คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายไทย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนทางทะเลต่างประเทศ: การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อมูลคดีเกิดในไทย และข้อยกเว้นความรับผิด
สัญญารับขนทำในต่างประเทศระหว่างผู้ส่งและจำเลยผู้ขนส่งซึ่งต่างก็มิใช่บุคคลสัญชาติไทย เมื่อสินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่ง และผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วแต่ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนสูญหาย ทั้งผู้ซื้อและจำเลยเป็นนิติบุคคลที่มีสาขาในประเทศไทย มูลคดีจึงเกิดในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย กรณีไม่มีปัญหาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 เมื่อข้อเท็จจริงไม่พอฟังว่าผู้ส่งได้ทำความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิด ข้อความจำกัดความรับผิดด้านหลังใบตราส่งจึงใช้ยันผู้ส่งผู้รับตราส่งตลอดจนโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขนส่งทอดสุดท้ายรับผิดชอบความเสียหายสินค้าสูญหาย การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อมูลคดีเกิดในไทย
เมื่อเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัทจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้ซื้อสินค้าทราบ ยื่นคำร้องต่อการท่าเรือฯ ขออนุมัตินำเรือเข้าจอดเทียบท่า ยื่นแสดงรายการสินค้าเพื่อขออนุมัตินำสินค้าพิพาทไปเก็บในคลังสินค้า ว่าจ้างการท่าเรือฯ ให้ยกตู้สินค้าขึ้นจากเรือนำไปวางที่ลานพักตู้สินค้าขออนุญาตกรมศุลกากรเปิดตู้สินค้า ตรวจนับและจดรายการสินค้าเพื่อป้องกันการลักสินค้าและส่งมอบรายการสินค้าดังกล่าวให้แก่การท่าเรือฯเพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบสินค้า จ้าง การท่าเรือฯ นำสินค้าขึ้นรถบรรทุกไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า มอบใบรับสินค้าแก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการศุลกากรและใช้แสดงต่อการท่าเรือฯ เพื่อรับสินค้าซึ่งหากไม่มีใบรับสินค้าก็ไม่สามารถจะไปรับสินค้าจากคลังสินค้าของการท่าเรือฯ ได้ ดังนี้ การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าวสินค้าพิพาทย่อมไม่อาจถึงมือของผู้ซื้อสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยมีลักษณะเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับผู้ขนส่ง อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนของทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายจำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล.
แม้ปรากฏว่าผู้ขายสินค้าพิพาทจะมีสัญชาติญี่ปุ่นและส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่น โดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทย การขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยบริษัทจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทย และบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทย ต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13 ให้ใช้กฎหมายใดบังคับไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทอดสุดท้ายต่อการสูญหายของสินค้า และการบังคับใช้กฎหมายไทย
เมื่อเรือซึ่งบรรทุกสินค้าพิพาทมาถึงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยเป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือและสินค้าพิพาทให้ผู้ซื้อสินค้าทราบยื่นคำร้องต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยขออนุมัตินำเรือเข้าจอดเทียบท่า ยื่นแสดงรายการสินค้าเพื่อขออนุมัตินำสินค้าพิพาทไปเก็บในคลังสินค้า ว่าจ้างการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ยกตู้สินค้าขึ้นจากเรือนำไปวางที่ลานพักตู้สินค้าขออนุญาตกรมศุลกากรเปิดตู้สินค้าตรวจนับและจดรายการสินค้าเพื่อป้องกันการลักสินค้าและส่งมอบรายการสินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นหลักฐานในการรับมอบสินค้า จ้างการท่าเรือแห่งประเทศไทยนำสินค้าขึ้นรถบรรทุกไปเก็บไว้ที่คลังสินค้า มอบใบรับสินค้าแก่ผู้ซื้อสินค้าเพื่อใช้แสดงต่อกรมศุลกากรในการดำเนินพิธีการศุลกากรและใช้แสดงต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้า การดำเนินการของจำเลยดังกล่าวเป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่ง เพราะหากปราศจากการดำเนินการดังกล่าวสินค้าพิพาทย่อมไม่อาจถึงมือของผู้ซื้อสินค้า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการร่วมกันขนส่งสินค้าพิพาทกับผู้ขนส่ง อันเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการรับขนของทางทะเลโดยจำเลยเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดในการสูญหายของสินค้าพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล ผู้ขายสินค้าพิพาทมีสัญชาติญี่ปุ่น และส่งสินค้าพิพาทจากประเทศญี่ปุ่นโดยว่าจ้างสายการเดินเรือ อ. ซึ่งมีสัญชาติฮ่องกงเป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทย แต่การขายสินค้ารายนี้เป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อในประเทศไทยการขนส่งสินค้าทอดสุดท้ายมายังประเทศไทยก็กระทำโดยจำเลยซึ่งจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย เมื่อสินค้าเกิดสูญหายขึ้นในประเทศไทยและบริษัทรับประกันภัยโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ซื้อแล้วรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับตามกฎหมายไทย หามีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 13ให้ใช้กฎหมายใดบังคับในเรื่องค่าเสียหายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดผู้ขนส่ง, สลักหลังใบตราส่ง, สินค้าสูญหาย, รับช่วงสิทธิ, กฎหมายไทยบังคับ
จำเลยให้การเพียงว่าการที่ผู้ส่งเรียกร้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งออกใบตราส่งให้กับยึดถือใบตราส่งนั้นไว้เป็นหลักฐานโดยไม่คัดค้านและนำใบตราส่งนั้นมาแสดงต่อธนาคารเพื่อรับเงินค่าสินค้า เป็นการแสดงโดยชัดแจ้งว่า ผู้ส่งยอมรับรู้ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ระบุไว้หลังใบตราส่งฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบว่า ผู้ส่งยังได้ลงนามในข้อตกลงต่างหากยอมรับไว้ล่วงหน้าถึงบรรดาข้อจำกัดความรับผิดต่าง ๆที่จำเลยระบุไว้ในใบตราส่งในขณะรับขน จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในปัญหานี้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
การที่ผู้ส่งลงนามและประทับตรากับแจ้งภูมิลำเนาไว้หลังใบตราส่งนั้นเป็นการสลักหลังใบตราส่งเมื่อได้รับเงินค่าสินค้าจากธนาคารแล้วเพื่อส่งให้แก่ผู้สั่งซื้อสินค้าและให้ผู้สั่งซื้อสินค้าชำระเงินผ่านธนาคารก่อนที่จะไปรับสินค้าและจัดส่งใบตราส่งคืนจำเลยผู้รับขนเพื่อปล่อยสินค้าต่อไป จึงมิใช่กรณีที่ผู้ส่งตกลงลงนามยอมรับเงื่อนไขในการขนส่งสินค้าไว้หลังใบตราส่งนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625
คำว่า 'ของมีค่าอย่างอื่น ๆ ' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 หมายถึงสิ่งของมีค่าทำนองเดียวกับของตามที่ระบุไว้ในตอนต้นของมาตรานี้สินค้าทังสเตนคาร์ไบด์ไม่เป็นสิ่งของมีค่าพิเศษในลักษณะดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าซึ่งหากจำเลยผู้ขนส่งมิได้รับบอกราคาของไว้ในขณะส่งมอบแก่ตนแล้ว จำเลยย่อมไม่ต้องรับผิด (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 357/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขนส่งทางทะเล: การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อเกิดความเสียหายในไทย และข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
แม้ผู้ขายสินค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้จ้างจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งซึ่งมีสัญชาติเดนมาร์กให้ขนส่งสินค้าทางทะเลจากประเทศสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย แต่เมื่อของที่ขนส่งทางทะเลได้มาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วพบว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตกของสูญหายไปบางส่วนมูลคดีนี้จึงเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย หามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยมาตรา13แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481ไม่ ป.พ.พ.มาตรา609วรรคสองบัญญัติว่ารับขนของทางทะเลให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้นแต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี การที่จำเลยได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา4(5)แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามป.พ.พ.มาตรา625นั่นเองเมื่อข้อความดังกล่าวระบุไว้ด้านหลังของใบตราส่งโดยไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วยจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งผู้รับตราส่งและโจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินต่างประเทศ: อำนาจตามกฎหมายไทยและหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต้องมีกฎหมายรองรับ
ผู้ใดจะยึดทรัพย์สินของบุคคลอื่นในประเทศไทยได้โดยชอบนั้น จะต้องเป็นการกระทำที่อาศัยอำนาจของกฎหมายไทยหรือคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลไทย
หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติตอบแทนกันระหว่างประเทศ ถ้าจะให้มีผลบังคับได้จะต้องมีกฎหมายไทยรับรองไว้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 เป็นเรื่องอำนาจของเจ้าพนักงานเกี่ยวกับการที่จะดำเนินคดีในศาลไทยเจ้าพนักงานหาอาจอาศัยอำนาจตามมาตรานี้ยึดทรัพย์ของผู้ใดเพื่อส่งไปให้รัฐบาลต่างประเทศสำหรับใช้เป็นหลักฐานดำเนินคดีในศาลต่างประเทศไม่
โจทก์เป็นชาวต่างประเทศถูกคนร้ายชิงทรัพย์ เจ้าพนักงานตำรวจจับคนร้ายได้พร้อมด้วยเงินตราต่างประเทศที่ถูกชิงทรัพย์ไปเป็นของกลาง ศาลพิพากษาคดีอาญาให้คืนเงินของกลางแก่โจทก์แล้ว จำเลยคือกรมตำรวจและเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีหน้าที่ต้องคืนเงินของกลางให้โจทก์ การที่โจทก์ถูกศาลสั่งให้ส่งตัวข้ามแดนไปตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ.2472 นั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติเกี่ยวกับการส่งพยานหลักฐานไปให้ศาลต่างประเทศด้วยไม่ ทั้งคำพิพากษาของศาลที่ให้ส่งตัวโจทก์ไปให้รัฐบาลต่างประเทศก็มิได้สั่งให้ส่งพยานหลักฐานใด ๆ ไปด้วย เมื่อจำเลยไม่สามารถอ้างและนำสืบให้เห็นว่ามีอำนาจตามกฎหมายใดที่จะยึดเงินของกลางไว้ เพื่อส่งให้รัฐบาลต่างประเทศตามที่รัฐบาลต่างประเทศขอมา ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยคืนเงินของกลางแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนของทางทะเล การส่งมอบสินค้าโดยมิชอบ และอายุความตามกฎหมายไทย
การรับขนของจากประเทศเดนมารค์และนอร์เวย์มายังประเทศไทย. แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609.ซึ่งในปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล.
การตกลงกันให้ใช้กฎหมายเดนมาร์คบังคับแก่ข้อพิพาท ย่อมจะให้ใช้ได้เพียงที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแห่งประเทศไทย.
กฎหมายเรื่องอายุความ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประเทศไทย. ฉะนั้น ข้อตกลงหรือเงื่อนไขในใบตราส่งในส่วนที่จะให้มีผลถึงการใช้กฎหมายเรื่องอายุความของกฎหมายเดนมาร์คมาบังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ จึงใช้บังคับไม่ได้.
แม้โจทก์จะไปรับสินค้าจากจำเลยเป็นเวลาล่าช้าก็ดี ก็ไม่เป็นเหตุถึงกับจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะรับสินค้านั้นจากจำเลย. หากการล่าช้านั้นเป็นเหตุให้เกิดการเสียหายแก่จำเลยอย่างใด ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันได้.
โจทก์เป็นผู้ทรงใบตราส่งโดยชอบตามใบกำกับสินค้าซึ่งมีรายการตามใบตราส่งและซึ่งมีอยู่ที่จำเลยนั้น. ปรากฏว่า รายการเกี่ยวกับผู้รับตราส่งลงไว้โดยมิได้ระบุชื่อผู้ใด. แต่ลงว่า 'ตามคำสั่ง' ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ทรงใบตราส่ง. แต่จำเลยกลับมอบสินค้านั้นแก่บริษัทอุดมจำกัดไปโดยที่บริษัทอุดม จำกัด มิใช่ผู้รับตราส่งไม่ได้เป็นผู้ทรงใบตราส่ง. เป็นการส่งโดยมิชอบ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันเช่นนั้น.จำเลยก็ยังต้องรับผิดต่อโจทก์.
โจทก์เป็นทั้งผู้ทรงใบตราส่งและผู้ทรงตั๋วแลกเงิน.ตั๋วแลกเงินยังไม่ได้มีการใช้เงิน. หนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย.
จำเลยอาจฟ้องธนาคารแหลมทอง จำกัด เรียกให้ชำระหนี้แก่จำเลยตามสัญญาค้ำประกันที่ธนาคารแหลมทอง จำกัด เป็นผู้ค้ำประกัน. ในการที่บริษัทอุดม จำกัด รับสินค้าไปจากจำเลย. ถ้าหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้. จำเลยก็ย่อมจะขอให้เรียกธนาคารแหลมทอง จำกัดเข้ามาในคดีได้. แต่จะพิพากษาให้ธนาคารแหลมทองจำกัดต้องรับผิดแทนจำเลยหาได้ไม่. เพราะโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์อันใดกับธนาคารแหลมทองจำกัด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาญาที่กระทำนอกประเทศ: การบังคับใช้กฎหมายไทยกับผู้กระทำผิดคนไทย
จำเลยเป็นคนไทยไปปล้นทรัพย์ในประเทศลาว ดังนี้คดีก็ต้องด้วย กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 10(4) และเมื่อคดีได้ความบริบูรณ์ทุกประการตามความในมาตรา 10(4) แล้วก็ลงโทษจำเลยตาม มาตรา 301 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสข้ามศาสนาและชนชาติในไทย: ผลทางกฎหมายการเป็นสามีภริยาและสิทธิในมรดก
ชนชาติอินเดีย นับถือศาสนาอิสลาม บังคับอังกฤษ สมรสกับหญิงไทย ในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายไทย การสมรสนั้นย่อมสมบูรณ์ไม่จำต้องทำพิธีตามศาสนาอิสลาม การที่ไม่ได้จดชื่อภริยาและบุตรในหนังสือสำหรับตัวไม่เป็นการลบล้างการสมรสซึ่งสมบูรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสของชาวต่างชาติที่ถูกต้องตามกฎหมายไทย: ไม่ต้องมีพิธีทางศาสนา
ชนชาติอินเดีย นับถือศาสนาอิสลาม บังคับอังกฤษ. สมรสกับหญิงไทย ในประเทศไทยโดยถูกต้องตามกฎหมายไทย. การสมรสนั้นย่อมสมบูรณ์ไม่จำต้องมีพิธีตามศาสนาอิสลาม. การที่ไม่ได้จดชื่อภริยาและบุตรในหนังสือสำหรับตัวไม่เป็นการลบล้างการสมรสซึ่งสมบูรณ์ได้.
of 3