พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนมรดกที่ผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดก และอำนาจฟ้องของกองมรดก
++ เรื่อง มรดก เพิกถอนนิติกรรม
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสองประการแรกว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 เนื่องจากโจทก์มิได้ทำเป็นคำร้องแสดงเหตุที่ไม่อาจระบุพยานได้ แล้วในเวลาต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมฉบับดังกล่าวนั้นชอบหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การระบุบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมดังกล่าว โจทก์ได้ทำเป็นคำแถลงฉบับลงวันที่ 17 มิถุนายน 2539 ทั้งบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมครั้งที่ 2 ได้ระบุสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 662/2535 ของศาลชั้นต้น แต่ไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ระบุ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตแล้วในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมฉบับดังกล่าวของโจทก์และให้นำสำนวนคดีอาญาดังกล่าวมาผูกพ่วงกับคดีนี้เป็นพยานโจทก์และพยานศาล ให้ทนายความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับทราบคำสั่งศาลนี้ไว้ในคำแถลงฉบับนี้ ปรากฏตามท้ายคำแถลงฉบับลงวันที่ 17มิถุนายน 2539 แต่ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลได้ให้ฝ่ายจำเลยลงชื่อรับทราบคำสั่งศาลดังกล่าวไว้ ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่มีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้ จำเลยทั้งสองชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงไม่ชอบ
++ การที่โจทก์ยื่นบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมดังกล่าว แม้จะเป็นการยื่นที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสาม ดังจำเลยทั้งสองฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมด้วยเหตุผลที่ศาลชั้นต้นได้สั่งไว้นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาแล้ว สำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 662/2535 ของศาลชั้นต้น เป็นสำนวนเดียวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 106/2533 ของศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งสองได้ระบุอ้างไว้ตามบัญชีพยานจำเลยฉบับลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2536 อันดับที่ 19การยื่นบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมนั้นจึงมิได้ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบทั้งสำนวนคดีอาญาที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีจำเป็นจะต้องสืบด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้วศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเช่นนั้นได้ คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว และสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 662/2535 ของศาลชั้นต้น ทั้งสำนวนย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบอีก
++
++ ปัญหาต่อไป ศาลมีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงในสำนวนคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้หรือไม่
++ เห็นว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ 106/2533 เป็นคดีที่นายคลายฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์มีประเด็นโดยตรงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายคล้อยได้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อให้จำเลยที่ 2หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงอย่างเดียวกับข้อพิพาทในคดีแพ่งนี้แม้ในคดีแพ่งนี้โจทก์จะฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งถือว่าเป็นการกระทำแทนทายาทเมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายจำรัสด้วย ทั้งทรัพย์มรดกของนายคล้อยและนายจำรัสคือที่ดินพิพาทรายเดียวกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัว ดังนั้น จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีอาญากับโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสกับจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งเป็นคู่ความรายเดียวกัน และคดีอาญาดังกล่าวนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2539 ดังนั้น ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ++
++ ปัญหาต่อไปจำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินพิพาทของนายจำรัสเป็นการร่วมกันฉ้อฉลกองมรดกของนายจำรัสหรือไม่ ในปัญหานี้คดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกส่วนของนายจำรัสและนายละมัย จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียว แล้วจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2นำไปจำนองต่อธนาคารกสิกรไทย สาขาสุราษฎร์ธานี เป็นการกระทำโดยทุจริตมีความผิดฐานผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น ในการพิจารณาคดีแพ่งนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
++ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายจำรัสและนายละมัย จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2นำไปจำนองโดยทุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการยักยอกทรัพย์มรดกของนายจำรัส แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะมิใช่เรื่องการฉ้อฉลตามฟ้องก็ตาม แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง และจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1หลังจากจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานยักยอกสำเร็จแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 เบียดบังทรัพย์มรดกของนายจำรัสจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำผิดฐานรับของโจรนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวย่อมผูกพันคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2
++ จำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้โอนที่ดินพิพาททรัพย์มรดกของนายจำรัสให้แก่จำเลยที่ 2ดังนั้น การรับโอนที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 แม้จะมิได้รู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะถือว่าเป็นการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนโดยกระทำผิดฐานยักยอกแล้วจึงโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีอำนาจโอนให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทได้
++ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความมรดกและฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนแล้ว ในปัญหานี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองความว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายคล้อยซึ่งนายจำรัสมีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม แต่นายจำรัสได้ถึงแก่ความตายก่อนและการจัดการมรดกของนายคล้อยยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนายคล้อยได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองแล้วจดทะเบียนยกให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้กองมรดกของนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกนายคล้อยและสัญญาให้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกนายคล้อยให้แก่ตนเองในขณะเป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย แล้วจำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกนายคล้อยทำให้มรดกของนายคล้อยที่จะตกได้แก่กองมรดกนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเสียหาย จึงเป็นคดีจัดการมรดกนายคล้อย มิใช่คดีมรดกนายคล้อยซึ่งต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอ้างอายุความนับตั้งแต่นายจำรัสตายขึ้นต่อสู้ได้และแม้ว่าโจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นการฉ้อฉล แต่เนื้อหาของคำฟ้องนั้นมิใช่เป็นเรื่องการฉ้อฉล จึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล อายุความการฟ้องคดีจึงไม่นับแต่วันรู้ถึงมูลเหตุให้เพิกถอนดังจำเลยทั้งสองฎีกาแต่กรณีตามคดีนี้เป็นเรื่องการฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทางทะเบียนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่กองมรดกของนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ดังนั้น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัส จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของนายคล้อยดังกล่าวได้
++ ปัญหาต่อไปโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของนายละมัยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของนายคล้อย โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายจำรัส คงจัดการได้เฉพาะส่วนมรดกของนายจำรัสเท่านั้น โจทก์ขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาททั้งหมดจึงไม่ชอบนั้น ฎีกาจำเลยทั้งสองถือว่าเป็นข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยทั้งสองชอบที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคสอง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้
++ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังเป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของนายละมัยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของนายคล้อย และขณะฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการมรดกของนายจำรัสเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ได้ความอีกว่านายจำรัสถึงแก่ความตายขณะเป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย โดยนายจำรัสไม่มีบุตรและภริยา มิได้ทำพินัยกรรมไว้ทั้งที่ดินพิพาทมีชื่อนายจำรัสในฐานะผู้จัดการมรดกนายคล้อยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ก่อนที่นายจำรัสจะถึงแก่ความตาย นายจำรัสและนายละมัยจึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเมื่อนายจำรัสถึงแก่ความตายทายาททุกคนของนายจำรัสย่อมเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแทนนายจำรัสร่วมกับนายละมัยด้วย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสจึงมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันกับทายาทของนายจำรัสที่จะจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ในฐานะเจ้าของรวม ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก รวมทั้งการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพยสินคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745ประกอบมาตรา 1359 โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัส จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบดังกล่าวในส่วนของนายละมัยได้ด้วย ถือว่าเป็นการใช้สิทธิป้องกันแทนกันในฐานะเจ้าของรวม ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยทั้งสองประการแรกว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 เนื่องจากโจทก์มิได้ทำเป็นคำร้องแสดงเหตุที่ไม่อาจระบุพยานได้ แล้วในเวลาต่อมาศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมฉบับดังกล่าวนั้นชอบหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การระบุบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมดังกล่าว โจทก์ได้ทำเป็นคำแถลงฉบับลงวันที่ 17 มิถุนายน 2539 ทั้งบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมครั้งที่ 2 ได้ระบุสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 662/2535 ของศาลชั้นต้น แต่ไม่ได้ลงลายมือชื่อผู้ระบุ เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาตแล้วในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2539 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งว่าสำนวนคดีอาญาดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมฉบับดังกล่าวของโจทก์และให้นำสำนวนคดีอาญาดังกล่าวมาผูกพ่วงกับคดีนี้เป็นพยานโจทก์และพยานศาล ให้ทนายความทั้งสองฝ่ายลงชื่อรับทราบคำสั่งศาลนี้ไว้ในคำแถลงฉบับนี้ ปรากฏตามท้ายคำแถลงฉบับลงวันที่ 17มิถุนายน 2539 แต่ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานศาลได้ให้ฝ่ายจำเลยลงชื่อรับทราบคำสั่งศาลดังกล่าวไว้ ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แต่เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่มีโอกาสที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้ จำเลยทั้งสองชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงไม่ชอบ
++ การที่โจทก์ยื่นบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมดังกล่าว แม้จะเป็นการยื่นที่ฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรคสาม ดังจำเลยทั้งสองฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมด้วยเหตุผลที่ศาลชั้นต้นได้สั่งไว้นั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ซึ่งเมื่อได้พิจารณาแล้ว สำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 662/2535 ของศาลชั้นต้น เป็นสำนวนเดียวกับคดีอาญาหมายเลขดำที่ 106/2533 ของศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งสองได้ระบุอ้างไว้ตามบัญชีพยานจำเลยฉบับลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2536 อันดับที่ 19การยื่นบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติมนั้นจึงมิได้ทำให้จำเลยทั้งสองเสียเปรียบทั้งสำนวนคดีอาญาที่โจทก์อ้างเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีจำเป็นจะต้องสืบด้วย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้วศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเช่นนั้นได้ คำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว และสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 662/2535 ของศาลชั้นต้น ทั้งสำนวนย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานบุคคลมาสืบประกอบอีก
++
++ ปัญหาต่อไป ศาลมีอำนาจรับฟังข้อเท็จจริงในสำนวนคดีอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้หรือไม่
++ เห็นว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ 106/2533 เป็นคดีที่นายคลายฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์มีประเด็นโดยตรงว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายคล้อยได้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อให้จำเลยที่ 2หรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นโดยตรงอย่างเดียวกับข้อพิพาทในคดีแพ่งนี้แม้ในคดีแพ่งนี้โจทก์จะฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสฟ้องจำเลยทั้งสองซึ่งถือว่าเป็นการกระทำแทนทายาทเมื่อได้ความว่าโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายจำรัสด้วย ทั้งทรัพย์มรดกของนายคล้อยและนายจำรัสคือที่ดินพิพาทรายเดียวกับที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะส่วนตัว ดังนั้น จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีอาญากับโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสกับจำเลยทั้งสองในคดีแพ่งเป็นคู่ความรายเดียวกัน และคดีอาญาดังกล่าวนั้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2539 ดังนั้น ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ++
++ ปัญหาต่อไปจำเลยทั้งสองได้โอนที่ดินพิพาทของนายจำรัสเป็นการร่วมกันฉ้อฉลกองมรดกของนายจำรัสหรือไม่ ในปัญหานี้คดีอาญาที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกส่วนของนายจำรัสและนายละมัย จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียว แล้วจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2นำไปจำนองต่อธนาคารกสิกรไทย สาขาสุราษฎร์ธานี เป็นการกระทำโดยทุจริตมีความผิดฐานผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น ในการพิจารณาคดีแพ่งนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
++ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายจำรัสและนายละมัย จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2นำไปจำนองโดยทุจริต การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการยักยอกทรัพย์มรดกของนายจำรัส แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะมิใช่เรื่องการฉ้อฉลตามฟ้องก็ตาม แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น แม้จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง และจำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1หลังจากจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานยักยอกสำเร็จแล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 รับโอนโดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 เบียดบังทรัพย์มรดกของนายจำรัสจึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 กระทำผิดฐานรับของโจรนั้น ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวย่อมผูกพันคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2
++ จำเลยที่ 1 โดยทุจริตได้โอนที่ดินพิพาททรัพย์มรดกของนายจำรัสให้แก่จำเลยที่ 2ดังนั้น การรับโอนที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 แม้จะมิได้รู้เห็นในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะถือว่าเป็นการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตนโดยกระทำผิดฐานยักยอกแล้วจึงโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีอำนาจโอนให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทได้
++ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความมรดกและฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนแล้ว ในปัญหานี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองความว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนายคล้อยซึ่งนายจำรัสมีสิทธิได้รับตามพินัยกรรม แต่นายจำรัสได้ถึงแก่ความตายก่อนและการจัดการมรดกของนายคล้อยยังไม่เสร็จสิ้น จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนายคล้อยได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองแล้วจดทะเบียนยกให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้กองมรดกของนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนมรดกนายคล้อยและสัญญาให้ที่ดินพิพาทที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกนายคล้อยให้แก่ตนเองในขณะเป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย แล้วจำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในเวลาต่อมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้เป็นการฟ้องว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกนายคล้อยทำให้มรดกของนายคล้อยที่จะตกได้แก่กองมรดกนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเสียหาย จึงเป็นคดีจัดการมรดกนายคล้อย มิใช่คดีมรดกนายคล้อยซึ่งต้องอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิอ้างอายุความนับตั้งแต่นายจำรัสตายขึ้นต่อสู้ได้และแม้ว่าโจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองทำการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นการฉ้อฉล แต่เนื้อหาของคำฟ้องนั้นมิใช่เป็นเรื่องการฉ้อฉล จึงมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล อายุความการฟ้องคดีจึงไม่นับแต่วันรู้ถึงมูลเหตุให้เพิกถอนดังจำเลยทั้งสองฎีกาแต่กรณีตามคดีนี้เป็นเรื่องการฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทางทะเบียนที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่กองมรดกของนายจำรัสซึ่งมีโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ดังนั้น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัส จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทอันเป็นมรดกของนายคล้อยดังกล่าวได้
++ ปัญหาต่อไปโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในปัญหานี้จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของนายละมัยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของนายคล้อย โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของนายจำรัส คงจัดการได้เฉพาะส่วนมรดกของนายจำรัสเท่านั้น โจทก์ขอให้เพิกถอนที่ดินพิพาททั้งหมดจึงไม่ชอบนั้น ฎีกาจำเลยทั้งสองถือว่าเป็นข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 จำเลยทั้งสองชอบที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างในศาลฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคสอง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้
++ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังเป็นยุติว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นของนายละมัยในฐานะผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของนายคล้อย และขณะฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นเพียงผู้จัดการมรดกของนายจำรัสเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ได้ความอีกว่านายจำรัสถึงแก่ความตายขณะเป็นผู้จัดการมรดกของนายคล้อย โดยนายจำรัสไม่มีบุตรและภริยา มิได้ทำพินัยกรรมไว้ทั้งที่ดินพิพาทมีชื่อนายจำรัสในฐานะผู้จัดการมรดกนายคล้อยเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ก่อนที่นายจำรัสจะถึงแก่ความตาย นายจำรัสและนายละมัยจึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเมื่อนายจำรัสถึงแก่ความตายทายาททุกคนของนายจำรัสย่อมเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแทนนายจำรัสร่วมกับนายละมัยด้วย โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัสจึงมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันกับทายาทของนายจำรัสที่จะจัดการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ในฐานะเจ้าของรวม ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก รวมทั้งการใช้สิทธิเรียกร้องเอาทรัพยสินคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745ประกอบมาตรา 1359 โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายจำรัส จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทที่ไม่ชอบดังกล่าวในส่วนของนายละมัยได้ด้วย ถือว่าเป็นการใช้สิทธิป้องกันแทนกันในฐานะเจ้าของรวม ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทฟ้องเรียกร้องหนี้สินกองมรดก แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกอยู่แล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องร้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกอันเป็นการรักษาสิทธิอันจะพึงตกแก่กองมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทฟ้องเรียกหนี้สินกองมรดก แม้มีผู้จัดการมรดกแล้ว
แม้มรดกจะมีผู้จัดการมรดกแล้ว ทายาทก็ยังมีสิทธิฟ้องให้บุคคลภายนอกชำระหนี้สินของกองมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาทโดยธรรม
ในการจัดตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้าไม่มีข้อกำหนด พินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ อยู่ในความปกครองของผู้ร้อง ผู้ร้องและบุตรทั้งสามเป็นทายาท โดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดกและผู้ตาย เป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ร้องได้สัญชาติไทยตามผู้ตาย แม้จะ ปรากฏว่าผู้ร้องเคยถูกดำเนินคดีฐานเข้าเมืองโดยไม่ได้ รับอนุญาตและมีคำพิพากษาให้ออกนอกราชอาณาจักรมาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับข้อห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นประโยชน์สูงสุดแก่กองมรดกตามความมุ่งหมายของกฎหมายแล้ว เมื่อกรณีมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่จะให้ผู้คัดค้านที่ 2 จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องจึงมีข้อแสดงให้เห็นเบื้องต้นว่าไม่อาจที่จะจัดการร่วมกันได้ ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ซึ่งต้องระวังรักษา ประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์อีกสามคนที่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (1) ส่วนผู้คัดค้านทั้งสี่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (3) ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย จึงไม่สมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ร่วมกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกเนื่องจากมีส่วนได้เสียขัดแย้งกับประโยชน์ของกองมรดก
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ต่อมาผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะนำที่ดิน 2 แปลงออกแบ่งแก่ทายาทอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ที่ต้องการจัดการตามพินัยกรรม แต่ผู้ร้องที่ 1 ไม่ยินยอม อ้างว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกแต่เป็นของผู้ร้องที่ 1 เนื่องจาก จ. ยกให้ผู้ร้องที่ 1 ก่อนถึงแก่ความตาย กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องที่ 1 อ้างสิทธิเป็นข้อพิพาทโต้แย้งข้ออ้างของผู้ร้องที่ 2 และที่ 3 อันเป็นข้ออ้างเพื่อประโยชน์ของทายาทโดยรวม ผู้ร้องที่ 1 จึงเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก จึงไม่สมควรให้ผู้ร้องที่ 1 ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5525/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีมรดก: คดีขับไล่ไม่ใช่คดีมรดกโดยตรง
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก แต่คดีนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยให้ขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกไปจากตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ส.เจ้ามรดก แม้โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะมิใช่เป็นคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก หากแต่เป็นกรณีที่กองมรดกฟ้องขับไล่ผู้อาศัยอยู่ในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการกองมรดกและการถอนผู้จัดการมรดก: การแบ่งทรัพย์สินไม่เป็นธรรมและการปฏิบัติหน้าที่
ที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ขณะที่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ เจ้ามรดกแบ่งที่ดินจำนวน 5 แปลง ให้แก่ทายาท 5 คน แต่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อ เมื่อเจ้ามรดกตายลงผู้จัดการมรดกกลับไม่โอนที่ดินตามที่ได้แบ่งไว้ดังกล่าวให้แก่ทายาท แต่ได้จัดการรวมและแบ่งที่ดินใหม่หลายครั้ง ครั้งสุดท้ายขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้จัดการมรดกได้โอนขายที่ดินซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ได้ขออายัดไว้แล้วเป็นจำนวนเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของที่ดินมรดก ทั้งไม่นำเงินที่ขายได้มาแบ่งปันให้แก่ทายาทฝ่ายผู้คัดค้าน ส่อเจตนาทุจริตในการจัดการกองมรดก สมควรสั่งถอนผู้จัดการมรดกนั้นเป็นข้อที่มิได้ปรากฏในคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตกลงแบ่งปันที่ดินมรดกให้แก่ทายาทอื่น ๆ ได้หมดแล้ว คงเหลือแต่ส่วนแบ่งของผู้คัดค้าน ซึ่งไม่ตกลงกัน โดยผู้คัดค้านอ้างว่าส่วนแบ่งของตนไม่เป็นธรรม จึงเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกมิได้เพิกเฉยต่อหน้าที่ส่วนการที่ผู้จัดการมรดกไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่เหตุที่จะต้องถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสมอไป และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1731ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยไม่สุจริตทั้งได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทส่วนมากไปแล้ว แสดงว่าได้ปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด พฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่สมควรถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
เมื่อปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตกลงแบ่งปันที่ดินมรดกให้แก่ทายาทอื่น ๆ ได้หมดแล้ว คงเหลือแต่ส่วนแบ่งของผู้คัดค้าน ซึ่งไม่ตกลงกัน โดยผู้คัดค้านอ้างว่าส่วนแบ่งของตนไม่เป็นธรรม จึงเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกมิได้เพิกเฉยต่อหน้าที่ส่วนการที่ผู้จัดการมรดกไม่ได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกในเวลาที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่เหตุที่จะต้องถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกเสมอไป และตาม ป.พ.พ.มาตรา 1731ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้จัดการมรดกเพียงใดหรือไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้จัดการมรดกจัดการมรดกโดยไม่สุจริตทั้งได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทส่วนมากไปแล้ว แสดงว่าได้ปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด พฤติการณ์แห่งคดีจึงยังไม่สมควรถอนผู้จัดการมรดกรายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ค้ำประกันและการขาดอายุความของสิทธิเรียกร้องต่อกองมรดก
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ แม้จำเลยจะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็เป็นการยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 691เท่านั้น มิได้ทำให้กลายเป็นลูกหนี้ร่วมเต็มตัวอย่างลูกหนี้ร่วมตามมาตรา 291จำเลยย่อมมีสิทธิของผู้ค้ำประกันตามมาตรา 694 ที่อาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้ชั้นต้นมีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยย่อมใช้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 694 ได้ และคดีนี้มิใช่คดีมรดกจึงไม่เกี่ยวกับว่าจำเลยจะเป็นบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1755 หรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของ อ.ลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ.จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 1754วรรคสาม ดังนี้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน จำเลยย่อมใช้สิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 694 ได้ และคดีนี้มิใช่คดีมรดกจึงไม่เกี่ยวกับว่าจำเลยจะเป็นบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1755 หรือไม่ เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของ อ.ลูกหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่ทราบว่า อ.ถึงแก่ความตายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อกองมรดกของ อ.จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 1754วรรคสาม ดังนี้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน อ.ต่อโจทก์ จึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6115/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนโอนทรัพย์สินกองมรดก หากมีประโยชน์ส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์
ผู้ร้องมิใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมายของ จ. ทั้ง จ.มิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทของ จ.อันมีสิทธิที่จะรับมรดกของ จ. การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ. ขอโอนทรัพย์สินกองมรดกของ จ.มาเป็นของผู้ร้อง ดังนี้ประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอยู่ในตัว ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1722
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกต้องแสดงเหตุละเลยหน้าที่หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อกองมรดก
การที่ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นผู้คัดค้านต้องบรรยายในคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกให้ปรากฎว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือทำผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายอย่างใดหรือกระทำการใดซึ่งจะเป็นที่เสื่อมประโยชน์ต่อกองมรดกของผู้ตายหรือทำให้ทายาทอื่นเสียหายประการใดอันจะเป็นเหตุที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกแต่ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านระบุเพียงว่าผู้ร้องมีอายุถึง75ปีแล้วไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยมิได้บรรยายถึงเหตุที่ว่าไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้นเป็นอย่างใดที่ว่าพฤติการณ์ที่ผ่านมาเจ้ามรดกมิได้ไว้วางใจให้ดูแลทรัพย์สินหรือเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกก็มิได้เป็นเหตุถึงขนาดที่ผู้ร้องจะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ได้ส่วนข้ออ้างที่ว่าผู้ร้องปกปิดผู้คัดค้านในการมาร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะขอให้ถอนผู้จัดการมรดกได้ดังนั้นคำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องด้วยบทกฎหมายที่จะขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ศาลจึงไม่จำต้องทำการไต่สวนคำคัดค้านของผู้คัดค้าน