คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กักกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอให้กักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย ไม่ต้องระบุรายละเอียดการกระทำ หากคดีมูลเหตุอยู่ในอำนาจศาลและไม่ขาดอายุความ
ฟ้องขอให้กักกันหาใช่ฟ้องเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยเพื่อให้ศาลลงโทษตามความผิดไม่ จึงไม่ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ และแม้จะมิได้บรรยายว่าโจทก์ฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องขอให้กักกันวันเดือนปีใด ไม่อาจทราบว่าภายในอายุความหรือไม่ก็ตาม เมื่อคดีนั้นเป็นคดีของศาลชั้นต้นโจทก์ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะเอาสำนวนคดีนั้นมา ตรวจดูได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับทรัพย์สิน โดยพิจารณาจากประวัติการกระทำผิดและการกระทำความผิดซ้ำในระยะเวลาที่กำหนด
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจรครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41 (8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1) (7) (11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำฐานลักทรัพย์: เกณฑ์การพิจารณาตามประวัติโทษและการกระทำความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจร ครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41(8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1)(7)(11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และการกักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย
การพยายามกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 80 นั้น เป็นความผิดแล้ว เพียงแต่ต้องระวางโทษต่ำกว่าความผิดสำเร็จเท่านั้น ฉะนั้น ความผิดที่จำเลยกระทำในคดีนี้ย่อมเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 41(8) แล้วถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยและพิพากษาให้กักกันจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามลักทรัพย์และการกักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย
การพยายามกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80 นั้นเป็นความผิดแล้ว เพียงแต่ต้องระวางโทษต่ำกว่าความผิดสำเร็จเท่านั้น ฉะนั้น ความผิดที่จำเลยกระทำในคดีนี้ย่อมเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41(8) แล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยและพิพากษาให้กักกันจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พระราชทานอภัยโทษไม่ลบล้างคำพิพากษาเดิม และสิทธิการฟ้องกักกันยังคงมี
แม้จำเลยจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษลงเพียงใด ถึงขั้นปล่อยตัวไปก็ตาม คำพิพากษาของศาลที่กำหนดโทษไว้เดิมนั้นก็หาได้ถูกลบล้างไปไม่
การที่ศาลทหารกล่าวไว้ในคำพิพากษาให้ยกคำขอที่ขอให้กักกันจำเลย เพราะไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารนั้น หาตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องขอให้กักกันจำเลยต่อศาลที่มีอำนาจไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงหลักการกักกันผู้กระทำผิดติดนิสัยจาก พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย สู่ประมวลกฎหมายอาญา
ตามพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ. 2479 มาตรา 8 มีถ้อยคำว่า "ถ้าผู้ใดเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง" แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 ใช้ถ้อยคำเพียงว่า "ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก ฯลฯ มาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง" ไม่มีถ้อยคำว่า ต้อง "เคยได้รับโทษจำคุกมาแล้ว" ด้วย จึงเป็นการแสดงว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 ได้เปลี่ยนแปลงหลักการในเรื่องที่จะลงโทษกักกันจากพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเดิมเสียแล้ว
จำเลยกระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาลงโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือนมาแล้ว 2 ครั้ง คดีที่จำเลยกระทำความผิดทีหลัง ศาลพิพากษาลงโทษก่อน ส่วนคดีที่จำเลยกระทำความผิดก่อน ศาลพิพากษาลงโทษทีหลัง ทั้งในคดีที่ศาลพิพากษาลงโทษทีหลัง ศาลพิพากษาให้นับโทษต่อคดีที่พิพากษาก่อนด้วยแล้วจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้อีก และถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือน ดังนี้ ศาลอาจถือว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงหลักการกักกันผู้กระทำผิดติดนิสัย: ประมวลกฎหมายอาญา vs. พ.ร.บ.กักกันผู้ร้าย และการพิจารณาโทษซ้ำ
ตามพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย พ.ศ.2479มาตรา 8 มีถ้อยคำว่า 'ถ้าผู้ใดเคยได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง' แต่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 ใช้ถ้อยคำเพียงว่า 'ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก ฯลฯ มาแล้วไม่น้อยกว่าสองครั้ง' ไม่มีถ้อยคำว่า ต้อง 'เคยได้รับโทษจำคุกมาแล้ว' ด้วย จึงเป็นการแสดงว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41ได้เปลี่ยนแปลงหลักการในเรื่องที่จะลงโทษกักกันจากพระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเดิมเสียแล้ว
จำเลยกระทำความผิดและถูกศาลพิพากษาลงโทษไม่ต่ำกว่าหกเดือนมาแล้ว 2 ครั้งคดีที่จำเลยกระทำความผิดทีหลังศาลพิพากษาลงโทษก่อนส่วนคดีที่จำเลยกระทำความผิดก่อนศาลพิพากษาลงโทษทีหลังทั้งในคดีที่ศาลพิพากษาลงโทษทีหลัง ศาลพิพากษาให้นับโทษต่อคดีที่พิพากษาก่อนด้วยแล้วจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้อีก และถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่าหกเดือน ดังนี้ ศาลอาจถือว่า จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัยได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษอาญา: ศาลลงโทษเฉพาะความผิดฐานบุกรุก แม้จะมีความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ด้วย ก็ไม่ถือว่าลงโทษควบกัน จึงไม่สามารถกักกันได้
คดีที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานบุกรุกและพยายามลักทรัพย์ แต่ให้ลงโทษฐานบุกรุกซึ่งเป็นบทหนักมาตราเดียวกัน จะถือว่าเป็นการลงโทษฐานพยายามลักทรัพย์ควบไปด้วยไม่ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ถูกศาลพิพากษาลงโทษในความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41 ที่จะกักกันจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยเนื่องจากไม่ได้รับล้างมลทินตาม พ.ร.บ. 25 พุทธศตวรรษ และการพิจารณาโทษกักกันสำหรับผู้กระทำผิดติดนิสัย
ตาม พ.ร.บ. ล้างมลทินในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ผู้ที่ได้รับล้างมลทินคือ ผู้ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษที่ได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่กฎหมายนี้ใช้บังคับ คือวันที่ 13 พฤษภาคม 2500 ฉะนั้น เมื่อจำเลยต้องโทษและพ้นโทษภายหลังที่กฎหมายดังกล่าวในคดีก่อนใช้บังคับ จำเลยย่อมไม่ได้รับล้างมลทิน ศาลจึงเพิ่มโทษจำเลยได้ตามกฎหมาย
จำเลยกระทำผิดติดสิสัยเคยถูกพิพากษาให้กักกันมาครั้งหนึ่งแล้วในคดีก่อน พ้นจากการกักกันมาได้เพียง 4 เดือน ก็มากระทำผิดขึ้นอีก ศาลจะพิพากษาให้กักกันมีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และไม่เกิน 10 ปีอีกก็ได้
of 10