คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรมการลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการลูกจ้างยังไม่พ้นตำแหน่ง หากยังไม่มีการเลือกตั้ง/แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 48บัญญัติว่า "นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ" เมื่อจำเลยแถลงรับว่า ขณะที่เลิกจ้างโจทก์ ยังไม่มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ โจทก์จึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการลูกจ้างเมื่อมีการลาออกบางส่วนและยังไม่มีการเลือกตั้งใหม่ การเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา48บัญญัติว่า"นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระกรรมการลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะ"เมื่อจำเลยแถลงรับว่าขณะที่เลิกจ้างโจทก์ยังไม่มีการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างใหม่ทั้งคณะโจทก์จึงยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม - กรรมการลูกจ้าง - อุทธรณ์นอกประเด็น - ห้ามอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเท่าใดกำหนดจ่ายค่าจ้างเมื่อใดสหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเมื่อใดรวมทั้งวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตต่อศาลแรงงานซึ่งไม่เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวและรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิมพร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโดยไม่จำต้องบรรยายว่ากรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนกี่คนเป็นบุคคลใดบ้างและตำแหน่งกรรมการลูกจ้างที่ว่างลง2คนนั้นคือใครตำแหน่งว่างเพราะเหตุใดสหภาพแรงงานมีจำนวนสมาชิกที่เป็นลูกจ้างจำเลยจำนวนเท่าใดมากพอเท่ากับที่กฎหมายกำหนดไว้ในการที่จะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างหรือไม่เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้างเพราะสหภาพแรงงานผู้แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีสมาชิกไม่ถึงจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างได้แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่าการแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่างไม่ชอบเพราะสมาชิกที่สมัครก่อนถึงวันประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานยังไม่มีฐานะเป็นสมาชิกและไม่มีสิทธิแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงานกรรมการสหภาพแรงงานที่ได้รับการแต่งตั้งจึงเป็นกรรมการโดยไม่ชอบไม่มีสิทธิแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่างโจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องมีเหตุร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้ ศาลต้องพิจารณาความผิดฐานทุจริตอย่างรอบคอบ
การที่ศาลจะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา52ได้ต้องปรากฏว่ามีเหตุถึงขั้นให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างคือกระทำผิดร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้ด้วย ผู้ร้องอ้าง เหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็น กรรมการลูกจ้างว่าผู้คัดค้านลักน้ำมันเป็นการ ทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดตาม ระเบียบข้อบังคับการทำงานและ ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ47(1)ซึ่ง เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแสดงว่าผู้ร้อง ขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านเฉพาะกรณีกระทำผิด ร้ายแรง ซึ่งเลิกจ้างแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเท่านั้นเมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะ เลิกจ้างผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลสมควร, การคุ้มครองกรรมการลูกจ้าง, และสิทธิประโยชน์หลังเลิกจ้าง
กรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 45 วรรคสอง หรือเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น ตามมาตรา46 วรรคสอง ล้วนแต่จะต้องพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามมาตรา 48 ทั้งสิ้น
เมื่อลูกจ้างเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดในสถานประกอบกิจการของจำเลยมีมติให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งกรรมการลูกจ้างแล้ว โจทก์จึงมิใช่กรรมการลูกจ้างอีกต่อไปและมิได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 52 อีก
สหภาพแรงงาน ท. ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างได้มีการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานดังกล่าวและจำเลย 4 ครั้ง แต่ตกลงกันไม่ได้ สหภาพแรงงาน ท. จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วัน นับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง จนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว ซึ่งสหภาพแรงงาน ท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ จำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้นไม่ข้อเรียกร้องที่สหภาพแรงงาน ท. แจ้งต่อจำเลยจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป โจทก์จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31 ในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์
โจทก์มีสถิติการลามากเป็นพฤติการณ์ที่ส่อชี้ถึงความตั้งใจของโจทก์ว่ามุ่งมั่นที่จะอุทิศตนให้งานเพียงใด และเมื่อจำเลยเตือนให้โจทก์ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นในเรื่องการขาด ลา มาสาย โจทก์ก็ไม่ได้ปรับปรุงตัวอันเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ขวนขวายในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง และท้ายที่สุดโจทก์ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติให้ลาไปสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โจทก์ก็ยังฝืนไป และไม่ได้มาปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอีก จำเลยจึงเลิกจ้าง พฤติกรรมดังกล่าวแสดงว่าโจทก์ใช้เวลาไปทำกิจกรรมหลายประเภทแม้กิจกรรมดังกล่าวบางส่วนจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการและกิจกรรมบางส่วนเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างอื่นบ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อตัวโจทก์เองด้วยทั้งสิ้น โจทก์มีสถานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่นายจ้างโดยสม่ำเสมอ และไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้นายจ้างได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ โจทก์อาจไปทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อตนเองในขอบเขตและระยะเวลาที่พอเหมาะพอควรโดยการตกลงยินยอมของจำเลยหรือไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กิจการของจำเลยเมื่อโจทก์มีจำนวนวันที่ไปทำงานให้แก่จำเลยน้อยย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยต้องเสียหายจากการกระทำของโจทก์จำเลยผู้เป็นนายจ้างจึงมีเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อโจทก์
จำเลยให้การต่อสู้ไว้เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบว่าด้วยเงินบำเหน็จของจำเลยแต่อย่างใด เพราะจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานก็ต่อเมื่อพนักงานได้ลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยหรือเสียชีวิตในขณะเป็นพนักงานของบริษัทจำเลยเท่านั้น หาได้ยกเรื่องที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดขึ้นต่อสู้ด้วยไม่ กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำผิดหรือไม่ การที่ศาลแรงงานหยิบยกปัญหานี้ขึ้นเองและวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพ้นตำแหน่งกรรมการลูกจ้างและการคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีข้อเรียกร้องยังไม่สิ้นสุด
เหตุของการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 48 นั้น ใช้บังคับทั้งกรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งตามมาตรา 45 วรรคสอง และเป็นกรรมการลูกจ้างที่ได้รับเลือกตั้งจากลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้นตามมาตรา 46 วรรคสองด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ได้มีการแจ้งข้อเรียกร้องแล้วและข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 13 ถึงมาตรา 29 เท่านั้น เมื่อสหภาพแรงงาน ท.ได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลย แล้วมีการเจรจากัน แต่ตกลงกันไม่ได้สหภาพแรงงาน ท.จึงแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบตามมาตรา 21 และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้ดำเนินการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 22 จนครบ 5 วันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้งจนตกเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้แล้ว สหภาพแรงงาน ท. และจำเลยอาจดำเนินการต่อไปโดยตั้งผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือจำเลยจะปิดงานหรือลูกจ้างของจำเลยจะนัดหยุดงานก็ได้ ซึ่งจำเลยและสหภาพแรงงานหาได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ ดังนี้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาและการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป ลูกจ้างจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างโดยสหภาพแรงงานและการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องแจ้งให้นายจ้างทราบ ซึ่งแตกต่างกับการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างและ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มิได้บัญญัติว่ากรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่เมื่อใด แต่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 มาตรา 47 บัญญัติให้กรรมการลูกจ้างอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีแต่อาจได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แสดงว่ากรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงาน เป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้ง แม้จะยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งก็ตาม จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมลูกจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานจึงไม่ชอบด้วยพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองกรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานและการเลิกจ้างที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
การที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง กฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องแจ้งให้นายจ้างทราบ ซึ่งแตกต่างกับการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างและ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มิได้บัญญัติว่ากรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่เมื่อใดแต่ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 47บัญญัติให้กรรมการลูกจ้างอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปีแต่อาจได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งใหม่ได้ แสดงว่ากรรมการลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งจากสหภาพแรงงานเป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันที่มีการแต่งตั้ง แม้จะยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างอีกส่วนหนึ่งก็ตามจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานจึงไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 52 อุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4398/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการลูกจ้างเริ่มเมื่อใด การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล
สถานประกอบกิจการของจำเลยมีคณะกรรมการลูกจ้างได้ 11 คนลูกจ้างของจำเลยเกินหนึ่งในห้าของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน อ.สหภาพแรงงานอ. ได้แต่งตั้งกรรมการลูกจ้าง6 คน โดยโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้างด้วย ดังนี้โจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งแม้จะยังไม่มีการเลือกตั้งกรรมการลูกจ้างอีก 5 คนก็ตาม จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3731/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะกรรมการสหภาพแรงงานและการคุ้มครองกรรมการลูกจ้าง แม้ยังมิได้จดทะเบียน
เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และนายจ้างได้ทราบผลการประชุมของคณะกรรมการสหภาพแรงงานแล้วว่าผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน ถือได้ว่าคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 แล้ว แม้จะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนรับรองการเป็นกรรมการก็ตาม จึงมีอำนาจตั้งคณะกรรมการลูกจ้างได้
of 8