คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรมสรรพากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2864/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่เรียกเก็บเกินจากกรมการศุลกากร โดยไม่ต้องฟ้องกรมสรรพากร
กรมการศุลกากรจำเลยได้รับมอบหมายจากกรมสรรพากรให้เรียกเก็บภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล การที่จำเลยเรียกเก็บเกินจากโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกส่วนที่เกินคืนได้โดยไม่ต้องฟ้องกรมสรรพากรด้วย และไม่ใช่เป็นการฟ้องเรียกคืนเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินโดยมิชอบ โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องซ้ำซ้อนกรณีภาษีอากร: เมื่อมีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยแล้ว กรมสรรพากรไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีซ้ำ
หุ้นส่วนคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ที่ 1ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2521 โจทก์ที่ 1 จึงต้องเลิกกันในวันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี เมื่อเพิ่งมีการจดทะเบียนเลิกห้างโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2529 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530 จึงถือว่าในช่วงรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2527 และ 2528 โจทก์ที่ 1 ยังคงมีสภาพเป็นห้างหุ้นส่วนอยู่ ผู้ต้องเสียภาษีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับเงินได้ของตนต่อศาล ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีรายเดียวกันจากผู้ต้องเสียภาษีอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2347/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอนุมัติการประเมินภาษีของรองอธิบดีกรมสรรพากรที่รักษาราชการแทนอธิบดี ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ประมวลรัษฎากรจะเป็นกฎหมายพิเศษอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และตามมาตรา 49 จะบัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นโดยอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก็ตาม แต่ก็ไม่จำต้องตีความโดยเคร่งครัดว่าผู้มีอำนาจอนุมัติจะต้องเป็นตัวอธิบดีกรมสรรพากรเองเท่านั้น เพราะตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองอธิบดีเป็นผู้รักษาราชการแทน และตามข้อ 44 วรรคแรก บัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนดังกล่าวมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน ดังนั้น รองอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งรักษาราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร ย่อมมีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4954/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมขอคืนภาษี ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมสรรพากร จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1
การที่จำเลยที่ 2 นำบิลเงินสดซึ่งตนรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารปลอมไปแสดงต่อกรมสรรพากรพร้อมกับให้ถ้อยคำประกอบเพื่อขอเงิน ภาษีคืนจากกรมสรรพากร จนกรมสรรพากรคืนเงินภาษีอากรให้แก่จำเลยที่ 1ผู้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปกระทำการดังกล่าว การกระทำของจำเลยถือว่า เกิดความเสียหายแก่กรมสรรพากรแล้ว จำเลยที่ 2ต้องรับผิดฐานร่วมกับจำเลยที่ 1 ใช้เอกสารปลอมด้วย
โทษปรับนิติบุคคลจะกักขังแทนเงินไม่ได้ จึงจัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29 เท่านั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากเงินที่ได้รับเมื่อออกจากงาน ต้องเป็นไปตามประกาศกรมสรรพากร โดยพิจารณาเงินได้ทั้งหมด ไม่เฉพาะเงินเดือน
เงินได้ที่โจทก์ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน มีวิธีการคำนวณจ่ายตามระเบียบของบริษัทผู้เป็นนายจ้างแตกต่างจากวิธีการคำนวณบำเหน็จบำนาญ การคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องเป็นไปตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดระเบียบการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงาน ที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม เงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ต้องนำมาคำนวณหาเงินได้พึงประเมินที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสามทั้งสิ้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) คำว่า เงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายและเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 2) หมายความถึงเงินได้ที่ได้รับในระยะเวลาดังกล่าวทั้งหมด มิได้หมายความถึงเฉพาะเงินเดือนซึ่งเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรเพียงอย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5980/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเสียหายตามสัญญาประกันภัย แม้ถูกกรมสรรพากรสั่งอายัดเงิน หนี้ค่าภาษีไม่ใช่เหตุให้จำเลยไม่ต้องชำระหนี้
เมื่อจำเลยตกลงยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามที่ได้รับประกันภัยไว้แล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะได้รับแจ้งจากกรมสรรพากรมิให้ชำระเงินแก่โจทก์ เนื่องจากจากโจทก์ยังมีหนี้ค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่ก็ตาม แต่คำสั่งของกรมสรรพากรดังกล่าวมิใช่เป็นคำสั่งศาลที่แจ้งให้จำเลยงดชำระหนี้แก่โจทก์ ทั้งหนี้ค่าภาษีอากรเป็นบุริมสิทธิสามัญ มิใช่บุริมสิทธิพิเศษเหนือทรัพย์ที่เอาประกัน อันกรมสรรพากรจะเรียกร้องเอากับจำเลยผู้ประกันได้ กรณีเช่นนี้จำเลยจึงไม่อาจขอให้ศาลเรียกกรมสรรพากรเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหรือปฏิเสธจำนวนหนี้ที่จำเลยยอมรับผิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แม้โจทก์เป็นกรมสรรพากร
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของจำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้ หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องบังคับชำระภาษี: คดีภาษีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล สิทธิในการรับชำระภาษียังไม่เกิดขึ้น
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยชำระค่าภาษีจำเลยได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลตามประมวล รัษฎากรมาตรา 30(2) แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวอาจถูกเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรมีสิทธิจะได้รับชำระค่าภาษีหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยของศาลเสียก่อน ดังนั้น ขณะที่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล กรมสรรพากรไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าภาษีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกรมสรรพากร: กรณีผู้เสียภาษีอุทธรณ์คำวินิจฉัยและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยชำระค่าภาษีจำเลยได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวอาจถูกเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรมีสิทธิจะได้รับชำระค่าภาษีหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยของศาลเสียก่อน ดังนั้น ขณะที่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล กรมสรรพากรไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าภาษีดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าต้องเป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ไม่ใช่ตามมติที่ประชุม
การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าจะต้องคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่ง ป.รัษฎากร แม้ในการประชุมพิจารณาการบริหารงานของสรรพากรเขตพื้นที่ครั้งที่ 6 จะมีมติว่าสำหรับผู้ประกอบการค้าที่เคยกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เดิม ไม่เกินวันละ 10,000 บาท ซึ่งไม่ส่งแบบ ภ.ค.45คืน ให้กำหนดรายรับขั้นต่ำโดยวิธีคำนวณเพิ่มยอด รายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้เดิม อีกร้อยละ 20 ก็ตาม แต่มติของที่ประชุมดังกล่าวเป็นระเบียบหรือข้อปฏิบัติภายในที่ไม่มีกฎหมายรองรับ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 38) ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำโดยใช้หลักเกณฑ์ตามมติที่ประชุมได้แล้ว การที่พนักงานของจำเลยกำหนดรายรับขั้นต่ำของโจทก์ โดยคำนวณเพิ่มจากรายรับขั้นต่ำที่กำหนดไว้เดิม อีกร้อยละ 20 นั้น จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรดังกล่าวและไม่ชอบด้วยมาตรา 86 เบญจ แห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 23 และ มาตรา 25 แห่ง ป.รัษฎากร เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกผู้มีเงินได้มาไต่สวนและสั่งให้ผู้นั้นนำบัญชีหรือพยานหลักฐานอื่นมาแสดงเฉพาะ ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเท่านั้น หากผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องได้ แต่เรื่องการกำหนดรายรับขั้นต่ำเพื่อประโยชน์ในการคำนวณรายรับของผู้ประกอบการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86 เบญจ มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้โดยเฉพาะ แล้วจึงไม่อาจนำมาตรา 23 และ 25 มาใช้บังคับในกรณีนี้ได้.
of 4