พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีมโนสาเร่ที่ผิดระเบียบ การรับฟังพยานหลักฐานโดยไม่ให้โอกาสโต้แย้ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากอย่างคดีมโนสาเร่ ซึ่งกฎหมายให้ศาลดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่ชักช้า แต่ต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 196 เมื่อปรากฏว่าจำเลยมาศาลในวันที่กำหนดไว้ในหมายเรียกและยื่นคำให้การเป็นหนังสือพร้อมกับฟ้องแย้งมาในคำให้การด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะตรวจดูคำให้การและฟ้องแย้งนั้น แล้วสั่งให้รับไว้หรือคืนไปหรือสั่งไม่รับตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสี่ เสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งและยังคงให้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดีมโนสาเร่ต่อไป ศาลชั้นต้นก็ต้องสอบถามคำให้การของโจทก์ทั้งสองก่อนว่าโจทก์ทั้งสองจะยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นหนังสือหรือจะให้การด้วยวาจาหรือไม่ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 193 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การอย่างเดียวโดยยังไม่มีคำสั่งฟ้องแย้งของจำเลยว่า รับหรือไม่รับหรือคืนแก่จำเลย และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้วจึงมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยในภายหลัง และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยให้โจทก์ทั้งสองทราบและสอบถามโจทก์ทั้งสองว่าจะให้การแก้ฟ้องแย้งด้วยวาจาหรือกำหนดให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องแย้งด้วยวาจาหรือไม่ หรือโจทก์ทั้งสองไม่ให้การแก้ฟ้องแย้งหรือไม่ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และการที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งนำสืบภายหลังว่าจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์ทั้งสองไม่มีโอกาสนำสืบแสดงพยานหลักฐานให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งนั้นเสียได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 195, 243, 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาตั้งแต่ต้นเป็นโมฆะ
โจทก์ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามด้วยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นสั่งว่า "ปิดหมายเฉพาะจำเลยที่ 1" แต่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีปิดหมายด้วย จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายไม่มีผลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในเหตุที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การได้ เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยไม่ถูกต้อง ส่งผลให้กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสามด้วยวิธีปิดหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "ปิดหมายเฉพาะจำเลยที่ 1" แต่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยวิธีปิดหมายด้วย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 และหลังจากนั้นต่อมาย่อมไม่มีผลตามกฎหมาย ไม่มีผลให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในเหตุที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ปัญหาเรื่องการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ชอบนั้นเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะมิได้ฎีกาในข้อนี้ แต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247 กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายหรือไม่อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมที่ไม่ชอบเนื่องจากขาดแผนที่รังวัด และการดำเนินการเรื่องค่าขึ้นศาลที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ทั้งสี่แล้ว คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะสั่งคำร้องของโจทก์ทั้งสี่ที่ขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะ ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และเนื่องจากคดีได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 แถลงต่อศาลชั้นต้นขอให้จำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 8 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะ ทนายโจทก์ทั้งสี่ไม่คัดค้าน ศาลฎีกาย่อมมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 6 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 8 ผู้มรณะ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ระบุว่า "โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตตามโฉนดที่ดินที่แต่ละฝ่ายออกโฉนดที่ดินแล้วและได้ครอบครองอยู่แล้ว? โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ตามแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตและนำส่งศาลในคดีนี้?" แต่ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม คู่ความยังมิได้ส่งแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันที่มีคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความติดตามนำแผนที่หรือรายงานการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินมาส่งต่อศาล มิฉะนั้น ให้ถือตามแนวเขตภาพถ่ายที่แนบสัญญายอมซึ่งคู่ความแถลงว่าเป็นแนวเขตเดิมตามหลักหมุดที่ดิน อันแตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ก็หาเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไป ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อไม่มีแผนที่หรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะระงับข้อพิพาทมาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว ทำให้ข้อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่อาจระงับข้อพิพาทต่อกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยยังไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเสียก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ระบุว่า "โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตตามโฉนดที่ดินที่แต่ละฝ่ายออกโฉนดที่ดินแล้วและได้ครอบครองอยู่แล้ว? โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งแปดตกลงยอมรับแนวเขตที่ดินที่พิพาทในคดีนี้ตามแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตและนำส่งศาลในคดีนี้?" แต่ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอม คู่ความยังมิได้ส่งแผนที่พิพาทหรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าวต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาในวันที่มีคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความติดตามนำแผนที่หรือรายงานการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินมาส่งต่อศาล มิฉะนั้น ให้ถือตามแนวเขตภาพถ่ายที่แนบสัญญายอมซึ่งคู่ความแถลงว่าเป็นแนวเขตเดิมตามหลักหมุดที่ดิน อันแตกต่างไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ก็หาเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนคำพิพากษาตามยอมเปลี่ยนแปลงไป ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ดังกล่าว เมื่อไม่มีแผนที่หรือรายงานการรังวัดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่จัดทำขึ้นตามที่คู่ความได้ชี้แนวเขตดังที่ระบุไว้ซึ่งเป็นสาระสำคัญในอันที่จะระงับข้อพิพาทมาพิจารณาประกอบด้วยแล้ว ทำให้ข้อสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่อาจระงับข้อพิพาทต่อกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมดังกล่าว จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมโดยยังไม่ได้มีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเสียก่อน จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – กระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนการใหม่
จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000บาท ถึง 100,000 บาท แต่ปรากฏว่าในการพิจารณาคดี ก่อนถามคำให้การจำเลยศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว อันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและทำให้จำเลยเสียเปรียบ แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาให้ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความก่อนที่จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5ให้คู่ความฟังก็ตาม ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาเห็นจำเป็นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3858/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีแพ่ง: การกำหนดวันสืบพยาน, การยื่นบัญชีพยาน และการปิดอากรแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ
ส. และ ว. ผู้มอบอำนาจเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันในการกระทำการแทนโจทก์ ถือได้ว่าบุคคลทั้งสองเป็นผู้มีอำนาจร่วมกัน การปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจไม่ต้องแยกเป็นรายบุคคล ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจของ ส. และ ว. ที่มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจ 8 คน ปิดอากรแสตมป์ 240 บาท จึงครบถ้วนแล้วและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3508/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่ทายาทเข้าสู่กระบวนการพิจารณาแทนจำเลยที่เสียชีวิต ไม่ถือเป็นการฟ้องทายาทโดยตรง ศาลไม่อาจบังคับชำระหนี้แทนได้
การที่โจทก์ไม่ได้ฟ้องนางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 นางสาว ร. เพียงแต่เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาเท่านั้น ศาลจะพิพากษาให้นางสาว ร. ในฐานะทายาทของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 2 แทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากที่ผิดพลาด และการขอพิจารณาคดีใหม่ที่ไม่อ้างเหตุผลชัดเจน
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเป็นเพียงการบรรยายเหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และระบุเพียงว่าหากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลง เพราะโจทก์คิดคำนวณดอกเบี้ยไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไร ที่จะแสดงให้เห็นว่าหากศาลได้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คดีนี้ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 196 วรรคสอง (3) ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่าถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะสำหรับคดีไม่มีข้อยุ่งยากว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา ในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นมาจึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) โดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่คดีโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3123/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่ในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก และกระบวนการพิจารณาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยบรรยายแต่เหตุที่จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ และมีเฉพาะข้อความในช่วงท้ายเท่านั้นที่ระบุว่า หากจำเลยต่อสู้คดีเชื่อว่ายอดหนี้ที่กล่าวในคำบังคับต้องลดน้อยลงอย่างแน่นอน เพราะหากตรวจสอบอย่างดีแล้วจะพบดอกเบี้ยที่โจทก์คิดคำนวณไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้อ้างหรือแสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด อย่างไรที่จะแสดงให้เห็นว่าศาลได้พิจารณาคดีใหม่จำเลยอาจเป็นฝ่ายชนะคดี คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 199 จัตวา วรรคสอง
ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง(3) ได้บัญญัติไว้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้น จึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) โดยอาศัยมาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 196 วรรคสอง(3) ได้บัญญัติไว้ว่าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว อันเป็นวิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้นที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่าให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาในกรณีที่จำเลยไม่มาศาล กระบวนพิจารณาต่อจากนั้น จึงจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) โดยอาศัยมาตรา 204 และมาตรา 206 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมได้ ดังนั้น การที่จำเลยไม่มาศาลและศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ และให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานตามมาตรา 198 ทวิ วรรคสาม(1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีอาญา การรับสารภาพ และการฟ้องหลายคดีต่างกรรมต่างวาระ
การที่ศาลชั้นต้นนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยเวลา 9 นาฬิกา แต่เลื่อนมาสอบในเวลา 13.30 นาฬิกา แม้ไม่ได้จดรายงานกระบวนพิจารณา แต่ศาลชั้นต้นก็ดำเนินกระบวนพิจารณาในเวลา 13.30 นาฬิกา ต่อหน้าจำเลยโดยได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่ากระทำผิดจริงหรือไม่ แล้วจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้ ถือได้ว่าได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 โดยชอบแล้ว ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร ซึ่งมิใช่ความผิดที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 วรรคหนึ่งฉะนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่เวลา 13.30 นาฬิกา แม้ทนายจำเลยที่จำเลยเตรียมไว้ได้เดินทางกลับไปเสียก่อนก็ตาม ก็หามีผลให้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
แม้จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นการรับสารภาพฐานรับของโจร ฉบับหลังเป็นการปฏิเสธก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้วศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง แล้วจดคำให้การจำเลยไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรชัดแจ้งแล้ว แม้ศาลจะไม่ได้สอบคำให้การของจำเลยฉบับหลัง ก็หาใช่กรณีที่ไม่แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรคดีนี้กับคดีอื่นรวม 12 คดี อันเป็นการฟ้องว่ากระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดแต่ละคดีต่างกรรมต่างวาระกัน การที่จำเลยถูกจับกุมในวันเดียวกันทุกคดีจะฟังว่ากระทำผิดฐานรับของโจรเพียงครั้งเดียวคราวเดียวในวันที่ถูกจับกุมหาได้ไม่
แม้จำเลยจะยื่นคำให้การต่อศาลไว้ 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นการรับสารภาพฐานรับของโจร ฉบับหลังเป็นการปฏิเสธก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้วศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง แล้วจดคำให้การจำเลยไว้แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง ฉะนั้นเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงถือว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจรชัดแจ้งแล้ว แม้ศาลจะไม่ได้สอบคำให้การของจำเลยฉบับหลัง ก็หาใช่กรณีที่ไม่แน่ชัดว่าจำเลยให้การรับสารภาพหรือให้การปฏิเสธแต่อย่างใด
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรคดีนี้กับคดีอื่นรวม 12 คดี อันเป็นการฟ้องว่ากระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร จึงต้องฟังว่าจำเลยกระทำผิดแต่ละคดีต่างกรรมต่างวาระกัน การที่จำเลยถูกจับกุมในวันเดียวกันทุกคดีจะฟังว่ากระทำผิดฐานรับของโจรเพียงครั้งเดียวคราวเดียวในวันที่ถูกจับกุมหาได้ไม่