พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4758/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายยาเสพติด และผลกระทบต่อโทษจำคุกและปรับของจำเลย
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มารตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน โดยในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ทั้งตามกฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในมาตรา 15 วรรคหนึ่ง คงใช้ข้อความทำนองเดียวกัน จึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับ สำหรับคดีนี้เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยจำหน่ายไปมีจำนวน 1 เม็ด น้ำหนัก 0.094 กรัม โดยไม่ปรากฏว่ามีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใด ต้องด้วยบทกำหนดโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่งที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แตกต่างจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายเดิม มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท กรณีโทษจำคุกต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดบังคับแก่จำเลย ส่วนโทษปรับทั้งกฎหมายเดิมและกฎหมายใหม่ต่างเป็นคุณต่อผู้กระทำความผิด กล่าวคือ โทษขั้นสูงตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณกว่า ส่วนโทษขั้นต่ำตามกฎหมายเดิมเป็นคุณกว่า ถ้าจะลงโทษปรับขั้นสูงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่เพราะเป็นคุณกว่า ถ้าจะลงโทษปรับขั้นต่ำต้องใช้กฎหมายเดิมเพราะเป็นคุณกว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว คดีนี้โทษปรับที่จะลงแก่จำเลยให้ใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5805/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น การพิพากษาโทษปรับรายวันและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
ตามที่ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 21 บัญญัติว่า ผู้ใดจะก่อสร้างอาคารต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ การที่จำเลยให้ นายช่างเทศบาลเขียนแบบแปลนให้ไม่ใช่การดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ จำเลยมีอาชีพรับเหมาก่อสร้าง ย่อมต้องรู้ว่าการก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ก่อน แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การก่อสร้างของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดโดยเจตนา แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะไปยื่นคำขอรับใบอนุญาตก่อสร้างก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
จำเลยได้รับหนังสือจากนายกเทศมนตรีให้ระงับการก่อสร้างอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2539 โดย ลูกจ้างของจำเลยเป็นผู้รับแทน และเมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจที่เกิดเหตุในวันที่ 2 ตุลาคม 2539 ก็พบคนงานกำลังก่อสร้างอาคารพิพาทอยู่ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 รวมเป็นเวลา 121 วัน แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง 120 วัน นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว และเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 (รวมเวลา 129 วัน) จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ เพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากวันนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรพิพากษาแก้โทษจำเลยให้ถูกต้องตรงกับคำฟ้อง
การที่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ สั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนจึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีของจำเลยเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยทราบคำสั่งแล้วจำเลยยังคงก่อสร้างต่อไปจำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 40 (1) และกรณีนี้มิใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยไม่เป็นความผิด จึง ไม่มีอาจนำบทบัญญัติมาตรา 2 วรรคสอง แห่ง ป.อ. มาบังคับได้
จำเลยได้รับหนังสือจากนายกเทศมนตรีให้ระงับการก่อสร้างอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2539 โดย ลูกจ้างของจำเลยเป็นผู้รับแทน และเมื่อพนักงานสอบสวนไปตรวจที่เกิดเหตุในวันที่ 2 ตุลาคม 2539 ก็พบคนงานกำลังก่อสร้างอาคารพิพาทอยู่ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 รวมเป็นเวลา 121 วัน แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่ง 120 วัน นับว่าเป็นคุณแก่จำเลยอยู่แล้ว และเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานท้องถิ่นเพียง 120 วัน ทั้งฟ้องว่าระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 (รวมเวลา 129 วัน) จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยรายวันตลอดมาจนถึงวันฟ้องและหลังจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ เพราะเมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดดังกล่าวเพียงถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2539 แสดงว่าหลังจากวันนั้นจำเลยอาจมิได้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้ว การลงโทษปรับจำเลยหลังจากวันนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอและเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรพิพากษาแก้โทษจำเลยให้ถูกต้องตรงกับคำฟ้อง
การที่จำเลยทำการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 อันเป็นการกระทำผิดสำเร็จแล้ว และมาตรา 40 บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ สั่งให้ระงับการก่อสร้างและพิจารณาสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 แล้วแต่กรณี การสั่งตามมาตรา 41 หรือมาตรา 42 หมายถึงการสั่งให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและหากเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนจึงไม่ต้องพิจารณาว่ากรณีของจำเลยเป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แต่จำเลยทราบคำสั่งแล้วจำเลยยังคงก่อสร้างต่อไปจำเลยย่อมมีความผิดตามมาตรา 40 (1) และกรณีนี้มิใช่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังว่า การกระทำดังกล่าวของจำเลยไม่เป็นความผิด จึง ไม่มีอาจนำบทบัญญัติมาตรา 2 วรรคสอง แห่ง ป.อ. มาบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการงดบังคับคดีเป็นที่สุดตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 อันเป็นเวลาภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 293 วรรคสาม ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้แล้ว (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 วรรคสาม ประกอบมาตรา 223 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายควบคุมอาคารและการมีอำนาจฟ้องคดีอาญา กรณีดัดแปลงอาคารผิดแบบ
แม้การก่อสร้างดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ขออนุญาตในระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ถึงวันที่ 15 มีนาคม2535 ซึ่งอยู่ในระหว่างใช้กฎหมายเก่าก็ตาม แต่ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มาตรา 23ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2535 แก้ไขให้มีบทลงโทษตามมาตรา 66 ทวิ และจำเลยได้ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารก่อสร้างผิดแบบที่ขออนุญาตภายในกำหนด30 วัน หลังจากที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 ใช้บังคับแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42,66 ทวิและมาตรา 69 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2535 มาตรา 23 หาใช่เป็นเรื่องการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหรือกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9913/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนภาษีอากรที่ถูกหักเกิน การใช้บังคับมาตรา 63 และผลของกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
โจทก์ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 31ธันวาคม 2531 โจทก์ถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรสแห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งแล้วเป็นจำนวนเงินเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อขอคืนเงินภาษีอากรที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 3 เตรส ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 63 จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเมื่อมิได้มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะมาใช้ไม่ได้ และจะนำมาตรา27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ที่แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ขอคืนภาษีอากรและภาษีที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วเป็นเงินเกินกว่าที่ควรเสียภาษี ต้องยื่นคำร้องขอคืนภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดระยะเวลา ยื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดนั้นมาใช้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกันเพราะกรณีตามมาตรา 27 ตรี ที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ต้องเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่แก้ไขเพิ่มเติม ศาลมีอำนาจลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง แม้โจทก์มิได้อ้าง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี 4 เดือน จำเลยฎีกาขอให้ลดโทษหรือลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำเลย เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก บทบัญญัติในมาตรา 13 และ 89 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ยังมิได้ถูกยกเลิกเด็ดขาดไปเสียทีเดียว เพราะความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 และมาตรา 13 แห่ง พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ให้ยกเลิกไปใช้บังคับเพิ่มเติมและบังคับแทนบทบัญญัติในมาตรา 13 และ 89 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ทั้งตามกฎหมายฉบับหลังที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้มีเป็นการแก้ไขโทษปรับขึ้นสูงตามมาตรา 89 ให้ต่ำลงมาจาก 500,000 บาท เหลือ400,000 บาท อันเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้มาปรับแก่คดีตามนัย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 อยู่แล้วดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวอ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ ไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่แก้ไขเพิ่มเติม ศาลมีอำนาจลงโทษตามกฎหมายที่ถูกต้อง แม้โจทก์มิได้อ้าง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย3ปี4เดือนจำเลยฎีกาขอให้ลดโทษหรือลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษจำเลยเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคแรก บทบัญญัติในมาตรา13และ89แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ยังมิได้ถูกยกเลิกเด็ดขาดไปเสียทีเดียวเพราะความที่บัญญัติไว้ในมาตรา9และมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท(ฉบับที่3)พ.ศ.2535ให้ยกเลิกไปใช้บังคับเพิ่มเติมและบังคับแทนบทบัญญัติในมาตรา13และ89แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518ทั้งตามกฎหมายฉบับหลังที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้มีเป็นการแก้ไขโทษปรับขึ้นสูงตามมาตรา89ให้ต่ำลงมาจาก500,000บาทเหลือ400,000บาทอันเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งจะต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้มาปรับแก่คดีตามนัยประมวลกฎหมายอาญามาตรา3อยู่แล้วดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวอ้างกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมนี้ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์และการลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 58 (พ.ศ.2532) เรื่องเปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความใน พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลบังคับเช่นกฎหมาย
จำเลยครอบครองเพโมลีนโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวนเดียวกับที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษในความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก
การมีเพโมลีนไว้ในความครอบครองเพื่อขาย มิใช่เป็นความผิดในตัวเอง แต่เป็นความผิดเพราะมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งแต่เดิมจัดอยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้ขายได้ ตามสภาพและพฤติการณ์จำเลยอาจไม่รู้ว่าการมีเพโมลีนไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย และหากจำเลยสามารถนำพยานหลักฐานมีพิสูจน์เช่นว่านั้นได้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ป.อ.มาตรา 64
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535ให้ยกเลิกมาตรา 13 เดิมและใช้ความใหม่แทน และให้เพิ่มความเป็นมาตรา 13 ทวิการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ และมีโทษตามมาตรา 89ซึ่งมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่มีโทษเบากว่าโทษตามมาตรา 89 เดิม จึงต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่เพราะเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 3
จำเลยครอบครองเพโมลีนโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวนเดียวกับที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษในความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก
การมีเพโมลีนไว้ในความครอบครองเพื่อขาย มิใช่เป็นความผิดในตัวเอง แต่เป็นความผิดเพราะมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งแต่เดิมจัดอยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้ขายได้ ตามสภาพและพฤติการณ์จำเลยอาจไม่รู้ว่าการมีเพโมลีนไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย และหากจำเลยสามารถนำพยานหลักฐานมีพิสูจน์เช่นว่านั้นได้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ป.อ.มาตรา 64
พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535ให้ยกเลิกมาตรา 13 เดิมและใช้ความใหม่แทน และให้เพิ่มความเป็นมาตรา 13 ทวิการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ และมีโทษตามมาตรา 89ซึ่งมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่มีโทษเบากว่าโทษตามมาตรา 89 เดิม จึงต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่เพราะเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ตาม ป.อ.มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเพโมลีนหลังประกาศเปลี่ยนประเภทวัตถุออกฤทธิ์ และการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ที่เป็นคุณต่อจำเลย
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 58(พ.ศ. 2532)เรื่องเปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ ตามความในพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมมีผลบังคับเช่นกฎหมาย จำเลยครอบครองเพโมลีน โดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวนเดียวกับที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องปรับบทลงโทษในความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีก การมีเพโมลีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย มิใช่เป็นความผิดในตัวเอง แต่เป็นความผิดเพราะมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งแต่เดิมจัดอยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้ขายได้ตามสภาพและพฤติการณ์จำเลยอาจไม่รู้ว่าการมีเพโมลีนไว้ในครอบครองเพื่อขายเป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมาย และหากจำเลยสามารถนำพยานหลักฐานมีพิสูจน์เช่นว่านั้นได้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2535 ให้ยกเลิกมาตรา 13 เดิมและใช้ความใหม่แทน และให้เพิ่มความเป็นมาตรา 13 ทวิ การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 13 ทวิ และมีโทษตามมาตรา ซึ่งมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่มีโทษเบากว่าโทษตามมาตรา 89 เดิม จึงต้องลงโทษจำเลยตามมาตรา 89 ที่แก้ไขใหม่เพราะเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายเดิม ยังใช้เป็นหลักฐานได้ แม้กฎหมายแก้ไขใหม่
แม้ขณะโจทก์นำหนังสือสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 17 (ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2526 มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12)พ.ศ.2526 มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้