พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดสองกรรม
ในระหว่างเวลาซึ่งอยู่ในอายุใบอนุญาตก่อสร้าง จำเลยที่ 1กับพวกได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมและพักอาศัยผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้แก้ไขรื้อถอนและสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยที่ 1 ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม ดังนั้นการที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดสำเร็จไปแล้วกรรมหนึ่งและเมื่อครบกำหนดในใบอนุญาตให้ก่อสร้างแล้ว จำเลยไม่ต่อใบอนุญาตก่อสร้าง แต่ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกอันเป็นการก่อสร้างในขณะที่ใบอนุญาตให้ก่อสร้างหมดอายุจึงเป็นการก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21,65,69 และ 71อีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันสำหรับอาคารผิดแบบ ต้องมีคำสั่งรื้อถอนก่อน
การก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 นั้นจะลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวตามมาตรา 42แล้วแต่เจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตาม หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้มีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติตามแล้ว ก็ไม่อาจลงโทษปรับรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินติดกัน และการก่อสร้างรุกล้ำเขตที่ดิน การก่อสร้างในที่ดินของตนเองย่อมชอบธรรม
ที่ดินของจำเลยอยู่ชิดผนังตึกของโจทก์ จำเลยชอบที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนได้ จำเลยได้สร้างคันหินคอนกรีตกับกำแพงซ้อนคันหินและหลังคาในที่ดินของจำเลย ซึ่งแม้จะปิดช่องหน้าต่างของโจทก์แต่มิได้รุกล้ำที่ดินโจทก์ อาคารของโจทก์ก็สร้างผนังตึกชิดติดแนวเขตที่ดินจำเลย ซึ่งโจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าฝาผนังตึกของโจทก์ย่อมมีสภาพเหมือนเป็นกำแพงรั้วกั้นเขตที่ดินโจทก์และจำเลยจำเลยย่อมใช้ประโยชน์จากฝาผนังตึกนี้ได้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเปิดหน้าต่างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลย และไม่มีสิทธิเปิดช่องทางเดินผ่านไปยังที่ดินของจำเลย การที่จำเลยได้ทำการก่อสร้างดังกล่าว แม้จะทำให้โจทก์ไม่สามารถเปิดหน้าต่างชั้นลอยด้านที่ติดกับที่ดินของจำเลยและไม่สามารถใช้ช่องทางผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของจำเลยได้ ก็ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ และไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้การก่อสร้างของจำเลยจะไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามกฎหมายไม่เกี่ยวกับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2992/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต และอำนาจการสั่งรื้อถอนของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
จำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้นเป็น 5 ชั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่มีทางเดินหลังอาคารและแนวอาคารไม่ร่นหลบแนวเขตถนน จึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคหนึ่งพระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคสองกำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารโดยมิชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง แต่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขดัดแปลงให้ถูกต้องหมดไป โจทก์จึงมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยที่ 4 ทำการรื้อถอน ย่อมถือว่าได้มีคำสั่งแจ้งให้เจ้าของที่ดินและอาคารดังกล่าวทราบโดยไม่ต้องแจ้งเจ้าของร่วมทุกคนทราบ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน และขอบเขตการปรับตามอัตราที่ฟ้องขอ
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยกระทำผิดกฎหมายหลายกรรมต่างกัน และในคำฟ้องข้อ 1 ก. ก็บรรยายไว้ด้วยว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคาร จำเลยได้รับคำสั่งในวันที่ 27 มกราคม 2528 แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนด ซึ่งถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยจึงมีความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหากจากการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า การก่อสร้างอาคารของจำเลยไม่ขัดต่อกฎกระทรวง ไม่อาจหมายความไปถึงว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคาร จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยทำการก่อสร้างต่อไปอีก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า การก่อสร้างอาคารของจำเลยไม่ขัดต่อกฎกระทรวง ไม่อาจหมายความไปถึงว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคาร จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยทำการก่อสร้างต่อไปอีก.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งแก้ไขอาคารหลังก่อสร้างเสร็จ และขอบเขตความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
บทบัญญัติมาตรา 41 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 ที่ว่าในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24หรือมีการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงาน แล้วแต่กรณี ระงับการกระทำนั้นได้นั้น มีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีที่การดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสีย ในกรณีที่การกระทำหรือการก่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรคแรกได้หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา 42 แต่ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของระงับการก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรมและพักอาศัยที่ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตแก้ไขอาคารที่ทำการก่อสร้างให้ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตภายใน 45 วันนั้น เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 43 วรรคแรก เมื่อมีคำสั่งภายหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารเสร็จไปแล้ว ในกรณีเช่นนี้ไม่มีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงไม่เป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การแก้ไขงานที่ผิดสัญญา และผลกระทบต่อการบอกเลิกสัญญา
แม้สัญญาจ้างก่อสร้างข้อหนึ่งระบุว่า ถ้าผู้รับจ้างทำผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ แต่สัญญาข้อต่อไปได้ระบุว่า ผู้รับจ้างสัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขและจัดทำงานที่ไม่ได้ทำไปโดยความซื่อสัตย์สุจริตและปรากฏว่าไม่ประณีตเรียบร้อยให้เรียบร้อยดีภายใน 15 วัน ดังนี้ หมายความว่าผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้เมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ไม่จำเป็นต้องมีข้อสัญญากำหนดระยะเวลาให้ผู้รับจ้างแก้ไขให้ถูกต้องไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขการก่อสร้างส่วนที่ผิดสัญญาให้ถูกต้องตรงตามสัญญาจนโจทก์ตรวจรับงานและชำระเงินค่าจ้างสำหรับงานงวดนั้นแล้วโจทก์จึงไม่สามารถหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา247.
จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4361/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดสัญญาและผลของการยินยอมของเจ้าของสัญญา การยินยอมทำให้ไม่ถือว่าเป็นการผิดสัญญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยก่อสร้างผิดสัญญาและแบบแปลนท้ายสัญญาจำเลยให้การว่าจำเลยมิได้ก่อสร้างผิดสัญญาหากจะมีการผิดเงื่อนไขและแบบแปลนบ้างก็โดยความเห็นชอบของโจทก์และตัวแทนของโจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าจำเลยก่อสร้างผิดสัญญาหรือไม่ย่อมคลุมถึงปัญหาว่าโจทก์และตัวแทนโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยก่อสร้างผิดจากแบบแปลนหรือไม่ด้วย จึงเป็นประเด็นในคดีจำเลยมีสิทธินำสืบและศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2647/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้เป็นถนนสาธารณประโยชน์โดยเจตนา การก่อสร้างรุกล้ำที่ดินสาธารณะ และผลกระทบต่อสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินของผู้อื่น
เจ้าของที่ดินคนเดิมได้แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทของตนบางส่วนให้เป็นถนนสาธารณประโยชน์ไปแล้วก่อนที่โจทก์ซื้อมา การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้าของเดิมปลูกสร้างอาคารและรั้วในที่พิพาทจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากสิทธิที่จะอ้างได้โดยชอบ และทำให้โจทก์เสียหายเพราะปิดบังหน้าที่ดินและทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ที่จะไปสู่ถนนใหญ่ จึงต้องรื้อถอนออกไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์, การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ, และการเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้และจำเลยก็มิได้โต้แย้ง จึงถือว่าจำเลยยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น เมื่อจำเลยยกข้อต่อสู้นี้ขึ้นในชั้นฎีกาจึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 สัญญาจะซื้อขายระบุชัด ว่าโจทก์วางมัดจำเป็นเงิน 400,000 บาทจำเลยจะนำสืบโต้เถียง เพื่อให้ศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นอันมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความที่ปรากฏในเอกสารหาได้ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.