พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ข้อพิพาทเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ใช้บังคับ ให้ใช้กฎหมายเดิมคุ้มครอง
แม้โจทก์ทั้งสองจะถูกคำสั่งให้ลงโทษพักงานและงดทำงานล่วงเวลาภายหลังที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่เมื่อการกระทำของโจทก์ที่ถูกกล่าวหาว่าทิ้งหน้าที่อันเป็นข้อพิพาทในคดีได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับ ดังนั้นสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมายรวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ข้อพิพาทเกิดขึ้นคือประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แม้ฟ้องอ้างกฎหมายเดิม ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษตามกฎหมายใหม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำการประมงโดย ไม่ได้รับอนุญาตคำขอท้ายฟ้องระบุอ้าง พ.ร.บ. การประมงฯ มาตรา 20 ซึ่ง เป็นบทมาตราความผิด และมาตรา 62 ทวิ ซึ่ง เป็นบทกำหนดโทษและอ้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 105 ข้อ 4 ซึ่ง แก้ไขมาตรา62 ทวิ แต่ ในขณะที่จำเลยกระทำผิดได้ มี พ.ร.บ. การประมง (ฉบับที่ 3)ออกใช้ บังคับแล้ว โดย แก้ไขมาตรา 62 ทวิ แม้โจทก์ จะมิได้อ้างพ.ร.บ. การประมง (ฉบับที่ 3)ฯ แต่ ได้ อ้างกฎหมายเดิม ซึ่งมีความผิดอยู่ ถือ ว่าฟ้อง โจทก์ได้ อ้างมาตราที่ลงโทษจำเลยมาสมบูรณ์แล้ว ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้และการปรับบทลงโทษดังกล่าวมี ผลถึง จำเลยที่ 1 ซึ่ง ไม่มีฝ่ายใดฎีกาด้วย แต่ โทษที่ลงแก่จำเลยที่ 1 คงยุติไปตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาคดีเลิกจ้างก่อนมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ต้องเป็นไปตามกฎหมายเดิม
ปัญหาที่ว่าศาลแรงงานกลางจะนำบทบัญญัติมาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาใช้บังคับแก่การ เลิกจ้าง ก่อนกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จะมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาก็ตาม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2522 และมาตรา 49 มีผลเป็นการให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะไม่ต้องถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมแต่เมื่อได้ความว่าเป็นกรณีที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2521ซึ่งตามมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 บัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่งศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาสั่งให้ จำเลย รับโจทก์เข้าทำงานตามที่โจทก์ขอโดยอาศัยมาตรา 49แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2522 และมาตรา 49 มีผลเป็นการให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่จะไม่ต้องถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับโจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิมแต่เมื่อได้ความว่าเป็นกรณีที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานโดยไม่เป็นธรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2521ซึ่งตามมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 บัญญัติให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและมีคำสั่งศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาสั่งให้ จำเลย รับโจทก์เข้าทำงานตามที่โจทก์ขอโดยอาศัยมาตรา 49แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนชู้สามี: บทบัญญัติใหม่ใช้ไม่ได้หากอายุความตามกฎหมายเดิมหมดก่อน
คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์กล่าวหาว่า เป็นชู้กับจำเลยที่ 1 ภรรยาโจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505 (เดิม) ซึ่งกำหนดอายุความตามมาตรา 1509 ว่า สามเดือนนับแต่วันที่โจทก์รู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง ปรากฏว่า โจทก์ได้ทราบว่าจำเลยที่ 2 เป็นชู้กับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับจึงยกอายุความที่บัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับนี้ มาตรา 1529 ซึ่งมีกำหนด 1 ปีมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะขัดต่อ พระราชบัญญัติให้ใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าทดแทนจากการเป็นชู้: ใช้กฎหมายเดิมแม้มีการแก้ไขกฎหมาย
คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์กล่าวหาว่าเป็นชู้กับจำเลยที่ 1 ภรรยาโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1505(เดิม) ซึ่งกำหนดอายุความตามมาตรา 1509 ว่าสามเดือนนับแต่วันที่โจทก์รู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง. ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบว่าจำเลยที่ 2 เป็นชู้กับจำเลยที่ 1เมื่อวันที่ 12-14 เมษายน 2519 ครบสามเดือนเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2519 ก่อนวันที่ 16 ตุลาคม 2519 ซึ่ง เป็นวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับ จึงยกอายุความที่บัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับนี้ มาตรา 1529 ซึ่งมีกำหนด1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 มาตรา 9
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดความผิดตามกฎหมายเดิมหลังมีกฎหมายเฉพาะใหม่ และขอบเขตการลงโทษที่จำกัดตามคำฟ้อง
พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม 2511 ยกเลิก พระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ 2479 ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรมเหตุผลในการตรากฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม เพื่อแยกควบคุมสาขาเวชกรรมโดยเฉพาะต่างหากจากการประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นเมื่อปรากฏตามฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเวชกรรม แต่จำเลยกระทำการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันสาขาเวชกรรม จำเลยจึงไม่ได้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่นผิดไปจากสาขาที่จำเลยได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ 2479 มาตรา 16 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2511 มาตรา 6 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษ การที่จำเลยประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน สาขาเวชกรรมชั้นหนึ่งโดยมิได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2511 มาตรา 21ซึ่งศาลจะลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายนี้ไม่ได้เพราะเกินคำขอ ต้องยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขับรถประมาท แข่งรถและกินทาง ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลฎีกายืนโทษตามกฎหมายเดิม
จำเลยขับรถบรรทุกน้ำมันยอมให้รถที่ตามมาแซงขึ้นแล้วแต่ยังแซงไม่พ้น จำเลยกลับแข่งและกินทางเข้าไปในทางรถที่แซง จึงเฉี่ยวกันจำเลยประมาทเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 29,66 ซึ่ง พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43(4),157 ยังเป็นผิด แต่โทษสูงกว่า ลงโทษตาม พระราชบัญญัติเดิม เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่ง คปค.ที่ให้ผู้ครอบครองอาวุธสงครามมามอบเพื่อไม่ให้ถูกลงโทษ เหนือกว่ากฎหมายเดิม
ภายหลังจากวันที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ามีอาวุธปืนและกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 แล้ว ได้มีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 12 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2519 สั่งให้บุคคลที่มีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่การสงครามไว้ในความครอบครอง ซึ่งเป็นความผิดมาแต่ก่อนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินดังกล่าวใช้บังคับ ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใด สามารถนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2519 โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จึงเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดยิ่งกว่ากฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่จำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ต้องใช้คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 12 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2519 บังคับแก่การกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 วรรคแรก จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ของกลางริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2064/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำคุกก่อนประกาศคณะปฏิวัติ: ใช้กฎหมายเดิม
จำเลยทำผิดก่อนประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 ลงวันที่21 พฤศจิกายน 2514 การลดโทษประหารชีวิตตาม มาตรา 52 เดิมลดลงเป็นจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 16 ปี ถึง 20 ปี เป็นคุณยิ่งกว่าประกาศคณะปฏิวัติ ข้อ 1 ซึ่งให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตสถานเดียว ศาลต้องใช้ มาตรา 52 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายอาญาใหม่ย้อนหลังไม่ได้ แม้จะเป็นคุณต่อจำเลย ศาลต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ ณ เวลาที่กระทำผิด
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2514 จำเลยกระทำความผิดสามกรรมต่างกัน คือฐานมีอาวุธปืนฯไว้ในครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กระทงหนึ่ง ฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและกระทำอนาจารแก่หญิงนั้น (กระทงหนึ่ง) สองบท และฐานประทุษร้ายหญิงผู้ถูกพาไปนั้นถึงอันตรายแก่กายอีกกระทงหนึ่งซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยกระทำความผิด ให้อำนาจศาลที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป หรือจะลงเฉพาะกระทงที่หนักที่สุดก็ได้ ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2514 เป็นต้นไป ข้อ 2 ของประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวให้ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา91 เดิมนั้นเสีย โดยให้ใช้ข้อความในประกาศดังกล่าวนั้นแทน ซึ่งให้ศาลลงโทษผู้กระทำความผิดหลายกรรมทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวออกมาบัญญัติการวางโทษแตกต่างกับกฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิดเช่นนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด ประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลย ศาลจึงต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 เดิมแก่จำเลย และลงโทษจำเลยเฉพาะฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ซึ่งเป็นกระทง(และบท) ที่หนักที่สุดแต่กระทงเดียวได้