คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรรโชกทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 339/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการสุขาภิบาลเรียกรับเงินจากผู้รับเหมาโดยข่มขู่ ทำให้เกิดความกลัวและจ่ายเงินให้ ถือเป็นกรรโชกทรัพย์
โจทก์และจำเลยทั้งเก้าต่างเป็นกรรมการสุขาภิบาลด้วยกัน แต่เดิมเมื่อปี 2536 สุขาภิบาลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ให้ขุดลอกอ่างเก็บน้ำในเขตสุขาภิบาล ตกลงค่าจ้างเป็นเงิน100,000 บาท แต่ยังไม่มีการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเพราะมีเงื่อนไขว่า ในปีต่อไปหากห้างหุ้นส่วนจำกัดห.ประมูลงานจากสุขาภิบาลได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. ก็จะไม่รับเงินจำนวน 100,000 บาท ตามที่ตกลงจ้าง ต่อมาปี 2537 ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ซึ่งมีโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้รับการว่าจ้างในกรณีพิเศษ จากนายอำเภอประธานคณะกรรมการสุขาภิบาล ให้ก่อสร้าง ถนน ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. จึงไม่ได้รับงานทางคณะกรรมการสุขาภิบาลจะต้องจ่ายเงิน 100,000 บาทให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัดห. การที่จำเลยทั้งเก้าเรียกร้องให้โจทก์จ่ายเงิน 100,000 บาท แก่ตน มิฉะนั้นโจทก์จะถูกร้องเรียนกล่าวหาต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องโจทก์ก่อสร้างถนนผิดไปจากสัญญา อันเป็นเหตุให้สัญญา ดังกล่าวระงับ และโจทก์ต้องถูกขับออกจากกรรมการสุขาภิบาลเมื่อปรากฏว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินจำนวน 100,000 บาทให้จำเลยทั้งเก้าไปโดยกลัวต่อการข่มขู่ของจำเลยทั้งเก้าย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งเก้าใช้สิทธิโดยชอบ เพราะแม้ว่าโจทก์จะมีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างถนนอันผิดไปจากสัญญาก็เป็นเรื่องของผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ว่ากล่าวส่วนจำเลยทั้งเก้าเป็นบุคคลภายนอกย่อมไม่มีสิทธิสอดเข้าเกี่ยวข้องโดยหวังผลประโยชน์เป็นที่ตั้งการที่โจทก์ต้องจ่ายเงินให้จำเลยทั้งเก้าโดยกลัวต่อการ ข่มขู่ดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งเก้าจึงเป็น การข่มขืนใจโจทก์ให้ยอมให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งครบถ้วน ตามองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1796/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรโชกทรัพย์: การข่มขู่เพื่อให้จ่ายเงินเพื่อป้องกันความเสียหายต่อรถยนต์ ถือเป็นความผิดสำเร็จ
พฤติการณ์ของจำเลยที่ขับรถจักรยานยนต์เข้าไปสอบถามโจทก์ร่วมเกี่ยวกับการเฝ้ารถ เมื่อโจทก์ร่วมไม่ยอมให้เฝ้าจำเลยกลับเร่ง เครื่องยนต์ให้ดังกว่าปกติและพูดในลักษณะไม่รับรองความเสียหายของรถยนต์ของโจทก์นั้น ย่อมชี้ชัดให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่ต้องการจะข่มขืนใจโจทก์ร่วมให้ยอมให้ซึ่งค่าจอดรถแก่จำเลยนั่นเอง แม้ในครั้งแรกโจทก์ร่วม จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยเฝ้ารถแต่เมื่อโจทก์ร่วมถูกจำเลยข่มขู่ ในภายหลังจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมเกิดความกลัวว่าจะเกิด ความเสียหายแก่รถยนต์ของตน โจทก์ร่วมจึงยินยอมจ่ายเงิน ให้แก่ ศ. พวกของจำเลยไป นับได้ว่าเป็นผลต่อเนื่องโดยตรง จากการถูกจำเลยข่มขู่ ซึ่งเหตุที่เกิดขึ้นยังไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จในข้อหากรรโชกแล้ว แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะมิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหา ความผิดสำเร็จ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้เองโดยลงโทษ ไม่เกินกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ เงินที่โจทก์ร่วมจ่ายให้แก่จำเลยมีจำนวนเพียง 10 บาทนับว่าเป็นจำนวนเล็กน้อยทั้งได้ความว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยรับโทษถึงจำคุก เนื่องจากหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้วจำเลยได้แก้ไขพฤติกรรมของตนเองให้ดีขึ้น ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยรับโทษจำคุกมาก่อน เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการ ประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไป ศาลฎีกาเห็นสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5096/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานหลอกลวงเรียกรับเงินเข้าตัวเอง มีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
ครั้งแรก จำเลยและ ถ. ไปบ้านผู้เสียหาย ถ. บอกผู้เสียหายว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยได้ยินคำพูดของ ถ. แต่ก็นิ่งเฉยและมิได้ปฏิเสธเท่ากับจำเลยต้องการให้ผู้เสียหายเชื่อหรือเข้าใจตามที่ ถ. บอก ทั้งจำเลยได้เรียกเงินจำนวน 2,000บาท จากผู้เสียหายมิฉะนั้นจะจับผู้เสียหาย พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานแล้ว ส่วนการเรียกรับเงินครั้งที่สอง แม้จำเลยไม่ได้บอกหรืออ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแต่จำเลยเคยไปหาผู้เสียหายและมีพฤติการณ์แสดงให้ผู้เสียหายเชื่อว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจริง ทั้งผู้เสียหายเคยให้เงินแก่จำเลยเพื่อมิให้ถูกจับมาก่อน การที่จำเลยไปเรียกเงินจากผู้เสียหายอีกโดยขู่ว่าหากไม่ให้จะจับผู้เสียหาย จนผู้เสียหายยอมให้เงินจำนวน 2,000 บาท แก่จำเลยเช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานโดยจำเลยมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น และมีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 และ 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753-758/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดอาญาเกี่ยวกับการครอบครองอาวุธ, การใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ และกรรโชกทรัพย์
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ.2490มาตรา5(1)(ก)ได้บัญญัติยกเว้นมิให้ใช้บังคับแก่อาวุธปืนเครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนของราชการทหารและตำรวจที่มีหรือใช้ในราชการเมื่ออาวุธปืนของกลางเป็นของกรมตำรวจและจำเลยที่1เบิกมาใช้ในราชการโดยชอบจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตแม้จะได้ความว่าจำเลยที่1เบิกอาวุธปืนของกลางมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน2532และมิได้ส่งคืนเพื่อตรวจสอบในกำหนด1เดือนก็ตามก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในของกรมตำรวจหาทำให้การกระทำที่ไม่เป็นความผิดกลับกลายเป็นความผิดขึ้นไม่ จำเลยที่1รับราชการตำแหน่งรองสารวัตรแผนก5กองกำกับการ2กองปราบปรามกรมตำรวจที่กรุงเทพมหานครจำเลยที่1ได้ยื่นใบลาขอหยุดพักผ่อนประจำปีตั้งแต่วันที่22ถึงวันที่29กันยายน2532และได้เดินทางไปที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาสต่อมาถูกจับและยึดอาวุธปืนของกลางได้ในวันที่3ตุลาคม2532ที่ห้องพักโรงแรมพลาซ่า อำเภอสุไหงโก-ลก และจำเลยที่1พาอาวุธปืนของกลางติดตัวไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตถือได้ว่าจำเลยที่1พาอาวุธปืนของกลางไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุสมควรทั้งการพาอาวุธปืนของกลางดังกล่าวไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะนั้นจำเลยที่1มิได้อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ราชการเนื่องจากจำเลยที่1มิได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติราชการในท้องที่ดังกล่าวจำเลยที่1จึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนของกลางไปในเมืองหมู่บ้านทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและโดยไม่มีเหตุอันควรด้วย จำเลยที่1กับพวกอีกหนึ่งคนมาที่บ้านผู้เสียหายแนะนำตัวว่าชื่อร้อยตำรวจโทอ. มาจากกองปราบปรามมาทำงานโดยขอความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายและถามผู้เสียหายว่าจะให้เท่าใดผู้เสียหายเป็นนักการพนันเข้าใจว่าเจ้าพนักงานตำรวจกองปราบปรามมาขอเงินกลับจะถูกจับกุมเพราะในบ้านของผู้เสียหายมีการลักลอบเล่นการพนันเป็นประจำจึงบอกว่าจะให้10,000บาทจำเลยที่1ขอ15,000บาทผู้เสียหายจึงให้เงินจำนวนดังกล่าวจากข้อเท็จจริงดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่1มิได้แกล้งกล่าวหาผู้เสียหายในข้อหาใดทั้งจำเลยที่1มิได้ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบแต่ประการใดจำเลยที่1เพียงแต่พูดขอเงินค่าใช้จ่ายเป็นส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายจะให้หรือไม่ก็ได้จำเลยที่1มิได้กระทำการอันใดอันเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งข่มขืนใจผู้เสียหายให้มอบเงินจำเลยที่1ยังไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148 จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากส. และอ. ผู้เสียหายแต่ละรายหากไม่ยอมให้เงินจะจับกุมจนผู้เสียหายทั้งสองรายกลัวจึงยอมให้เงินแก่จำเลยที่1แม้ผู้เสียหายทั้งสองเป็นเจ้ามือสลากกินรวบซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการพนันแต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1มีหลักฐานยืนยันการกระทำผิดของผู้เสียหายทั้งสองรายนี้ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายหลายรายในเวลาไล่เลี่ยกันแสดงว่าจำเลยมีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำผิดข่มขืนใจและจูงใจให้ผู้เสียหายทั้งสองมอบเงินให้แก่จำเลยที่1โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุมการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการแกล้งกล่าวหาผู้เสียหายเพื่อเรียกร้องเอาเงินเท่านั้นดังนั้นการที่จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายทั้งสองรายหากไม่ยอมให้จะจับกุมจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148และเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ทรัพย์สินแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337 จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากพ. ผู้เสียหายโดยกล่าวในทำนองว่าถ้าไม่ให้เงินจะทำการจับกุมหญิงที่รับจ้างค้าประเวณีพ.ตกลงให้เงินแก่จำเลยที่1เพราะพ.เป็นหัวหน้าผู้อำนวยการคุมผู้หญิงที่ประกอบอาชีพค้าประเวณีในเขตอำเภอสุไหงโก-ลกและพ. ตกลงให้เงินเพราะไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายในพวกสมาชิกหญิงที่มีอาชีพรับจ้างค้าประเวณีดังนั้นการที่จำเลยที่1เรียกร้องเงินจากพ.ผู้เสียหายหากไม่ยอมให้จะจับกุมหญิงที่รับจ้างค้าประเวณีซึ่งอยู่ในความดูแลของพ. ผู้เสียหายโดยพฤติการณ์ตามที่ได้วินิจฉัยมาแล้วจำเลยที่1มีเจตนามาแต่แรกที่จะใช้อำนาจในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดข่มขืนใจให้พ.ผู้เสียหายมอบเงินให้แก่จำเลยที่1โดยขู่ว่าถ้าไม่ให้เงินก็จะจับกุมหญิงค้าประเวณีซึ่งอยู่ในความดูแลของพ. ผู้เสียหายทั้งที่ไม่ปรากฏว่าขณะข่มขู่ดังกล่าวมีการค้าประเวณีกันจริงกรณีจึงเป็นการแกล้งกล่าวหาขึ้นเพื่อจะเรียกเอาเงินเท่านั้นเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148และเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ทรัพย์สินแก่จำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337 ความผิดกระทงที่หนักที่สุดที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่1นั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา148ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน10ปีขึ้นไปกรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา91(3)ซึ่งเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นจะต้องไม่เกินกำหนด50ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขู่กรรโชกทรัพย์ด้วยการข่มขู่ทำร้ายร่างกายเพื่อเรียกเงินค่าจอดรถ ไม่เข้าข่ายชิงทรัพย์
จำเลยขอเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองคนละ10บาทแต่ผู้เสียหายทั้งสองไม่ให้จำเลยจึงพูดขู่จะต่อยผู้เสียหายที่1และนำเอาอาวุธมีดปลายแหลมมาจ่อห่างจากไหล่ผู้เสียหายที่2ประมาณ7ถึง8นิ้วแล้วพูดขู่ให้ส่งเงินให้ผู้เสียหายทั้งสองเกิดความกลัวจึงมอบเงินให้จำเลยคนละ10บาทแม้จำเลยจะไม่มีอำนาจเรียกเก็บเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองแต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็มิได้ขู่เข็ญผู้เสียหายทั้งสองตั้งแต่ต้นแสดงว่าจำเลยมิได้มุ่งหมายขู่บังคับเอาเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองโดยตรงมาแต่แรกเงินที่จำเลยเรียกเก็บเป็นเงิน10บาทเท่ากันทุกรายและมิได้ขู่เข็ญเอาเงินจากผู้ขับรถมากเกินไปจากนี้เพียงแต่ว่าหากผู้ขับรถรายใดไม่ให้ค่าจอดรถก็ต้องนำรถไปจอดที่อื่นหรือหากยืนยันจะจอดรถในบริเวณที่เกิดเหตุจำเลยจึงขู่เข็ญจะทำร้ายซึ่งผู้ขับรถและผู้เสียหายทั้งสองยังสามารถตัดสินใจได้ว่าจะให้เงินจำเลยหรือไม่ก็ได้หากไม่ให้เงินก็นำรถไปจอดที่อื่นมิฉะนั้นอาจถูกทำร้ายตามที่จำเลยขู่การขู่เข็ญของจำเลยจึงเป็นการขู่โดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจำเลยจึงมิได้มีเจตนาแย่งการครอบครองเงินของผู้เสียหายทั้งสองโดยตรงการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์และไม่อาจเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ได้แต่การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินค่าจอดรถแก่จำเลยโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้เสียหายทั้งสองจนผู้เสียหายทั้งสองยอมตามจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามกรรโชกทรัพย์จากเจ้าหน้าที่ใช้ตำแหน่งข่มขู่เรียกเงิน
ผู้เสียหายที่ 2 ได้ต่อเติมห้องน้ำที่บ้านของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่นายตรวจอาคาร มีอำนาจหน้าที่ตรวจอาคารตามคำสั่งของสำนักงานเขตพญาไท จำเลยได้ข่มขู่เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายที่ 2 ถ้าผู้เสียหายไม่ให้จำเลยจะดำเนินคดีในเรื่องต่อเติมอาคารผิดกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้ตนได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและชื่อเสียงของผู้ถูกขู่เข็ญ เป็นการลงมือกระทำความผิดฐานกรรโชกและกระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล เพราะการที่ผู้เสียหายที่ 2 เจรจากับจำเลยแล้วขึ้นไปชั้น 2 โทรศัพท์เรียกเจ้าพนักงานตำรวจให้มาจับกุมจำเลยทันที แสดงว่าผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมให้เงิน เพียงแต่ทำทีเป็นยอมเพื่อวางแผนจับกุมจำเลย หาใช่ยอมให้เงินแก่จำเลยด้วยใจจริงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดขั้นพยายาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์: การข่มขืนใจเพื่อให้ได้ทรัพย์สินด้วยการทำร้ายร่างกาย
การที่จำเลยกับพวกมีปากกาติดตัวเป็นอาวุธได้ร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหาย โดยการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยกับพวกจำนวน 20 บาท เป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้จำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1844/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การข่มขืนใจเรียกทรัพย์สินด้วยกำลังประทุษร้ายเป็นการกรรโชกทรัพย์ ไม่ใช่ชิงทรัพย์
จำเลยกับพวกมีปากกาติดตัวเป็นอาวุธ ร่วมกันข่มขืนใจผู้เสียหายโดยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยกับพวกจำนวน 20 บาท การกระทำดังกล่าวเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้จำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ไม่ใช่ความผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5255/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อบังคับให้โอนทรัพย์สิน ไม่ถือเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
จำเลยจับโจทก์ร่วมไปหน่วงเหนี่ยวกักขังแล้วบังคับให้เขียนจดหมายถึง พ. มารดาของโจทก์ร่วมให้โอนที่ดินที่จำนองเพื่อชำระหนี้แก่ ข. แม่ยายของจำเลยหรือจำเลยนั้น จำเลยมีเจตนาเพียงเพื่อบังคับให้มารดาโจทก์ร่วมชำระหนี้แก่แม่ยายจำเลยหรือจำเลยโดยจำเลยซึ่งเป็นบุตรเขยเชื่อว่ากระทำได้ ดังนั้น ประโยชน์ที่จำเลยเรียกร้องจึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(13)การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามมาตรา 313

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างพยานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และความสำเร็จของความผิดกรรโชกทรัพย์ แม้เงินยังไม่ถึงมือผู้กระทำ
โจทก์อ้าง ด. จำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2699/2529ของศาลชั้นต้นมาเป็นพยานคดีนี้โดยพนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวน ด.ไว้เป็นพยาน แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 232 ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน แต่ ด. มิได้เป็นจำเลยร่วมกับจำเลยนี้ กรณีจึงมิใช่โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานและแม้พนักงานสอบสวนจะมิได้สอบสวน ด.ไว้ในฐานะพยานก็ตามแต่พนักงานสอบสวนได้สอบพยานหลักฐานต่าง ๆในคดีนี้มาแล้ว จึงถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และพยานโจทก์ที่เบิกความในศาลก็ไม่จำเป็นต้องเป็นพยานในชั้นสอบสวนศาลย่อมรับฟังคำเบิกความของ ด. ลงโทษจำเลยได้ การที่ผู้เสียหายยินยอมมอบเงินให้ ด.เพราะเหตุว่าด.จะนำรูปถ่ายของผู้เสียหายซึ่งแต่งตัวเป็นฆราวาสไปโฆษณาอันเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชื่อเสียงของผู้เสียหาย และผู้เสียหายยินยอมมอบเงินให้ ด.แม้ด. จะยังมิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวไปก็เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์สำเร็จแล้ว.
of 5