คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กระบวนการยุติธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 133 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องยื่นพร้อมอุทธรณ์ หากไม่ยื่นถูกต้องตามกฎหมายต้องอุทธรณ์คำสั่ง ไม่ใช่ขอเพิกถอน
จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ แต่จำเลยไม่มาสาบานตัวศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาอีก ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้อง ด้วยเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาพร้อมอุทธรณ์ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อกฎหมายเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยว่าชอบด้วยบทกฎหมายหรือไม่ หากจำเลยเห็นว่าเป็นการวินิจฉัยโดยไม่ถูกต้องจำเลยก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่ง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ. 2539 มาตรา 38 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคห้า ไม่ใช่กรณีที่จำเลยจะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยได้ โดยอ้างว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7920/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสับเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในศาล
แม้การสับเปลี่ยนผู้ต้องหาในคดีนี้จะกระทำในชั้นสอบสวนก่อนมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นเหตุขัดขวางมิให้การดำเนินคดีในศาลเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและถูกต้อง เพราะทำให้มีการดำเนินคดีอาญาในศาลต่อบุคคลผู้บริสุทธิ์โดยผู้กระทำความผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษ การที่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองคบคิดกันจัดให้มีการเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน โดยมีเจตนาให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ซึ่งไม่ได้กระทำความผิดอาญาถูกดำเนินคดีในศาลแทนนาย อ. และเพื่อให้นาย อ. รอดพ้นจากการถูกลงโทษในความผิดที่ได้กระทำ การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองย่อมก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในศาล อันเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว เมื่อความปรากฏแก่ศาลตามคำแถลงของผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองกระทำความผิดดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งลงโทษได้ทันทีโดยไม่จำต้องทำการไต่สวนข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7183/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิเข้าถึงศาลต้องมีเหตุผลความจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและกระบวนการยุติธรรม
ข้อกำหนดใด ๆ ที่ศาลออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วเท่านั้นการที่ศาลอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวห้ามผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาในบริเวณศาล เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาถูกผู้กล่าวหาทำหนังสือร้องเรียนว่าผู้ถูกกล่าวหาได้เรียกร้องเงินที่สถานีตำรวจและทางโทรศัพท์ โดยอ้างว่าเพื่อนำไปจ่ายค่าเดินเรื่องแก่คนในศาลที่จะทำให้ศาลรอการลงอาญาแก่จำเลย ซึ่งตามหนังสือร้องเรียนผู้ถูกกล่าวหามิได้เข้าไปกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบริเวณศาลแต่อย่างใด ดังนั้น การกล่าวอ้างของผู้ถูกกล่าวหามิได้ทำให้กระบวนพิจารณาต้องดำเนินไปโดยไม่เที่ยงธรรมหรือล่าช้า ข้อกำหนดของศาลชั้นต้นไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีไปแล้ว ศาลฎีกายกฟ้อง
คดีอาญาที่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้องเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) แต่การที่ศาลฎีกา จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตามมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้ เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้จึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลไม่อาจพิจารณาได้
คดีอาญา โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อไว้ในฟ้อง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ก็ล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีอาญา: ผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมและความร้ายแรงของโทษ
จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จซึ่งเป็นข้อสำคัญในคดีในการพิจารณาคดีอาญา การกระทำของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ผู้กระทำความผิดในคดีอาญาหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาได้ นับเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมายและทำให้เกิดความเสียหายแก่กระบวนการยุติธรรมของรัฐเป็นอย่างยิ่ง พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรง เพื่อให้จำเลยเข็ดหลาบและมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลที่คิดจะกระทำการเช่นจำเลยสมควรลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงตัวเป็นนายประกันปลอมเพื่อหลอกลวงศาล เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยและก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรม
การที่ผู้ถูกกล่าวหาแสดงตัวเป็น อ. นายประกันของจำเลยและลงลายมือชื่อในคำร้องขอประกันตัวต่อซึ่งเป็นลายมือชื่อปลอมเป็นการหลอกลวงศาลว่ามีการประกันตัวต่อโดยชอบ ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และมาตรา 33พฤติการณ์ดังกล่าวมีลักษณะร้ายแรงเป็นภัยต่อกระบวนการยุติธรรมอันเป็นช่องทางให้จำเลยหลบหนีได้ หากศาลตรวจไม่พบการกระทำผิดของผู้ถูกกล่าวหาเสียก่อน การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการศาลเป็นอย่างมาก แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะรับราชการครูและยังมีหน้าที่ต้องอุปการะผู้อื่น ก็ยังไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7-8/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสับเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ละเมิดอำนาจศาล แม้กระทำก่อนฟ้อง
แม้การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาจะกระทำตั้งแต่ในชั้นสอบสวน ก่อนดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล แต่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เข้าใจดีอยู่แล้วว่า ในที่สุดก็จะต้องมีการดำเนินคดีในศาลเป็นการต่อเนื่องกันไป การเปลี่ยนตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาโดยมิชอบย่อมเป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษ ทำให้กระบวนพิจารณาในศาลไม่อาจดำเนินไปโดยเที่ยงธรรมได้ ต้องถือว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ซึ่งแม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1จะมิใช่คู่ความ แต่การกระทำที่เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการได้แก่การขัดขืนไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลตามมาตรา 30 อันว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อยประการหนึ่ง กับการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอีกประการหนึ่ง เฉพาะการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาลเท่านั้นที่จะต้องเป็นคู่ความหรือบุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ส่วนการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลนั้นหาได้มีข้อจำกัดดังที่ถูกกล่าวหาที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใดไม่ ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งลงโทษผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ได้
การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้กระทำผิดที่แท้จริงไม่ต้องถูกลงโทษและศาลไม่อาจพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม ทั้งเป็นการชักจูงให้เยาวชนกระทำผิดเพื่อผลประโยชน์ของผู้กล่าวหาที่ 1 เอง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดแก่อนาคตของเยาวชน มิใช่เป็นการกระทำเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาและถูกผู้อื่นชักจูงให้หลงเชื่อ จึงไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะระหว่างการพิจารณาคดี ศาลต้องมีคำสั่งก่อนพิพากษา
โจทก์ถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1ต้องถือว่า โจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ก็ต่อเมื่อมีบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะและศาลจะต้องมีคำสั่งในการที่จะเข้ามาเป็นคู่ความแทนตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 42 และ 44 ก่อนการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาคดีไปโดยที่ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวนั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247 เป็นการไม่ชอบ
การที่โจทก์ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ กรณีมิใช่เรื่องที่โจทก์ถึงแก่ความตายระหว่างรอยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นจึงไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเผยแพร่ข้อความจากกระบวนการยุติธรรมและการคุ้มครองตามกฎหมายหมิ่นประมาท
การที่จำเลยที่ 2 นำข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลซึ่งเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ และข้อความดังกล่าวล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนที่ฟ้องโจทก์ เท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136 ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการเผยแพร่คำฟ้อง ไม่มีข้อความอื่นนอกเหนืออันจะส่อแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงการรายงานข่าวเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงได้รับความคุ้มครองตาม ป.อ. มาตรา 329 (4) ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง
of 14