พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2442/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายยาเสพติดเป็นคนละกรรม
ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ได้บัญญัติคำว่า จำหน่าย หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เท่านั้น หาได้บัญญัติให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยก็มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกระทงหนึ่ง และเมื่อจำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ จำเลยก็มีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยมิได้เป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องคดีศุลกากรและการลงโทษหลายกรรม
ข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกาว่า ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า เลื่อยโซ่ยนต์เป็นของต้องห้ามต้องจำกัดตามประกาศของกระทรวงใด ฉบับที่หรือ พ.ศ.อะไร จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 นั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา และคดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ประกอบกับคดีไม่จำต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจจะพิจารณาพิพากษาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่มาตราในกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(6) ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาเป็นข้อ ๆ และระบุการกระทำของจำเลยเป็นหลายกรรม แม้ไม่ได้ระบุมาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้
ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่มาตราในกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158(6) ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องมาเป็นข้อ ๆ และระบุการกระทำของจำเลยเป็นหลายกรรม แม้ไม่ได้ระบุมาตรา 91 มาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลก็ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารและการกระทำชำเรา ถือเป็นความผิด 2 กรรม
การที่จำเลยได้พาหรือชักจูงผู้เสียหาย(อายุ 12 ปีเศษ)ไปจากบริเวณถนนหน้าบ้านอาของผู้เสียหายที่ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ ไปยังบ้านเพื่อนของจำเลยและได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้องด้วยทำนองคลองธรรม แล้วจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาส่งที่บ้านพัก กรณีถือได้ว่าจำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรได้พรากผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตอนหนึ่งแล้ว ครั้นจำเลยกระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายอายุไม่เกิน 13 ปีไม่ว่าผู้เสียหายยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยในตอนหลังก็เป็นความผิดสำเร็จในอีกขั้นตอนหนึ่ง อันถือเป็นคนละขั้นตอนหรือเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดในขั้นตอนแรก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม
การที่จำเลยกอดปล้ำถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหาย และในเวลาเดียวกันจำเลยก็ได้กระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่รวม 8 ครั้ง หลังจากนั้นตอนที่จำเลยพาผู้เสียหายมาไว้ที่หอพักจนกระทั่งจำเลยพาผู้เสียหายไปส่งที่บ้านพักก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำอนาจารหรือกอดจูบลูบคลำผู้เสียหายใด ๆ อีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคแรก ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
การที่จำเลยกอดปล้ำถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหาย และในเวลาเดียวกันจำเลยก็ได้กระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่รวม 8 ครั้ง หลังจากนั้นตอนที่จำเลยพาผู้เสียหายมาไว้ที่หอพักจนกระทั่งจำเลยพาผู้เสียหายไปส่งที่บ้านพักก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำอนาจารหรือกอดจูบลูบคลำผู้เสียหายใด ๆ อีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคแรก ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กเพื่ออนาจาร และกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ถือเป็นความผิด 2 กรรม
การที่จำเลยได้พาหรือชักจูงผู้เสียหาย (อายุ 12 ปีเศษ)ไปจากบริเวณถนนหน้าบ้านอาของผู้เสียหายที่ผู้เสียหายพักอาศัยอยู่ ไปยังบ้านเพื่อนของจำเลยและได้กระทำชำเราผู้เสียหาย ย่อมเป็นการไม่ถูกต้องด้วยทำนองคลองธรรมแล้วจำเลยพาผู้เสียหายกลับมาส่งที่บ้านพัก กรณีถือได้ว่าจำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรได้พรากผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาหรือ ผู้ดูแลเพื่อการอนาจารตอนหนึ่งแล้ว ครั้นจำเลยกระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าผู้เสียหายยินยอมหรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยในตอนหลังก็เป็นความผิดสำเร็จในอีกขั้นตอนหนึ่ง อันถือเป็นคนละขั้นตอน หรือเป็นคนละกรรมกับการกระทำความผิดในขั้นตอนแรก การกระทำ ของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม การที่จำเลยกอดปล้ำถอดเสื้อผ้าผู้เสียหายก็เพื่อกระทำชำเราผู้เสียหาย และในเวลาเดียวกันจำเลยก็ได้กระทำชำเราหรือร่วมเพศกับผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่รวม 8 ครั้ง หลังจากนั้นตอนที่จำเลยพาผู้เสียหายมาไว้ที่หอพักจนกระทั่งจำเลยพาผู้เสียหายไปส่งที่บ้านพักก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำอนาจารหรือกอดจูบลูบคลำผู้เสียหายใด ๆ อีก จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคแรก ข้อนี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการแก้ไขโทษจำคุก และการกำหนดโทษตามความร้ายแรงของแต่ละกรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปี เพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกัน โดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก.ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริตวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรม เป็นกระทงความผิดไปได้ ตาม ป.อ.มาตรา 91
จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคาเป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาท ซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกัน โดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก.ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริตวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรม เป็นกระทงความผิดไปได้ ตาม ป.อ.มาตรา 91
จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคาเป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาท ซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5627/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าเป็นคนละกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่า ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288, 83, 80 พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ตามฟ้องการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวไม่ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษเสียให้ถูกต้อง แต่ไม่แก้โทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาต่างกัน พรากเด็กและข่มขืนเป็นความผิด 2 กรรม
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 14 ปีเศษ อยู่ในความปกครองดูแลของ ด. มารดา ตามวันและเวลาเกิดเหตุจำเลยพาผู้เสียหายไปโดยไม่ได้ขออนุญาต ด.ก่อน และจำเลยพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเราโดยมิได้เจตนาที่จะเลี้ยงดูผู้เสียหายหรืออยู่กินฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจาก มารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร และกระทำชำเรา เด็กหญิงอายุยังไม่เกิน 15 ปี ซึ่งไม่ใช่ภริยาของตนโดย เด็กหญิงนั้นไม่ยินยอม ดังนั้น แม้การกระทำของจำเลยดังกล่าวจะเป็นการกระทำต่อเนื่องในวันเดียวกันก็ตาม แต่เห็นได้ชัดว่าจำเลยได้กระทำไปโดยมีเจตนาต่างกัน กล่าวคือ จำเลยมีเจตนาพรากผู้เสียหายไปเสียจากมารดาผู้เสียหายเพื่อการอนาจารอันเป็นเจตนาที่กระทำต่อมารดาผู้เสียหาย ส่วนที่จำเลยกระทำต่อผู้เสียหายเป็นเจตนาข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันเป็นเจตนาต่างกันกับเจตนาพรากดังกล่าว จึงมิใช่การกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนในทางสาธารณะเป็นคนละกรรมกัน ศาลมีอำนาจริบของกลาง
จำเลยมีเจตนาที่จะมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองมีความผิดมาตั้งแต่เริ่มครอบครองเป็นกรรมหนึ่งและมีเจตนาที่จะพกอาวุธปืนดังกล่าวติดตัวไปในทางสาธารณะโดยผิดกฎหมายก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งจึงเป็นความผิดสองกรรม อาวุธปืนซึ่งไม่มีเครื่องหมายของเจ้าพนักงานประทับและเครื่องกระสุนปืนของกลางเป็นทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา32แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาเรื่องของกลางก็ตามแต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบของกลางมาแล้วทั้งมิใช่กรณีเพิ่มเติมโทษจำเลยก็ชอบที่จะวินิจฉัยในเรื่องของกลางด้วยศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ริบของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4663/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากเด็กและพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การแยกพิจารณาแต่ละกรรม
จำเลยพรากเด็กหญิงล. และนางสาวพ.ผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรและพรากนางสาวธ. ผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารการพรากเด็กและพรากผู้เยาว์ของจำเลยนั้นก็โดยเจตนากระทำต่อผู้เสียหายและบิดามารดาผู้ปกครองหรือผู้ดูแลของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม3กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3727/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอม (ป้ายวงกลม, ป้ายทะเบียน) และรับของโจร แม้กระทำพร้อมกันก็เป็นคนละกรรม
สำเนาป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี เก่า เลอะเลือน เลขตัวรถในสำเนาป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีต่างจากเลขตัวถัง อันแสดงว่า เป็นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม ซึ่งจำเลยตรวจเทียบดูก็จะทราบ จำเลยขับรถจักรยานยนต์ที่ติดสำเนาป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม จึงมีเจตนาเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้เสียภาษีถูกต้องแล้วเป็นการใช้เอกสารปลอม
จำเลยรับซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ตั้งแต่ปี 2532 และใช้รถคันดังกล่าวตลอดมาโดยใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม กับสำเนาป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม โดยมิได้ติดต่อทำการโอนและแก้ไขแผ่นป้ายทะเบียนและป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีให้ถูกต้อง จนถูกจับกุมเมื่อปี 2535 เป็นการปกปิดซ่อนเร้นมิให้ผู้อื่นทราบว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้จากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ เป็นความผิดฐานรับของโจร
การที่จำเลยรับรถจักรยานยนต์ไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ เป็นการกระทำเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ส่วนหนึ่งและการที่จำเลยใช้เอกสารปลอมนั้นเป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่ง คนละส่วนกัน แม้จะได้กระทำพร้อมกันไป ก็หาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่
จำเลยรับซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ตั้งแต่ปี 2532 และใช้รถคันดังกล่าวตลอดมาโดยใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถปลอม กับสำเนาป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอม โดยมิได้ติดต่อทำการโอนและแก้ไขแผ่นป้ายทะเบียนและป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีให้ถูกต้อง จนถูกจับกุมเมื่อปี 2535 เป็นการปกปิดซ่อนเร้นมิให้ผู้อื่นทราบว่าเป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้จากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ เป็นความผิดฐานรับของโจร
การที่จำเลยรับรถจักรยานยนต์ไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ เป็นการกระทำเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ส่วนหนึ่งและการที่จำเลยใช้เอกสารปลอมนั้นเป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่ง คนละส่วนกัน แม้จะได้กระทำพร้อมกันไป ก็หาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่