พบผลลัพธ์ทั้งหมด 344 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6327/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการแต่งตั้งทนายความ – กระบวนการสอบถามก่อนพิจารณา – ความไม่ชอบของกระบวนพิจารณา
คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุก จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลชั้นต้นตั้งทนายความให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาล เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสอบถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวในวันสอบคำให้การของจำเลย แม้จำเลยจะแต่งตั้งทนายความเข้ามาในคดีในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ก็เป็นการแต่งตั้งทนายความหลังจากศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยแล้ว จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2), มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกระบวนพิจารณาที่มิชอบจากคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีรอยลบแก้ไข และการเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบตามมาตรา 27
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งอุทธรณ์ของจำเลยมีรอยลบด้วยหมึกสีขาวแล้วเขียนทับลงบนรอยลบ อันเป็นการขูดลบโดยมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสอง เป็นการไม่ชอบ ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียม อ้างว่าจำเลยไม่สามารถหาเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลได้ทันตามกำหนด อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดแย้งกับคำสั่งของศาลชั้นต้นบนรอยลบด้วยหมึกสีขาวที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ไปแล้ว แสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำสั่งเดิมแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว เมื่อปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเช่นนี้ ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งเสียได้ตามมาตรา 27 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โดยไม่ต้องให้จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนเสียก่อน ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งแก้ไขกระบวนพิจารณาที่มิชอบของศาลชั้นต้น โดยกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางต่อศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องหลังมีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว: ผลกระทบต่อฎีกาที่ยื่นไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี แม้จำเลยทั้งสองจะยื่นฎีกาอยู่ก็ตาม แต่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความอยู่จนกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ถ้าหากมี ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ต้องถือว่า คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่จะต้องสืบพยานจำเลยต่อไป ดังนั้น โจทก์ย่อมขอถอนฟ้องได้ และศาลชั้นต้นชอบที่จะมีอำนาจสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องโดยจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านแล้ว การถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีต่อมาภายหลังยื่นคำฟ้อง และกระทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 ดังนั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงต้องถูกลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้อง ไม่อาจที่จะนำฎีกาของจำเลยทั้งสองมาพิจารณาได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5186/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: มาตรา 27 ว.2 ป.วิ.พ. ครอบคลุมทุกกรณี
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวได้ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้รับทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดมูลแห่งข้ออ้างนั้นซึ่งระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าวนี้ใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา หาใช่ว่าใช้บังคับเฉพาะกรณีขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบช่วงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไม่ ดังนั้น คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ โดยอ้างว่าทนายโจทก์ได้มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมาขอเลื่อนคดีต่อศาลโดยให้เหตุผลว่าป่วยถือว่าโจทก์มาศาลและแจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแล้ว ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ไม่มาศาลนั้น จึงอยู่ในบังคับระยะเวลาแปดวันที่จะต้องปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดโจทก์ย่อมหมดสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางกระบวนพิจารณา: ผลผูกพันตามคำเบิกความพยาน และการพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยาน
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามคำท้า เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา เช่นการสาบาน หรือการเบิกความของพยานปากใดปากหนึ่ง ถ้าดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วสมประโยชน์ของคู่ความฝ่ายใด คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับข้อเท็จจริงตามที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้าง อันเป็นผลให้คู่ความฝ่ายที่ได้ประโยชน์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยไม่ต้องมีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นข้อพิพาท คดีนี้โจทก์และจำเลยท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของนางสาว บ. เป็นข้อแพ้ชนะคดี โดยมีเงื่อนไขบังคับก่อนเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาว่า หากนางสาว บ. เบิกความว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ 700,000 บาทเศษ ให้ถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยเป็นธรรม โจทก์ยอมแพ้คดี และโจทก์ยอมจ่ายเงินจำนวน 792,857.28 บาท ให้แก่จำเลย ถ้านางสาว บ. เบิกความว่า โจทก์ไม่ได้เป็นหนี้จำเลยตามยอดเงินดังกล่าว จำเลยยอมแพ้โดยถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม และจำเลยจะจ่ายค่าชดเชย เงินสะสม เงินสมทบ รวม 318,000 บาท ให้แก่โจทก์ ต่อมานางสาว บ. มาเบิกความว่า โจทก์เป็นหนี้จำเลยจำนวน 700,000 บาทเศษ จริง ตรงตามคำท้าเงื่อนไขบังคับก่อนจึงสำเร็จผลตามคำท้าสมประโยชน์แก่จำเลย คำท้าบังเกิดผลแล้ว โจทก์ต้องยอมรับข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างโดยไม่ต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ตามประเด็นพิพาท การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าโดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่พนักงานอัยการโจทก์จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เสียก่อน การที่พนักงานอัยการประจำศาลที่มีการส่งประเด็นมาสืบซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์นำสรรพเอกสารที่อ้างไว้ในคดีอื่นมาสืบในคดีนี้โดยผิดหลง จึงมีผลเท่ากับนำพยานหลักฐานที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้มาสืบ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวอันถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การสืบ อ. พยานโจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 เป็นกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว ย่อมมีผลเป็นการลบล้างการสืบ อ. และทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการสืบ อ. ในวันนั้นเลย โจทก์จึงมีสิทธินำ อ. ตามที่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เข้าสืบในวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ได้โดยชอบ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะการสืบ อ. ถูกเพิกถอนไปแล้ว
การสืบ อ. พยานโจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 เป็นกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว ย่อมมีผลเป็นการลบล้างการสืบ อ. และทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการสืบ อ. ในวันนั้นเลย โจทก์จึงมีสิทธินำ อ. ตามที่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เข้าสืบในวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ได้โดยชอบ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะการสืบ อ. ถูกเพิกถอนไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมาย หากไม่ยื่นถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
การที่โจทก์จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เสียก่อนจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ดังนั้น การที่ผู้แทนโจทก์นำสรรพเอกสารที่อ้างไว้ในคดีอื่นมาสืบในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับนำพยานหลักฐานที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้มาสืบ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น อันถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่และไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ทั้งได้แถลงขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ศาลชั้นต้นได้แจ้งประเด็นกลับ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรเกินกำหนดระยะเวลา, การงดสืบพยาน, และกระบวนพิจารณานอกห้องพิจารณาคดี
คำสั่งเรียกพยานเอกสารเป็นกระบวนพิจารณานอกจากการนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี การที่ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้จำเลยส่งประกาศของจำเลยเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตรไปให้ศาลแรงงานกลาง แม้มิได้มีคำสั่งในระหว่างพิจารณาคดีในห้องพิจารณาต่อหน้าคู่ความ และมิได้มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาด้วย ก็ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 18 และมาตรา 45 แล้ว
วันที่ 8 ตุลาคม 2545 เป็นวันนัดพร้อมมิใช่วันสืบพยาน โจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์สละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วย ส่วนวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ศาลแรงงานกลางนัดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา เมื่อถึงวันนัดศาลแรงงานกลางเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยานและได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟัง โดยถือว่าโจทก์ซึ่งมิได้มาศาลได้ฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้ว เมื่อมิได้มีการสืบพยานจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางไม่มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบแล้ว
ผู้มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอรับสิทธิภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน ตามปกติย่อมเสียสิทธิ แต่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่าการยื่นคำขอเกินกำหนด 1 ปี ที่จะทำให้ผู้ยื่นคำขอเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็นำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ โจทก์อ้างเหตุที่ยื่นล่าช้าเนื่องจากพนักงานบริษัทที่โจทก์ทำงานซึ่งดูแลงานด้านนี้ ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์จะต้องยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเมื่อใด เมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกแล้วพนักงานใหม่ที่มาดูแลงานด้านนี้แทนได้แจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับสิทธิของกองทุนประกันสังคมก็เกินกำหนดเวลาที่จะยื่นแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ยื่นคำขอล่าช้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกิน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร
วันที่ 8 ตุลาคม 2545 เป็นวันนัดพร้อมมิใช่วันสืบพยาน โจทก์ไม่มาศาลในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคสอง ให้ถือว่าโจทก์สละสิทธิการดำเนินกระบวนพิจารณาของตนในนัดนั้น และทราบกระบวนพิจารณาที่ศาลได้ดำเนินไปในนัดนั้นด้วย ส่วนวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ศาลแรงงานกลางนัดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา เมื่อถึงวันนัดศาลแรงงานกลางเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว ให้งดสืบพยานและได้อ่านคำพิพากษาให้ทนายจำเลยฟัง โดยถือว่าโจทก์ซึ่งมิได้มาศาลได้ฟังคำพิพากษาโดยชอบแล้ว เมื่อมิได้มีการสืบพยานจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาไม่ได้ ที่ศาลแรงงานกลางไม่มีคำสั่งจำหน่ายคดีจึงชอบแล้ว
ผู้มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนมิได้ยื่นคำขอรับสิทธิภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน ตามปกติย่อมเสียสิทธิ แต่ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่าการยื่นคำขอเกินกำหนด 1 ปี ที่จะทำให้ผู้ยื่นคำขอเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิล่าช้าก็นำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ โจทก์อ้างเหตุที่ยื่นล่าช้าเนื่องจากพนักงานบริษัทที่โจทก์ทำงานซึ่งดูแลงานด้านนี้ ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์จะต้องยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนเมื่อใด เมื่อพนักงานผู้นั้นลาออกแล้วพนักงานใหม่ที่มาดูแลงานด้านนี้แทนได้แจ้งให้โจทก์ทราบเกี่ยวกับสิทธิของกองทุนประกันสังคมก็เกินกำหนดเวลาที่จะยื่นแล้ว จึงมีเหตุอันสมควรที่ทำให้โจทก์ยื่นคำขอล่าช้า แม้โจทก์จะยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนเกิน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย หากไม่มี ศาลไม่รับพิจารณา
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดโดยอ้างว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และคู่ความขอให้ศาลไกล่เกลี่ยเพื่อประนีประนอมยอมความต่อกัน หากศาลมีคำพิพากษาตามยอมจะเป็นผลเสียหายแก่ผู้ร้องสอด จึงเป็นกรณีจำเป็นเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ผู้ร้องสอดอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์เดิมและจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลย เมื่อคำร้องสอดดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสอง แต่คำร้องสอดของผู้ร้องสอดไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอคืนของกลางซ้ำหลังศาลมีคำสั่งยกคำร้องแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 ให้ยกคำร้องขอคืนของกลาง โดยให้เหตุผลว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบตามคำร้อง เท่ากับศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชีขาดคดีไปแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางอีกครั้งในวันที่ 20 มีนาคม 2544 โดยอ้างเหตุว่าผู้ร้องไม่รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขับ ซึ่งเป็นอย่างเดียวกันกับคำร้องฉบับแรกจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้าม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15