พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรมตำรวจจากเงินกองกลางที่ได้จากการบริจาคและการพิสูจน์ความรับผิดของผู้รับมรดก
เงินกองกลางของกรมตำรวจอันเป็นเงินที่ได้มาจากการบริจาคของข้าราชการกรมตำรวจและประการอื่นนั้นแม้มิใช่เงินงบประมาณแผ่นดินก็นับว่าเป็นทรัพย์สินของกรมตำรวจเมื่อมีผู้ทำละเมิดเอาเงินกองกลางไป กรมตำรวจจึงมีอำนาจฟ้องผู้ทำละเมิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม: การกำหนดเขตอำนาจตาม พรบ. จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ และการคงอยู่ของประกาศเดิม
เมื่อได้ความตามหลักฐานพยานโจทก์ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2496 ได้ประกาศในราชกิจจาฯกำหนดหน่วยงานเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองว่า ให้กองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักรแล้ว เช่นนี้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางก็ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีความผิดที่เกิดในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตากได้
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.2496 คือมีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจาฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม(พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับ พ.ศ.2496)ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมาจนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.2496 คือมีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจาฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม(พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับ พ.ศ.2496)ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมาจนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดในประเทศ และอำนาจฟ้องกรมตำรวจกรณีคำสั่งให้ออกนอกราชอาณาจักร
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์เกิดในประเทศไทยมีสัญชาติเป็นไทยให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้โจทก์ออกไปนอกราชอาณาจักรไทยจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าวเกิดในประเทศจีนเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาต ประเด็นจึงมีว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติไทยโดยเกิดในประเทศไทยจริงหรือไม่ ส่วนข้อที่จำเลยอ้างว่าโจทก์เคยรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวย่อมขาดจากสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2)2496 นั้นเป็นกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากมี กฎหมายซึ่งเพิ่งออกใช้ภายหลังฟ้องจะเท็จจริงประการใดจึงยังไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นนี้
คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองซึ่งเป็นคณะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งโดยพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ใช่บุคคลอันสังกัดขึ้นอยู่กับกรมตำรวจก็ตาม มีหน้าที่เพียงพิจารณาและลงมติเกี่ยวกับเรื่องร้องขอพิสูจน์สัญชาติเท่านั้น ส่วนการที่มีหนังสือหรือคำสั่งแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ออกไปนอกราชอาณาจักรนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองอันสังกัดอยู่กับกรมตำรวจ โจทก์ย่อมฟ้องกรมตำรวจได้
คณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองซึ่งเป็นคณะบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งโดยพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองไม่ใช่บุคคลอันสังกัดขึ้นอยู่กับกรมตำรวจก็ตาม มีหน้าที่เพียงพิจารณาและลงมติเกี่ยวกับเรื่องร้องขอพิสูจน์สัญชาติเท่านั้น ส่วนการที่มีหนังสือหรือคำสั่งแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้โจทก์ออกไปนอกราชอาณาจักรนั้นเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมืองอันสังกัดอยู่กับกรมตำรวจ โจทก์ย่อมฟ้องกรมตำรวจได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่พนักงานสอบสวน: กรมตำรวจไม่มีสิทธิร้องแทนพนักงานสอบสวนในคดีอาญา
บรรดาอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ ของพนักงานสอบสวนที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.วิ.อาญานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนโดยเฉพาะ และไม่มีบทกฎหมายแห่งใดให้บุคคลอื่นใช้อำนาจและหน้าที่นี้แทน ฉะนั้นกรมตำรวจซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวน จึงหามีสิทธิที่มีร้องต่อศาลแทนพนักงานสอบสวน ขอให้ปล่อยทรัพย์ของกลางซึ่งพนักงานสอบสวนได้ยึดไว้เป็นของกลางได้ไม่
(ประชุมใหญ่)
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: เงินบริจาคเพื่อโครงการตำรวจเป็นสิทธิของกรมตำรวจ ไม่ใช่ของข้าราชการตำรวจ
กรมตำรวจได้จัดสร้างพระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี เพื่อจำหน่ายนำรายได้มาส่งเสริมสวัสดิการให้แก่ข้าราชการตำรวจและสมทบเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาสถานีตำรวจทั่วประเทศ โดยมีการออกคำสั่งวางแนวปฏิบัติในการรับเงินจากการจำหน่ายและนำเงินเข้าบัญชี ซึ่งตามบันทึกข้อความเรื่องวิธีปฏิบัติและควบคุมการรับเงินบริจาคในการสร้างพระพุทธโสธร รุ่นประวัติศาสตร์ กรมตำรวจ 80 ปี ระบุให้หน่วยที่รับผิดชอบใบสั่งจองและรับเงินบริจาค จัดเจ้าหน้าที่รับเงินบริจาคและจัดทะเบียนคุมการรับเงินบริจาคและทะเบียนคุมการสั่งจองพระ ซึ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมเป็นสารวัตรการเงินของหน่วย ฯลฯ เมื่อรับเงินบริจาคแล้วให้นำเงินฝาก ธนาคาร ท. ตามชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีที่กำหนดไว้ ดังนี้ เมื่อจำเลยดำรงตำแหน่งสารวัตรการเงินของหน่วย จึงมีหน้าที่รับเงิน แล้วนำฝากเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งเงินที่จำเลยรับไว้ย่อมถือได้ว่าเป็นการรับไว้แทนกรมตำรวจ สิทธิในเงินรับบริจาคย่อมตกแก่กรมตำรวจแล้วตั้งแต่เวลาที่จำเลยได้รับเงินไว้ หาใช่เงินของเจ้าพนักงานตำรวจแปดนายดังที่โจทก์ฟ้องไม่ เจ้าพนักงานตำรวจทั้งแปดนายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในเงินดังกล่าว ย่อมไม่มีอำนาจร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้อง