พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลักทรัพย์: การกระทำเพื่อกลั่นแกล้งโดยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยกับผู้เสียหายรู้จักกันมาก่อนเกิดเหตุ วันเกิดเหตุจำเลยและผู้เสียหายเข้ามาดื่มสุราในร้านเดียวกัน จำเลยมีอาการเมาสุรามากพูดจารบกวนผู้เสียหายและท้าผู้เสียหายชกต่อย ผู้เสียหายรำคาญจึงย้ายเข้าไปนั่งดื่มสุราต่อในร้าน จำเลยจึงเดินออกจากร้านอาหารและได้ยกรถจักรยานของผู้เสียหายซึ่งจอดอยู่หน้าร้านบรรทุกรถสามล้อเครื่องซึ่งขับผ่านมาไป มีการร้องตะโกนเรียกจำเลยแต่จำเลยก็ยังคงให้รถสามล้อเครื่องขับต่อไป ทั้งที่รถจักรยานยนต์ของจำเลยยังคงจอดอยู่ที่หน้าร้านอาหาร สักครู่จำเลยก็กลับมาที่ร้านอาหารอีก หลังจากจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับแล้ว จำเลยก็พาเจ้าพนักงานตำรวจไปเอารถจักรยานคืนผู้เสียหายโดยดี การที่จำเลยเอารถจักรยานของผู้เสียหายไปก็เพื่อจะกลั่นแกล้งผู้เสียหายจำเลยไม่มีเจตนาลักรถจักรยานผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากการกลั่นแกล้งนายจ้าง ศาลเพิกถอนคำสั่งและให้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยแล้วมีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การที่จำเลยกลับมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากงานเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะจำเลยมีเจตนากลั่นแกล้งที่จะไม่จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเพิกถอนคำสั่งเรื่องไล่ออกจากงานของจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยเรื่องไล่ออกจากงานหรือไม่ และจำเลยต้องจ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์หรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานและพฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยที่กระทำต่อโจทก์ว่า ก่อนที่โจทก์จะยื่นใบลาออก จำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ ถือว่าเป็นการลดตำแหน่งและจำเลยไม่พิจารณาขึ้นเงินเดือนกับจ่ายเงินโบนัสให้แก่โจทก์โดยไม่เคยกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดหรือตั้งกรรมการสอบสวนความผิดเมื่อถึงกำหนดใบลาออก โจทก์มิได้ไปทำงานจำเลยมิได้ไล่โจทก์ออกจากงานในเวลาที่สมควรนั้น เพื่อให้เห็นว่าจำเลยกลั่นแกล้งโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต อันจะเชื่อมโยงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรง มิใช่นอกฟ้องนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: ฝ่ายผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และการกลั่นแกล้งของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ฉ. ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ คงมีจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธไว้เพียงว่า ฉ. จะมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์หรือไม่อย่างไร จำเลยที่ 2ไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การดังกล่าวมิได้แสดงโดยแจ้งชัดว่าปฏิเสธอำนาจฟ้องของโจทก์ข้อใดและมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธดังนี้ คดีไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง สัญญาก่อสร้างมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 360 วัน โจทก์ได้ต่ออายุสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ออกไปอีก 120 วัน ครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่เสร็จ จำเลยที่ 1 มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ต่อมาโจทก์ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำการก่อสร้างให้เสร็จได้ภายในกำหนดสัญญาทั้ง ๆ ที่โจทก์ก็ได้ต่ออายุสัญญาให้ครั้งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนี้ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 ได้ โจทก์จ้าง จ. ก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านเตาไท และโรงเรียนบ้านนารายณ์ เพิ่มเติมต่อจากที่จำเลยที่ 1 ก่อสร้างค้างไว้ กับก่อสร้างอาคารโรงเรียนบ้านดอนจันทร์ รวมเป็นเงิน1,350,000 บาท เท่ากับจำนวนเงินที่เหลือตามสัญญาจ้างกับจำเลยที่ 1 พอดี โจทก์ดำเนินการก่อสร้างโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการจึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่โจทก์ได้รับเนื่องจากจำเลยที่ 1ผิดสัญญาจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าก่อสร้างส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 5 ถึง 6 มีนาคม 2528เวลากลางคืนและกลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยนำความเท็จไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสำเหร่ ว่าโจทก์ทำร้ายร่างกายจำเลยและชิงทรัพย์คือสร้อยคอทองคำขาว 1 เส้น พร้อมจี้เพชรของจำเลยเพื่อแกล้งให้โจทก์รับโทษทางอาญา โดยระบุว่าความจริงเป็นอย่างไร โจทก์ไม่จำต้องระบุในฟ้องว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ใดก็สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และลักษณะของการกระทำผิดในคดีนี้ปรากฏว่าจำเลยแจ้งความ 2 ครั้ง ต่อเนื่องกันใน 2 วันดังกล่าวทั้งเป็นการกล่าวแสดงเจตนาของจำเลยในตัวว่า จำเลยทราบแล้วว่าความจริงไม่เป็นดังที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาสถานที่พอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นรถและการกล่าวหาตำรวจกลั่นแกล้ง: ศาลยกฟ้องข้อหาขัดขวางการปฏิบัติงาน ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน และไม่แจ้งชื่อ
เจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นรถของจำเลย ครั้งแรกจำเลยไม่ยอมให้ค้นเนื่องจากเกรงว่าตำรวจจะกลั่นแกล้งเพราะเหตุที่เคยมีสาเหตุกับตำรวจนั้นมาก่อนในที่สุดจำเลยยอมให้ค้นดังนี้ เห็นได้ว่าจำเลยขาดเจตนาต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา138
การที่จำเลยว่าตำรวจจะเอาของผิดกฎหมายใส่รถจำเลย ตำรวจจะรุททำร้ายจำเลย ไม่แน่ใจว่าเป็นตำรวจ ตำรวจแต่งเครื่องแบบปล้นก็มี เป็นการกล่าวเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยถูกตำรวจกลั่นแกล้ง เนื่องจากตำรวจหาเหตุมาหยุดรถและค้นรถของจำเลยโดยเฉพาะ การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นจึงเป็นการปกป้องตนเอง มิให้ตำรวจกระทำการดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136
ตำรวจรู้จักชื่อและที่อยู่จำเลยแล้วเพราะเคยไปค้นบ้านจำเลยมาก่อน ไม่มีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องถามชื่อและที่อยู่จำเลยอีก การที่จำเลยมิได้แจ้งชื่อและที่อยู่ตามที่ตำรวจถาม จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 367.(ที่มา-ส่งเสริม)
การที่จำเลยว่าตำรวจจะเอาของผิดกฎหมายใส่รถจำเลย ตำรวจจะรุททำร้ายจำเลย ไม่แน่ใจว่าเป็นตำรวจ ตำรวจแต่งเครื่องแบบปล้นก็มี เป็นการกล่าวเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยถูกตำรวจกลั่นแกล้ง เนื่องจากตำรวจหาเหตุมาหยุดรถและค้นรถของจำเลยโดยเฉพาะ การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำเช่นนั้นจึงเป็นการปกป้องตนเอง มิให้ตำรวจกระทำการดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136
ตำรวจรู้จักชื่อและที่อยู่จำเลยแล้วเพราะเคยไปค้นบ้านจำเลยมาก่อน ไม่มีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องถามชื่อและที่อยู่จำเลยอีก การที่จำเลยมิได้แจ้งชื่อและที่อยู่ตามที่ตำรวจถาม จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 367.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5054/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความรุนแรงข่มขู่เพื่อกลั่นแกล้ง ไม่ถือเป็นความผิดชิงทรัพย์ แต่เป็นความผิดทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ
จำเลยที่ 1 ใช้แขนรัดคอและใช้มีดคัทเตอร์จี้ผู้เสียหายขู่บังคับให้ผู้เสียหายส่งไม้ทีสไลด์ให้โดยมีจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ด้วย แล้วจำเลยที่ 2 ยื้อแย่งเอาย่ามใส่หนังสือจากผู้เสียหายเมื่อจำเลยที่ 1 ได้ไม้ทีสไลด์จากผู้เสียหายแล้วแทนที่จะหลบหนีไปจำเลยทั้งสองกลับบังคับให้ผู้เสียหายเดินไปกับจำเลยทั้งสองเมื่อพบเจ้าหน้าที่ตำรวจจำเลยทั้งสองก็มิได้หลบหนี ทั้งได้คืนไม้ทีสไลด์ให้ผู้เสียหายแต่โดยดี โดยบอกว่าล้อผู้เสียหายเล่นซึ่งเป็นการผิดวิสัยของคนร้ายที่กระทำการชิงทรัพย์โดยทั่วไปที่จำเลยทั้งสองกระทำต่อผู้เสียหายก็เนื่องจากความคึกคะนองประกอบกับความมึนเมาสุราด้วยเจตนาจะกลั่นแกล้งข่มเหงน้ำใจผู้เสียหายซึ่งแต่งเครื่องแบบนักศึกษาของวิทยาลับที่จำเลยทั้งสองไม่ชอบมาก่อนหาได้มีเจตนาลักทรัพย์ไม่การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีอาวุธข่มขืนใจผู้เสียหายให้กระทำการตามความประสงค์ของจำเลยทั้งสองทำให้ผู้เสียหายกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายเสรีภาพ หรือทรัพย์สิน การกระทำอันขู่เข็ญนี้เป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์และโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้องแล้วศาลฎีกาย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างสวัสดิการ โบนัส และการพิสูจน์กลั่นแกล้งในคดีแรงงาน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยโดยบรรยายฟ้องว่าเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษเงินสะสมค่าเครื่องแบบค่าต่อทะเบียนรถยนต์ค่าภาษีเงินได้ค่ารถประจำตำแหน่งและโบนัสพิเศษเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมาเป็นฐานคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยจำเลยให้การว่าไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะเป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์มีความผิดแม้จะมิได้ต่อสู้ว่าเงินรายการใดเป็นค่าจ้างหรือไม่แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วศาลย่อมต้องพิจารณาต่อไปว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเป็นจำนวนเงินเท่าใดโดยคำนวณจากอายุงานและค่าจ้างเป็นหลักเมื่อรายการใดถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้างตามกฎหมายอันจะพึงนำมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนนั้นการที่ศาลวินิจฉัยว่าเงินและสิ่งของที่โจทก์ได้รับรวม8รายการมิใช่ค่าจ้างจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับประเด็นไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นหรือเป็นเรื่องที่ถือว่าจำเลยยอมรับแล้ว เงินรางวัลเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้จากผลกำไรซึ่งแล้วแต่ผู้บริหารจะกำหนดเองและไม่แน่นอนมิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานโดยตรงส่วนค่าครองชีพพิเศษก็มิได้แยกจำนวนไว้ต่างหากโดยกำหนดรวมไว้เป็นเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษผลจึงเป็นว่าการจ่ายเงินรางวัลและค่าครองชีพพิเศษต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้บริหารของจำเลยที่จะกำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอนเงินประเภทนี้จึงมิใช่ค่าจ้าง จำเลยได้จ่ายเงินสะสมสมทบโดยมิได้หักเงินเดือนของลูกจ้างและได้จ่ายสมทบนับแต่พนักงานของจำเลยได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำส่วนสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับเงินสะสมก็ต่อเมื่อออกจากงานหากออกจากงานก่อนครบ5ปีหรือออกเพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือประมาทเลินเล่อหรือต้องจำคุกโดยคำพิพากษาก็ไม่มีสิทธิได้รับนอกจากจำเลยจะพิจารณาเห็นสมควรเงินประเภทนี้จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานอันพึงถือว่าเป็นค่าจ้าง ค่าต่อทะเบียนรถยนต์ปีละ1,000บาทจำเลยจ่ายให้แก่พนักงานบางระดับที่ไม่มีรถยนต์ประจำตำแหน่งแต่สำหรับโจทก์ซึ่งมีรถยนต์ประจำตำแหน่งได้รับอนุมัติช่วยเหลือด้วยซึ่งเป็นเพียงการช่วยเหลือในด้านสวัสดิการมิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานถือไม่ได้ว่าเป็นค่าจ้าง จำเลยเติมน้ำมันให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์ได้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งมีจำนวนมากน้อยแล้วแต่การใช้งานแต่ไม่เกินเดือนละ300ลิตรหากใช้น้อยก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องในส่วนที่ใช้ยังไม่ครบจึงเป็นจำนวนไม่แน่นอนและมิใช่การเหมาจ่ายกรณีเป็นเรื่องที่จำเลยอนุเคราะห์โจทก์เกี่ยวกับการใช้พาหนะมิใช่เงินหรือสิ่งของที่จ่ายเป็นการตอบแทนการทำงานอันจะถือเป็นค่าจ้าง ภาษีเงินได้ที่จำเลยออกให้โจทก์โดยมิได้หักจากเงินเดือนของโจทก์เป็นการที่จำเลยจัดให้มีขึ้นเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างให้ได้รับค่าจ้างเต็มอัตราตามสัญญาจ้างเพื่อความมั่นคงในการดำรงชีพและดำรงฐานะให้เหมาะสมกับตำแหน่งยิ่งขึ้นเป็นสวัสดิการที่จำเลยจัดหาให้แก่ลูกจ้างมิใช่เป็นเงินที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างจึงมิใช่ค่าจ้าง จำเลยจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้โจทก์ได้ใช้ก็เพื่อประโยชน์ในการที่โจทก์ใช้เป็นพาหนะเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตนแม้บางเวลาโจทก์อาจนำไปใช้เป็นส่วนตัวได้บ้างก็เป็นเรื่องการอนุเคราะห์ในด้านความสะดวกสบายบางประการเท่านั้นกรณีไม่อาจเปลี่ยนแปลงสภาพของการอำนวยประโยชน์ของความสะดวกสบายเช่นนี้มาเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนได้จึงมิใช่ค่าจ้าง เงินโบนัสไม่ใช่เงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างนายจ้างจะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายอย่างใดก็ได้ตามแต่นายจ้างจะเป็นผู้กำหนดและการจ่ายเงินโบนัสพิเศษก็เป็นไปตามดุลพินิจของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยเป็นผู้กำหนดและเป็นจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่ค่าจ้าง โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางเรียกพยานเอกสารจากจำเลยหลายฉบับหลายครั้งคำร้องทุกฉบับโจทก์ได้ชี้แจงแสดงเหตุที่จะต้องขอให้เรียกเอกสารจากจำเลยและศาลแรงงานกลางได้สอบถามรายละเอียดของข้อเท็จจริงในเอกสารต่างๆจากโจทก์บ้างแล้วมีความเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับคดีและไม่มีความจำเป็นต้องนำสืบดังนี้เป็นการที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้งดสืบพยานหลักฐานดังกล่าวตามป.วิ.พ.มาตรา86ประกอบพรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา31เมื่อโจทก์ได้เบิกความถึงข้อเท็จจริงต่างๆในเอกสารเหล่านั้นโดยไม่จำต้องอาศัยพยานเอกสารการเรียกเอกสารดังกล่าวจึงไม่จำเป็นแก่คดีศาลแรงงานกลางชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ได้ พยานเอกสารที่จำเลยนำมาสืบแม้เป็นเพียงภาพถ่ายมิใช่ต้นฉบับเอกสารแต่เมื่อจำเลยส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นพยานโจทก์และพยานจำเลยหลายปากก็ได้เบิกความรับรองและอ้างถึงเอกสารดังกล่าวซึ่งเท่ากับยอมรับว่าเอกสารนั้นมีอยู่จริงและมีข้อความตรงกับต้นฉบับถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าภาพถ่ายเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลย่อมรับฟังเอกสารดังกล่าวได้หาเป็นการขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา93ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจอธิการบดีสั่งลงโทษนักศึกษาต้องพิสูจน์การกระทำผิดจริง การกลั่นแกล้งโจทก์เป็นเหตุให้ต้องสืบพยาน
ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ.2521 มาตรา 21(8)จำเลยที่ 2 ในฐานะอธิการบดีมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยวินัยและการปกครองนักศึกษา พ.ศ.2521 ข้อ 22 กำหนดให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับดังนั้น ในกรณีที่นักศึกษากระทำผิดวินัยอธิการบดีย่อมมีอำนาจที่จะสั่งลงโทษได้ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกันทำละเมิดมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์โจทก์ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นฐานกระทำผิดวินัย โดยโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยไม่ได้ทุจริตหรือปกปิดเกี่ยวกับเงินส่วนลดของค่าเช่ารถไปแข่งขันกีฬา จำเลยทั้งสองบิดเบือนความจริง กลั่นแกล้งโจทก์ เพราะสาเหตุเนื่องจากโจทก์เป็นนายกสโมสรนักศึกษาและเป็นผู้นำนักศึกษาคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติงานอันไม่ถูกต้องของจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิการบดี จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธดังนี้ ปัญหาที่ว่าโจทก์กระทำผิดวินัยหรือไม่ยังไม่ยุติชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกันทำละเมิดมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์โจทก์ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นฐานกระทำผิดวินัย โดยโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยไม่ได้ทุจริตหรือปกปิดเกี่ยวกับเงินส่วนลดของค่าเช่ารถไปแข่งขันกีฬา จำเลยทั้งสองบิดเบือนความจริง กลั่นแกล้งโจทก์ เพราะสาเหตุเนื่องจากโจทก์เป็นนายกสโมสรนักศึกษาและเป็นผู้นำนักศึกษาคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติงานอันไม่ถูกต้องของจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิการบดี จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธดังนี้ ปัญหาที่ว่าโจทก์กระทำผิดวินัยหรือไม่ยังไม่ยุติชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งพักงานเกิน 7 วัน ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างหากไม่มีเจตนาจะไม่จ้าง หรือกลั่นแกล้ง
จำเลยสั่งพักงานโจทก์ โดยไม่มีเจตนาที่จะไม่จ้างหรือกลั่นแกล้งแต่เพื่อสอบสวนกรณีทุจริต แล้วสั่งให้โจทก์เข้าทำงานต่อไปไม่ถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ
คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งโจทก์ มิได้คัดค้านไว้โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้
คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งโจทก์ มิได้คัดค้านไว้โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างและสหภาพแรงงาน: เหตุผลทางเศรษฐกิจต้องสมควรและไม่เป็นการกลั่นแกล้ง
การที่นายจ้างประสบปัญหาขาดทุนจนต้องลดการผลิตแต่ยังไม่ถึงกับยุบหน่วยงานเสียทั้งหน่วยหรือเลิกกิจการไปยังไม่มีเหตุผลเพียงพอและสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้าง อนุกรรมการ และกรรมการสหภาพแรงงานได้