คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การฉ้อฉล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151-1152/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ในชั้นบังคับคดี ศาลมีอำนาจพิจารณาได้โดยไม่ต้องมีการฟ้องร้องเพิกถอนก่อน
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาโอนทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยไม่สุจริตเป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบนั้น เป็นการพิจารณาชั้นบังคับคดี เจตนารมย์ของการบังคับคดียอมให้ว่ากล่าวกันได้ภายหลังการยึดทรัพย์แล้ว ศาลจึงมีอำนาจชี้ขาดตามความในมาตรา 237 ได้ โดยมิพักต้องให้เจ้าหนี้ไปฟ้องดำเนินคดีฟ้องร้องขอให้ทำลายการโอนหรือเพิกถอนการฉ้อฉลเสียก่อนแต่ประการใด(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 18/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ที่ไม่มีอำนาจ ไม่ต้องติดอายุความตามมาตรา 240
การเพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 นั้น เป็นเรื่องเพิกถอนการโอนตามสิทธิที่มีอยู่ แต่ทำให้เจ้าหนี้ที่เสียเปรียบ ถ้าเป็นการโอนทรัพย์ที่ผู้โอนไม่ใช่เจ้าของเป็นการโอนโดยปราศจากอำนาจการเพิกถอนไม่จำต้องทำการใน1 ปี ตาม มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ในการพิสูจน์การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย และขอบเขตการใช้มาตรา 114
การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่าง 3 ปีก่อนล้มละลายนั้นพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะแสดงให้ศาลพอใจว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113 นั้นหาได้มีบทบัญญัติเรื่องหน้าที่นำสืบเป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังเช่นการโอนทรัพย์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 114 ดังกล่าวไม่จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน
การจำนองทรัพย์สินหาใช่เป็นการโอนทรัพย์สินตาม พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114 จึงจะนำมาตรา 114 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินและการเพิกถอนนิติกรรมเนื่องจากจำเลยรู้ถึงสิทธิของผู้ซื้อเดิม
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกันโดยผู้ขายได้รับชำระราคาที่ดินแล้ว แต่ยังทำโอนไม่ได้เพราะพนักงานที่ดินส่งโฉนดไปยังกรมที่ดินเสีย ผู้ขายจึงมอบที่ดินที่ขายให้ผู้ซื้อครอบครองไปพลางก่อนจนกว่า กรมที่ดินจะส่งโฉนดคืนมาจึงจะทำโอนกัน ผู้ซื้อจึงได้เข้าครอบครองที่ดินนั้นตลอดมา 4 ปีเศษ ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ซื้ออยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ก่อนแล้วตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: การนับอายุความเริ่มเมื่อใดเมื่อเจ้าหนี้เสียชีวิตก่อนรู้เหตุ
คดีนี้โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2546 ส. เป็นเจ้าหนี้ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเสียหายแก่ตน ระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าว ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 23125 และ 23126 ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา โดยไม่ปรากฏว่า ส. ผู้เป็นเจ้าหนี้ทราบเหตุดังกล่าว เมื่อตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 บัญญัติให้การฟ้องเรียกร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลนั้น ห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น ดังนี้ อายุความ 1 ปี จึงยังไม่เริ่มนับเนื่องจาก ส. เจ้าหนี้ได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนวันที่จำเลยทั้งสี่ทำนิติกรรมดังกล่าว ส. จึงมิอาจรู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนได้ แม้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จะได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีอาญาข้อหาโกงเจ้าหนี้โดยบรรยายฟ้องคดีอาญาว่า โจทก์ทราบการกระทำผิดของจำเลยทั้งสี่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2550 ก็ตาม ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเจ้าหนี้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในวันดังกล่าวกรณีจึงต้องบังคับตามอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2557 ยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2547 อันเป็นวันที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยเสน่หา สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ตอนท้าย
of 2