คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายเฉพาะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 107 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7592/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและวิธีพิจารณาคดีอาญาที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 ได้บัญญัติวิธีดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีของศาลแขวงไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 มาใช้บังคับได้ ศาลชั้นต้นบันทึกคำฟ้อง คำรับสารภาพ และคำพิพากษาในบันทึกฉบับเดียวกันและอ่านให้คู่ความฟังในวันเดียวกัน จำเลยที่ 1 ที่ 2 รวมทั้งโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็ลงชื่อทราบไว้โดยไม่มีฝ่ายใดโต้แย้งว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้วจึงรับสารภาพ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงาน: พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 17 ใช้บังคับเฉพาะ คดีนี้คำพิพากษาชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 17 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดองค์คณะผู้พิพากษาในคดีแรงงานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2477 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลแรงงานกลางพิพากษาคดีนี้ ที่บัญญัติเรื่ององค์คณะของผู้พิพากษาในคดีทั่วไปมาใช้บังคับและคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางคดีนี้ ผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อครบทั้งสามคนแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาคดีแรงงาน: พ.ร.บ.ศาลแรงงานฯ มาตรา 17 มีผลเหนือกว่าพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 17 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดองค์คณะผู้พิพากษาในคดีแรงงานไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่นำพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ.2477 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติเรื่ององค์คณะของผู้พิพากษาในคดีทั่วไปมาใช้บังคับ และคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางคดีนี้ มีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบทั้งสองฝ่ายได้ลงลายมือชื่อครบทั้งสามคนแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทดแทนตามรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ การดำเนินการใดๆ ต้องรอการตรากฎหมายรองรับ
ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับเงินค่าทดแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุด จำเลยจึงยกขึ้นฎีกาไม่ได้ ทั้งไม่อาจถือว่าการยื่นฎีกาเป็นการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ของจำเลย
สิทธิของบุคคลที่จะได้รับค่าทดแทนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 246 ย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อยังไม่มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกบังคับใช้ สิทธิดังกล่าวจะต้องด้วยเงื่อนไขของกฎหมายหรือไม่ และจะมีวิธีการดำเนินการอย่างไร ย่อมไม่อาจมีผู้ใดกำหนดขึ้นได้จนกว่าจะมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายรองรับ ทั้งกรณีนี้มิใช่คดีแพ่ง จึงไม่อาจนำกฎหมายอื่นมาใช้ในลักษณะของกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลแรงงานเกี่ยวกับการพิจารณาใหม่และการวางหลักประกันต้องเป็นไปตามกฎหมายเฉพาะและให้โอกาสคู่ความคัดค้าน
การขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงต้องบังคับไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ต่อศาลแรงงานว่ามิได้จงใจขาดนัด แต่เป็นเพราะจำเลยไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่คิดว่าโจทก์จะฟ้องจำเลย เนื่องจากก่อนมีการเลิกจ้างได้มีการตกลงเป็นที่เข้าใจกันแล้ว ถือได้ว่าจำเลยได้อ้างถึงความจำเป็นที่ไม่ได้มาศาลแล้ว เมื่อคำร้องของจำเลยได้ยื่นต่อศาลแรงงานกลางภายในกำหนด เจ็ดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบคำบังคับ คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 แล้ว ศาลแรงงานต้องรับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไว้ดำเนินการ ไต่สวนต่อไป
คำร้องขอของจำเลยที่นำที่ดินมาวางเป็นประกันการทุเลาการบังคับคดีและให้ถอนการอายัดเงิน เป็นคำร้องที่ ป.วิ.พ. มิได้บัญญัติไว้ว่าให้ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) บัญญัติห้ามมิให้ศาลทำคำสั่งในเรื่องนั้น โดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้านก่อน การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้รับที่ดินหลักประกันของจำเลยและ ให้ถอนการอายัดเงินตามคำร้องขอของจำเลย โดยมิได้ให้โอกาสแก่โจทก์โต้แย้งคัดค้านเสียก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมาย ดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับคดี: ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เป็นกฎหมายเฉพาะเหนือกว่า ป.พ.พ. มาตรา 213
โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6590/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางต้องมีโทษตามกฎหมายเฉพาะ หากไม่มีโทษ ศาลต้องริบตามกฎหมายอาญา
การริบวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 116 นั้น จะต้องเป็นกรณีมีการลงโทษตามมาตรา 89มาตรา 90 มาตรา 98 มาตรา 99 มาตรา 140 หรือ มาตรา 101แต่คดีนี้ศาลพิพากษายกฟ้องจึงไม่อาจริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่ให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้น วินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงานต้องห้ามตามกฎหมาย และศาลแรงงานมีอำนาจกำหนดหน้าที่นำสืบพยาน
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโจทก์ได้ถูกจำเลยเลิกจ้างแล้วเพราะเหตุละทิ้งหน้าที่ต้นแต่วันที่24ตุลาคม2538เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าศาลแรงงานพิพากษาไม่ชอบเนื่องจากไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควรหรือไม่ซึ่งในปัญหานี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่24ตุลาคม2538เป็นต้นมาโดยโจทก์สมัครใจเลิกเป็นลูกจ้างของจำเลยเองจำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์ดังนี้อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54 การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบในคดีแรงงานไม่จำต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา39วรรคหนึ่งและการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดในคดีแรงงานนำพยานมาสืบก่อนหรือหลังนั้นเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลแรงงานโดยเฉพาะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน & อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายเฉพาะ
คำฟ้องโจทก์ระบุโดยแจ้งชัดว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่2ในฐานะผู้ว่าราชการจำเลยที่1ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเวนคืนที่ดินของโจทก์และเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนที่ดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนฯพ.ศ.2531โดยระบุเน้นให้รู้ว่าในขณะนั้นจำเลยที่2ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจำเลยที่1คำฟ้องโจทก์มิได้บ่งบอกว่าโจทก์ประสงค์จะฟ้องจำเลยที่2ให้รับผิดเป็นการส่วนตัวแต่ประการใดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ในฐานะผู้ว่าราชการจำเลยที่1 ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์อยู่ในทำเลที่เจริญการคมนาคมสะดวกสามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้การกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพียงตารางวาละ10,000บาทย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ผู้ต้องถูกเวนคืนที่ดินไปทั้งแปลงที่ศาลล่างกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มให้แก่โจทก์อีกตารางวาละ10,000บาทนับว่าเหมาะสมและเป็นธรรมต่อโจทก์แล้ว เมื่อจำเลยที่1และที่2ต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา26วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใดต้องเป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามคำขอของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวมีอัตราเท่าใดเพราะเป็นกรณีที่มีกฎหมายพิเศษให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นจะนำมาตรา224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินทดแทนจากประกันสังคมและประกันภัยรถยนต์: เบิกซ้ำซ้อนได้ตามกฎหมายเฉพาะ
สิทธิของโจทก์ที่ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535ที่บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัทและต้องเสียเบี้ยประกันภัยส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยเป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ซึ่งบังคับให้ลูกจ้างต้องเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบเมื่อเป็นสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแต่ละฉบับโดยโจทก์ต้องเสียเบี้ยประกันภัยและส่งเงินเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับดังกล่าวกำหนดไว้ซึ่งต้องชำระทั้ง2ทางและเมื่อพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ผู้ที่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นแล้วมารับเงินทดแทนอีกจำเลยจึงจะยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยแล้วมาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์หาได้ไม่ พระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533เป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งประสบอันตรายเจ็บป่วยทุพพลภาพหรือตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานรวมทั้งกรณีอื่นอีกจึงจะนำหลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องประกันวินาศภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลยตามพระราชบัญญัติประกันสังคมพ.ศ.2533
of 11