พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสำนักงานปุ๋ยไม่ใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร จึงไม่อยู่ภายใต้ประกาศคุ้มครองแรงงาน
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528มาตรา 60 บัญญัติให้จัดระเบียบราชการกรุงเทพมหานคร ออกเป็น6 ส่วนราชการ ซึ่งมิได้มีสำนักงานปุ๋ยรวมอยู่ด้วยและไม่ปรากฎว่าสำนักงานปุ๋ยได้จัดตั้งขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครโดยทำเป็นประกาศกรุงเทพมหานครตามมาตรา 60(6) สำนักงานปุ๋ยจึงมิใช่ส่วนราชการของกรุงเทพมหานครส่วนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง สำนักงานปุ๋ย พ.ศ. 2531ข้อ 6 ซึ่งกำหนดให้กรุงเทพมหานครดำเนินการพาณิชย์เรื่อง สำนักงานปุ๋ยก็มิใช่เป็นบทบัญญัติกำหนดให้สำนักงานปุ๋ยเป็นส่วนราชการของกรุงเทพมหานคร กิจการของสำนักงานปุ๋ยจึงมิใช่ราชการส่วนท้องถิ่นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 1(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคารและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ศาลยืนตามคำสั่งรื้อถอน
คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับตลอดมา แม้ต่อมาพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจะถูกยกเลิกโดยมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ออกมาใช้บังคับแต่ก็มิได้มีการยกเลิกคำสั่งหรือมีคำสั่งใหม่จึงต้องเป็นไปตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ให้นำคำสั่งดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม อาคารประเภทควบคุมการใช้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนจึงจะทำการปลูกสร้างได้ จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนหนึ่ง แต่จำเลยก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนอื่น ซึ่งมีรูปแบบผิดไปในสาระสำคัญโดยไม่รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง จึงเป็นการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารให้ผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 หมวด 7 ข้อ 81 กำหนดว่า อาคารที่ก่อสร้างเพื่อใช้เก็บของสำหรับพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมไม่น้อยกว่า 10 เมตรสองด้าน จำเลยก่อสร้างอาคารโดยมีด้านหน้าเพียงด้านเดียวมีที่ว่างเกิน 10 เมตร ส่วนอาคารด้านหลังห่างแนวเขตที่ดินของจำเลยไม่เกิน 2 เมตร และมีการก่อสร้างรั้วคอนกรีตไว้บนแนวเขตที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยเช่าที่ดินด้านหลังอาคารออกไปกว้าง 7 เมตร แต่ก็มีผู้อื่นปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามา 2 เมตร สภาพดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีที่ว่าง10 เมตร อาคารที่จำเลยก่อสร้างจึงผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารต้องร่นระยะจากถนนและเว้นที่ทางเดินหลังอาคารตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
แผงกันสาดเป็นส่วนหนึ่งของอาคารต้องเว้นระยะจากกึ่งกลางถนนถึงกันสาด 6 เมตร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72 "ทางออก" ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(5) หมายถึง การมีทางออกซึ่งเป็นตรอกซอย หรือถนน หาใช่ทางออกจากทางด้านหน้าของอาคารแต่ละหลังเมื่ออาคารของจำเลยไม่มีตรอก ซอยหรือถนนอันเป็นทางออกภายในระยะ 15 เมตร นับจากหัวมุมที่ถนนตัดกัน จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเว้นที่ว่างให้เป็นทางเดินหลังอาคาร 2 เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.ผูกพันตามอำนาจหน้าที่ผู้ว่าฯ ในการเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืน
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกพ.ศ.2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66 (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานครเป็นจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับเหมาและกรุงเทพมหานครต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายจากอุบัติเหตุบนถนนก่อสร้าง หากละเลยการติดตั้งสัญญาณเตือน
จำเลยที่ 1 รับเหมาก่อสร้างปรับปรุงถนน ขณะถนนกำลังก่อสร้าง จำเลยที่ 1 ไม่จัดให้มีสัญญาณไฟเตือนทั้ง ๆ ที่มีข้อสัญญากับกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้างไว้ และจำเลยที่ 2ได้เตือนหลายครั้งแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมคาดได้ว่าหากไม่มีสัญญาณไฟเตือนให้เห็นอย่างชัดเจนก็อาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายได้ การที่ อ. ไม่เห็นเกาะกลางถนนที่กำลังก่อสร้างและขับรถยนต์ชนเกาะกลางถนนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ดูแลถนนในเขตกรุงเทพมหานครย่อมมีหน้าที่ควบคุมจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณจราจรในบริเวณก่อสร้างหรือซ่อมแซมถนน แม้จะจัดให้จำเลยที่ 1 รับเหมาก่อสร้างไปแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังมีหน้าที่ติดตั้งเครื่องหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่การจราจร เมื่อจำเลยที่ 2 ควบคุมแล้วยังมีข้อบกพร่อง จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดคราวเดียวกัน เมื่อจัดซ่อมไปแล้วหากตรวจพบภายหลังว่ายังมีส่วนชำรุดที่ยังมิได้ซ่อมหลงเหลืออยู่ ก็ยังจัดซ่อมต่อไปอีกได้ จะอ้างว่ามีสิทธิซ่อมเพียงครั้งเดียวไม่ว่าซ่อมแล้วจะดีดังเดิมหรือไม่ก็ตามหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรุงเทพมหานครต่ออุบัติเหตุจากงานก่อสร้างถนน แม้จะมอบหมายงานให้เอกชน
กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ รวมทั้งการวิศวกรรมจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 มาตรา 66(2) และ (12) ย่อมมีหน้าที่ควบคุมและจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ประชาชนผู้ใช้ถนนได้เห็นชัดเจนเพื่อป้องกันอุบัติ เหตุ ถึงแม้จำเลยที่ 4 จะได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับเหมาเป็นผู้ดูแลพื้นที่ในถนนที่ทำการซ่อมปรับปรุง จำเลยที่ 4 ก็ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 2 ติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ถูกต้อง การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีความประมาทมิได้ติดตั้งสัญญาณไฟไว้ในบริเวณหลุมที่ขุดในถนนเป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ขับรถยนต์มาตกหลุมดังกล่าวทำให้ผู้ที่โดยสารมาถึงแก่ความตายโจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บ และทรัพย์สินของโจทก์ที่ 2 ที่ 3 สูญหายถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ละเว้นหน้าที่โดยประมาทเลิ่นเล่อในการไม่ควบคุมให้มีการติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ถูกต้องเป็นเหตุให้ความเสียหายดังกล่าวต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6104/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรุงเทพมหานครฐานละเว้นการดูแลความปลอดภัยบนถนน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ
กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 4 มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ รวมทั้งวิศวกรรมจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 66(2)และ (12) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 ย่อมมีหน้าที่ควบคุมและจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ประชาชนผู้ใช้ถนนได้เห็นชัดเจนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของจำเลยที่ 4 ถึงแม้จะได้กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลพื้นที่ที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 4 ก็ต้องควบคุมให้จำเลยที่ 2 ติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟขึ้นให้ถูกต้อง เมื่อปรากฏว่าคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 มีความประมาทมิได้ติดตั้งสัญญาณไฟไว้ในบริเวณหลุมที่เกิดเหตุ ว.และส. ซึ่งจำเลยที่ 4 ส่งไปให้ควบคุมการซ่อมปรับปรุงถนนที่เกิดเหตุ ก็มิได้คอยดูว่ามีการติดตั้งสัญญารถไฟบริเวณหลุมดังกล่าวในคืนเกิดเหตุหรือไม่เช่นนี้ ตามพฤติการณ์ชี้ให้เห็นว่า จำเลยที่ 4 ละเว้นหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อในการไม่ควบคุมให้มีการติดตั้งเครื่องหมายและสัญญาณไฟให้ถูกต้องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุหรือป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ถนน เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกรุงเทพมหานคร และการรับฟังพยานหลักฐานในข้อเท็จจริง
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ข้อเท็จจริงต้องฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมิได้ฟังข้อเท็จจริงจากคำพยานบอกเล่าแต่ปากเดียว แต่รับฟังจากข้อเท็จจริงอื่นประกอบด้วย ไม่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย
การฟ้องคดีต่อศาลให้ผู้ที่ทำทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครเสียหายชดใช้ค่าเสียหายแก่กรุงเทพมหานครถือได้ว่าเป็นการบริหารราชการตามหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ม.19(1) กรุงเทพมหานครโจทก์โดย ช. ผู้ว่าราชการ จึงมีอำนาจฟ้อง
การฟ้องคดีต่อศาลให้ผู้ที่ทำทรัพย์สินของกรุงเทพมหานครเสียหายชดใช้ค่าเสียหายแก่กรุงเทพมหานครถือได้ว่าเป็นการบริหารราชการตามหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2518 ม.19(1) กรุงเทพมหานครโจทก์โดย ช. ผู้ว่าราชการ จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งไล่ลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร: การใช้ดุลพินิจทางปกครองและการก้าวก่าย
ระเบียบว่าด้วยลูกจ้างของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2516 เป็นระเบียบที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายอยู่ที่โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างประจำของกรุงเทพมหานคร จำเลยก็โดยอาศัยระเบียบดังกล่าว การที่จำเลยเห็นว่าโจทก์ทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงและสั่งไล่โจทก์ออกจากงานก็โดยอาศัยอำนาจตามระเบียบ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจสั่งการตามอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายบริหารโดยแท้ โจทก์จึงขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเพิกถอนคำสั่งของจำเลยอันเป็นการก้าวก่ายดุลพินิจตามอำนาจของจำเลยไม่ได้
ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์และปฏิบัตินอกเหนืออำนาจ แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิดหรือไม่
ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์และปฏิบัตินอกเหนืออำนาจ แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทน จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิดหรือไม่