พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่แจ้งรายละเอียด
แม้โจทก์จะโอนที่ดินใช้หนี้ให้แก่ ส.ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีเงินได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินแล้ว การที่โจทก์ประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้านขายพร้อมที่ดินและที่ดินที่โจทก์โอนตีใช้หนี้เป็นที่ดินแปลงหนึ่งในจำนวนหลายแปลงที่โจทก์จัดสรรขายเพียงแต่วิธีการชำระเงินให้โจทก์เป็นการหักกลบลบหนี้ต่อกันเท่านั้น ดังนั้น การโอนที่ดินตีใช้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นการขายสินค้าอย่างหนึ่ง โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในประเภท 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อโจทก์มีอาชีพประกอบการค้าที่ดินแล้ว แม้จะครอบครองมาเกิน 5 ปี ก็ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการค้าหรือหากำไร ถือว่าโจทก์ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์แล้ว
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมิน เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีอากรทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการประกอบกิจการของโจทก์เลย โจทก์เพิ่งมายื่นแบบชำระภาษีเนื่องจากมีการประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2534 แต่โจทก์ยื่นแบบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บตามการประเมิน คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีก ส่วนเงินเพิ่มนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 27 และ 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมิน เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีอากรทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการประกอบกิจการของโจทก์เลย โจทก์เพิ่งมายื่นแบบชำระภาษีเนื่องจากมีการประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2534 แต่โจทก์ยื่นแบบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บตามการประเมิน คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีก ส่วนเงินเพิ่มนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 27 และ 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: การแบ่งแยกสิทธิระหว่างผู้รับมรดก ผู้ครอบครอง และผลของการขายโดยไม่ได้รับความยินยอม
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสามและด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และด. ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใดต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมาด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของด. เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาจำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากด.และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วยจึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการ ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัย ในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้ว โดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาใน ประเด็นดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2 ที่ 3และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุด ดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่ เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือ ตามสิทธิของตนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ: การได้รับประโยชน์จากที่ดินที่ขาย ถือเป็นการได้รับประโยชน์ตามสัญญา
การตีความสัญญาต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 368 สาเหตุที่จำเลยจำต้องปิดถนนอันเป็นมูลเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องร้องเป็นคดีนี้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสี่ขนวัสดุก่อสร้างเข้าไปปลูกสร้างบ้านและอาคารในที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ตามแผนที่ท้ายฟ้องผ่านถนนของจำเลยโดยไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่จำเลยและทำให้ถนนของจำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อโจทก์ทั้งสี่เสนอจะซ่อมแซมถนนและจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนในการใช้ถนนให้ จำเลยจึงยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และเปิดถนนให้โจทก์ทั้งสี่ใช้ประโยชน์ตามเดิม ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพื่อให้จำเลยได้รับค่าตอบแทนจากการขนวัสดุก่อสร้างผ่านถนนของจำเลยเข้าไปปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง ไม่ว่าโจทก์ทั้งสี่จะดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นทำก็ตาม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ก็ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนจากการใช้ถนนให้แก่จำเลยทั้งนั้น และการที่โจทก์ทั้งสี่ขายที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้องให้บุคคลอื่นปลูกบ้านนั้น ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ทั้งสี่จัดให้มีการปลูกสร้างในที่ดินตามแผนที่ท้ายฟ้อง และโจทก์ทั้งสี่ก็ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน ถือว่าโจทก์ทั้งสี่ได้รับประโยชน์ตามเงื่อนไขในสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจึงต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของกลางเปลี่ยนแปลงหลังการขาย แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของเดิม
แม้ในขณะที่มีการใช้รถจักรยานยนต์ของกลางในการกระทำความผิด ผู้ร้องจะเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางก็ตาม แต่ในระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ผู้ร้องได้ขายรถจักรยานยนต์ของกลางให้บุคคลภายนอกไปบุคคลภายนอกจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางนับแต่ที่ผู้ร้องได้ขายให้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง รถจักรยานยนต์ของกลางย่อมตกเป็นของแผ่นดิน บุคคลภายนอกผู้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์คันนั้นอีกต่อไป แม้ผู้ร้องจะซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางคืนมาและเปลี่ยนหมายเลขทะเบียนใหม่ ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลาง และไม่มีสิทธิร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์รถจากการขายระหว่างการพิจารณาคดี ทำให้ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืนรถที่ศาลสั่งริบ
ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์อยู่ในขณะที่มีการใช้รถจักรยานยนต์กระทำความผิด แต่ระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นผู้ร้องได้ขายรถจักรยานยนต์ให้บุคคลภายนอกไป บุคคลภายนอกนั้นจึงเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์นับแต่ที่ผู้ร้องได้ขายให้เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบย่อมตกเป็นของแผ่นดิน บุคคลภายนอกผู้ซื้อไว้ไม่มีกรรมสิทธิ์อีกต่อไป แม้ผู้ร้องจะซื้อรถจักรยานยนต์คืนมา ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่มีสิทธิร้องขอคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 443/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถที่ถูกริบหลังการขาย – สิทธิในการขอคืนหลังซื้อคืน
แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลางในขณะที่มีการใช้รถดังกล่าวกระทำความผิดแต่เมื่อระหว่างพิจารณาคดีผู้ร้องขายให้บุคคลภายนอกไปบุคคลภายนอกจึงเป็นเจ้าของนับแต่นั้นเมื่อศาลพิพากษาให้ริบรถย่อมตกเป็นของแผ่นดินแม้ต่อมาผู้ร้องจะซื้อรถนั้นคืนมาจากบุคคลภายนอกก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่มีสิทธิร้องขอคืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่าก่อนกรณีผู้ให้เช่าขาย: ราคาตลาดที่ใช้บังคับ
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาอยู่ในขณะที่จำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนจะขายจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53 เสียก่อน โดยจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่านาต้องแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนา พร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธานคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลสาลี(คชก.ตำบลสาลี) เพื่อแจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันเสียก่อน ถ้าโจทก์ผู้เช่านาไม่ซื้อตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 53 วรรคสาม จำเลยที่ 1 จึงจะขายให้จำเลยที่ 2 ได้ต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ก่อนตามพ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 ซึ่ง มาตรา 54วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติว่า "ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะถูกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้ หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน ฯลฯ" บทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายจะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาที่จะซื้อนาที่เช่าอยู่ก่อนบุคคลอื่น คำว่า "ราคาตลาดในขณะนั้น" จึงหมายถึงราคาตลาดในขณะผู้ให้เช่านาโอนขายนาให้แก่ผู้รับโอน มิใช่ราคาตลาดในขณะผู้เช่านาใช้สิทธิขอซื้อนาคืน
ราคาที่ คชก.ตำบล วินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่งหรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลหรือไม่ศาลย่อมต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยมาเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
ราคาที่ คชก.ตำบล วินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่งหรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลหรือไม่ศาลย่อมต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยมาเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ถือเป็นการจัดสรรโดยปริยาย ทำให้เกิดภารจำยอมต่อที่ดินที่ขาย
แม้จะไม่ปรากฎว่าบริษัทก.เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286และที่ดินโฉนดเลขที่31569ส่วนที่เป็นทางพิพาทนั้นเป็นที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตก็ตามก็ถือได้ว่าการกระทำของบริษัทก.ที่แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย90แปลงเพื่อขายนั้นเป็นการแสดงออกโดยปริยายแล้วว่าบริษัทก.จัดให้มีสาธารณูปโภคคือทางพิพาทอันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ลงวันที่24พฤศจิกายน2515ข้อ30 การที่บริษัทก.จะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากหากจะเป็นการดำเนินการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็ไม่ทำให้การดำเนินการของบริษัทก.ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายดังนั้นทางพิพาทจึงเป็นภารจำยอมตามกฎหมายแก่ที่ดินที่จัดสรรและที่ดินที่โจทก์ซื้อจากบริษัทก.จำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต่อจากบริษัทก. ย่อมอยู่ในบังคับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่286ข้อ30ที่จะกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเลื่อนความสะดวกมิได้ โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวในที่ดินจัดสรรดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้ทางพิพาทได้การที่มีการก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างกีดขวางทางภารจำยอมย่อมเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อที่ดินแปลงที่ทางภารจำยอมตั้งอยู่โอนมาเป็นของจำเลยโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทางภารจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินเช่าเมื่อมีการขายทอดตลาด – การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ขายนาพิพาทให้จำเลยโดยยังมิได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคแรก ให้ครบถ้วน คือยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือ แสดงความจำนงจะขายนาพิพาทพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อ คชก.ตำบลเพื่อแจ้งให้โจทก์ทราบใน15 วัน การที่ พ.ขายที่พิพาทให้จำเลยในราคา 670,000 บาท แตกต่างจากที่จำนงจะขายในราคา 1,300,000 บาท และ 1,412,380 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา53 วรรคแรก และวรรคสี่ ทั้งโจทก์ได้มีหนังสือถึงประธาน คชก.ตำบลแสดงความจำนงจะซื้อที่พิพาทต่อประธาน คชก.ตำบลใน 30 วันแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคา 670,000 บาท ได้ และโจทก์ก็ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด 2 ปีนับแต่วันที่รู้ว่า พ.โอนขายที่พิพาทให้จำเลยตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลได้
ตามสำเนาบันทึกการประชุม คชก.ตำบล จำเลยได้เข้าประชุมฟังคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ด้วย ซึ่งจำเลยก็รับว่าทราบคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลแล้ว เพียงแต่บ่ายเบี่ยงว่าไม่ได้รับแจ้งเป็นทางการเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบคำวินิจฉัยแล้ว จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัด คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลจึงถึงที่สุด โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3247/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่ และการแบ่งสินสมรสหลังการขาย
ที่พิพาทเป็นสินสมรสซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ใช้บังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ของโจทก์ และจำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการสินบริคณห์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม และพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 อำนาจจัดการนั้นตามมาตรา 1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่ให้รวมถึงกรณีจำหน่ายด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจขายที่พิพาทในวันที่ 24 เมษายน 2533 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่ไม่อาจเพิกถอน การโอนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้เท่ากับโจทก์ฟ้องเรียกเอาส่วนแบ่งของโจทก์ในสินสมรส ซึ่งการแบ่งสินสมรสจะมีได้เมื่อมีการหย่าเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้แบ่งเงินที่ได้จากการขายที่พิพาทแก่โจทก์ กฎหมายก็ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากัน และศาลมิได้มีคำสั่งให้แยกสินสมรส จึงยังไม่มีการแบ่งสินสมรสกัน โจทก์จึงยังไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้