พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ละทิ้งหน้าที่แม้ยังไม่เกิดความเสียหายร้ายแรง ก็ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบกรณีร้ายแรงได้
การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไป 1 วัน จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่ไม่ใช่พิจารณาเพียงเฉพาะตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าได้ระบุไว้ให้ถือว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่ หรือการที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปนั้นได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแล้วอย่างไรหรือไม่ แต่จะต้องพิจารณาถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ประกอบด้วย โจทก์มีหน้าที่ควบคุมหม้อกำเนิดไอน้ำ หากเครื่องหม้อกำเนิดไอน้ำเกิดขัดข้องขึ้นและไม่มีผู้ใดปิดเครื่อง อาจทำให้พลังไอน้ำที่อยู่ในเครื่องดัน ให้ หม้อน้ำระเบิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของจำเลยและชีวิตของลูกจ้างอื่นของจำเลยได้ การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปนั้นจึงอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะไม่ได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่และการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์ยังไม่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่เมาสุราขณะปฏิบัติงาน ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างที่กำหนดว่า "ห้ามพนักงานดื่ม หรือเสพสุราเครื่องดอง ของเมา หรือยาเสพติดใด ๆ ในขณะปฏิบัติงานหรือในบริเวณโรงงานหรือบริษัท... โดยมิได้รับอนุญาตจากฝ่ายบริหารเป็นอันขาด ผู้ใดฝ่าฝืนถือเป็นความผิด" นั้น มีความมุ่งหมายที่จะห้ามมิให้พนักงานมึนเมาสุราในขณะปฏิบัติงานเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของนายจ้างและผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานของนายจ้าง ดังนั้น การที่ลูกจ้างออกไปดื่ม สุราหรือเครื่องดอง ของเมาข้างนอกบริษัทและเมาสุรากลับเข้าไปทำงานในโรงงานหรือบริษัทย่อมถือได้ว่าลูกจ้างเมาสุราในขณะปฏิบัติงาน เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับดังกล่าว งานขับรถเครน ยกของหนักที่ลูกจ้างทำต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงและเคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับเครน ทำให้พนักงานได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อปรากฏว่าลูกจ้างเมาสุราเข้ามาปฏิบัติงานซึ่งต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) นายจ้างย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่จำต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ทั้งมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 เมื่อการกระทำของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างย่อมมีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรงต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี แม้มีระเบียบห้ามครอบครองโพยสลาก
แม้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะระบุว่าการมีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย ถือเป็นความผิดกรณีร้ายแรง แต่การกระทำใด ๆ ที่ถือว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้น จะต้องเป็นไปตามลักษณะแห่งการกระทำเป็นเรื่อง ๆ ไป โจทก์เพียงแต่มีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย โดยไม่ได้เล่นการพนันสลากกินรวบภายในอาณาเขตโรงงานดังกล่าวด้วย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3210/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง ต้องพิจารณาพฤติการณ์การกระทำเป็นรายกรณี แม้มีข้อห้ามในระเบียบ
แม้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะระบุว่าการมีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลยถือ เป็นความผิดกรณีร้ายแรง แต่ การกระทำใด ๆที่ถือ ว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ซึ่ง นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนั้น จะต้อง เป็นไปตาม ลักษณะแห่งการกระทำเป็นเรื่อง ๆ ไป โจทก์เพียงแต่ มีโพยสลากกินรวบไว้ในครอบครองภายในอาณาเขตโรงงานของจำเลย โดย ไม่ได้เล่นการพนันสลากกินรวบภายในอาณาเขตโรงงานดังกล่าวด้วย จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6114/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีร้ายแรง: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่กำหนด และต้องพิจารณาข้อบังคับการทำงาน
คดีมีประเด็นว่า โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่หรือทำร้ายผู้บังคับบัญชาอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า คดีฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่และโจทก์ทำร้าย ป.ผู้บังคับบัญชาของโจทก์เนื่องจากถูก ป.ตำหนิเกี่ยวกับการทำงาน จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็น แต่ที่วินิจฉัยต่อไปว่าการที่โจทก์ทำร้ายร่างกาย ป.ดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(1) ซึ่งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และที่วินิจฉัยว่าพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์มีเจตนาทำร้ายร่างกาย ป.ผู้บังคับบัญชานั้น ศาลแรงงานกลางก็ไม่ได้วินิจฉัยว่าระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในเรื่องนี้มีว่าอย่างไร และไม่ปรากฏว่าคู่ความได้อ้างส่งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานต่อศาล จึงเป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา มีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายร่างกาย: การกระทำไม่ร้ายแรงจนถึงขั้นเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดห้ามมิให้ลูกจ้างก่อการวิวาท ทำร้ายร่างกาย พูดหยาบ ตลอดจนส่งเสียงอื้ออึงโดยไม่จำเป็นก็ตาม แต่ระเบียบดังกล่าวก็มิได้กำหนดว่าการฝ่าฝืนจะถือเป็นกรณีร้ายแรงประการใด การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยชกต่อยลูกจ้างด้วยกัน ก็เนื่องจากคู่กรณีพูดให้ของลับโจทก์ก่อน และไม่ปรากฏว่าคู่กรณีได้รับบาดเจ็บ จึงถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นกรณีร้ายแรง ที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงาน: กรณีร้ายแรงเพียงพอหรือไม่
การที่โจทก์ทำร้ายร่างกายด้วยการชกต่อย ว. ลูกจ้างของจำเลยในระหว่างเปลี่ยนกะการทำงาน เป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ว่า ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่พนักงานอื่น แต่ไม่ปรากฏว่า ว. ได้รับบาดเจ็บมากน้อยเท่าใด หรือเป็นการกระทบกระเทือนกิจการงานของจำเลยและรบกวนการทำงานของพนักงานอื่นอย่างไรแม้ศาลจะลงโทษจำคุกโจทก์ 1 เดือน ปรับ 500 บาท และให้รอการลงโทษจำคุกไว้ก็ยังไม่เพียงพอจะถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง อันจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงาน แม้ผิดระเบียบ แต่ไม่ร้ายแรงพอที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ทำร้ายร่างกายด้วยการชกต่อย ว. ลูกจ้างของจำเลยในระหว่างเปลี่ยนกะการทำงาน เป็นความผิดตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ว่า ไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการทำงานหรือก่อให้เกิดความรำคาญแก่พนักงานอื่น แต่ไม่ปรากฏว่า ว. ได้รับบาดเจ็บมากน้อยเท่าใด หรือเป็นการกระทบกระเทือนกิจการงานของจำเลยและรบกวนการทำงานของพนักงานอื่นอย่างไรแม้ศาลจะลงโทษจำคุกโจทก์ 1 เดือน ปรับ 500 บาท และให้รอการลงโทษจำคุกไว้ก็ยังไม่เพียงพอจะถือได้ว่าเป็นกรณีร้ายแรง อันจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง แม้ระเบียบไม่ได้ระบุเหตุร้ายแรงโดยตรง ศาลยืนตามการเลิกจ้างได้
ระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องไม่ได้ระบุไว้โดยตรงว่า การกระทำผิดวินัยกรณีใดถือว่าเป็นกรณีร้ายแรง จึงต้องพิเคราะห์พฤติการณ์เป็นรายกรณีไป กรณีของผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างและกรรมการสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องขอลาป่วยต่อผู้ร้องทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ป่วยจำนวน 3 วัน แล้วไปดำเนินคดีที่ศาลแรงงานกลางให้แก่ ว. ซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของผู้ร้องหรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาและเป็นการไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายและหลีกเลี่ยงหน้าที่การงาน นอกจากนี้ผู้คัดค้านยังถือโอกาสที่ได้รับอนุญาตให้ไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมให้แก่สมาชิกสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาที่ศาลแรงงานกลางแล้วไปดำเนินคดีให้แก่ว.หลายครั้งหลายหนโดยใช้วิธีนัดวันให้ตรงกันแต่ต่างเวลากัน หากวันนัดไม่ตรงกัน ผู้คัดค้านก็จะใช้วิธีขอลากิจหรือลาป่วยแทนเพื่อไปดำเนินคดีให้แก่ ว. และยังปรากฏว่าผู้คัดค้านขอใช้สิทธิออกไปข้างนอกเพื่อกระทำกิจกรรมของสหภาพแรงงานองค์การค้าของผู้ร้องและกระทำกิจกรรมส่วนตัวในปี 2526-2527 มีจำนวน 68 ครั้งเป็นเวลา 310 ชั่วโมงเศษ และในปี2527-2528 มีจำนวน 82 ครั้งเป็นเวลา 390 ชั่วโมงเศษ ซึ่งผู้ร้องย่อมขาดประโยชน์ที่ควรจะได้ การกระทำของผู้คัดค้านจึงเป็นการกระทำผิดวินัยฐานรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาไม่รักษาผลประโยชน์ของนายจ้างและไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของผู้ร้องเป็นกรณีร้ายแรงตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา 123 แล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือเว้นแต่กรณีร้ายแรง การอ้างเหตุใหม่หลังฟ้องคดีทำไม่ได้
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 11, 28 ห้ามทะเลาะวิวาทหรือประทุษร้ายต่อพนักงานด้วยกันในระหว่างปฏิบัติงานหรือนอกเวลาปฏิบัติงานในบริเวณโรงแรมของจำเลย ถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนมีโทษถึงปลดออกจากงานโดยไม่จ่ายค่าชดเชย การที่โจทก์ทะเลาะตบตีกับพนักงานอื่นซึ่งเป็นหญิงด้วยกัน ไม่ปรากฏว่าบาดเจ็บมากน้อยเพียงใดไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือก่อน ต่อเมื่อโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างกระทำผิดซ้ำอีกจึงจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย คดีนี้จำเลยรับแล้วว่ามิได้ตักเตือน โจทก์เป็นหนังสือเมื่อเลิกจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งปลดโจทก์ออกจากงานนั้น อ้างเหตุเลิกจ้างเพียงว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีทะเลาะวิวาทประทุษร้ายพนักงานอื่นเท่านั้น เห็นได้ว่าจำเลยไม่ติดใจหยิบยกสาเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นสาเหตุการผิดวินัยหรือเป็นเหตุแห่งการลงโทษอีกต่อไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีแล้ว จำเลยจะยกเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่
เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งปลดโจทก์ออกจากงานนั้น อ้างเหตุเลิกจ้างเพียงว่าโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีทะเลาะวิวาทประทุษร้ายพนักงานอื่นเท่านั้น เห็นได้ว่าจำเลยไม่ติดใจหยิบยกสาเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นสาเหตุการผิดวินัยหรือเป็นเหตุแห่งการลงโทษอีกต่อไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีแล้ว จำเลยจะยกเหตุที่โจทก์เล่นการพนันสลากกินรวบมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่