คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ และหลักการทั่วไปของกฎหมายแพ่ง
การรับช่วงสิทธิเป็นไปโดยอำนาจของกฎหมาย ส่วนการ เกิดสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยเป็นไปตามข้อกำหนดของ กรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยตกลงไว้กับผู้เอาประกันภัย ดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มิได้มีข้อกำหนดถึงเรื่องการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ หลักในเรื่องการรับช่วงสิทธิมีอย่างไรจึงย่อมเป็นไปตาม บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ บ. ขับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535ส่วนจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส. ขับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เช่นกันขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส. ขับโดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายต่อ ชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินในนามของผู้เอาประกันภัยแทน ผู้เอาประกันภัย อันเกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทของ ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยได้รับประกันภัยไว้ ดังนั้น เมื่อ ส. ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยด้วยความประมาทของ ส. ฝ่ายเดียวจำเลยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ บ. ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและได้รับบาดเจ็บจากเหตุดังกล่าว ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยนั้น และเมื่อโจทก์เข้ามา ชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่ บ. ไปแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิเรียกร้องของ บ. ที่มีต่อจำเลย ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ผลบังคับใช้ตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ ขณะทำสัญญา และอายุความตามกฎหมายแพ่ง
ความรับผิดของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนโจทก์ในคดีนี้เกิดขึ้นจากสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาตามสัญญาประกันที่จำเลยได้กระทำไว้กับโจทก์ สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับกันได้โดยสมบูรณ์เพียงใดหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญานั้น เมื่อได้ความว่า ป. ผู้ต้องหาถูกจับกุมในข้อหาออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คเป็นเงิน 60,000 บาทและตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 5 (2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ลงวันที่8 สิงหาคม 2515 ข้อ 1 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุคดีนี้ได้ระบุให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจสั่งปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันหรือหลักประกันไม่เกินจำนวนเงินตามเช็ค ดังนั้นการที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของโจทก์ตามสัญญาประกัน โดยสัญญาว่าจะนำตัวผู้ต้องหาส่งให้โจทก์ตามกำหนดนัด ถ้าผิดสัญญายินยอมใช้เงิน 60,000 บาท ซึ่งไม่เกินจำนวนเงินตามเช็คที่ผู้ต้องหาสั่งจ่าย สัญญาประกันจึงชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญานั้นและมีผลบังคับกันได้โดยสมบูรณ์ แม้ว่าหลังจากที่จำเลยได้ทำสัญญาประกันกับโจทก์ดังกล่าวแล้วจะได้มี พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534ออกมาใช้บังคับโดย พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ยกเลิก พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 196 ลงวันที่8 สิงหาคม 2515 และบัญญัติให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาลสั่งปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวโดยมีประกันแต่ไม่มีหลักประกัน หรือมีประกันและหลักประกันไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินตามเช็คก็ตาม ก็ไม่อาจนำบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ดังกล่าวมาใช้บังคับได้ เพราะการที่จะนำบทบัญญัติของกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 3 มาใช้บังคับในฐานกฎหมายที่เป็นคุณได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่นำมาใช้บังคับแก่ความรับผิดทางอาญาของผู้กระทำความผิดเท่านั้น จะนำมาใช้บังคับแก่ความรับผิดของจำเลยตามสัญญาประกันซึ่งเป็นความรับผิดทางแพ่งหาได้ไม่
การฟ้องบังคับให้ผู้ประกันชำระเงินตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาในคดีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความในการฟ้องเรียกเงินตามเช็คเมื่อการฟ้องบังคับให้ผู้ประกันใช้เงินตามสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164เดิม (มาตรา 193/30 ที่ได้ตรวจชำระใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดระยะเวลาในการขอศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่
ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 14 บัญญัติว่า "บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์... ฯลฯ... ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิม ให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ" ในระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ยังไม่ใช้บังคับ การนับระยะเวลาในการที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไปตกต้องในฐานที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตอันจะเป็นคนสาบสูญจึงต้องนับเวลาถึงสามปีนับแต่เมื่อภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64วรรคสอง เดิม แม้โจทก์จะมาร้องขอให้ ม.เป็นคนสาบสูญเมื่อประมวลกฎหมาย-แพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ใช้บังคับแล้ว และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 61 วรรคสอง ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้ลดระยะเวลาเหลือเพียงสองปีนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 แล้ว จะเห็นได้ว่าระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสอง เดิม ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ใช้บังคับและระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสอง เดิมยาวกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 61วรรคสอง จึงต้องถือระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราช-บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 14 ดังนั้น การร้องขอให้ศาลสั่งให้ ม.เป็นคนสาบสูญในคดีนี้ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 64 วรรคสองเดิม คือใช้ระยะเวลา 3 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาคนสาบสูญตามกฎหมายแพ่งที่แก้ไขใหม่: ใช้กฎหมายเดิมเมื่อระยะเวลาเดิมยังไม่สิ้นสุด
ตาม พระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535มาตรา14บัญญัติว่า"บรรดาระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฯลฯซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหากระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและระยะเวลาที่กำหนดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับระยะเวลาที่กำหนดไว้เดิมให้นำระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ"ในระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ยังไม่ใช้บังคับการ นับระยะเวลาในการที่บุคคลได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไปตกต้องในฐานที่จะเป็นภยันตรายแก่ชีวิตอันจะเป็นคนสาบสูญจึงต้องนับเวลาถึงสามปีนับแต่เมื่อภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้วทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมแม้โจทก์จะมาร้องขอให้ ม. เป็นคนสาบสูญเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ใช้บังคับแล้วและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา61วรรคสองที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้ลดระยะเวลาเหลือเพียงสองปีนับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปก็ตามแต่เมื่อพิจารณาตามมาตรา14แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535แล้วจะเห็นได้ว่าระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535ใช้บังคับและระยะเวลาดังกล่าวยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับทั้งระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมยาวกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535มาตรา61วรรคสองจึงต้องถือระยะเวลาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ1แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2535มาตรา14ดังนั้นการร้องขอให้ศาลสั่งให้ ม. เป็นคนสาบสูญในคดีนี้จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา64วรรคสองเดิมคือใช้ระยะเวลา3ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9374/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็น & ค่าทดแทน: การใช้ทางผ่านที่ดินของผู้อื่นต้องจ่ายค่าทดแทนตามกฎหมาย
ก่อนที่โจทก์จะรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทมาจากมารดา แม้โจทก์เคยใช้ถนนพิพาทมาก่อนก็เป็นการใช้โดยอาศัยอำนาจของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมการใช้ถนนพิพาทดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์แต่อย่างใดไม่ ดังนั้นที่คู่ความนำสืบโต้เถียงกันว่า ถนนพิพาทมีมาแต่เดิมหรือไม่ จึงหาใช่ข้อสาระสำคัญแต่อย่างใดไม่ แต่ภายหลังที่จำเลยรับโอนที่ดินโฉนดพิพาทจากมารดาซึ่งมีถนนพิพาทผ่านแล้วตามฟ้องและทางนำสืบโจทก์อ้างว่า โจทก์ใช้ถนนพิพาทโดยอาศัยข้อตกลงยินยอมของจำเลยให้ใช้ได้ตลอดไปโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใด แม้จำเลยจะมิได้นำสืบปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ตั้งเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นการก่อความเดือดร้อนรำคาญให้แก่จำเลยและครอบครัวเท่านั้น อย่างไรก็ดีลำพังข้อตกลงยินยอมของจำเลยดังกล่าว เป็นเพียงให้สิทธิแก่โจทก์ใช้ถนนพิพาทได้โดยไม่เป็นการละเมิดเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิยกเอาความยินยอมนั้นผูกพันจำเลยตลอดไป จำเลยอาจยกเลิกไม่ให้ใช้ถนนพิพาทเสียเมื่อไรก็ได้ การที่ต่อมาจำเลยทำประตูเหล็กใส่กุญแจ ปิดประกาศกำหนดเวลาผ่านเข้าออกและทำโครงไม้คร่อมถนนพิพาทดังกล่าว ซึ่งเป็นอุปสรรคขัดขวางมิให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทให้พอควรแก่ความจำเป็นเช่นที่เคยผ่านมา อันมีผลเท่ากับจำเลยได้ยกเลิกข้อตกลงยินยอมให้ใช้ถนนพิพาทโดยปริยาย ข้อตกลงยินยอมของจำเลยที่ให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนใด ๆ จึงสิ้นสุดลง แต่โดยที่ถนนพิพาทโดยสภาพยังเป็นทางจำเป็นอยู่ เพราะที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ ซึ่งตามฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาว่า ที่ดินที่โจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยนั้นตกอยู่ในวงล้อม ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ คงมีถนนพิพาทเท่านั้นที่ผ่านที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ ซึ่งสะดวก มีระยะทางสั้นและเสียหายแก่ที่ดินของจำเลยน้อยที่สุด ดังนั้นโจทก์จึงอาจใช้ถนนพิพาทได้ดังเดิมโดยอาศัยสิทธิดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าววรรคท้ายบัญญัติว่าผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น โจทก์จึงต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคสาม ผู้ที่ใช้ทางผ่านต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็น กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็น ความจำเป็นของโจทก์คือให้มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยสะดวกการที่จำเลยทำถนนพิพาทเป็นถนนคอนกรีต ทำรั้วคอนกรีตด้านที่ติดกับที่ดินบ้านโจทก์โดยเว้นช่องประตูเป็นทางเข้าออกกับทำประตูรั้วเหล็กด้านที่ติดริมซอยเหรียญทองแล้วโจทก์ก็ยังคงใช้ถนนพิพาทได้โดยสะดวกตลอดมา จนกระทั่งต่อมาจำเลยใส่กุญแจประตูรั้วเหล็กและทำโครงไม้คร่อมถนนพิพาทเป็นสาเหตุให้เกิดพิพาทกันเป็นคดีนี้จึงฟังไม่ได้ว่า การที่จำเลยทำกำแพงรั้วมีช่องประตูกว้างเพียง 2.80 เมตร กับการทำประตูรั้วเหล็กริมซอยเหรียญทองดังกล่าว ทำให้โจทก์ใช้ถนนพิพาทไม่ได้พอแก่ความจำเป็น กับทั้งได้คำนึงถึงในข้อที่ควรให้จำเลยได้รับความเสียหายน้อยที่สุดแล้ว จึงไม่สมควรบังคับให้จำเลยรื้อประตูรั้วเหล็กและขยายช่องกำแพงรั้วดังกล่าว เพียงแต่จำเลยต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการขัดขวางโจทก์และบริวารในการใช้ถนนพิพาทให้พอแก่ความจำเป็นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7524/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นไม่จำเป็นต้องติดทางสาธารณะโดยตรง เพียงแต่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1649มิได้บัญญัติว่าทางจำเป็นต้องเชื่อมต่อกับทางสาธารณะโดยตรงความมุ่งหมายของกฎหมายสำคัญอยู่ที่ให้ที่ดินถูกล้อมมีทางออกถึงทางสาธารณะได้เท่านั้นดังนั้นการขอเปิดทางจำเป็นปลายทางหาจำต้องติดทางสาธารณะเสมอไปไม่เมื่อโจทก์สามารถใช้ทางพิพาทเข้าออกสู่ที่ดินของกรมชลประทานแล้วใช้ที่ดินของกรมชลประทานเดินไปสู่ทางสาธารณะได้ทางพิพาทก็เป็นทางจำเป็นตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส vs. สินส่วนตัว: ทรัพย์มรดกที่ได้มาระหว่างสมรสก่อน/หลังการแก้ไขกฎหมายแพ่ง
ทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม6รายการเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมการพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มาเมื่อเจ้ามรดกได้รับมรดกและได้รับการยกให้ในระหว่างสมรสโดยไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับร. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมมาตรา1466แม้ต่อมาจะมีบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับมีมาตรา1471บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวและมาตรา1474บัญญัติให้ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือและพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ได้ระบุว่าเป็นสินสมรสจึงเป็นสินสมรสอันแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งบรรพ5เดิมก็ตามก็ไม่ทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของเจ้ามรดกเพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิมจึงจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1471มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่เมื่อทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสเจ้ามรดกคงมีส่วนแต่เพียงครึ่งเดียวที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ที่ศาลชั้นต้นฟังว่าทรัพย์สินตามบัญชีทรัพย์มรดกรวม4รายการเป็นสินสมรสนั้นไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นสินสมรสเพราะเหตุว่าเป็นทรัพย์สินที่เจ้ามรดกได้มาระหว่างสมรสโดยได้รับมรดกซึ่งไม่มีการระบุให้เป็นสินเดิมหรือสินส่วนตัวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1466ดังที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวโต้แย้งในอุทธรณ์แต่อย่างใดอุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน4รายการนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งแม้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา223ทวิศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1773-1782/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: การปิดล้อมที่ดินโดยรอบทำให้เจ้าของที่ดินไม่มีทางออก ถือเป็นเหตุให้มีสิทธิขอทางจำเป็นได้
ที่ดินของจำเลยทั้งสี่ปิดล้อมที่ดินของโจทก์ทั้งสิบจนไม่สามารถออกสู่ถนนสาธารณะได้ เมื่อเดิมที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6กับที่ดินของจำเลยทั้งสี่เป็นที่ดินแปลงเดียวกัน เมื่อแบ่งแยกแล้วที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 ไม่สามารถออกไปสู่ทางสาธารณะได้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้ โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน ส่วนที่ดินของโจทก์ที่ 7 ถึงที่ 10 มีที่ดินของจำเลยทั้งสี่ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้โจทก์ที่ 7 ถึงที่ 10จึงมีสิทธิขอให้เปิดทางจำเป็นได้ และการที่ศาลสั่งให้รวมพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันก็เพื่อความสะดวกในการพิจารณาเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์ทั้งสิบในแต่ละสำนวนถูกที่ดินของจำเลยทั้งสี่ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่เปิดทางจำเป็นให้แก่โจทก์ทั้งสิบในแต่ละสำนวนตามความจำเป็นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีการจ่ายจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิที่มีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงว่ามีการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจริงหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืมเงินทดรองราชการในฐานะหน้าที่ราชการ ไม่ถือเป็นผู้ยืมตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ยืมเงินจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการและเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเท่านั้นหาใช่ทำในฐานะส่วนตัวไม่การคืนเงินยืมดังกล่าวก็เพียงแต่นำใบสำคัญที่คณะกรรมการจ่ายเงินได้จ่ายไปนำไปเบิกจากงบประมาณแผ่นดินแล้วนำไปชำระแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหาจำต้องนำเงินส่วนตัวมาชำระคืนไม่โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา650เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ยืมเงินโจทก์กับจำเลยจึงไม่มีหนี้ต่อกันหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์จึงไม่มีผลบังคับ
of 6