรดก และวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่า ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าคดีนี้เป็นเรื่องมรดก ศาลจะต้องฟังตามคำวินิจฉัยของดะโต๊ะยุติธรรมนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าทรัพย์ใดเป็นมรดกหรือไม่ และการวินิจฉัยเช่นนี้จะนำกฎหมายตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้บังคับแก่กรณีหาได้ไม่ ดังที่ศาลฎีกาได้เคยพิพากษาไว้ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1203/2494 ระหว่างนางแวสะลาเมาะ โจทก์ นายแวซง บินฮาวาแด จำเลย ฎีกาโจทก์ฟังไม่ขึ้นเช่นเดียวกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมสมควรให้เป็นพับ.
(ชลอ จามรมาน - เฉลิม กรพุกกะณะ - พิสัณห์ ลีตเวทย์)
ศาลจังหวัดปัตตานี - นายเคียง บุญเพิ่ม
ศาลอุทธรณ์ - นายมงคล วัลยะเพ็ชร์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมรดกอิสลาม: การพิจารณาคดีโดยมีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมกับผู้พิพากษาชอบด้วยกฎหมาย
การตั้งผู้จัดการมรดกของอิสลามศาสนิกก็เพื่อจะให้ผู้นั้นเข้าไปมีอำนาจหน้าที่จัดการรวบรวมและแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายให้เป็นไปตามกฎหมายอิสลาม ฉะนั้น คดีพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องตั้งผู้จัดการมรดก นับได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องมรดก คดีชนิดนี้จึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้น ให้มีดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา แต่เนื่องจากดะโต๊ะยุติธรรมประจำศาลยื่นคำร้องขอถอนตัวเพราะเป็นญาติกับโจทก์จำเลย และเคยเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้มาแล้ว โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงเลือกนายอำนวยซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกปฏิบัติหน้าที่แทนดะโต๊ะยุติธรรมเฉพาะคดีตามมาตรา 5 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาคดีโดยให้ดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษาจึงเป็นการชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029-1030/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีมรดกของอิสลาม: ดะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณาเฉพาะข้อกฎหมายอิสลาม, ประเด็นอื่นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีดะโต๊ะฯ
ข้อที่โจทก์ฟ้องว่าได้ครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัด เมื่อศาลมิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นข้อพิพาท และคู่ความมิได้โต้แย้งย่อมเป็นอันระงับไม่มีข้อพิพาท
คดีแพ่งระหว่างอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดนราธิวาส ใช้กฎหมายอิสลามบังคับเฉพาะแต่กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกซึ่งใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นซึ่งต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา และดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาด้วยนั้น หมายถึงเฉพาะลงลายมือชื่อในคำพิพากษาที่พิพากษาตามคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
คดีมีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและไม่เกี่ยวปะปนกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษามาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมร่วม ย่อมไม่ชอบเฉพาะแต่ข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่น ซึ่งมิใช่ข้อกฎหมายอิสลาม เพราะกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นข้ออื่นหาเสื่อมเสียไม่ ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็จข้ออื่นแล้วคดียังไม่ยุติ ยังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามกฎหมายอิสลามต่อไป จึงจำเป็นที่การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นในประเด็นดังกล่าวต้องดำเนินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ
เมื่อศาลอุทธรณ์ด่วนยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่วินิจฉัยประเด็นข้ออื่น ซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ตามแนวข้อวินิจฉัยของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029-1030/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีมรดกของอิสลาม: การมีส่วนร่วมของดะโต๊ะยุติธรรม, ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายอิสลาม, และประเด็นข้อพิพาทที่ระงับ
ข้อที่โจทก์ฟ้องว่าได้ครอบครองที่พิพาทเป็นส่วนสัดเมื่อศาลมิได้ยกขึ้นเป็นประเด็นข้อพิพาท และคู่ความมิได้โต้แย้งย่อมเป็นอันระงับไม่มีข้อพิพาท
คดีแพ่งระหว่างอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดนราธิวาส ใช้กฎหมายอิสลามบังคับเฉพาะแต่กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกซึ่งใช้บังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นซึ่งต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมหนึ่งนายนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา และดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาด้วยนั้น หมายถึงเฉพาะลงลายมือชื่อในคำพิพากษาที่พิพากษาตามคำวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
คดีมีประเด็นข้อพิพาททั้งที่เกี่ยวกับข้อกฎหมายอิสลามและไม่เกี่ยวปะปนกัน เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษามาโดยไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมร่วม ย่อมไม่ชอบเฉพาะแต่ข้อพิพาทที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทอื่น ซึ่งมิใช่ข้อกฎหมายอิสลาม เพราะกระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในประเด็นข้ออื่นหาเสื่อมเสียไม่ ต่อเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นแล้วคดียังไม่ยุติ ยังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามกฎหมายอิสลามต่อไป จึงจำเป็นที่การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นในประเด็นดังกล่าวต้องดำเนินตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ
เมื่อศาลอุทธรณ์ด่วนยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยไม่วินิจฉัยประเด็นข้ออื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่ตามแนวข้อวินิจฉัยของศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1769/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือนาซาร์: พินัยกรรมภายใต้กฎหมายอิสลาม ผลย้อนหลังและการแบ่งมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรม (นาซาร์) ปรารถนาจะให้ทรัพย์แก่โจทก์เมื่อตาย และโจทก์ยังไม่ได้ทรัพย์นั้นโดยการครอบครอง ทรัพย์นั้นยังคงเป็นของผู้ตายอยู่จนกระทั่งตาย และเป็นทรัพย์มรดกที่จะแบ่งปันตามกฎหมายอิสลาม (โจทก์จำเลยและผู้ตายเป็นอิสลามศาสนิก และ เป็นคดีของศาลจังหวัดปัตตานี) เมื่อทรัพย์นั้นเป็นมรดกดะโต๊ะยุติธรรมต้องใช้กฎหมายอิสลามมาปรับแก่คดี
เจ้ามรดกทำหนังสือนาซาร์ไว้ หนังสือนี้เป็นพินัยกรรมหรือไม่ การแบ่งมรดกจะต้องแบ่งตามหนังสือนาซาร์หรือจะตกได้แก่ทายาท เป็นเรื่องของกฎหมายอิสลาม ดะโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลาม
เมื่อดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยว่าหนังสือนาซาร์นี้เป็นพินัยกรรมมีผลเมื่อผู้ทำยกให้ตายแล้วแต่มิใช่พินัยกรรมธรรมดาที่เรียกว่า "วาซียะ" เพราะผลนั้นย้อนหลังไปถึงวันที่กำหนดคือ ก่อนเจ็บตาย 3 วัน ซึ่งเป็นอำนาจของพินัยกรรมชนิดนี้ตามกฎหมายอิสลามก็ต้องเป็นไปตามนั้นและคำวินิจฉัยย่อมเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นการยกให้โดยมองผลย้อนหลังไม่ได้ เพราะหนังสือนี้มีผลเมื่อผู้ทำตาย จึงไม่เป็นการยกให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรดกอิสลาม: ศาลต้องใช้กฎหมายอิสลาม & ให้คะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามในเขตปัตตานี
การวินิจฉัยคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกในศาลจังหวัดปัตตานี ซึ่งศาลชั้นต้นต้องใช้กฎหมายอิสลามและต้องให้คะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามนั้น หากศาลชั้นต้นปฏิบัติไม่ถูกต้อง ศาลสูงก็มีอำนาจยกคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่ได้
ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามได้ เพราะถ้ามีคำวินิจฉัยชี้ขาดของคะโต๊ะยุติธรรมในข้อกฎหมายอิสลามมาโดยถูกต้องแล้ว ย่อมเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยมรดกอิสลาม: ศาลต้องใช้กฎหมายอิสลามและดะโต๊ะยุติธรรมชี้ขาด หากศาลล่างผิดพลาด ศาลฎีกายกคำพิพากษาให้พิจารณาใหม่
การวินิจฉัยคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกในศาลจังหวัดปัตตานีซึ่งศาลชั้นต้นต้องใช้กฎหมายอิสลามและต้องให้ดะโต๊ะยุติธรรมวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามนั้น หากศาลชั้นต้นปฏิบัติไม่ถูกต้อง ศาลสูงก็มีอำนาจยกคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียให้ถูกต้องแล้วพิพากษาใหม่ได้
ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อกฎหมายอิสลามได้ เพราะถ้ามีคำวินิจฉัยชี้ขาดของดะโต๊ะยุติธรรมในข้อกฎหมายอิสลามมาโดยถูกต้องแล้ว ย่อมเป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีมรดกอิสลามในเขตปัตตานี ต้องมีตะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณา หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย ศาลสูงมีอำนาจให้พิจารณาใหม่ได้
คดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องมรดกที่โจทก์จำเลยต่างนับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตต์จังหวัดปัตตานี นั้น ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี ฯ พ.ศ.2489 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามบังคับและในศาลชั้นต้นให้ตะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา แต่ถ้ามีการพิจารณาคดีนั้นไปโดยมิได้มีตะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาร่วมด้วยผู้พิพากษาแล้ว ศาลสูงก็มีอำนาจที่ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีเสียใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่จำต้องยกฟ้องโดยให้ไปฟ้องใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีมรดกในจังหวัดปัตตานีตามกฎหมายอิสลาม หากไม่มีดะโต๊ะยุติธรรมร่วมพิจารณา ศาลสูงมีอำนาจให้พิจารณาใหม่ได้
คดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องมรดกที่โจทก์จำเลยต่างนับถือศาสนาอิสลามและอยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นั้น ตามพระราชบัญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีฯ พ.ศ.2489 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามบังคับและในศาลชั้นต้นให้ดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาพร้อมด้วยผู้พิพากษา แต่ถ้ามีการพิจารณาคดีนั้นไปโดยมิได้มีดะโต๊ะยุติธรรมนั่งพิจารณาร่วมด้วยผู้พิพากษาแล้ว ศาลสูงก็มีอำนาจที่ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีเสียใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมายไม่จำต้องยกฟ้องโดยให้ไปฟ้องใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยหนังสือนาซาและการเป็นมรดก: การพิจารณาตามกฎหมายแพ่งและกฎหมายอิสลาม
คดีมรดกของผู้ถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของจังหวัดปัตตานี,นราธิวาส,ยะลาและสตูลนั้น ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกบังคับแทน ป.ม.กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ในการที่จะพิจารณาวินิจฉัยว่าทรัพย์อะไรเป็นมรดกหรือไม่นั้น จะต้องใช้ ป.ม.กฎหมายแพ่งและพาณิชบังคับเสียก่อน
ผู้ตายทำหนังสือ (นาซา) ยกที่ดินให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ตาม ก.ม.อิสลามมีว่าการให้ด้วยหนังสือนาซานี้ใช้ได้ที่ดินไม่เป็นมรดกต่อไปตามกฎหมายอิสลามไม่แบ่งมรดกก็ตาม แต่ปรากฎว่าการยกให้ไม่ถูกแบบตาม ป.ม.แพ่ง ฯ เพราะไม่ได้จดทะเบียนที่ดิน จึงยังเป็นของผู้ตายอยู่ในเวลาตายจึงต้องถือตาม ป.ม.แพ่ง ฯ ว่าที่ดินนี้ยังเป็นมรดกของผู้ตายอยู่
of 4